หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์
ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ (เกิด 4 ตุลาคม พ.ศ. 2489) ศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลฎีกา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อนุญาโตตุลาการ และราชบัณฑิต [1]
ประวัติ
[แก้]หม่อมหลวง ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ | |
---|---|
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 พฤศจิกายน 2549 – 27 พฤษภาคม 2551 | |
กรรมการกฤษฎีกา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2489 |
บุพการี | หม่อมราชวงศ์นิธิเกษม เกษมสันต์ วรรณี เกษมสันต์ ณ อยุธยา |
การศึกษา | คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา |
หม่อมหลวงไกรฤกษ์เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2489 เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์นิธิเกษม เกษมสันต์ และวรรณี เกษมสันต์ ณ อยุธยา[2]สมรสกับ นางจิตรานุช เกษมสันต์ ณ อยุธยา มีบุตรี ได้แก่ ฉัตรรพี เกษมสันต์ ณ อยุธยา
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม)จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา หลักสูตรนักบริหารระดับสูง (นบส.2) รุ่น 17 สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน (พ.ศ. 2538) หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูงสถาบันพระปกเกล้า รัฐสภา รุ่น 1 (พ.ศ. 2540) ปริญญาบัตรหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรรุ่น 4010 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (พ.ศ. 2541)
ประสบการณ์การทำงาน เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแม่สะเรียง และศาลจังหวัดลำปาง เป็นอธิบดีกรมคุมประพฤติ เป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 6 ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เคยเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) รองประธานศาลฎีกา และตุลาการรัฐธรรมนูญ (ต่อมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 300) และผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์
หม่อมหลวงไกรฤกษ์เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานิติศาสตร์ ขณะดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาและผู้บริหารกระบวนการยุติธรรม ได้ชื่อว่าใจซื่อมือสะอาด ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม รวมทั้งมีความกล้าหาญในการพิจารณาพิพากษาตัดสินคดีต่างๆ ด้วยความรอบคอบ ลึกซึ้ง ผลงานด้านการพิพากษาจึงถือเป็นบรรทัดฐานในลำดับถัดมา ในขณะที่เป็นผู้บริหารกระบวนการยุติธรรม ได้เพียรพยายามสร้างเสริมความก้าวหน้าให้แก่งานในหน้าที่รับผิดชอบเสมอมานอกจากนี้ ยังได้อุทิศตนให้เป็นประโยชน์แก่วงวิชาการนิติศาสตร์และกิจสาธารณะประโยชน์อื่นๆ อาทิ ดำรงตำแหน่งกรรมการเนติบัณฑิตยสภาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา และกรรมการมูลนิธิแก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์ผู้กระทำผิด กรมควบคุมประพฤติกระทรวงยุติธรรม เป็นต้น จนได้รับการยกย่องให้เป็น“บุคคลตัวอย่าง” ประจำปีพุทธศักราช 2543 จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย และได้รับการเชิดชูให้เป็น “นักบริหารดีเด่นด้านสาขาการปกครอง” บำพ็ญประโยชน์ต่อสังคมไทยจากมูลนิธิเพื่อสังคมไทยและหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจ ในด้านวิชาการ หม่อมหลวงไกรฤกษ์ มีผลงานทางวิชาการจำนวนมาก กล่าวจำเพาะที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับและเป็นเอกสารอ้างอิงสำคัญแก่ผู้สนใจทั่วไปได้แก่ คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญาภาคความผิด มาตรา 288 ถึงมาตรา 366/4
ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ (ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549)
คำพิพากษาส่วนตัวในคดียุบพรรค หม่อมหลวงไกรฤกษ์ ตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด 111 คน เป็นเวลา 5 ปี หลังจากนี้ หม่อมหลวงไกรฤกษ์ ได้ออกมาเปิดเผยว่า ระหว่างพิจารณาคดียุบพรรคมีผู้มาให้สินบนเป็นเงินจำนวนหลายล้านบาท เพื่อไม่ให้ยุบพรรคไทยรักไทยด้วย[3]
ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยรังสิตมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ การเมือง แก่ หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ พร้อมกับ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และ สนธิ ลิ้มทองกุล และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งหม่อมหลวงไกรฤกษ์เป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2554[4]
วันที่ 25 ธันวาคม 2561 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1, กฎหมายเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง) ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ถึงปัจจุบัน [5] [6]
ราชการพิเศษ
[แก้]- ที่ปรึกษาคณะกรรมการศึกษาวิจัยปัญหาสังคมของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ [7]
- อนุกรรมการกองทุนบังคับและปราบปรามยาเสพติด
- อนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการประพฤติมิชอบในวงราชการของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
- กรรมการประสานงานกระบวนการยุติธรรม
- ประธานโครงการพัฒนาระบบการนั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะและต่อเนื่อง
- กรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)
- กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.)
- กรรมการวิทยาการศาลยุติธรรม
- ประธานคณะกรรมการประเมินการทำงานของผู้บริหารคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา
งานด้านวิชาการ
[แก้]- ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์และกรรมการพัฒนาหลักสูตรโครงการจัดตั้งคณะธรรมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทยสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
- กรรมการพัฒนาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- กรรมการพัฒนาหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง ประจำปีการศึกษา 2550 จากมหาวิทยาลัยรังสิต[7]
- ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา 2551 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี[7]
- ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา 2552 จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต[7]
- ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2558 จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[8]
- ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา 2559 จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พลิกประวัติ-ผลงาน ‘9 ตุลาการรัฐธรรมนูญ’ ผู้ตัดสินคดีประวัติศาสตร์ จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ เผย 17 พระประยูรญาติ อัญเชิญเครื่องราชฯ
- ↑ เปิดบันทึกสินบนยุบพรรค “พ-ช” นักวิ่งเต้น!
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ (หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกา
- ↑ โปรดเกล้าฯ กก.กฤษฎีกาใหม่ 139 ราย[ลิงก์เสีย]
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 ประวัติศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา
- ↑ ฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ↑ พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช ประจำปีการศึกษา 2559
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๔๑๘, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2486
- ผู้พิพากษาไทย
- สามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- ตุลาการรัฐธรรมนูญ
- หม่อมหลวง
- ราชสกุลเกษมสันต์
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรังสิต
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ศาสตราจารย์พิเศษ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต