ศรีโสภณ
ศรีโสภณ ក្រុងសិរីសោភ័ណ | |
---|---|
เมือง | |
วงเวียนกลางเมืองศรีโสภณ และสถานีรถไฟศรีโสภณ | |
พิกัด: 13°35′N 102°59′E / 13.583°N 102.983°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | บันทายมีชัย |
เทศบาล | ศรีโสภณ |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาลนคร |
ความสูง | 15 เมตร (49 ฟุต) |
ประชากร (2019)[1] | |
• ทั้งหมด | 99,019 คน |
• อันดับ | 4 |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+7 (เวลาในประเทศกัมพูชา) |
ศรีโสภณ (เขมร: សិរីសោភ័ណ, Sĕri Saôphoăn, [serəj saopʰɔən]) เป็นเมืองหลักของจังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของประเทศกัมพูชา
ประวัติ
[แก้]เมืองศรีโสภณเดิมเรียกว่า บ้านท่าสวาย เพราะตั้งชุมชนอยู่ริมแม่น้ำสวาย[2][3] ซึ่งอยู่ในอาณาบริเวณที่เรียกว่า เขตขอมแปรพักตร์ เริ่มมีคนไทยอพยพเข้าไปตั้งชุมชนตั้งแต่ พ.ศ. 2325 เป็นต้นมา[4] เมืองแห่งนี้ถูกก่อตั้งโดยเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และได้เทครัวชาวญ้อจากเวียงจันทน์และเมืองอื่น ๆ เมื่อคราวปราบเจ้าอนุวงศ์เมื่อ พ.ศ. 2369 ลงไปตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านหลายแห่งโดยรอบ จนบ้านท่าสวายขยายตัวเป็นเมือง[5] ต่อมาถูกยกให้มีฐานะขึ้นเป็น เมืองศรีโสภณ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ จ.ศ. 1212 ตรงกับ พ.ศ. 2393–2394[2][3] ชาวไทยได้ก่อสร้างป้อมและกำแพงเมืองได้อย่างมั่นคง[4] เดิมขึ้นกับมณฑลบูรพา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเอเจียน อัยมอนีแยร์ (Etienne Aymonier) บันทึกไว้ว่า "...เมืองซึ่งชาวกัมพูชาเรียกว่า สวาย (มะม่วง) เป็นเมืองขึ้นของพระตะบองซึ่งเจ้าคุณบดินทร์ ขุนนางผู้ใหญ่ชาวสยาม ได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองใน ค.ศ. 1846 (พ.ศ. 2389) โดยขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมืองนี้จึงได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ศรีโสภณ…"[5]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองศรีโสภณและมณฑลบูรพาตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2450[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019 – Final Results" (PDF). National Institute of Statistics. Ministry of Planning. 26 January 2021. สืบค้นเมื่อ 4 February 2021.
- ↑ 2.0 2.1 ศานติ ภักดีคำ. ยุทธมรรคา เส้นทางเดินทัพไทย-เขมร. กรุงเทพฯ : มติชน, 2557, หน้า 247
- ↑ 3.0 3.1 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560, หน้า 350
- ↑ 4.0 4.1 ศานติ ภักดีคำ. ยุทธมรรคา เส้นทางเดินทัพไทย-เขมร. กรุงเทพฯ : มติชน, 2557, หน้า 131-132
- ↑ 5.0 5.1 วิภา จิรภาไพศาล (12 กุมภาพันธ์ 2567). "เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนนางไทย ผู้สร้าง 3 เมืองใหม่ในกัมพูชา". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2568.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ลัทธิชาตินิยมไทย/สยามกับกัมพูชาและกรณีศึกษาปราสาทพระวิหาร. กทม. โครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ. 2552
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]คู่มือการท่องเที่ยว Sisophon จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)