ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อาร์มี่ ยูไนเต็ด)
สโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลทหารบก
ฉายาสุภาพบุรุษวงจักร
ก่อตั้ง24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459
ในนาม สโมสรกีฬากองทัพบก
ยุบพ.ศ. 2562
สนามสนามกีฬากองทัพบก
ความจุ20,000
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
สโมสรกีฬาของกองทัพบกไทย
ฟุตบอล ฟุตบอลสำรอง

สโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด หรือเดิมคือ สโมสรฟุตบอลทหารบก เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต เขตพญาไท โดยใช้สนามกีฬากองทัพบก เป็นสนามเหย้า เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 ได้มีการประกาศยุบทีมตั้งแต่ฤดูกาล 2563 เป็นต้นไป[1][2]

ประวัติสโมสร

[แก้]

สโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2459 ในนาม สโมสรกีฬากองทัพบก โดยมีวัตถุประสงค์ในการที่จะให้กำลังพลในกองทัพ ได้ออกกำลังกาย โดยในระยะแรก นักฟุตบอลส่วนใหญ่ มาจากกำลังพลในกองทัพทั้งสิ้น โดยได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีเกียรติยศที่สำคัญคือ ชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน ก ในปี 2526 และเคยได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ ฟุตบอลควีนส์คัพ ในปี 2540 อีกด้วย[3]

การปรับเปลื่ยนสู่สโมสรอาชีพ

[แก้]

กระทั่งในปี 2553 หลังจากที่ทางสมาคมฯ และ ไทยพรีเมียร์ลีก ได้มีการปรับโครงสร้างโดยเพิ่มจำนวนสโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันเป็น 18 สโมสร[4] และ สโมสรต้องทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงทำให้มีการจัดตั้ง บริษัท อาร์มี่ ฟุตบอล จำกัด เพื่อบริหารจัดการสโมสร โดยแยกจาก ส่วนของ กองการกีฬา กรมสวัสดิการทหารบก และได้ทำการเปลื่ยนชื่อและตราสัญลักษณ์สโมสร โดยเปลื่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด และได้มีการผ่อนปรนโดย อนุญาตให้มีนักฟุตบอลต่างชาติเข้ามาเล่นร่วมกับสโมสร โดย การเพลย์ออฟเพิ่มจำนวนสโมสร สโมสร จบด้วยอันดับแรกของตาราง ทำให้ตามระเบียบเดิม (16 สโมสร) สโมสรจะต้องตกชั้น แต่ได้สิทธิ์ลงทำการแข่งขันในลีกสูงสุดอีกครั้ง

ตกชั้น

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2559 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ประกาศยุติการแข่งขันไทยลีกอย่างกะทันหันเนื่องจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และให้ยึดตารางคะแนนวันที่ 14 ตุลาคม ทำให้อาร์มี่ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 16 ต้องตกชั้นไปเล่นในไทยลีก 2

