ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลลำปาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลลำปาง
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลลำปาง
ฉายารถม้ามรกต
ก่อตั้งพ.ศ. 2553
สนามสนามกีฬากลางจังหวัดลำปาง
ความจุ5,500 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท สโมสรฟุตบอลลำปางเอฟซี จำกัด
ประธานฐีระ สุวรรณสังข์
ผู้ฝึกสอนวิทยา ดงใหญ่
ลีกไทยลีก 2
2566–67อันดับที่ 8
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลลำปาง เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดลำปาง ปัจจุบันเล่นอยู่ในไทยลีก 2

ประวัติสโมสร

[แก้]

สโมสรฟุตบอลลำปางเกิดจากการรวมกลุ่มของผู้สนับสนุนที่ต้องการให้มีสโมสรฟุตบอลอาชีพของจังหวัดลำปาง จนเกิดการรวมกลุ่มอภิปราย และเกิดการก่อตั้งสโมสรขึ้นมา โดยมีธนาธร โล่ห์สุนทร ดำรงตำแหน่งประธานสโมสร รวมถึงได้แต่งตั้งณรงค์ พินธิสืบ อดีตกัปตันทีมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้จัดการทีมฯ พร้อมกับแต่งตั้งสุภาพ วงค์ษา และดาชัย อุชุโกศลการ เป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีม[1] โดยมี ดร.ดร.สุนี สมมี เป็นที่ปรึกษา

ส่วนฉายาของสโมสร มีการเปิดลงคะแนนในเว็บไซต์สโมสร โดยฉายาที่ได้รับคะแนนสูงสุดคือ "รถม้ามรกต" ซึ่งสื่อถึงรถม้า สัญลักษณ์ของจังหวัดลำปาง ส่วนคำว่ามรกตนั้น มาจากสีประจำจังหวัดและพระแก้วมรกต ซึ่งเป็นสีเขียว

ในฤดูกาลแรกของสโมสร ลำปางได้เข้าร่วมแข่งขันลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 โดยมีผู้สนับสนุนภายในจังหวัดเป็นอย่างดี[2] ต่อมาในฤดูกาล 2558 ลำปางสามารถเลื่อนชั้นสู่ดิวิชัน 1 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร และในฤดูกาล 2564–65 สโมสรสามารถเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร จากการเพลย์ออฟชนะชัยนาท ฮอร์นบิลและตราดตามลำดับ[3]

ตราสโมสร

[แก้]

ตราสโมสรฟุตบอลลำปางถูกออกแบบโดยบำรุง อิสระกุล เป็นตราที่ได้จากการประกวดออกแบบสัญลักษณ์ในปี พ.ศ. 2559 และได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารโฟร์โฟร์ทู ซึ่งเป็นนิตยสารฟุตบอลระดับโลก ให้เป็นสัญลักษณ์ทีมฟุตบอลที่สวยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากตราสโมสรอายักซ์ของเนเธอร์แลนด์[4]

สนามเหย้า

[แก้]
สนามกีฬากลางจังหวัดลำปาง
ผู้สนับสนุนของสโมสรฟุตบอลลำปาง

สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลลำปางคือ สนามกีฬากลางจังหวัดลำปาง (หนองกระทิง) โดยเป็นสนามกีฬาที่มีมาตรฐานและเหมาะที่จะรองรับผู้สนับสนุนชาวลำปางที่จะเข้ามาเชียร์ได้เป็นอย่างดี

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย ชยานันท์ คำภาหล้า
2 DF ไทย สุประวีณ์ มีประทัง
4 DF ไทย อาทิตย์ หมื่นแร่
5 DF บราซิล อเล็กซ์ ฟลาวีอู
6 DF ไทย ณัฐวัฒน์ วงษ์ศรี
7 MF เกาหลีใต้ คิม ซ็อง-ซู
8 MF ไทย สหรัฐ ปั๋นมัชยา
10 FW ไทย เมธี สาระคำ
11 MF ไทย ประสาตพร หงส์วิลัย
14 FW ไทย ปิติพงศ์ วงศ์บุตร
15 MF ไทย ศตายุ รักษ์ศรีทอง
17 DF ฟิลิปปินส์ คริสโทเฟอร์ เรเยส
18 FW ไทย วันศักดิ์ดา เก้าบุญ
20 DF ไทย รักษ์พงศ์ ชูเมือง
21 GK ไทย วีรภัทร ชัยนิคม
23 MF ไทย วรเมธ รูปงาม
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
24 GK ไทย กิตติศักดิ์ หมู่สวัสดิ์ (กัปตันทีม)
27 MF ไทย ปานศิริ สุกุณีย์
28 FW ไทย นนธวัช วันนิจ
31 DF ไทย ไกรวิตร์ บุญลือ
33 MF บราซิล ไคอู โรดรีกิส
36 DF ไทย ปัณณธร มุ่งหมาย
42 GK ไทย ฤชุกร พรมจักร
54 DF ไทย อภิสิทธิ์ แสนสีคำม้วน
66 MF ไทย จิรัฐติกาล วาพิลัย
71 DF ไทย อธัชชา ระหงษ์ทอง
74 MF ไทย สมปอง สายโสดา
77 FW ไทย สุรเดช จันทะเพชร
91 DF ไทย กฤษดา ปิสสา
95 FW บราซิล ชูดิวัง
99 MF ไทย นครินทร์ บุตะกะ

