ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลชัยนาท ฮอร์นบิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัยนาท ฮอร์นบิล
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลชัยนาท ฮอร์นบิล
Chainat Hornbill Football Club
ฉายานกใหญ่พิฆาต
The Hornbills
นักสู้ภูธร
ชื่อย่อCNHB
ก่อตั้ง2009; 16 ปีที่แล้ว (2009)
(ในชื่อ สโมสรฟุตบอลชัยนาท)
สนามเขาพลอง สเตเดียม
ความจุ12,000 คน
เจ้าของบริษัท ชัยนาท เอฟ.ซี. จำกัด
ประธานอนุรุทธิ์ นาคาศัย
ผู้จัดการวัชรศักดิ์ สงวนศักดิ์
ผู้ฝึกสอนสุเมธ อยู่โต
ลีกไทยลีก 2
2566–67อันดับ 14
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลชัยนาท ฮอร์นบิล เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดชัยนาท ปัจจุบันทำการแข่งขันในไทยลีก 2 เคยคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกปี2008โดยมีแอนโตนี่เป็นกำลังหลักและสามารถคว้าถ้วยยูฟ่าได้[1]

ประวัติสโมสร

[แก้]

ดิวิชั่น 2

[แก้]

สโมสรฟุตบอลจังหวัดชัยนาท ก่อตั้งขึ้นในปี 168 โดยลงทำการแข่งขันใน ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2552 โซนภาคเหนือ โดยใช้ผู้เล่นในจังหวัด โดยมี ยศ กนกหิรัญปาน เป็นผู้ฝึกสอน โดยในปีนั้นสโมสร มีนักบอลระดับโลกชื่อ ภาคิน ใหมธรรมจักร์ กองกลางตัวถ่วง

ศรรักษ์

รีทองอินทร์ศกองหน้าที่เหนียวที่สุดในประวัติศาสตร์ ทั้งสองพาทีมได้รับ รางวัล

ใน ฤดูกาลถัดมา ในลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ ได้มีการเพิ่มสโมสรที่เข้าแข่งขันเป็น 1และ Apiwat Klintusin ผู้รักษาประตูชาว อูกันด้า 6 สโมสร แต168ังใช้ ยศ กนกหิรัญปาน เป็นผู้ฝึกสอนเช่นเดิม แต่ก็ได้ผู้เล่นระดับ ไทยลีก หลายคนเช่น ชัยวุฒิ วัฒนะ, ประเวศ หอเจริญ, ธวัช ยอดปราง เป็นต้น ซึ่งมีผลต่อการเล่นของสโมสร โดยผลงานของสโมสรนั้นสามารถคว้าตำแหน่งรองชนะเลิศ โซนภาคเหนือ ด้วยผลงานชนะ 22 เสมอ 5 แพ้ 3 ได้ 54 เสีย 13 เก็บได้ 71 คะแนน และสามารถคว้ารองชนะเลิศในสาย B ในรอบแชมเปียนส์ลีก ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ ดิวิชั่น 1 โดยอัตโนมัติได้สำเร็จ[2]

ดิวิชั่น 1

[แก้]

ฤดูกาล 2554 สโมสรได้มีการเปลื่ยนแปลงในตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอน โดยให้ ยศ กนกหิรัญปาน เป็นประธานเทคนิค และแต่งตั้ง อิสระ ศรีทะโร เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่ พร้อมกับผู้เล่นระดับไทยลีกหลายคน เช่น ณรงค์ชัย วชิรบาล, ภูวดล สุวรรณชาติ, คัพฟ้า บุญมาตุ่น, ไมเคิล เบิร์น, สุทธินันท์ นนที, สมเจตร สัตบุษ, รัชพล นาวันโน, เป็นต้น[2]

โดยในปีนั้น สโมสรทำผลงานในลีกได้ดี โดยจบด้วยตำแหน่งรองชนะเลิศ ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ ไทยพรีเมียร์ลีก ได้สำเร็จ และนักฟุตบอลของสโมสรอย่าง ภูวดล สุวรรณชาติ ยิงประตูไปถึง 21 ประตู เป็นผู้ทำประตูสูงสุดของฤดูกาลนั้น ร่วมกับ อดิศักดิ์ ศรีกำปัง ของ สโมสรปตท. ระยอง

