วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ | |
---|---|
![]() | |
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ตุลาคม 2554 – 31 สิงหาคม 2556 | |
ก่อนหน้า | ชัช ชลวร |
ถัดไป | จรูญ อินทจาร |
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤษภาคม 2551 – 31 สิงหาคม 2556 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2490 |
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ (เกิด 5 สิงหาคม พ.ศ. 2490) เป็นทนายความและผู้พิพากษาชาวไทย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประวัติ
[แก้]วสันต์เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2490 เป็นบุตรของชั้น และมาลี สร้อยพิสุทธิ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยารามและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รุ่น 06-ร่วมรุ่นเดียวกับ กล้านรงค์ จันทิกและเดชอุดม ไกรฤทธิ์) และเนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ วิทยาลัยเซาท์อีสบางกอก[1]ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561 เขาได้รับรางวัล “เกียรติภูมินิติโดม” ในฐานะศิษย์เก่าดีเด่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2]
การทำงาน
[แก้]หลังจากศึกษาจบแล้วก่อนเป็นผู้พิพากษา ได้เคยทำงานเป็นทนายความประจำสำนักงานกฎหมายของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
เป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา ประธานแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7
วสันต์เป็นที่รู้จักของสังคม เมื่อกลางปี พ.ศ. 2549 หลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดที่มี พลตำรวจเอก วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธาน พ้นจากตำแหน่งไปเนื่องจากการจัดการเลือกตั้งที่มิชอบด้วยกฎหมาย จากคำตัดสินของศาลอาญา ชื่อของวสันต์ถูกนำเสนอเป็นผู้มีสิทธิได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ จำนวน 10 คน โดยให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นผู้คัดเลือก แต่วสันต์มิได้รับเลือก ซึ่งในการแสดงวิสัยทัศน์ วสันต์ได้แสดงความเห็นต่อการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาจนเป็นที่กล่าวขาน[3][4]
ต่อมาได้รับเลือกให้เป็น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 จนถึงวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554[5] และในวันที่ 24 สิงหาคม 2554 ในการประชุมองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อคัดเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ ที่ประชุมฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เลือก วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ แทนชัช ชลวร ที่ได้ขอลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญไปเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา
สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะนำรายชื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่เสนอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2540 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2535 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2541 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-01-22.
- ↑ นิติศาสตร์ มธ. มอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คนการเมืองเพียบ
- ↑ [ลิงก์เสีย] โดนขวาง : นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานแผนกคดีแร... จากแนวหน้า
- ↑ [ลิงก์เสีย] วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์: "ผมรู้มาว่าวุฒิสภาไม่เลือกคนดี คนตรงเกินไป" จากกรุงเทพธุรกิจ
- ↑ "'ชัช ชลวร'ได้รับเลือกเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ จากกรุงเทพธุรกิจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๔๐๓, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ชัช ชลวร | ![]() |
![]() ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (26 ตุลาคม 2554 – 31 สิงหาคม 2556) |
![]() |
จรูญ อินทจาร |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ผู้พิพากษาไทย
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- ทนายความชาวไทย
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา