จรัญ หัตถกรรม
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
จรัญ หัตถกรรม (เกิด 10 มกราคม พ.ศ. 2482) นักกฎหมายชาวไทย ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เป็นผู้อ่านประกาศคำพิพากษาตุลาการศาลปกครอง และ ตุลาการรัฐธรรมนูญ[1]
การศึกษา
[แก้]- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2506)
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (พ.ศ. 2507)
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 33 (พ.ศ. 2534)
รับราชการ
[แก้]- ผู้ช่วยผู้พิพากษา (18 ธันวาคม 2510 – 18 ธันวาคม 2511)
- ผู้พิพากษาประจำกระทรวง
- ผู้พิพากษาศาลจังหวัดปราจีนบุรี
- ผู้พิพากษาประจำกระทรวงช่วยราชการศาลอุทธรณ์
- ผู้พิพากษาศาลแขวงธนบุรี (19 ธันวาคม 2511 – 30 กันยายน 2519)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดไชยา
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดปทุมธานี (1 ตุลาคม 2519 – 31 มีนาคม 2526)
- ผู้พิพากษาศาลแพ่งและผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง (1 เมษายน 2526 – 30 เมษายน 2530)
- รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 และภาค 6 (1 ตุลาคม 2530 – 16 เมษายน 2532)
- รองปลัดกระทรวงยุติธรรม (17 เมษายน 2532 – 17 พฤศจิกายน 2535)
- รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงยุติธรรมและเป็นคณะกรรมการตุลาการโดยตำแหน่ง (7 ตุลาคม 2535 – 17 พฤศจิกายน 2535)
- รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง (18 พฤศจิกายน 2535 – 3 ตุลาคม 2536)
- ผู้พิพากษาศาลฎีกาและผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา (4 ตุลาคม 2536 – 30 กันยายน 2542)
- ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอาญา (1 ตุลาคม 2542 – 21 กุมภาพันธ์ 2543)
- ตุลาการศาลปกครองสูงสุด (27 มีนาคม 2543 – 11 ตุลาคม 2547)
ประวัติการตัดสินคดีสำคัญ ๆ และคดียุบพรรค
[แก้]จรัญได้ชื่อว่าเป็นผู้พิพากษาจอมเฮี้ยบ มีผลงานที่เป็นที่กล่าวขานในสังคมมากมาย เช่น เป็นเจ้าของสำนวนคดีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จนนำไปสู่คำสั่งของศาลปกครอง ให้ยกเลิกการแปรรูป กฟผ.เพิกถอนการกระจายหุ้น รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นผู้เสนอกฎหมายแปรรูปฉบับนี้ ทักษิณได้กล่าวเพียงแค่ว่า "มันเป็นการผิดพลาดทางเทคนิค"[2]
อีกทั้งเป็นหนึ่งในตุลาการผู้ตัดสิน คดีเพิกถอนคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการกรณีสัมปทานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ซึ่งส่งผลให้บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ต้องจ่ายค่าสัมปทานและค่าปรับมูลค่ากว่าแสนล้านบาทแก่สำนักนายกรัฐมนตรี
ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคไทยรักไทย ในระหว่างการพิจารณาคดีเคยโต้เถียงกับวิชิต ปลั่งศรีสกุล และสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความของพรรคไทยรักไทยในห้องพิจารณาคดีมาแล้ว
ในคำพิพากษาส่วนนายจรัญ ตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 111 คน เป็นระยะเวลา 5 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [https://web.archive.org/web/20121107174834/http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000062040 เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พลิกประวัติ-ผลงาน ‘9 ตุลาการรัฐธรรมนูญ’ ผู้ตัดสินคดีประวัติศาสตร์ จากผู้จัดการออนไลน์]
- ↑ พันธมิตรฯ ยื่นหนังสือกล่าวโทษ “ทักษิณ” - จี้ ผบ.ตร.ตั้ง กก.สอบสวนโปร่งใส
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔๑, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- ผู้พิพากษาไทย
- ตุลาการศาลปกครองไทย
- ตุลาการรัฐธรรมนูญ
- สามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา