ฉบับร่าง:กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Natt1985 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 30 วันก่อน (ล้างแคช) |
Cooperative Auditing Department | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 |
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 |
บุคลากร | 3,347 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 1,282,044,600 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกรม |
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (อังกฤษ: Cooperative Auditing Department) เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งกำกับและควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี และพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ประวัติ
[แก้]งานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2459 อยู่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ซึ่งในขณะนั้นงานการตรวจบัญชีสหกรณ์ อยู่ในความรับผิดชอบของแผนกงานสหกรณ์ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมใหม่ จึงได้รับการเลื่อนฐานะเป็นกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ อยู่ในสังกัดของกระทรวงการสหกรณ์ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2506 และเมื่อมีการยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2515 กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ก็เปลี่ยนมาขึ้นอยู่กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนถึงปัจจุบัน
ระบบการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ แต่เดิมนั้น ผู้ตรวจสอบบัญชี ทั้งหมดจะรวมกัน อยู่ที่สำนักงานใหญ่ของกรมในกรุงเทพมหานครเพียงแห่งเดียว และจะเดินทางออกไปเพื่อทำการตรวจบัญชีในจังหวัดต่างๆ เพียงปีละหนึ่งครั้ง หรือสองครั้งเท่านั้น แต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 60 ถึง 90 วันซึ่งก็เป็นผลให้ การปฏิบัติงานเป็นไปไม่คล่องตัวเท่าที่ควร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จึงได้เริ่มกระจายงานการตรวจสอบบัญชี ออกไปยังส่วนภูมิภาค โดยการจัดตั้ง สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ประจำอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 1 - 10 ทำหน้าที่คอยกำกับดูแลการปฏิบัติงานของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ซึ่งอยู่ในสังกัดของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์[3]
อำนาจและหน้าที่
[แก้]กรมตรวจบัญชีสหกรณ์มีพันธกิจและอำนาจหน้าที่ ดังนี้[4]
- ตรวจสอบบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
- กำกับและควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามมาตรฐาน
- พัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
- พัฒนาการบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน
- ถ่ายทอดความรู้และเผยแพร่ข้อมูลด้านการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน เกษตรกรและประชาชน
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]โครงสร้างและหน่วยงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์แบ่งส่วนราชการตามกฎหมายตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้[5]
|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงานประจำปี 2566 กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๔๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ประวัติกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
- ↑ วิสัยทัศน์ พันกิจและเป้าหมาย กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
- ↑ ทำเนียบกรมตรวจบัญชีสหกรณ์