ไทยลีก

[แก้]

สโมสรได้ร่วมการแข่งขันไทยลีกครั้งแรก ใน ฤดูกาล 2555 โดยในปีนั้น สโมสรอันดับที่ 14 ของตาราง โดย ภูวดล สุวรรณชาติ เป็นผู้ทำประตูสูงสุดของสโมสร ในฤดูกาลแรกที่ทำการแข่งขันใน ไทยลีก ด้วยจำนวน 14 ประตู[1] โดยสโมสรทำการแข่งขันในไทยลีก จนถึง ฤดูกาล 2559 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทำการยุติการแข่งขันลีกทั้งหมด และให้ยึดตารางคะแนนในเกมการแข่งขันนัดที่ 31 จึงทำให้สโมสรต้องตกชั้นลงไปทำการแข่งขันในไทยลีก 2 ตามมติของที่ประชุม[3]

ไทยลีก 2 และ เลื่อนชั้นมาอีกครั้ง

[แก้]

หลังจากที่สโมสรตกชั้น สโมสรได้มีนโยบายในการที่จะพัฒนาสโมสร ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบเยาวชน โดยได้ร่วมมือกับ บ.สปอร์ตไทย-บาวาเรีย ในการที่มาช่วยเหลือระบบอคาเดมี่ และ ทีมชุดใหญ่ โดยทางบริษัทฯ ได้แต่งตั้งเดนนิส อามาโต ให้เป็น ผู้อำนวยการสโมสร ต่อมาในเดือนเมษายน สโมสรได้แยกทางกับบียอร์น คลีม หัวหน้าผู้ฝึกสอนคนก่อนหน้า แต่งตั้ง เดนนิส ให้เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนชั่วคราว[4] โดยเขาเองเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้สโมสรได้เลื่อนชั้นกลับสู่ ไทยลีก และ คว้าตำแหน่งชนะเลิศใน ไทยลีก 2 2560

สโมสรกับสมัยนิยม

[แก้]

หลายปีที่ผ่านมา สโมสรชัยนาทเป็นสโมสรหนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องลายเสื้อแข่งขันที่จะออกแบบมาแปลกใหม่ โดยได้สร้างความแตกต่างและแปลกใหม่ เช่นใน ฤดูกาล 2557 และ 2558

2557
2558

และในฤดูกาล 2018 เป็นกระแสฮือฮาในโลกโซเซียลมีเดียด้วยการให้นักฟุตบอลทำท่า Haka ก่อนลงแข่งขันแบบเดียวกับ รักบี้ทีมชาตินิวซีแลนด์ โดยมีที่มาจากการเต้นของเผ่าเมารี เพื่อใช้ก่อนออกศึก[5]

โครงการของสโมสร

[แก้]

โครงการ “จิตอาสา พาชัยนาทก้าวสู่แชมป์”

[แก้]

โครงการ “จิตอาสา พาชัยนาทก้าวสู่แชมป์” เป็นโครงการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อหาแกนนำเชียร์ ในกลุ่มอำเภอต่าง ๆ มาร่วมกันเชียร์กับกลุ่มเชียร์เดิมที่มีอยู่ เพื่อให้คนชัยนาททั้งจังหวัด เป็นเจ้าของทีมร่วมกัน ไม่ใช่เพียงกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด และช่วยกันประสานงานด้านต่าง ๆ อาทิเช่น การเดินทางไปเชียร์นัดนอกบ้าน พร้อมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อจะได้มีส่วนร่วมด้วยกัน

อีกหนึ่งโครงการที่ผู้บริหารทีมจะผลักดันให้เกิดก็คือ การเข้าไปประชาสัมพันธ์ในโรงเรียนต่าง ๆ โดยอาจจะมีการเล่นเกม และมีนักฟุตบอลไปเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้จากการเป็นนักฟุตบอลอาชีพ รวมถึง อาจจะมีการเปิดสอนฟุตบอลพื้นฐาน ให้กับเยาวชนในระดับประถม

โครงการสนามใหม่

[แก้]