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ทีมสตาฟสโมสร

[แก้]
ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร ไทย ฐีระ สุวรรณสังข์
ผู้ฝึกสอน ไทย วิทยา ดงใหญ่
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ไทย อําไพ มุธาพร
ไทย ปฏิพณ เพชรวิเศษ
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู ไทย นราธิป พันธุ์พร้อม
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส ไทย
ทีมแพทย์ประจำสโมสร ไทย
นักกายภาพบําบัด ไทย
วิทยาศาสตร์การกีฬา ไทย
เจ้าหน้าที่สโมสร ไทย
ล่ามประจำสโมสร ไทย
ประธานเทคนิคของสโมสร ไทย ประเสริฐ ช้างมูล

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน

[แก้]

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน (พ.ศ. 2559–ปัจจุบัน)

ชื่อ สัญชาติ ช่วงเวลา เกียรติประวัติ
สุรชัย จิระศิริโชติ ไทย 2560 – 2561
เซอร์จาน ทราอิโลวิช เซอร์เบีย 2562 – มกราคม 2563
อรรถกร แสนเพ็ง ไทย มกราคม 2563 – มีนาคม 2563
ประเสริฐ ช้างมูล ไทย มีนาคม 2563 – กรกฎาคม 2563
ชวภณ กมลศิลป์ ไทย กรกฎาคม 2563 – พฤศจิกายน 2563
สมชาย มากมูล ไทย พฤศจิกายน 2563 – มกราคม 2564
วีรยุทธ์ บินอับดุลเลาะมาน ไทย มกราคม 2564 – มิถุนายน 2564
สุกฤษฎิ์ โยธี ไทย มิถุนายน 2564 – กรกฎาคม 2566 อันดับที่ 4 ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2564–65 (เลื่อนชั้น)
กิษฐชัย วงศ์สิม ไทย กรกฎาคม 2566 – เมษายน 2567
ธีระเวคิน สีหะวงค์ ไทย เมษายน 2567 – มิถุนายน 2567
วิทยา ดงใหญ่ ไทย มิถุนายน 2567 –

ผลงานแบ่งตามฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ ประตู
2553 ดิวิชัน 2 ภาคเหนือ 30 7 6 17 33 48 27 13
2554 ดิวิชัน 2 ภาคเหนือ 30 11 7 12 28 44 40 9
2555 ดิวิชัน 2 ภาคเหนือ 34 9 10 15 38 42 37 13
2556 ดิวิชัน 2 ภาคเหนือ 30 16 5 9 42 30 53 5
2557 ดิวิชัน 2 ภาคเหนือ 26 11 10 5 35 18 43 6
2558 ดิวิชัน 2 ภาคเหนือ 26 14 10 2 37 14 52 1 รอบที่ 2 รอบที่ 2
2559 ดิวิชัน 1 27 6 10 11 39 52 28 11 ไม่ได้เข้าร่วม รอบคัดเลือก ไทย ศิริศักดิ์ มัสบูงอ 12
2560 ไทยลีก 2 32 13 8 11 45 47 47 6 รอบที่ 3 รอบเพลย์ออฟ บราซิล ดาบิด บาลา 18
2561 ไทยลีก 2 28 8 10 10 32 35 34 7 รอบที่ 2 รอบที่ 1 เนเธอร์แลนด์ เมลวิน เดอ ลูว์ 11
2562 ไทยลีก 2 34 11 12 11 41 45 45 10 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบ 32 ทีมสุดท้าย บราซิล ราฟาเอล โคเอลโญ 15
2563–64 ไทยลีก 2 34 11 7 16 39 46 40 12 รอบ 32 ทีมสุดท้าย งดจัดการแข่งขัน ไทย สมศักดิ์ มุสิกะพันธ์ 7
2564–65 ไทยลีก 2 34 15 12 7 67 38 57 4 รอบ 16 ทีมสุดท้าย รอบ 32 ทีมสุดท้าย บราซิล เดย์วีซง เฟร์นังจิส 20
2565–66 ไทยลีก 30 4 7 19 24 60 19 16 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบ 16 ทีมสุดท้าย ไทย ชาวิน ธีรวัจน์ศรี 6
2566–67 ไทยลีก 2 34 15 9 10 50 41 54 8 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบ 32 ทีมสุดท้าย บราซิล ไคอู โรดรีกิส 10
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ เลื่อนชั้น ตกชั้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รถม้ามรกต"ลำปาง เอฟซี เจอลำปาง...ระวังจะหนาวเน้อ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-07. สืบค้นเมื่อ 2010-02-25.
  2. น้องใหม่ "ลำปาง เอฟซี" ถึงมาปีแรกแต่เราก็ไม่คิดกลัวใคร
  3. ลำปางบุกเจ๊าตราด3-3คว้าตั๋วใบสุดท้ายเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกสำเร็จ
  4. "ฝรั่งซูฮก!! สื่อนอกชูโลโก้ "ลำปาง" สวยระดับแนวหน้า". ผู้จัดการออนไลน์. 2016-09-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-01. สืบค้นเมื่อ 2016-10-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]