ข้ามไปเนื้อหา

การพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียโดยมุสลิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียโดยมุสลิม
ส่วนหนึ่งของ การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม

แผนที่เปอร์เซียและภูมิภาครอบ ๆ ก่อนการบุกครองโดยมุสลิม
วันที่ค.ศ.633–654[1]
สถานที่
ผล

ฝ่ายรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนชนะ

คู่สงคราม
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน
คานารางิยานส์
(หลังค.ศ.651)
จักรวรรดิแซสซานิด
คอเคซัสแอลเบเนีย
(ค.ศ.633–636)
ชาวอาหรับคริสเตียน
(ค.ศ.633–637)
คานารางิยานส์
(ค.ศ.633–651)
ตระกูลอิสปะฮ์บูดาน
(ค.ศ.633–651)
ตระกูลมิฮรอน
(ค.ศ.633–651)
ตระกูลคารีน
(ค.ศ.633–654)
ดาบูยิดส์
(642–651)
Hephthalites
(651–654)
สนับสนุนโดย:
จักรวรรดิไบแซนไทน์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
รายชื่อ
รายชื่อ
ป้อมของซาสซานิยะห์ที่เดอร์เบนท์ที่เสียแก่มุสลิมในปี ค.ศ. 643

การพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียของมุสลิม (อังกฤษ: Muslim conquest of Persia) เป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่จุดจบของจักรวรรดิซาสซานิยะห์ในปี ค.ศ. 644, และเป็นที่มาของการล่มสลายของราชวงศ์ซาสซานิยะห์ ในปี ค.ศ. 651 และการสิ้นสุดของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ในเปอร์เซีย จักรวรรดิซาสซานิยะห์ถูกรุกรานครั้งแรกโดยมุสลิม ในบริเวณที่ปัจจุบันคือประเทศอิรักในปี ค.ศ. 633 ในสมัยคอลิด อิบน์ อัลวะลีด (خالد بن الوليد‎ - Khalid ibn al-Walid) ซึ่งเป็นการพิชิตอิรักของมุสลิม หลังจากการย้ายคาลิดไปยังบริเวณแนวโรมันในลว้าน มุสลิมก็เสียอิรักคืนแก่การกลับมาโจมตีของเปอร์เซีย การรุกรานอิรักครั้งที่สองในปี ค.ศ. 636 ภายใต้การนำของซะอัด อิบุน อบี วัคคัซ (Sa`d ibn Abi Waqqas) ซึ่งหลังจากชัยชนะในยุทธการสำคัญยุทธการคาดิซิยะห์ (en:Battle of al-Qādisiyyah) อิทธิพลการปกครองทางตะวันตกของเปอร์เซียของซาสซานิยะห์ก็สิ้นสุดลง เทือกเขาซาโกรส (en:Zagros mountains) กลายเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างจักรวรรดิกาหลิปรอชิดีน และจักรวรรดิซาสซานิยะห์

การได้รับชัยชนะในช่วงระยะเวลาอันสั้นในเปอร์เซียเป็นการรณรงค์ทางทหารตามที่วางแผนไว้เป็นอย่างดีโดยกาหลิบอุมัรในอัลมะดีนะฮ์ (Medina) ซึ่งอยู่ห่างไกลจากสมรภูมิในเปอร์เซียหลายพันกิโลเมตรเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่อุมัรว่าเป็นนักยุทธศาสตร์และนักการเมืองผู้มีความสามารถที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์[2]

นักประวัติศาสตร์มุสลิมส่วนใหญ่ให้ความเห็นกันมาเป็นเวลานานแล้วว่าเปอร์เซียที่เกือบจะถูกรุกรานโดยอาหรับเป็นสังคมที่อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมและพร้อมอยู่แล้วที่จะรับการรุกรานของอาหรับด้วยความเต็มใจ แต่นักเขียนผู้อื่นผู้ใช้หลักฐานข้อมูลของอาหรับในการค้นคว้าทั้งหมด ที่แสดงว่าตรงกันข้ามกับความเชื่อดังกล่าวชาวอิหร่านต่อสู้การรุกรานของชาวอาหรับอย่างเหนียวแน่นอยู่เป็นเวลานานก่อนที่จะพ่ายแพ้[3] นอกจากนั้นกลุ่มหลังนี้ก็ยังกล่าวว่าหลังจากการได้รับชัยชนะทางการเมืองแล้ว เปอร์เซียก็ยังเริ่มสงครามทางวัฒนธรรมและประสบความสำเร็จในการมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมอาหรับ[4][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pourshariati (2008), pp. 469
  2. The Muslim Conquest of Persia By A.I. Akram. Ch: 1 ISBN 0195977130, 9780195977134
  3. Milani A. Lost Wisdom. 2004 ISBN 0934211906 p.15
  4. Mohammad Mohammadi Malayeri, Tarikh-i Farhang-i Iran (Iran's Cultural History). 4 volumes. Tehran. 1982.
  5. ʻAbd al-Ḥusayn Zarrīnʹkūb (1379 (2000)). Dū qarn-i sukūt : sarguz̲asht-i ḥavādis̲ va awz̤āʻ-i tārīkhī dar dū qarn-i avval-i Islām (Two Centuries of Silence). Tihrān: Sukhan. OCLC: 46632917, ISBN 964-5983-33-6. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Bashear, Suliman — Arabs and Others in Early Islam, Darwin Press, 1997
  • Daniel, Elton — The History of Iran, Greenwood Press, 2001
  • Donner, Fred — The Early Islamic Conquests, Princeton, 1981
  • M. Ismail Marcinkowski, Persian Historiography and Geography: Bertold Spuler on Major Works Produced in Iran, the Caucasus, Central Asia, India and Early Ottoman Turkey, with a foreword by Professor Clifford Edmund Bosworth, member of the British Academy, Singapore: Pustaka Nasional, 2003, ISBN 9971-77-488-7.
  • Sicker, Martin — The Islamic World in Ascendancy: From the Arab Conquests to the Siege of Vienna, Praeger, 2000
  • Zarrin’kub, Abd al-Husayn — Ruzgaran : tarikh-i Iran az aghz ta saqut saltnat Pahlvi, Sukhan, 1999. ISBN 964-6961-11-8
  • Arab Conquest of Iran เก็บถาวร 2011-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, pp. 203–10, Encyclopaedia Iranica.