ข้ามไปเนื้อหา

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมซำเก๊าะ

พิกัด: 12°16′17″N 102°58′36″E / 12.2713°N 102.9767°E / 12.2713; 102.9767
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมซำเก๊าะ
ไอยูซีเอ็นประเภท 4 (เขตบริหารสิ่งแวดล้อม)[1]
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมซำเก๊าะ
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมซำเก๊าะ
ที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมซำเก๊าะ
ที่ตั้งหลัก ๆ ในจังหวัดโพธิสัตว์ ประเทศกัมพูชา
เมืองใกล้สุดเมืองโพธิสัตว์
พิกัด12°16′17″N 102°58′36″E / 12.2713°N 102.9767°E / 12.2713; 102.9767
พื้นที่3,307.56 ตารางกิโลเมตร (1,277.06 ตารางไมล์)[1]
จัดตั้งพ.ศ. 2536
หน่วยราชการกระทรวงสิ่งแวดล้อม

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมซำเก๊าะ (เขมร: ដែនជម្រកសត្វព្រៃភ្នំសំកុស) เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทางตะวันตกของกัมพูชา ติดกับประเทศไทย เขตรักษาพันธุ์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2536[2] และครอบคลุมพื้นที่ 3,307.56 ตารางกิโลเมตร (1,277.06 ตารางไมล์)[1] นอกจากนี้ยังได้รับการกำหนดให้เป็นพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นก (IBA)[3]

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมซำเก๊าะตั้งอยู่ในทิวเขาบรรทัด (พนมกระวาน) พื้นที่ดังกล่าวประกอบด้วยภูเขาที่เป็นป่าเป็นส่วนใหญ่ แต่มีแหล่งที่อยู่อาศัยและประเภทป่าที่แตกต่างกันมากมาย และภูมิประเทศมียอดเขาที่แตกต่างกันสามยอด ได้แก่ พนมซำเก๊าะ (1,717 เมตร (5,633 ฟุต) ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับสองของกัมพูชา) พนมขมาด (1,496 เมตร (4,908 ฟุต)) และพนมตุมปอร์ (1,250 เมตร (4,100 ฟุต))

ประวัติ

[แก้]

ในอดีต พื้นที่เขตรักษาพันธุ์แห่งนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ปอร์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อกลุ่มชนปอร์ที่ครอบคลุมถึงกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม ในกัมพูชา กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในที่สูงของประเทศนี้เรียกรวมกันว่าเขมรเลอ (Khmer Loeu)[4][5]

พืชพรรณและสัตว์

[แก้]

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้โดดเด่นด้วยความหลากหลายของแหล่งที่อยู่อาศัย รวมถึงป่าหลายประเภท ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ยังไม่มีใครสำรวจมากนัก แต่จากการสำรวจขนาดเล็กพบว่ามีสัตว์สายพันธุ์หายาก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และแม้แต่สายพันธุ์เฉพาะถิ่นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีอันดับวานรและลิงหลากหลายสายพันธุ์[6][7]

ภัยคุกคาม

[แก้]

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคามจากการตัดไม้ทำลายป่าอย่างผิดกฎหมาย[8] รวมทั้งการกำหนดเป้าหมายเฉพาะต้นเทพทาโรเพื่อนำไปใช้ในตลาดยาเสพติดผิดกฎหมาย[9] ภัยคุกคามอีกประการหนึ่งคือการล่าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย[10]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 World Database on Protected Areas (2018). "Phnom Samkos Wildlife Sanctuary". Protected Planet, United Nations Environment World Conservation Monitoring Centre. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 26 Dec 2018.
  2. "Royal decree on Establishment of Natural Protected Areas (1993 ) - OD Mekong Datahub". data.opendevelopmentcambodia.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-21.
  3. BirdLife International (2009). "Important Bird Areas factsheet: Phnom Samkos, Cambodia". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  4. "The Survival of Cambodia's Ethnic Minorities". www.culturalsurvival.org. 2 March 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.
  5. "Ethnic minorities and indigenous people". 15 July 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-19. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.
  6. "Abundance of primates reveals Samkos Wildlife Sanctuary, Cardamom Mountains, Cambodia as a priority area for conservation".
  7. "New Wolf Snake Species Discovered in Cambodia | Biology | Sci-News.com". Breaking Science News | Sci-News.com. 12 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-31. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.
  8. "Wood Emperor arrested in Cambodia | Fauna & Flora International". www.fauna-flora.org. 13 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-31. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.
  9. "Huge seizure of 'ecstasy oil' in Cardamom Mountains | Fauna & Flora International". www.fauna-flora.org. 24 June 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-30. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.
  10. "Phnom Samkos Wildlife Sanctuary" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-24. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]