เอาฟ์แอร์ชตันเดินเอาส์รูอีเนิน
คำแปล: ฟื้นฟูขึ้นจากซากปรักหักพัง | |
---|---|
Auferstanden aus Ruinen | |
เนื้อร้อง | โยฮัน โรเบิรต์ เบชเชอร์ |
ทำนอง | ฮานส์ อิสเลอร์ |
รับไปใช้ | ค.ศ. 1949 |
เลิกใช้ | 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990 |
ก่อนหน้า | ดัสลีทแดร์ด็อยท์เชิน และ ฮอสท์-เว็สเซิล-ลีท (ไรช์เยอรมัน) |
ถัดไป | ดัสลีทแดร์ด็อยท์เชิน (ประเทศเยอรมนี) |
เอาฟ์แอร์ชตันเดินเอาส์รูอีเนิน (เยอรมัน: Auferstanden aus Ruinen; ฟื้นฟูขึ้นจากซากปรักหักพัง) เป็นชื่อของเพลงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก) ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 ถึง ค.ศ. 1990
ประวัติ
[แก้]ในปี ค.ศ. 1949 เยอรมนีตะวันออกในความควบคุมของสหภาพโซเวียตภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตรได้กลายเป็นรัฐสังคมนิยมในนาม "สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี" สำหรับเพลงชาติของรัฐใหม่นั้น ประพันธ์บทร้องโดย โยฮัน โรเบิรต์ เบชเชอร์ กวีผู้ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ส่วนทำนองนั้น ได้มีการสรรหาดนตรีที่สามารถร้องเข้ากับบทประพันธ์ของเบชเชอร์ โดยผลงานของฮานส์ อิสเลอร์ เป็นผลงานที่ได้รับเลือก
เนื้อหาของบทเพลงสะท้อนถึงช่วงเริ่มแรกของการแบ่งแยกเยอรมนี ซึ่งในเวลานั้นชาวเยอรมันส่วนมากเห็นว่ากระบวนการรวมพื้นที่เยอรมนีที่ถูกยึดครองทั้งหมดได้ดำเนินไปอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ บทร้องของเบชเชอร์จึงมีการเน้นความหมายถึง "ความเป็นหนึ่งเดียว" ในหลายจุด และใช้ร่วมกับคำว่า "ปิตุภูมิ" (einig Vaterland) เพื่อสื่อความหมายถึงประเทศเยอรมนีทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้าแนวคิดดังกล่าวก็ไม่เหมาะสมกับบริบทของสงครามเย็นที่ยิ่งอบอวลมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการสร้างกำแพงเบอร์ลินโดยรัฐบาลเยอรมนีตะวันออกในปี ค.ศ. 1961[1]
ในปี ค.ศ. 1973 เยอรมนีตะวันออกและเยอรมนีตะวันตกได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติพร้อมกัน หลังจากมีการเจรจาหลายครั้งระหว่างทั้งสองรัฐบาลเพื่อหารือข้อตกในการได้รับการรับรองสถานภาพร่วมกัน ต่อมาจึงมีการยกคำว่า "เยอรมนี" ออกจากรัฐธรรมนูญของเยอรมนีตะวันออก และมีการใช้เพียงทำนองเพลงชาติบรรเลงสำหรับโอกาสที่เป็นทางการเท่านั้น[2] ไม่มีการประพันธ์บทร้องใหม่ขึ้นมาแทนที่บทร้องของเบเชอร์ ซึ่งยังคงมีการใช้อยู่ในลักษณะไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะหลังจากจุดเปลี่ยนทางการเมือง (เยอรมัน: die Wende) ในช่วงปลาย ค.ศ. 1989 ทันทีที่เกิดความชัดเจนว่าประเทศได้เคลื่อนไหวไปสู่การรวมชาติ สถานีโทรทัศน์ของเยอรมนีตะวันออกได้กลับมาดำเนินการและใช้เพลงนี้เป็นสัญญาณการปิดสถานี (sign-off) ทุกคืน โดยใช้เพลงฉบับขับร้องประกอบการบรรเลงเพลงด้วยวงซิมโฟนีพร้อมภาพประกอบเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของเยอรมนีตะวันออก
"เอาฟ์แอร์ชตันเดินเอาส์รูอีเนิน" ได้ยุติความเป็นเพลงชาติเมื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีสลายตัวและเข้าร่วมกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในการรวมชาติเยอรมนีเมื่อปี ค.ศ. 1990 ดัสลีดแดร์ดอยท์เชินซึ่งประพันธ์ขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1841 ได้กลับมาเป็นเพลงชาติของเยอรมนีอันเป็นเอกภาพอีกครั้ง นายกรัฐมนตรีเยอรมนีตะวันออก โลทาร์ เดอ เม็ซซีแอร์ ได้เสนอให้เพิ่มบทร้องของเบชเชอร์รวมเข้าไปในเพลงชาติของเยอรมนีด้วย แต่ข้อเสนอนี้ได้รับการปฏิเสธจากนายกรัฐมนตรีเยอรมนีตะวันตก เฮ็ลมูท โคล
ในช่วงสุดท้ายของการออกอากาศเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1990 สถานีวิทยุเบอร์ลินสากล (Radio Berlin International) ซึ่งเป็นสถานีวิทยุนานาชาติของเยอรมนีตะวันออก ได้ใช้เพลงนี้ในฉบับขับร้องเป็นสัญญาณการปิดสถานี
เนื้อร้อง
[แก้]ภาษาเยอรมัน | คำแปล |
---|---|
1. Auferstanden aus Ruinen |
1. ฟื้นฟูขึ้นจากซากปรักหักพัง |
2. Glück und Friede sei beschieden |
2. ความสุขและสันติภาพจงบังเกิดมี |
3. Lasst uns pflügen, lasst uns bauen, |
3. เราจงหว่านไถ เราจงก่อร่าง |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "East Germany (GDR) - Auferstanden aus Ruinen". NationalAnthems.me. สืบค้นเมื่อ 2011-11-02.
- ↑ Hymne der DDR at "LeMO"