ดวงตาสวรรค์
ดอกหญ้า - ดวงตาสวรรค์ | |
---|---|
ผู้ประพันธ์ | กัญญ์ชลา |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ประเภท | ชีวิต |
วันที่พิมพ์ | พ.ศ. 2500-2502 |
ดอกหญ้า และ ดวงตาสวรรค์ เป็นนวนิยาย ประพันธ์โดย กัญญ์ชลา หรือ กฤษณา อโศกสิน เจ้าของบทประพันธ์ชื่อดัง สวรรค์เบี่ยง และ เมียหลวง โดย ดอกหญ้า เป็นเรื่องราวในวัยเด็กของเหล่าตัวละครเอก และ ดวงตาสวรรค์ เป็นเรื่องราวภาคต่อในตอนโต เป็นเรื่องของแพน หรือพันพร เทพประทาน นาฎศิลป์สาวหน้าตาดี เป็นที่ปลื้มของคุณชายใหญ่จนเขาขอเธอแต่งงาน แพนได้ย้ายเข้ามา วังสวนทิพย์ ได้เจอกับเล็กชายหนุ่มหน้าตาดี เธอหลงเสน่ห์เล็กและต้องการเป็นเจ้าของ โดยที่เล็กชอบพอกับหญิงออนอยู่แล้ว แต่เธอก็ไม่สนใจเพราะสิ่งที่เธอหมายปองต้องได้ทุกอย่าง วันหนึ่งแพนได้เจอกับหทัยซึ่งเขาชวนเธอไปแสดงหนัง หนังเรื่องที่เธอแสดงประสบความสำเร็จมาก แพนจึงกลายเป็นดาราดวงใหม่ แต่เธอไม่รู้หรอกว่า สิ่งที่เธอได้มาต้องแลกกับบทเรียนชีวิตราคา
ดอกหญ้า และ ดวงตาสวรรค์ ตีพิมพ์เป็นตอนๆ ลงในนิตยสารศรีสัปดาห์ ระหว่างปี พ.ศ. 2500-2502 [1] ต่อมามีการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกหลายต่อหลายครั้ง โดยใช้ชื่อเรื่องว่า ดวงตาสวรรค์ [2]
เนื้อเรื่อง
[แก้]แพน หรือ พันพร เทพประทาน หญิงสาวนาฏศิลป์สาวผู้มากด้วยฝีมือ แสดงละครรำได้อย่างประทับใจผู้ชม ขนาดเพื่อนชาวต่างประเทศของ หม่อมราชวงศ์ราชาณัติ เทวพันธุ์ขอสั่งภาพจิตรกรรมรูปแพนใส่เครื่องรำขนาดเท่าตัวจริง ชายใหญ่ปลาบปลื้มไปกับแพนจนถึงกับหลงรักและขอแต่งงานกับแพนในที่สุด โดยท่านชายผู้เป็นบิดาของชายใหญ่ก็ยินยอม อันที่จริงชายใหญ่เคยรู้จักแพนมาตั้งแต่ทั้งคู่ยังเป็นเด็กครั้งที่ชายใหญ่ได้อพยพหนีภัยสงครามโลกไปอยู่ที่ผักไห่ แต่เมื่อสงครามยุติ กลุ่มเด็กชาวกรุงฯ ได้แก่ หม่อมราชวงศ์ราชาณัติ หรือ ชายใหญ่ หม่อมราชวงศ์เนตรนภิส หรือ หญิงออนและหลานในไส้ คือ เอียดและเล็ก ลูกของราศี พี่สาวของประภากับพลตรี โภคา พากันกลับกรุงเทพฯ วันนั้นเองแพนได้ลอบขึ้นเรือมาจนกระทั่งเล็กมาสังเกตเห็น แพนได้ขอติดตามไปเรียนที่กรุงเทพฯ ประภายินยอมรับอุปถัมภ์แพน และราศีก็ช่วยฝากแพนเข้าเรียนนาฏศิลป์พร้อมกับตั้งชื่อให้ใหม่ว่า พันพร เทพประทาน การที่แพนตกลงใจยอมแต่งงานกับชายใหญ่ทำให้เทิน หนุ่มจากผักไห่ ซึ่งเป็นเพื่อนของแพนมาตั้งแต่เด็ก หัวใจแตกสลาย แพนทำท่าทีเหมือนว่าไม่ได้เคยรักเขามาก่อน เทินพ่ายแพ้แก่ชีวิตและหนีเตลิดไป ระหว่างทางน่านและหทัยได้พบกับเทินที่กำลังป่วยทั้งทางใจและกาย ทั้งสองจึงพาเทินมารักษาตัวที่บ้านพักตากอากาศของตระกูลที่ห้วยทราย ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากบ้านพักตากอากาศของโภคา ที่นั้นเทินได้พบภาพถ่ายของตนสมัยเด็กจึงได้รู้ว่า น่านก็คือหนึ่งในเด็กชาวกรุงที่เคยอพยพหนีสงครามมาอยู่ที่ผักไห่ ทั้งน่าน และ หทัยต่างดีใจและอนุญาตให้เทินอาศัยอยู่ที่บ้านได้โดยไม่มีกำหนด