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก[5] เอฟเอคัพ ควีนสคัพ ลีกคัพ ผู้ทำประตูสูงสุด
ลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ ประตู
2539–40 ไทยลีก 34 14 12 8 60 50 54 อันดับ 8 บุญร่วม ศรีสังข์ 15
2540 ไทยลีก 22 7 4 11 31 45 25 อันดับ 9
2541 ไทยลีก 22 7 5 10 35 42 26 อันดับ 7
2542 ไทยลีก 22 7 4 11 25 30 25 อันดับ 11
2543 ดิวิชั่น 1 16 6 5 5 25 26 26 อันดับ 5
2544–45 ดิวิชั่น 1 20 8 7 5 39 27 31 อันดับ 5
2545–46 ดิวิชั่น 1 22 7 8 7 31 25 29 อันดับ 7
2547 ดิวิชั่น 1 22 12 6 4 36 18 42 อันดับ 3 จักรพงษ์ สมบูรณ์ 14
2548 ดิวิชั่น 1 22 14 5 3 38 16 47 ชนะเลิศ
2549 ไทยลีก 22 7 9 6 31 38 30 อันดับ 6 รอบแบ่งกลุ่ม
2550 ไทยลีก 30 13 8 9 40 33 47 อันดับ 5 จักรพงษ์ สมบูรณ์ 9
2551 ไทยลีก 30 6 7 17 21 44 25 อันดับ 15 จักรพงษ์ สมบูรณ์ 4
2552 ดิวิชั่น 1 30 18 4 4 55 18 62 รองชนะเลิศ รอบที่ 2 รอบแบ่งกลุ่ม ธาตรี สีหา 17
2553 ไทยลีก 30 5 7 18 27 54 22 อันดับ 16 รอบรองชนะเลิศ รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบที่ 2 ธาตรี สีหา 8
2554 ไทยลีก 30 10 9 15 39 40 39 อันดับ 13 รอบรองชนะเลิศ รอบแรก Leandro dos Santos 18
2555 ไทยลีก 34 10 13 11 34 38 43 อันดับ 10 รองชนะเลิศ รอบแรก บีเยิร์น ลินเดอมันน์ 6
2556 ไทยลีก 32 13 9 10 48 40 48 อันดับ 6 รอบที่ 4 รอบก่อนรองชนะเลิศ Aron da Silva 11
2557 ไทยลีก 38 14 11 13 52 55 53 อันดับ 9 รอบที่ 3 รอบแรก Raphael Botti
ธนากร แดงทอง
9
2558 ไทยลีก 34 11 8 15 43 47 41 อันดับ 10 รอบรองชนะเลิศ รอบรองชนะเลิศ มงคล ทศไกร 7
2559 ไทยลีก 31 8 6 17 34 46 30 อันดับ 16 รอบที่ 3 รอบแรก Josimar 16
2560 ไทยลีก 2 32 10 9 13 53 57 39 อันดับ 9 รอบที่ 3 รอบแรก มาร์กูส วินิซิอุส 18
2561 ไทยลีก 2 28 7 13 8 38 41 34 อันดับ 8 รอบที่ 3 รอบที่ 2 เอรีเวลตู เอมีลีอานู ดา ซิลวา 14
2562 ไทยลีก 2 34 15 10 9 56 43 55 อันดับ 5 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบเพลย์ออฟ ธนากรณ์ แดงทอง 16
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

เกียรติยศสโมสร

[แก้]
  • ถ้วยพระราชทาน

ผู้เล่นชุดฤดูกาล 2562 (ฤดูกาลสุดท้าย)

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
3 DF ประเทศไทย ดาวุฒิ ดินเขต (กัปตันทีม)
4 MF ประเทศไทย วรรณพล บุษปาคม
5 DF ประเทศเกาหลีใต้ อัน แจ-จุน
6 DF ประเทศไทย ชุติพันธุ์ นบนอบ
7 MF ประเทศไทย วสันต์ สมานสินธุ์
8 MF ประเทศไทย นิพนธ์ คำทอง
9 FW ประเทศไทย ธนากรณ์ แดงทอง
11 DF ประเทศไทย นาคิน วิเศษชาติ
14 MF ประเทศไทย เจษฎากร ขาวงาม
16 MF ประเทศโปรตุเกส บรูนู ปิงเฮย์รู
18 GK ประเทศสิงคโปร์ ฮัสซัน ซันนี
19 MF ประเทศไทย สุรเดช ธงชัย
20 DF ประเทศไทย ทศกร บุญเพ็ญ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
22 GK ประเทศไทย ตามพันธ์ พจมานศิริกุล
23 MF ประเทศไทย มงคล ทศไกร
24 DF ประเทศไทย วัชรพงษ์ คงช่วย
27 MF ประเทศไทย อภิศร ภูมิชาติ
30 GK ประเทศไทย โกสินทร์ เหมบุตร
31 MF ประเทศไทย อนุวัติ น้อยชื่นพันธ์
33 DF ประเทศบราซิล ฟลาวิโอ บัวเวนตูร่า
34 MF ประเทศไทย อรรถพล กันหนู
35 DF ประเทศไทย วิศรุต พันนาสี
36 FW ประเทศไทย กนกพล นุชรุ่งเรือง
37 FW ประเทศบราซิล เจา เปาโล ซาเลส
44 DF ประเทศไทย ภรัณยู อุปละ
DF ประเทศไทย อธิบดี เอติรัตน์
DF ประเทศไทย กฤตณภพ เมฆพัชรกุล

ผู้ฝึกสอน

[แก้]

รายชื่อผู้ฝึกสอน (2547 - 2562)

