เยาวเรศ นิสากร
เยาวเรศ นิศากร | |
---|---|
เกิด | 11 เมษายน พ.ศ. 2484 พวงเพ็ญ แสงสว่างวัฒนะ |
คู่สมรส | สมชาย จันทวังโส |
บุตร | 2 คน |
อาชีพ | นักแสดง นางแบบ นักจัดรายการวิทยุ ฯลฯ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2506 - ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | ปลาบู่ทอง (2510) อีแตน (2511) พระเวสสันดร (2512) แม่นาคพระนคร (2513) |
รางวัล | |
เมขลา | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2528 - มัสยา พ.ศ. 2529 - แหวนทองเหลือง พ.ศ. 2531 - อีสา-รวีช่วงโชติ |
เยาวเรศ นิศากร (มักเขียนเป็น นิสากร) เป็นนักแสดงหญิงชาวไทย
ประวัติ
[แก้]เกิดที่ จ.นครสวรรค์ วันที่ 11 เมษายน 2484 ชื่อจริงคือ พวงเพ็ญ แสงสว่างวัฒนะ บิดาเป็นนักการเมืองของจังหวัดและที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ประมาณ อดิเรกสาร รวมทั้งเจ้าของธุรกิจห้างแสงอรุณ ข้างโรงหนังควีนส์ วังบูรพา ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่สุดแห่งแรกในย่านนั้นก่อนมีห้างเซ็นทรัล[1]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]คู่ชีวิตคือ สมชาย จันทวังโส ช่างภาพและประชาสัมพันธ์ในวงการบันเทิง มีบุตรธิดา 2 คน (คนน้องชื่อ ธัชพล จันทวังโส นักแสดงละครทีวีชุดของสามเศียร และละครพิเศษเนื่องในวันแม่แห่งชาติ ปี 2537 เรื่อง อันชนกชนนีนี้รักเจ้า ของ ศุภลักษณ์ คนพี่ชื่อ เพชรดา จันทวังโส มีกิจการสอนดนตรี และ เป็นล่าม/นักแปล ที่ปประเทศเยอรมัน)
วงการบันเทิง
[แก้]เริ่มต้น
[แก้]เยาวเรศได้รับตำแหน่งรองอันดับหนึ่งนางงามสไบทิพย์ งานแสดงสินค้าไทย ณ วังสราญรมย์ โดยใช้ชื่อ เยาวเรศ นิศากร จบชั้นมัธยมปีที่หกจากโรงเรียนราชินี สามเสน เริ่มทำงานเป็นครูพิเศษสอนพิมพ์ดีด โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ พร้อมกับช่วยงานที่ห้างแสงอรุณในฐานะพนักงานธรรมดากินเงินเดือน เดือนละ 150 บาท เมื่อรัตน์ เศรษฐภักดี ผู้กำกับการแสดง ได้พบพนักงานพวงเพ็ญ จึงชวนให้ลองเล่นหนัง [2]
ภาพยนตร์
[แก้]แสดงหนังเรื่องแรกชื่อมัตติกาแม้ว่าหนังเรื่องนี้จะทำรายได้ไม่มากแต่ก็แจ้งเกิดให้เยาวเรศได้อย่างสวยงาม บทบาทเด่น ๆ เช่น ดารานำแสดงภาพยนตร์คู่กับดาราตุ๊กตาทอง ทักษิณ แจ่มผล ใน จ้าวแผ่นดิน (2511), คู่กับ มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์ ใน พระลอ ตลอดจนบทสมทบเด่น ๆ อีกจำนวนมาก เช่น นางสาวโพระดก (2507), เพชรตัดเพชร (2509), อีแตน (2511), แม่นาคพระนคร (2513) และ แหวนทองเหลือง (2516) เป็นต้น
เยาวเรศนับว่าเป็นผู้ทุ่มเทให้กับการแสดงมาก ครั้งหนึ่งเธอเคยแสดงภาพยนตร์เรื่องอีแตนให้กับทางละโว้ภาพยนตร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ องค์ผู้กำกับแห่งบริษัทละโว้ภาพยนตร์ ได้ซื้อชุดเครื่องบันทึกเสียงลำโพงคู่แบบตั้งโต๊ะ(คอนโซล) รุ่นใหม่ล่าสุด ประทาน ขณะถ่ายทำเรื่อง อีแตน ด้วยการแสดงเป็นที่พอพระทัยยิ่ง พ.ศ. 2511