ทั้งนี้คาดว่าสนามแห่งใหม่ของทีมนกใหญ่พิฆาต ที่จะสร้างติดกับถนนสายเอเชียนั้น จะใช้พื้นที่ประมาณ 600 ไร่ นอกจากสนามฟุตบอลขนาดใหญ่แล้วยังจะมีศูนย์การค้าครบครันอีกด้วย ส่วนงบประมาณการก่อสร้างคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท ส่วนเรื่องความจุของสนามประมาณ 22,000 คน

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
4 DF ประเทศไทย ธนินท์ เกียรติเลิศธรรม
5 DF ประเทศเกาหลีใต้ ยู ย็อง-แจ
7 MF ประเทศไทย มงคลชัย กองจำปา (กัปตันทีม)
10 FW ประเทศแคเมอรูน แอมานุแอล แอมบาร์กา
11 FW ประเทศสวีเดน เซลวัน อัลญะเบริ
14 MF ประเทศไทย ธนายุทธ จิตบุตร
15 MF ประเทศไทย สุทธิภัทร โพธิ์พรหม
17 DF ประเทศไทย ฟิตรี ขะเดหรี
18 FW ประเทศไทย ก้องนทีชัย บุญมา
19 GK ประเทศไทย เกียรติศักดิ์ ชาวดร
20 FW ประเทศกานา อับดุล คาริม อาเยห์
21 FW ประเทศไทย ธนศร จันทรโคตร
22 MF ประเทศไทย ณฐภพ แก้วกลาง
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
24 DF ประเทศไทย อดุลย์ลิขิต แสงแดง
25 FW ประเทศไทย พงศกร พูนสัมฤทธิ์
27 DF ประเทศไทย บาซิล สมัครกิจ
30 GK ประเทศไทย กริชชัย แสงรุ่ง
31 MF ประเทศไทย เทพทัต วรรธนบูรณ์
33 DF ประเทศไทย นวพนธ์ อรุณแสงติชัย
37 MF ประเทศไทย ณัฐพงศ์ พรมอ่อน
42 DF ประเทศไทย ธนายุทธ หะมณี
45 FW ประเทศไทย สงกรานต์ การีซอ
55 MF ประเทศไทย ปฎิภาณชัย โพธิ์เทพ
63 MF ประเทศไทย ภูรีวัฒน์ อุ่นทอง
71 MF ประเทศไทย ประภวิษณุ์ เจริญทัศน์
79 MF ประเทศไทย นวินเมธ เชี่ยวชาญ
95 GK ประเทศไทย ภานุเมฆ ภาระเวช

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 DF ประเทศไทย ศิริชัย สังข์ทอง (ไป พัทลุง จนจบฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
66 FW ประเทศไทย ศาสตราวุธ อุปชัย (ไป นครสวรรค์ สี่แคว ซิตี้ จนจบฤดูกาล)
76 MF ประเทศไทย รัฐพงษ์ เจ๊ะเอ็ม (ไป พัทลุง จนจบฤดูกาล)

เจ้าหน้าที่สโมสร

[แก้]

ฝ่ายบริหาร

[แก้]
ตำแหน่ง ชื่อ[6]
ประธานสโมสร ประเทศไทย อนุรุทธิ์ นาคาศัย
รองประธานที่ปรึกษาสโมสร ประเทศไทย อนุรุทธิ์ นาคาศัย
ผู้อำนวยการสโมสร ประเทศไทย ธัชธีรพนธ์ ลี่สันธิติกุล
ผู้จัดการทีม ประเทศไทย วัชรศักดิ์ สงวนศักดิ์
กรรมการผู้จัดการ ประเทศไทย ศศิธร อยู่ประยงค์
ผู้บริหารฝ่ายภาพลักษณ์องค์กร ประเทศไทย ธัญรักษ์ ณ วังขนาย
ผู้จัดการทั่วไป ประเทศไทย นิตยาพร ธาราสุข
LOC ประเทศไทย ศุภโชค ดีประเสริฐ
Media Officer ประเทศไทย วัชรศักดิ์ สงวนศักดิ์
Public Relation ประเทศไทย ณัฐวุฒิ ไชยขันธ์