ผู้ที่เดือดร้อนที่สุดต่อการหายไปของเทินคือเอียด พี่สาวของเล็ก หญิงออน เริ่มจะสงสัยว่าเอียดจะแอบรักเทิน เพราะเทินเข้ามาสนิทสนมกับครอบครัวตั้งแต่ที่ผักไห่ เมื่อเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ทั้งเทินและเล็กก็ยังได้เรียนอยู่ด้วยกันอีก เล็กและหญิงออนกลัดกลุ้มใจ เพราะเอียดไม่เปิดปากบอกใครในเรื่องของความรัก แต่อาการของเอียดก็แย่ลงจนถึงขั้นล้มป่วย แพนเข้าไปมีบทบาทอยู่ในวังสวนทิพย์ ท่ามกลางความไม่พอใจของเหล่าคนเก่าแก่ ในขณะเดียวกัน หทัยซึ่งได้เคยเห็นแพนมาก่อน ก็หมายมั่นว่าจะเชิญแพนมาเป็นนางเอกหนังเรื่องใหม่ ลมลวง หทัยได้ติดตามไปทำความรู้จักกับแพน โดยมี น่าน พาไปพบ และได้รื้อฟื้นความหลังที่เคยรู้จักกันมาก่อนกับหญิงออนด้วย อาการป่วยของเอียดไม่ดีขึ้น ประภาจึงพาเอียดไปพักผ่อนที่ห้วยทรายโดยมีเล็กและหญิงออนไปส่ง ที่นั่นเอียดได้พบกับเทินโดยบังเอิญและทั้งสองได้แสดงมิตรภาพที่ดีต่อกัน ความสุขของคู่อื่น ๆ ทำให้แพนเดือดร้อนอยู่ในใจ และยิ่งแพนรู้ว่าชายใหญ่ ซึ่งโหมทำงานหนักล้มป่วยลง ด้วยวัณโรคปอด แพนยิ่งร้อนใจ แต่ก็ต้องพยายามรักษาหน้าของตนเองโดยการทำหน้าที่ของสะใภ้วังสวนทิพย์ที่ดี แต่มันขัดกับความรู้สึกที่แท้จริงของตน ในที่สุด แพนจึงติดต่อไปยังหัสดินทร์ภาพยนตร์ เพื่อตกลงยอมแสดงหนังเรื่องลมลวง ทำให้ชายใหญ่ไม่มีความสุขและเกิดปัญหาครอบครัวอย่างแรง ลมลวงประสบความสำเร็จอย่างสูงกลายเป็นหนังยอดนิยมเงินล้านและแพนเองก็ได้มีชื่อเสียงเป็นดาราดวงใหม่ แพนอยากจะหย่ากับชายใหญ่แต่ชายใหญ่ไม่ยอม จึงกลับไปอยู่กับประภา ในวันที่เล็กกลับจากงานเลี้ยงและแพนเป็นคนคอยเฝ้าปิดประตูให้ แพนวางแผนทำเป็นถูกเล็กปลุกปล้ำ เล็กจำเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ได้ แต่ก็เล่าให้หญิงออนฟัง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเล็กกับหญิงออนมีปัญหากัน แพนรีบวางแผนที่จะกำจัดหญิงออนออกจากเล็กตลอดไป
เมื่อหญิงออนกลับเข้าบ้านสะอึ้งบอกว่าอาจารย์วีระโทรมาว่าชายใหญ่ป่วยอยู่ที่บ้านอาจารย์วีระ และจะให้รถมารับที่วังพาหญิงออนไปบ้านอาจารย์วีระ เล็กได้ทราบข่าวจึงโทรศัพท์ไปเช็คที่บ้านอาจารย์วีระ พบว่ายังไม่กลับจากต่างจังหวัด และชายใหญ่ไม่ได้เป็นอะไร เล็กรีบไปที่วังสวนทิพย์ และออกไปตามหา ระหว่างนั้นเอียดกับหญิงออนกำลังต่อรองกับเชนเพื่อจะให้หลุดพ้นออกมา จนในที่สุดเชนยอมปล่อยตัวทั้งสองคนและขอให้สัญญาว่าจะไม่เอาความ หญิงออนและเอียดกลับมาแล้ว เล็กจึงรีบออกจากบ้านไปรับขวัญ พบแพนยืนขวางอยู่หน้าบ้าน และเล็งปืนขู่จะฆ่าเล็กด้วยปืนของเทินที่แพนแอบขโมยไป ระหว่างนั้นนักข่าวมาที่บ้าน พร้อมตำรวจ ตามที่ราศีแจ้งไป เรื่องหญิงออนและเอียดหายตัวไป แพนจึงตัดสินใจยิงเล็ก แพนรู้สึกผิดมากเกิดกลัวนักข่าว จึงวิ่งหนีออกไปจากบ้านและฆ่าตัวตายตาย ขณะที่โภคารีบพาเล็กไปส่งโรงพยาบาล ก่อนหน้านั้นแล้ว
เทินมีหน้าที่ต้องนำกระดูกของแพนกลับไปลอยน้ำที่บ้านเกิด สถานที่ที่แพนทอดทิ้งไปเพราะคิดว่า ที่นี่ไม่ดีพอ แพนได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดสวยงามด้วยความสามารถของเธอเอง แต่ความที่แพนไม่หยุดที่จะไขว่คว้า และไม่เคยพอเพียง ไม่พอใจกับสิ่งที่ตนมี ทำให้แพนต้องจบชีวิตลงในที่สุด
นักแสดงนำ
