ข้ามไปเนื้อหา

อ่างตรอเปียงทมอ

พิกัด: 13°52′08″N 103°18′05″E / 13.86876567°N 103.30130525°E / 13.86876567; 103.30130525
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ่างตรอเปียงทมอ
แผนที่แสดงที่ตั้งอ่างตรอเปียงทมอ
แผนที่แสดงที่ตั้งอ่างตรอเปียงทมอ
ที่ตั้งของอ่างตรอเปียงทมอ
ที่ตั้งจังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา
เมืองใกล้สุดศรีโสภณ
พิกัด13°52′08″N 103°18′05″E / 13.86876567°N 103.30130525°E / 13.86876567; 103.30130525
พื้นที่126.50 ตารางกิโลเมตร (48.84 ตารางไมล์)
จัดตั้งได้รับการคุ้มครองครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2542 และได้รับการปรับเป็นพื้นที่คุ้มครองภูมิทัศน์ทางบกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559
หน่วยราชการกระทรวงกสิกรรม การป่าไม้ และการประมง / สำนักป่าไม้

พื้นที่คุ้มครองภูมิทัศน์ทางบกอ่างตรอเปียงทมอ (เขมร: អាងត្រពាំងថ្ម [ʔaːŋ trɑːpeaŋ tʰmɑː]) เป็นพื้นที่คุ้มครองขนาด 126.50 ตารางกิโลเมตร (48.84 ตารางไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542[1] และได้รับการแปลงเป็นพื้นที่คุ้มครองภูมิทัศน์ทางบกในปี พ.ศ. 2559[2] เขตสงวนแห่งนี้ถูกกำหนดไว้เพื่อปกป้องนกกระเรียนไทยที่หายาก (Grus antigone sharpii) ก่อนที่จะมีการค้นพบนกกระเรียนที่ตรอเปียงทมอ เชื่อกันว่ามีนกชนิดนี้เหลืออยู่ไม่ถึง 1,000 ตัวทั่วโลก[3]

ที่ตั้งและการเข้าถึง

[แก้]

เขตรักษาพันธุ์นกกระเรียนตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา ไม่ไกลจากชายแดนประเทศไทย มีพื้นที่คุ้มครองทั้งหมด 10,000 เฮกตาร์ตั้งอยู่ในอำเภอพนมศกของจังหวัดบันทายมีชัย อำเภอพนมศกมีอาณาเขตติดกับจังหวัดเสียมราฐและอุดรมีชัย หากมองจากทางเหนือตามเข็มนาฬิกา อำเภอพนมศกมีอาณาเขตติดกับอำเภอบ็อนเตียย์อ็อมปึลและอำเภอจงกาลของจังหวัดอุดรมีชัยไปทางเหนือ อาณาเขตด้านตะวันออกของอำเภอมีอาณาเขตติดกับอำเภอเสร็ยสนำและอำเภอกลอรันห์ของจังหวัดเสียมราฐ ทางใต้ของอำเภอนี้มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอพระเนตรพระ จังหวัดบันทายมีชัย ชายแดนด้านตะวันตกของอำเภอนี้ติดต่อกับอำเภอสวายเจกและอำเภอถมอปวกของจังหวัดบันทายมีชัยด้วยเช่นกัน[4] สามารถเข้าถึงเขตรักษาพันธุ์ได้โดยทางถนนจากศรีโสภณ (70 กิโลเมตร) หรือเมืองเสียมราฐ (90 กิโลเมตร) โดยเริ่มด้วยทางหลวงหมายเลข 6 จากนั้นจึงใช้ถนนในอำเภอที่ไม่ได้ลาดยางขนาดเล็กไปยังอ่างตรอเปียงทมอ[5]

นกกระเรียนไทย

นกกระเรียนไทย

[แก้]

นกกระเรียนไทย (Grus antigone) เป็นนกประจำถิ่นที่สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปีในภาคเหนือของปากีสถานและอินเดีย (โดยเฉพาะอินเดียตอนกลางและที่ราบแม่น้ำคงคา) เนปาล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย เป็นนกกระเรียนขนาดใหญ่มาก โดยมีความยาวเฉลี่ย 156 เซนติเมตร (5 ฟุต) พบได้ในที่ลุ่มชื้นแฉะน้ำจืดและที่ราบ[6]

สัตว์ป่าอื่น ๆ

[แก้]

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอ่างตรอเปียงทมอยังเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่สำคัญสำหรับสัตว์สายพันธุ์อื่น ๆ ที่ถูกคุกคามทั่วโลกอีกหลายชนิด เช่น ลิงแสม (Macaca fascicularis) ละองละมั่ง (Rucervus eldii) เต่าหับเอเชีย (Cuora amboinensis) เต่านาหัวใหญ่ (Malayemys macrocephala) และเต่าเหลือง (Indotestudo elongata) สามารถพบได้ในอ่างตรอเปียงทมอ[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Protected Planet (2018). "Ang Trapeang Thma Protected Forest". United Nations Environment World Conservation Monitoring Centre. สืบค้นเมื่อ 26 Dec 2018.
  2. "Sub-decree No.100 on Establishment of Ang Trapeang Thmor Protected Landscape - OD Mekong Datahub". data.opendevelopmentcambodia.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-08-01.
  3. "Khmer Rouge dam refuge for endangered bird". ABC News. 25 May 1999. สืบค้นเมื่อ 2009-02-22.
  4. "Banteay Meanchey Provincial Resources". Ministry of Commerce. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-02-15.
  5. Cambodia Road Network (Version 03-00 ed.). Ministry of Public Works and Transport. 2001.
  6. "Sarus Crane - BirdLife Species Factsheet (Grus Antigone)". BirdLife International. 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-03-01.
  7. "Directory of Important Bird Areas - KH001 Ang Trapaing Thmor" (PDF). BirdLife International. 2003. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-03-01.