ฝ่ายเจ้าหน้าที่ทีมและเทคนิค

[แก้]
ตำแหน่ง ชื่อ
ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค ประเทศไทย สุเมธ อยู่โต
หัวหน้าผู้ฝึกสอน ประเทศไทย พันธุ์นารายณ์ พันธุ์ศิริ
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ประเทศไทย อนุสรณ์ ปานสันเทียะ
ที่ปรึกษาผู้ฝึกสอน ประเทศไทย พรรษา มีสัตย์ธรรม[7]
ผู้ฝึกสอนการรักษาประตู ประเทศไทย วัชรพงษ์ กล้าหาญ
สปอร์ตเทรนเนอร์ ประเทศไทย กิตติพงษ์ เกตุคำ
นักกายภาพบำบัด ประเทศไทย พีระศักดิ์ มโนทา
นายแพทย์ประจำสโมสร ประเทศไทย วัชร ภัทรธรรมกุล[6]
เลขานุการทีม ประเทศไทย วัชรชัย สงวนศักดิ์[6]

ทำเนียบผู้ฝึกสอน

[แก้]

ตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรจนถึงปัจจุบัน

ช่วงเวลา ชื่อ สัญชาติ
2552 - 2553 ยศ กนกหิรัญปาน ประเทศไทย ไทย
2553 - กันยายน 2555 อิสระ ศรีทะโร ประเทศไทย ไทย
ตุลาคม 2555 - มิถุนายน 2557 สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ ประเทศไทย ไทย
มิถุนายน 2557 - พฤศจิกายน 2557 จเด็จ มีลาภ ประเทศไทย ไทย
พฤศจิกายน 2557 - พฤศจิกายน 2558 ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล ประเทศไทย ไทย
พฤศจิกายน 2558 - เมษายน 2559 อิสระ ศรีทะโร ประเทศไทย ไทย
เมษายน 2559 - มิถุนายน 2559 โคอิจิ ซูงิยามะ ประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
มิถุนายน 2559 - พฤศจิกายน 2559 วรกรณ์ วิจารณ์ณรงค์ ประเทศไทย ไทย
12 ธันวาคม 2559 - 7 เมษายน 2560 น.พ. บียอร์น คลีม ประเทศเยอรมนี เยอรมัน
7 เมษายน 2560 - 11 พฤศจิกายน 2560 เดนนิส อามาโต ประเทศเยอรมนี เยอรมัน
30 พฤศจิกายน 2560 - 13 กุมภาพันธ์ 2561 ดร้าโก้ มามิช ประเทศโครเอเชีย โครเอเชีย
18 กุมภาพันธ์ 2561 - 25 ตุลาคม 2562 เดนนิส อามาโต ประเทศเยอรมนี เยอรมัน
18 พฤศจิกายน 2562 - 16 กันยายน 2564 โรนัลด์ โบเน็ตติ ประเทศเยอรมนี เยอรมัน
16 กันยายน 2564 - 14 พฤษภาคม 2565 สุเมธ อยู่โต ประเทศไทย ไทย
20 มิถุนายน 2565 - 8 กันยายน 2565 ดานีเอล บลังกู ประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
11 กันยายน 2565 - 20 พฤศจิกายน 2565 สุเมธ อยู่โต ประเทศไทย ไทย
21 พฤศจิกายน 2565 - 4 พฤศจิกายน 2566 พันธุ์นารายณ์ พันธุ์ศิริ ประเทศไทย ไทย