หรือครั้งหนึ่งเกิดป่วยกะทันหันมีอาการไข้สูงมากในวันปิดกล้องที่ต่างจังหวัด ด้วยความรับผิดชอบงานถึงขนาดนอนซมไปกับรถกองถ่ายเพื่อเข้าฉากแสดงจนเสร็จเรียบร้อยด้วยดี
การรับงานไม่มากทำให้มีเวลาเตรียมตัวทำความเข้าใจบทที่ได้รับ บางครั้งหลบไปซ้อมอ่านบท ทำท่าทางแสดงคนเดียวช่วงพักการถ่ายทำจนเพื่อนนักแสดงรุ่นพี่ (พูลสวัสดิ์ ธีมากร) กับพวก ซึ่งย่องตามไปแอบดู หัวเราะกันคิกคักหลังพุ่มไม้ ส่วนเสื้อผ้าหน้าผมแล้วแต่ช่างจัดการให้โดยไม่สนใจติดสวยแต่ไม่สมบทบาท ผู้ชมจึงเห็นเธอในบทเจ้าหญิงสวยเลิศหรูจนถึงชาวบ้านสวมเสื้อโทรม ๆ นุ่งผ้าถุงเก่าคร่ำทั้งในจอเงินและจอแก้ว
โทรทัศน์
[แก้]แสดงละครโทรทัศน์ครั้งแรก ออกอากาศสดที่ ช่อง 4 บางขุนพรหม คู่กับ ฉลอง สิมะเสถียร เรื่อง คุณแม่ไม่โง่ ของคณะกัญชลิกา, รับบทนางเอกหลายเรื่องของคณะไท-ทัศน์ ที่ ททบ.7 ขาวดำ (ททบ.5 ปัจจุบัน) เช่น พระบารมีปกเกล้า-เจ้าพระยา คู่กับ ธานินทร์ อินทรเทพ, สาวเหนือ เสือกรุง คู่กับ ชรินทร์ นันทนาคร, ดอกไม้ในกองฟาง คู่กับ สุเทพ วงศ์กำแหง และละครคณะลูกไทย เรื่อง ขุนศึกวังหน้า คู่กับ อดุลย์ ดุลยรัตน์ รวมถึงละครการกุศล ชีวิตยังไม่สิ้น ของสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง ประชันบทกับ มิตร-เพชรา ร่วมด้วยนักแสดงรับเชิญ อาภัสรา หงสกุล และ จีรนันท์ เศวตนันท์ (2511)
นอกจากนี้เธอยังเป็นดารานำแสดงหนังชุดเด่นของรัชฟิล์มทีวี ยุคแรก เช่น ปีกกินรี (2509) คู่กับ สมชาย ศรีภูมิ ทาง ททบ.7 ขาวดำ บ่ายวันอาทิตย์ ตามด้วยบท เอื้อย-อ้าย ในหนังทีวีภาคค่ำเรื่องแรกของช่อง 7 สี ร่วมกับดาราฟิล์ม (ดาราวิดีโอ ปัจจุบัน) เรื่อง ปลาบู่ทอง (2510), บทพระนางมัทรีใน พระเวสสันดร (2512) ทั้งสองเรื่องได้รับความนิยมอย่างสูง นำแสดงคู่กับ พัลลภ พรพิษณุ[3]
ธุรกิจ
[แก้]ชอบทดลองทำสิ่งใหม่ ไม่หยุดนิ่ง เริ่มจากการเป็นเจ้าของและแม่ครัวร้านเบเกอรี่-ไอศกรีม สูตรของเธอเองที่มี ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ เป็นหนึ่งในบรรดาลูกค้าประจำของร้าน, เปิดร้านขายต้นไม้ ร้านสเต็ก ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพลังจิตใต้สำนึก แต่กลับประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องกับงานวิทยุ รายการต่าง ๆ เช่น คุยเฟื่องเรื่องดารา, คุยเอ๊า คุยเอากับเยาวเรศ และ แรงใจจากเรา เยาวเรศ นิศากร เป็นต้น ด้วยน้ำเสียงเป็นเอกลักษณ์และความเป็นตัวเองตามธรรมชาติในการพูดคุยกับดาราและผู้ฟัง เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ควบคู่กับงานแสดงละครโทรทัศน์ ของค่ายสังกัดตระกูลสังวริบุตรเป็นส่วนใหญ่
เป็นเพื่อนสนิทของนางเอกและดาราภาพยนตร์ที่เคยแสดงด้วยกัน เช่น อภิญญา วีระขจร (นางเสือดาว), บุษกร สาครรัตน์ (พระรถ-เมรี ,วังบัวบาน), ขวัญใจ สะอาดรักษ์ (ถิ่นผู้ดี, ชื่นชีวัน, จอมใจ) ฯลฯ มีดาราต่างประเทศที่ชื่นชอบคือ จอห์น เวย์น พระเอกคาวบอยชื่อดังของฮอลลีวู้ด
