ทะเลทรายทากลามากัน
ทะเลทรายทากลามากัน | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพทะเลทรายทากลามากัน | |||||||||||||||||
ทะเลทรายทากลามากันและแอ่งตาริม | |||||||||||||||||
พื้นที่ | 337,000 ตารางกิโลเมตร (130,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||
ภูมิศาสตร์ | |||||||||||||||||
ประเทศ | จีน | ||||||||||||||||
รัฐ/จังหวัด | เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ | ||||||||||||||||
พิกัด | 38°54′N 82°12′E / 38.9°N 82.2°E | ||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 塔克拉瑪干沙漠 | ||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 塔克拉玛干沙漠 | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ชื่อภาษาดุงกาน | |||||||||||||||||
ภาษาดุงกาน | Такәламаган Шамә | ||||||||||||||||
ชื่อภาษาอุยกูร์ | |||||||||||||||||
ภาษาอุยกูร์ | تەكلىماكان قۇملۇقى | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ทะเลทรายทากลามากัน (อังกฤษ: Taklamakan Desert; จีน: 塔克拉玛干沙漠; พินอิน: Tǎkèlāmǎgān Shāmò, อักษรเสี่ยวเอ้อร์: تَاكْلامَاقًا شَاموْ, ดุงกาน: Такәламаган Шамә; อุยกูร์: تەكلىماكان قۇملۇقى) หรือ ทะเลทรายทากลิมากัน (Taklimakan Desert) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน มีพื้นที่ 268,680 ตารางกิโลเมตร เท่ากับประเทศนิวซีแลนด์ เป็นพื้นที่ในเส้นทางสายไหมระหว่างจีนกับเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก โดยมีชายแดนทางใต้ติดกับเทือกเขาคุนหลุน ทางตะวันตกติดกับเทือกเขาปามีร์ ทางเหนือติดกับทิวเขาเทียนชาน และทางตะวันออกติดกับทะเลทรายโกบี
ทะเลทรายทากลามากันมีระดับอยู่ต่ำกว่าน้ำทะเล 150 เมตร ในบางครั้งอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียสนานหลายสัปดาห์ แต่ในทะเลทรายยังมีโอเอซิสหลายแห่ง เช่นที่เมืองทูรฟานและคูกา นอกจากนี้ในโอเอซิสยังนิยมปลูกองุ่นและแตงโม ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นแตงโมที่หวานที่สุดในโลกอีกด้วย
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ในขณะที่นักวิจัยสวนใหญ่ยอมรับว่า มากัน เป็นศัพท์ภาษาเปอร์เซียที่แปลว่า "สถานที่" คำว่า ทากลา ยังไม่ค่อยเป็นที่กระจ่าง คำนี้อาจเป็นคำยืมภาษาอุยกูร์ที่มาจากภาษาเปอร์เซียว่า ทาร์ก "เพื่อออกคนเดียว, ปลดปล่อย, ทอดทิ้ง" + มากัน[1][2] คำอธิบายที่น่าเชื่อถืออีกอันระบุว่าคำนี้มาจากภาษาชะกะไตว่า taqlar makan แปลว่า "สถานที่ปรักหักพัง"[3][4] หวัง กั๋วเหว่ยและหฺวัง เหวินปี้ นักวิชาการชาวจีนเชื่อมชื่อนี้กับชาวโทคาเรีย กลุ่มชนในอดีตที่แอ่งตาริม ทำให้คำว่า "Taklamakan" มีความหมายคล้ายกับ "Tocharistan"[5]
ในศัพทมูลวิทยาพื้นเมืองระบุว่า คำนี้หมายถึง "จุดที่ไม่อาจย้อนกลับ" ซึ่งมักตีความกันว่า "เมื่อคุณเข้าไปแล้ว คุณจะไม่สามารถออกมาได้" หรือประโยคที่คล้าย ๆ กัน[6][7][8][9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pospelov, E. M. (1998). Geograficheskiye nazvaniya mira. Moscow. p. 408.
- ↑ Jarring, Gunnar (1997). "The Toponym Takla-makan". Turkic Languages. 1: 227–40.
- ↑ Tamm (2011), p. 139.
- ↑ "Takla Makan Desert at TravelChinaGuide.com". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2008. สืบค้นเมื่อ November 24, 2008. But see Christian Tyler, Wild West China, John Murray 2003, p.17
- ↑ Yao, Dali (2019). "Origin and meaning of the name "Taklamakan" [塔克拉玛干之名的起源与语义]". Wenhui Xueren (ภาษาจีน). 408. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-08. สืบค้นเมื่อ 2021-11-26.
- ↑ Golden, Peter B. (January 14, 2011). Central Asia in World History. Oxford University Press. p. 16. ISBN 9780199722037.
- ↑ Hobbs, Joseph J. (December 14, 2007). World Regional Geography (6th ed.). Wadsworth Publishing Co Inc. p. 368. ISBN 978-0495389507. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2017. สืบค้นเมื่อ December 5, 2016.
- ↑ Baumer, Christoph (June 30, 2008). Traces in the Desert: Journeys of Discovery Across Central Asia. B. Tauris & Company. p. 141. ISBN 9780857718327. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2017. สืบค้นเมื่อ December 5, 2016.
- ↑ Hopkirk, Peter (November 1, 2001). Foreign Devils on the Silk Road: The Search for the Lost Treasures of Central Asia. Oxford University Press. p. 12. ISBN 978-0192802118. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2017. สืบค้นเมื่อ December 5, 2016.
ข้อมูล
[แก้]- Jarring, Gunnar (1997). "The toponym Takla-makan", Turkic Languages, Vol. 1, pp. 227–240.
- Hopkirk, Peter (1980). Foreign Devils on the Silk Road: The Search for the Lost Cities and Treasures of Chinese Central Asia. Amherst: The University of Massachusetts Press. ISBN 0-87023-435-8.
- Hopkirk, Peter (1994). The Great Game: The Struggle for Empire in Central Asia. ISBN 1-56836-022-3.
- Tamm, Eric Enno (2010). The Horse That Leaps Through Clouds. Vancouver/Toronto/Berkeley: Douglas & McIntyre. ISBN 9781553652694 (cloth); ISBN 978-1-55365-638-8 (ebook).
- Warner, Thomas T. (2004). Desert Meteorology. Cambridge University Press, 612 pages. ISBN 0-521-81798-6.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Cariou, Alain (2010). "Taklamakan". Encyclopaedia Iranica.
- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 26 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 365–366.
วิดีโอ
[แก้]- Treasure seekers : China's frozen desert, National Geographic Society (2001)