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2552 ดิวิชั่น 2 ภาคเหนือ 20 12 3 5 52 32 39 อันดับ 3 รอบคัดเลือกรอบแรก  – Sanogo Abou 15
2553 ดิวิชั่น 2 ภาคเหนือ 30 22 5 3 54 13 71 รองชนะเลิศ ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
2554 ดิวิชั่น 1 34 21 3 10 68 42 66 รองชนะเลิศ รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบแรก ประเทศไทย ภูวดล สุวรรณชาติ 21
2555 ไทยลีก 34 9 12 13 59 72 39 อันดับ 14 รอบที่ 4 รอบแรก ประเทศไทย ภูวดล สุวรรณชาติ 13
2556 ไทยลีก 32 10 8 14 42 43 38 อันดับ 10 รอบที่ 3 รอบที่ 2 ประเทศไทย สุมัญญา ปุริสาย 11
2557 ไทยลีก 38 10 14 14 43 50 44 อันดับ 14 รอบที่ 3 รอบก่อนรองชนะเลิศ ประเทศมอนเตเนโกร Nikola Nikezić
ประเทศเกาหลีใต้ Park Jung-soo
ประเทศไทย สุมัญญา ปุริสาย
4
2558 ไทยลีก 34 9 10 15 42 53 37 อันดับ 12 รอบรองชนะเลิศ รอบแรก ประเทศบราซิล Wesley Alex Maiolino 17
2559 ไทยลีก 31 8 6 17 46 61 30 อันดับ 17 ชนะเลิศ (ร่วม) รอบแรก ประเทศฝรั่งเศส ฟลอร็องต์ ซีนามา ปงโกลล์ 13
2560 ไทยลีก 2 32 20 7 5 64 40 67 ชนะเลิศ รอบแรก รอบแรก ประเทศฝรั่งเศส ฟลอร็องต์ ซีนามา ปงโกลล์ 14
2561 ไทยลีก 34 11 9 14 46 52 42 อันดับ 13 รอบแรก รอบแรก ประเทศโกตดิวัวร์ แบร์นาร์ ดูมบีอา 15
2562 ไทยลีก 30 8 6 16 31 50 30 อันดับ 15 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบ 16 ทีมสุดท้าย ประเทศบราซิล รีการ์ดู ซังตุส 10
2563–64 ไทยลีก 2 34 16 9 9 61 47 57 อันดับ 6 รอบ 64 ทีมสุดท้าย ยกเลิกการแข่งขัน ประเทศไทย วรายุทธ กล่อมนาค 9
2564–65 ไทยลีก 2 34 15 12 7 58 46 57 อันดับ 5 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบ 16 ทีมสุดท้าย ประเทศโอมาน บะดัร อะลิ 10
2565–66 ไทยลีก 2 34 11 8 15 44 48 41 อันดับ 13 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบเพลย์ออฟ ประเทศบราซิล จีเอกู โอลีเวย์รา ซิลวา 14
2566–67 ไทยลีก 2 34 9 10 15 32 46 37 อันดับ 14 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม ประเทศไทย ธนายุทธ จิตบุตร 9
2567–68 ไทยลีก 2 รอบแรก
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

เกียรติประวัติ

[แก้]

ลีก

[แก้]

ถ้วย

[แก้]

อื่น ๆ

[แก้]
  • ฟุตบอล ช้าง ชลบุรี อินวิเตชั่น 2016 - ชนะเลิศ

สถิติผู้ชม

[แก้]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2555

ลีก รวม สูงสุด ต่ำสุด เฉลี่ย เปลี่ยนแปลง
ไทยพรีเมียร์ลีก 2555 57,089 6,680 1,376 3,358 -7.3%
ไทยพรีเมียร์ลีก 2556 63,011 7,714 1,434 3,938 +17.2%
ไทยพรีเมียร์ลีก 2557 71,890 6,797 2,689 3,783 -3.9%
ไทยพรีเมียร์ลีก 2558 77,095 8,382 1,889 4,818 +27.3%
ไทยลีก 2559 39,386 6,144 1,013 2,461 -47.9%
ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2560 23,373 2,129 1,012 1,374 -22.1%
ไทยลีก ฤดูกาล 2561
ไทยลีก ฤดูกาล 2562 60,194 6,092 2,309 4,013 +31.1%

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Top scorer Sponsor TPL 2012". thaipremierleague.co.th. บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 https://www.facebook.com/chainatfootballclub/photos/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2-%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C%EF%BF%BD/552105078198282/ บทที่ 2 แสดงศักดิ์ยภาพความยิ่งใหญ่ - สโมสรชัยนาท เอฟซี
  3. "ส.บอลแจงอันดับลีกยึดผลล่าสุด จับสลากหาสิทธิ์บอลถ้วย". Goal Thailand. 14 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ชัยนาทเด้งโค้ชบียอร์นตั้ง ผอ.ขัดตาทัพ". Goal Thailand. สืบค้นเมื่อ 25 May 2018.
  5. http://www.goal.com/th/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%81-%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B3-haka-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%9B/1m3uop6kvprg21ty6otzf137m6 นกใหญ่ออกศึก! ชัยนาทเผยที่มาทำ haka ไทยลีก - โกลไทยแลนด์
  6. 6.0 6.1 6.2 "ทีมผู้บริหาร". www.chainatfc.com. สโมสรฟุตบอลชัยนาท ฮอร์นบิล. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-19. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. de:Franz_Schwarzwälder

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]