ล่าสุดเพิ่งเปิด สตาร์ฮิลริเวอร์แคว รีสอร์ต (Star Hill River Kwai Resort ) ที่ จังหวัดกาญจนบุรี [4] เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- 2506: มัตติกา
- 2506: ใจเพชร
- 2506: อวสานอินทรีแดง
- 2507: เล็บอินทรีย์
- 2507: เลือดข้น
- 2507: ร้อยป่า
- 2507: ละอองดาว
- 2507: นางสาวโพระดก
- 2507: คมแสนคม
- 2507: หัวใจเถื่อน
- 2508: นางเสือดาว (ชื่อเดิม มงกุฏรักนักเลง)
- 2508: รอยร้าว
- 2508: นางไม้
- 2508: พระรถ-เมรี
- 2508: ชื่นชีวัน
- 2508: นางใบ้
- 2508: ใจฟ้า
- 2508: เงารัก
- 2508: เจ้าเมือง
- 2508: ถิ่นผู้ดี
- 2508: จอมใจ
- 2508: สามมงกุฎ
- 2508: รัศมีแข
- 2508: หนึ่งในสยาม
- 2508: ธนูทอง
- 2508: Crocodile River (ไทย-ฮ่องกง)[5]
- 2508: เงิน เงิน เงิน (คามิโอคู่กับ รุจน์ รณภพ)
- 2509: จามเทวี
- 2509: หยกแดง
- 2509: หมอชนินทร์ผู้วิเศษ
- 2509: ซัมเซ็ง
- 2509: อรุณเบิกฟ้า
- 2509: เชลยใจ
- 2509: ชุมทางรัก
- 2509: เพชรสีเลือด
- 2509: น้ำตาเทียน
- 2509: หงส์เหิร
- 2509: ไทรคู่
- 2509: มือนาง
- 2509: สามเกลอเจอล่องหน
- 2509: เพชรตัดเพชร
- 2509: Night in Bangkok (ญี่ปุ่น-ฮ่องกง-ไต้หวัน)[6]
- 2510: สุภาพบุรุษเทื่ยงคืน
- 2510: สิงห์หนุ่ม
- 2510: บุหรงทอง
- 2510: กู่การะเวก
- 2510: เหนือนักเลง
- 2510: บ้าบิ่นบินเดี่ยว
- 2510: ใกล้รุ่ง
- 2511: พระลอ
- 2511: อีแตน
- 2511: ปราสาทรัก
- 2511: จ้าวแผ่นดิน
- 2511: สาวบ้านแต้
- 2511: แสนพยศ
- 2511: ไอ้หนึ่ง
- 2511: สีดา
- 2511: พันดง
- 2511: สาปสวาท
- 2512: เสน่ห์สาวบ้านแต้
- 2512: เหนือทรชน
- 2512: ปีศาจแสนสวย
- 2512: จ้าวป่าช้า
- 2512: สมิงจ้าวท่า
- 2512: ตุ๊กแกผี
- 2512: กินรี
- 2512: เสือภูพาน
- 2512: ยอดรักยูงทอง
- 2512: เทพบุตรสลาตัน
- 2512: พยัคฆ์เหนือ-เสืออีสาน-ยมบาลใต้
- 2512: จอมคน
- 2512: ไอ้แมวดำ
- 2512: แหวนประดับก้อย
- 2512: ปราสาททราย
- 2512: ความรักเจ้าขา
- 2513: จอมโจรมเหศวร
- 2513: ปี่แก้วนางหงส์
- 2513: แม่นาคพระนคร
- 2513: สองสิงห์จ้าวพยัคฆ์
- 2513: เทวีกายสิทธิ์
- 2513: อินทรีทอง
- 2513: ดาวพระเสาร์
- 2513: เรารักกันไม่ได้
- 2515: บุหงาหน้าฝน
- 2515: ไอ้แกละเพื่อนรัก
- 2515: ริมฝั่งแม่ระมิงค์
- 2515: แสนทนง
- 2515: แควเสือ
- 2515: วังบัวบาน
- 2515: แม่ปลาบู่
- 2515: ฝนสามฤดู
- 2515: หาดทรายแก้ว
- 2515: ลานสาวกอด
- 2516: แหวนทองเหลือง
- 2516: เด่นดวงเดือน
- 2518: เมียเถื่อน
- 2518: ผยอง
- 2520: แม่ดอกกัญชา
- 2523: บัวแก้ว บัวทอง
- 2524: ฟ้าเพียงดิน
- 2524: นกน้อย
โทรทัศน์
[แก้]- ไม่ทราบปี : คุณแม่ไม่โง่ ,พระบารมีปกเกล้า-เจ้าพระยา ,สาวเหนือ เสือกรุง ,ดอกไม้ในกองฟาง ,ขุนศึกวังหน้า
