ลิงแสม
ลิงแสม | |
---|---|
ฝูงลิงแสมที่ศาลพระกาฬ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | อันดับวานร Primates |
อันดับย่อย: | Haplorhini Haplorhini |
อันดับฐาน: | Simiiformes Simiiformes |
วงศ์: | Cercopithecidae Cercopithecidae |
สกุล: | Macaca Macaca Raffles, 1821 |
สปีชีส์: | Macaca fascicularis |
ชื่อทวินาม | |
Macaca fascicularis Raffles, 1821 | |
การกระจายพันธุ์ของลิงแสม | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
ลิงแสม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Macaca fascicularis) เป็นลิงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae)
ลักษณะ
จัดเป็นลิงขนาดกลาง มีขนตามลำตัวสีน้ำตาล หางยาวกว่าความยาวของลำตัว ขนตรงกลางหัวมีลักษณะตั้งแหลมชี้ขึ้น ขนใต้ท้องสีขาว โดยสีขนจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ ฤดูกาล และถิ่นที่อยู่อาศัย ขนาดความยาวลำตัวและหัวประมาณ 48.5 – 55 เซนติเมตร ความยาวหาง 44 – 54 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 3.5 – 6.5 กิโลกรัม
การแพร่กระจายพันธุ์
มีการแพร่กระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้าง โดยพบตั้งแต่ประเทศอินเดีย, พม่า, ไทย, คาบสมุทรมลายู, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว, เกาะลูซอน และเกาะมินดาเนา ของฟิลิปปินส์, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม ทำให้มีชนิดย่อยมากถึง 10 ชนิด[3] (ดูในตาราง)
นิเวศวิทยาและพฤติกรรม
เป็นลิงอีกชนิดหนึ่งที่พบได้แทบทุกภูมิประเทศ ทั้งในป่าชายเลนใกล้ทะเล โดยลิงฝูงที่อาศัยในที่นี่จะว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง เคยมีรายงานว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 50 เมตร หากินสัตว์ทะเลขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น กุ้ง, ปู หรือ หอย แต่บางครั้งก็พบอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นและพื้นที่สูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล หรือพื้นที่เกษตรกรรมด้วยซึ่งมันมักจะทำลายผลิตผลทางการเกษตร ลิงแสมพยายามจะปรับตัวให้สามารถอยู่ในพื้นที่บริเวณขอบนอกของป่า มากกว่าอยู่ในป่าลึก และสามารถปรับตัวในเข้ากับมนุษย์ได้ในบางโอกาส ดั่งที่มักพบเห็นทั่วไปตามเมืองใหญ่ อาทิ ศาลพระกาฬ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หรือ ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นต้น ซึ่งมักจะอยู่เป็นฝูงใหญ่ อาจมีสมาชิกในฝูงได้ถึง 200 ตัว โตเต็มที่เมื่อมีอายุได้ราว 3-4 ปี ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกที่มีอายุน้อยจะเกาะติดแม่เสมอ และจัดเป็นลิงอีกชนิดหนึ่งที่หากเลี้ยงตั้งแต่ยังเล็ก ก็สามารถนำมาฝึกหัดให้เชื่องได้เหมือนลิงกัง (M. nemestrina) [4]
สถานะ
ในประเทศไทย ลิงแสมจัดเป็นลิงชนิดที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด สามารถพบได้แม้กระทั่งในเขตกรุงเทพมหานคร[5] มีสถานะตามกฎหมายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
อ้างอิง
- ↑ Hansen, M.F.; Ang, A.; Trinh, T.; Sy, E.; Paramasiwam, S.; Ahmed, T.; Dimalibot, J.; Jones-Engel, L.; Ruppert, N.; Griffioen, C.; Lwin, N.; Phiapalath, P.; Gray, R.; Kite, S.; Doak, N.; Nijman, V.; Fuentes, A. & Gumert, M.D. (2022) [amended version of 2022 assessment]. "Macaca fascicularis". IUCN Red List of Threatened Species. 2022: e.T12551A221666136. doi:10.2305/IUCN.UK.2022-2.RLTS.T12551A221666136.en.
- ↑ Fooden, J. (1995). Systematic review of Southeast Asian Longtail Macaques Macaca fascicularis (Raffles [1821]). Fieldiana New Series No. 81. Chicago: Field Museum of Natural History. doi:10.5962/bhl.title.3456.
- ↑ Macaca fascicularis: Subspecies
- ↑ กองทุนสัตว์ป่าโลก. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : ไซรัสการพิมพ์, 2543. 256 หน้า. ISBN 974-87081-5-2
- ↑ ล่องเรือชมเกาะ ดูลิงแสม ตลาดน้ำวัดหัวกระบือ
แหล่งข้อมูลอื่น
- Bonadio, C. 2000. "Macaca fascicularis" (On-line), Animal Diversity Web. Accessed March 10, 2006.
- Primate Info Net Macaca fascicularis Factsheet
- ISSG Database: Ecology of Macaca fascicularis
- Primate Info Net: Macaca fascicularis
- "Conditions at Nafovanny", video produced by the British Union for the Abolition of Vivisection following an undercover investigation at a captive-breeding facility for long-tailed macaques in Vietnam.
- View the macFas5 genome assembly in the UCSC Genome Browser.