ชื่อ สัญชาติ ระยะเวลา ความสำเร็จ
อำนาจ เฉลิมเชาวลิต ประเทศไทย 2547-2550 อันดับ 5 ไทยลีก 2550
วัชรกร อันทะคำภู ประเทศไทย 2551
อำนาจ เฉลิมเชาวลิต ประเทศไทย 2551-2552
ขวัญ รัตนรังษี ประเทศไทย 2552-2553 รองชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 2552
อำนาจ เฉลิมเชาวลิต ประเทศไทย 2553 รอบรองชนะเลิศ มูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2553
พงษ์พันธ์ วงษ์สุวรรณ ประเทศไทย 2554
อดุลย์ รุ่งเรือง ประเทศไทย 2554-2555 รอบรองชนะเลิศ มูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2555
อำนาจ เฉลิมชวลิต ประเทศไทย 2555
อาเลชังดรี ปอลกิง ประเทศเยอรมนี 2556
แมทธิว เอลเลียต ประเทศสกอตแลนด์ ธ.ค. 2556 - มิ.ย. 2557
แกรี สตีเวนส์ ประเทศอังกฤษ ก.ค. 2557 - พ.ค. 2558
อิสระ ศรีทะโร ประเทศไทย พ.ค. 2558 - ต.ค. 2558
วัชรกร อันทะคำภู ประเทศไทย ต.ค. 2558 - พ.ย 59
ธนิศร์ อารีย์สง่ากุล

ประเทศไทย

2559 -2560 (เลก 1)
รังสิวุฒิ ชโลปถัมภ์

ประเทศไทย

2559 - 2560 (เลก 1)
ดานิเอล บลังกู

ประเทศอาร์เจนตินา

2559 - 2560 (เลก 2)
รุย นาซิเมงตู

ประเทศบราซิล

2560 - 2561 (เลก 1)
อดุลย์ ลือกิจนา

ประเทศไทย

2560 - 2561 (เลก 2)
ดานิเอล บลังกู

ประเทศอาร์เจนตินา

2561 - 2562

ทีมงานชุดฤดูกาล 2562 (ฤดูกาลสุดท้าย)

[แก้]
ชื่อ สัญชาติ ตำแหน่ง
พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ประเทศไทย ประธานสโมสร
พล.ต. ชาญณรงค์ ยี่โต๊ะ ประเทศไทย ผู้อำนวยการด้านบริหาร
พ.อ.สมเจตน์ นักร้อง ประเทศไทย ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค
พลเอกศุภฤกษ์ ไม้แก้ว ประเทศไทย ผู้จัดการทีม
ธนิศร์ อารีย์สง่ากุล ประเทศไทย ผู้ฝึกสอน
Kenvin Wolfe ประเทศอังกฤษ ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู
Thomas Thorp ประเทศอังกฤษ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
จ.ส.อ.ราเมศ ทองสวัสดิ์ ประเทศไทย เจ้าหน้าที่
จ.ส.อ.ธีรพงษ์ ขุนจิตใจ ประเทศไทย เจ้าหน้าที่
จ.ส.อ.สราวุธ ทองสวัสดิ์ ประเทศไทย เจ้าหน้าที่
ส.อ.กวีพันธ์ ทวีบุตร ประเทศไทย เจ้าหน้าที่
สมพล เซ่งจันทร์ ประเทศไทย เจ้าหน้าที่
ทศพล สีดาพันธ์ ประเทศไทย โค้ชฟิตเนส
จ.ส.อ.สถาพร ไกรสรณ์ ประเทศไทย นักกายภาพบำบัด

สโมสรพันธมิตร

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ‘วาสนา’ โพสต์ยืนยัน ‘บิ๊กแดง’ สั่งพักทีม ‘อาร์มี่ ยูไนเต็ด’ แข่งไทยลีก 2 ส่อยุบทีมปิดตำนาน 103 ปี
  2. ปิดตำนาน “อาร์มี่ ยูไนเต็ด” บิ๊กแดงสั่งยุบทีม เหตุขาดทุน ไม่คุ้ม เกรงใจสปอนเซอร์
  3. https://www.facebook.com/Armyunitedfootballclub/posts/378833525486146 ประวัติสโมสรอาร์มี่ ยูไนเต็ด (พอสังเขป) - เพจเฟซบุ๊คสโมสรอาร์มี่ ยูไนเต็ด
  4. "วิชิตชี้ไทยลีกเหมาะแล้วมี18ทีม siamsport.co.th". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-08-07.
  5. King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 มีนาคม 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2014. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]