- 2509: ปีกกินรี
- 2510: ปลาบู่ทอง
- 2511: ชีวิตยังไม่สิ้น
- 2512: พระเวสสันดร (กัณหา-ชาลี)
- 2515: ฝนสามฤดู
- 2517: นางสิบสอง
- 2518: อุทัยเทวี
- 2519: บัวแก้ว บัวทอง
- 2520: พระทิณวงศ์
- 2522: ภูตกาลี
- 2524: สังข์ทอง
- 2525: สุวรรณหงส์
- 2526: ขวานฟ้าหน้าดำ
- 2527: ไชยเชษฐ์
- 2528: มัสยา (รางวัลเมขลา ครั้งที่ 5)
- 2529: แม่ปูเปรี้ยว
- 2529: แหวนทองเหลือง (รางวัลเมขลา ครั้งที่ 6)
- 2530: หนุ่มทิพย์
- 2531: อีสา (รางวัลเมขลา ครั้งที่ 8)
- 2532: แก้วตาเสือ
- 2532: ปริศนาของเวตาล
- 2532: แต่งกับงาน
- 2532: อุทัยเทวี
- 2533: ดวงตาสวรรค์
- 2533: เหตุเกิดที่ สน. ตอน ศุกร์ 13
- 2534: ดิน น้ำ ลม ไฟ
- 2534: แม่หญิง
- 2534: ตะวันชิงพลบ
- 2535: ยอพระกลิ่น
- 2536: เกิดแต่ตม
- 2536: ลมต้นฤดูฝน (ละครสั้น ปากกาทอง)
- 2536: โสนน้อยเรือนงาม
- 2537: ครูซ่อนกลิ่น (ละครสั้น ปากกาทอง)
- 2538: สุดสายป่าน
- 2538: สายโลหิต
- 2538: ไกรทอง
- 2539: แม่นาคพระนคร
- 2540: น้ำใจแม่
- 2541: อีสา-รวีช่วงโชติ
- 2541: ขวานฟ้าหน้าดำ
- 2542: พิศวาสอลเวง
- 2542: แม่นาค
- 2542: นางเอกหลังบ้าน
- 2542: ข้ามสีทันดร
- 2542: สาวน้อยร้อยมายา
- 2542: แม่นาคพระโขนง
- 2543: รากนครา
- 2543: หลวิชัยคาวี
- 2544: หัวใจในสุญญากาศ
- 2544: ฉันชื่อไศลา
- 2544: แก้วหน้าม้า
- 2545: รอยไถ
- 2545: พิกุลทอง
- 2545: ตามรักตามล่า
- 2546: นะหน้าทอง
- 2546: กระต่ายหลงจันทร์
- 2546: ไฟสิ้นเชื้อ
- 2546: ยอพระกลิ่น
- 2547: แหวนทองเหลือง
- 2547: กุลาแสนสวย
- 2547: สิงหไกรภพ
- 2548: บ้านร้อยดอกไม้
- 2548: วีรบุรุษกองขยะ
- 2549: หลงเงาจันทร์
- 2550: ปู่โสมเฝ้าทรัพย์
- 2550: พระทิณวงศ์
- 2552: ปลาบู่ทอง
- 2553: คุณชายตำระเบิด
- 2555: กระสือจำศีล
- 2556: คุณหญิงบ่าวตั้ง
- 2557: ฟ้ามีตา ตอน คนตายขายคนเป็น
- 2558: ฟ้ามีตา ตอน แม่จ๋าอยู่ไหน
- 2558: สาวน้อยอ้อยควั่น
- 2558: บ้านทรายทอง
- 2559: ฟ้ามีตา ตอน วันปีใหม่กับเช้าวันจันทร์
- 2560: สังข์ทอง
- 2561: อุทัยเทวี
- 2564: ตุ๊กตา
การแสดงบนเวที
[แก้]- 25--: ฉางกาย
- 2555: อัลไซเมอร์
นางแบบ
[แก้]- นางแบบแฟชั่นและทรงผม ของโรงเรียนเสริมสวยเกศสยามที่มีชื่อเสียงในทศวรรษ 2510 รวมทั้งบนเวทีรับเชิญ/งานการกุศล
- นางแบบนิตยสารต่างๆ ในอดีตถึงปัจจุบัน เช่น ดาราภาพ ,ดาราทอง ,การ์ตูนหนูจ๋า ,โวค (Vogue)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เยาวเรศ นิศากร ,การสั่งจิตใต้สำนึกเพื่อสุขภาพกายและใจ,Editor 1999 ISBN 974-90920-1-5 หน้า 17-27
- ↑ เยาวเรศ นิศากร,หน้า 23-25
- ↑ ประวัติเยาวเรศ นิศากร, นิตยสารดาราภาพ, เมษายน 2512
- ↑ Star Hill River Kwai Resort|Facebook
- ↑ Crocodile River (1965),IMdb.com
- ↑ นิตยสารดาราภาพ เมษายน พ.ศ. 2512 ,Night in Bangkok (1966),IMdb.com