[แก้]รูปแบบการนำเสนอ | เล็ก ราวิน | แพน ดั้นนา | ม.ร.ว. เนตรนภิส (หญิงอร) | เทิน เวียงไทย | ม.ร.ว. ราชาณัติ |
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2507 | สมบัติ เมทะนี | พิศมัย วิไลศักดิ์ | โสภา สถาพร | ประจวบ ฤกษ์ยามดี | อดุลย์ ดุลยรัตน์ |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2515 | กำธร สุวรรณปิยะศิริ | นงลักษณ์ โรจนพรรณ | บุศรา นฤมิตร | ||
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2521 | นิรุตติ์ ศิริจรรยา | เพ็ญพร ไพฑูรย์ | เบญจวรรณ เก่งทุกทาง | สุริยัน ปฏิพัทธ์ | ภิญโญ ทองเจือ |
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2524 | พิศาล อัครเศรณี | ลลนา สุลาวัลย์ | เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ | สรพงศ์ ชาตรี | มนตรี เจนอักษร |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2533 | อรรถชัย อนันตเมฆ | อภิรดี ภวภูตานนท์ | แสงระวี อัศวรักษ์ | ธานินทร์ ทัพมงคล | สมิท ธนะโชติ |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2554 | อัชชา นามปาน | แคทรียา อิงลิช | รินลณี ศรีเพ็ญ | โกสินทร์ ราชกรม | สหรัถ สังคปรีชา |
ละครชุด พ.ศ. 2567 | ภูภูมิ พงศ์ภาณุภาค | นิชนารถ พรหมมาตร | ชัชชญา สำเริงราชย์ |
การสร้าง
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]- พ.ศ. 2507 - ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ฟิล์ม 16 มม. สร้างโดย ศรินทราภาพยนตร์ อำนวยการสร้างโดย ชาลี อินทรวิจิตร กำกับภาพยนตร์และบทภาพยนตร์โดย วิจิตร คุณาวุฒิ นำแสดงโดย พิศมัย วิไลศักดิ์, โสภา สถาพร, สมบัติ เมทะนี, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, อดุลย์ ดุลยรัตน์ และ วิไลวรรณ วัฒนพานิช วันที่เข้าฉายเมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ฉายครั้งแรกที่เฉลิมกรุง และได้รับรางวัลพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม และบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนั้น [3][4]
- พ.ศ. 2524 - ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ฟิล์ม 35 มม. สร้างโดย โคลี่เซี่ยมโปรดักชั่น กำกับการแสดงโดย พิศาล อัครเศรณี บทภาพยนตร์โดย วรรณิศา นำแสดงโดย ลลนา สุลาวัลย์, สรพงศ์ ชาตรี, พิศาล อัครเศรณี, มนตรี เจนอักษร, เนาวรัตน์ ยุกตะนันทน์ และ ส. อาสนจินดา เข้าฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ที่โรงหนังแอมบาสเดอร์-ดาดา-พลาซาร์-แกรนด์ จากบทอีแพนนี้ ทำให้ ลลนา สุลาวัลย์ ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลสุพรรณหงส์ ในปี 2525 ในฐานะผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม นอกจากนี้ ดวงตาสวรรค์ ยังเป็นชื่อเพลงประกอบภาพยนตร์ในเรื่องเดียวกัน [5]
ละครโทรทัศน์
[แก้]- พ.ศ. 2515 - ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางช่อง 4 บางขุนพรหม จัดโดยคณะวิชชุประภาส นำแสดงโดย กำธร สุวรรณปิยะศิริ, นงลักษณ์ โรจนพรรณ, บุศรา นฤมิตร, สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์, ชาลี อินทรวิจิตร, พันคำ
