ข้ามไปเนื้อหา

อนุสรณ์สถานทางธรรมชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกโนเดอาริตา อนุสรณ์สถานทางธรรมชาติในอาร์เจนตินา
ต้นโอ๊กบอกุสวัฟ อนุสาวรีย์ทางธรรมชาติในป่าฮีทอึคเคอร์มึนเดอ ตั้งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านแลชนอกูร์แน โปแลนด์

อนุสรณ์สถานทางธรรมชาติ[1] (อังกฤษ: natural monument) เป็นลักษณะทางธรรมชาติหรือทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าโดดเด่นหรือไม่เหมือนใครเนื่องจากมีความหายากในตัวเอง เป็นตัวแทนของคุณภาพด้านสุนทรียศาสตร์ หรือความสำคัญทางวัฒนธรรม[2] อาจเป็นลักษณะทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ เช่น น้ำตก หน้าผา ปล่องภูเขาไฟ ฟอสซิล เนินทราย รูปร่างหิน หุบเขา และแนวปะการัง สถานที่ที่สำคัญสำหรับกลุ่มศาสนาอาจถือเป็นอนุสรณ์สถานทางธรรมชาติได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ภาพเขียนในถ้ำ[3] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวข้องกับดินแดนของชนพื้นเมือง

การคุ้มครอง

[แก้]

ภายใต้แนวปฏิบัติขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ[4] อนุสรณ์สถานทางธรรมชาติอยู่ในกลุ่ม 3 อธิบายว่า:

“พื้นที่เหล่านี้ถูกกำหนดไว้เพื่อปกป้องอนุสรณ์สถานทางธรรมชาติโดยเฉพาะ ซึ่งอาจเป็นลักษณะภูมิประเทศ ภูเขาใต้น้ำ ถ้ำใต้น้ำ ลักษณะทางธรณีวิทยา เช่น ถ้ำ หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิต เช่น ป่าโบราณ โดยทั่วไปแล้วพื้นที่เหล่านี้จะได้รับการคุ้มครองค่อนข้างเล็กและมักมีมูลค่าสูงสำหรับผู้มาเยี่ยมชม”[3]

ซึ่งเป็นระดับการคุ้มครองที่ต่ำกว่ากลุ่ม 2 (อุทยานแห่งชาติ) และระดับ 1 (พื้นที่ธรรมชาติดั้งเดิม)

แนวทางของสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งยุโรปสำหรับการเลือกอนุสรณ์สถานทางธรรมชาติมีดังนี้:[5]

  • พื้นที่ดังกล่าวควรมีคุณลักษณะสำคัญที่โดดเด่นอย่างน้อยหนึ่งประการ คุณลักษณะทางธรรมชาติที่เหมาะสม ได้แก่ น้ำตก ถ้ำ หลุมอุกกาบาต แหล่งฟอสซิล เนินทราย และลักษณะทางทะเล พร้อมด้วยสัตว์และพืชที่มีลักษณะเฉพาะหรือเป็นตัวแทน คุณลักษณะทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง อาจได้แก่ ที่อยู่อาศัยในถ้ำ ป้อมปราการบนหน้าผา แหล่งโบราณคดี หรือแหล่งธรรมชาติที่มีความสำคัญทางมรดกสำหรับชนพื้นเมือง
  • พื้นที่ควรมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะปกป้องความสมบูรณ์ของคุณลักษณะและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องโดยตรง

ตัวอย่าง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ความรู้ทั่วไป - ประเภทของพื้นที่คุ้มครองทางทะเล - ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง". km.dmcr.go.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  2. "natural monument — European Environment Agency". www.eea.europa.eu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-17.
  3. 3.0 3.1 Konyn, Carol (2021-07-06). "What are Natural Monuments?". Earth.Org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-17.
  4. Day J., Dudley N., Hockings M., Holmes G., Laffoley D., Stolton S. & S. Wells, 2012. Guidelines for applying the IUCN Protected Area Management Categories to Marine Protected Areas. Gland, Switzerland: IUCN. 36pp.
  5. "Environmental Terminology Discovery Service — EEA". glossary.eea.europa.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-18. สืบค้นเมื่อ 2006-06-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]