- พ.ศ. 2521 - ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จัดโดย ศิริพร วงศ์สวัสดิ์[6] นำแสดงโดย นิรุตติ์ ศิริจรรยา, ภิญโญ ทองเจือ, สุริยัน ปฏิพัทธ์, รัชนู บุญชูดวง, เพ็ญพร ไพฑูรย์, เบญจวรรณ เก่งทุกทาง
- พ.ศ. 2533 - ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ผลิตโดย ดาราวิดีโอ บทโทรทัศน์โดย ปราณประมูล กำกับการแสดงโดย มานพ สัมมาบัติ นำแสดงโดย อภิรดี ภวภูตานนท์, อรรถชัย อนันตเมฆ, แสงระวี อัศวรักษ์, ธานินทร์ ทัพมงคล, ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง, สมิท ธนโชติ, สุรัตนา ข้องตระกูล, ด.ญ.อรชุมา ธรรมกามีพี่
- พ.ศ. 2554 - ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ผลิตโดย ฮูแอนด์ฮู บทโทรทัศน์โดย ชาติญา กำกับการแสดงโดย ชูศักดิ์ สุธีรธรรม นำแสดงโดย แคทรียา อิงลิช, อัชชา นามปาน, รินลณี ศรีเพ็ญ, สหรัถ สังคปรีชา, กุลณัฐ ปรียะวัฒน์, โกสินทร์ ราชกรม
- พ.ศ. 2567 - ถูกนำไปสร้างเป็นละครชุดทางบริการวิดีโอสตรีมมิ่ง Monomax.me ผลิตโดย Mono Original กำกับการแสดงโดย ผิน เกรียงไกรสกุล นำแสดงโดย ภูภูมิ พงศ์ภาณุภาค, นิชนารถ พรหมมาตร, ชัชชญา สำเริงราชย์ [7]
รางวัล
[แก้]- รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2506
- ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม (พิศมัย วิไลศักดิ์)
- ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (วิจิตร คุณาวุฒิ)
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (วิจิตร คุณาวุฒิ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อมตะ ไรเตอร์ อวอร์ด ครั้งที่ 8/2562
- ↑ กระทู้จาก forumDetail
- ↑ "กระทู้จาก thaifilm.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2006-12-08.
- ↑ ดวงตาสวรรค์ (2507 สมบัติ-พิศมัย-โสภา)
- ↑ ดวงตาสวรรค์ (2524 ลลนา-สรพงศ์-พิศาล-มนตรี)
- ↑ "ละคร "ดวงตาสวรรค์" ทางช่อง ๓ ปี ๒๕๒๑". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-01-26.
- ↑ Series : ดวงตาสวรรค์ (2567)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วรรณกรรมในปี พ.ศ. 2500
- งานเขียนของกฤษณา อโศกสิน
- วรรณกรรมที่สร้างเป็นภาพยนตร์
- ภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2507
- ภาพยนตร์ที่กำกับโดย วิจิตร คุณาวุฒิ
- วรรณกรรมที่สร้างเป็นละครโทรทัศน์
- ละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2515
- ละครโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม
- ละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2521
- ละครโทรทัศน์ช่อง 3
- ภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2524
- ภาพยนตร์ที่กำกับโดย พิศาล อัครเศรณี
- ละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2533
- ละครโทรทัศน์ช่อง 7
- ละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2554
- ละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2567
- บทความเกี่ยวกับ ภาพยนตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บทความเกี่ยวกับ ละครโทรทัศน์ ที่ยังไม่สมบูรณ์