ข้ามไปเนื้อหา

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักวิชาแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
School of Medicine,
Mae Fah Luang University
คติพจน์"สถาบันการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อชุมชนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ยั่งยืน"
สถาปนา18 มกราคม พ.ศ. 2555
(13 ปี 37 วัน)
คณบดีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปรีชา สุนทรานันท์[1]
ที่อยู่
วารสารวารสารสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สี  สีเขียวใบไม้
มาสคอต
ชื่อสำนักวิชาบนพื้นวงกลมสีเขียวล้อมพระนามาภิไธยย่อ ส.ว.
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
โรงพยาบาลกลาง
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
โรงพยาบาลลำพูน
เว็บไซต์สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (อังกฤษ: School of Medicine, Mae Fah Luang University) เป็นโรงเรียนแพทย์ในจังหวัดเชียงรายของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 19 ของประเทศไทย ได้รับการรับรองจากแพทยสภา โดยมีพันธกิจในการสร้างบัณฑิตแพทย์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม แห่งวิชาชีพแพทย์ ให้บริการวิชาการ และบริการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล สร้างงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และเป็นสถาบันการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อชุมชนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ยั่งยืน[2]

สถานที่ตั้งปัจจุบันของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คือ เลขที่ 365 หมู่ 12 ตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในสังกัดของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ประวัติ

[แก้]

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งโดยสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2555  เพื่อสนองต่อนโยบายของรัฐในด้านการเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนอย่างครบวงจร และมีคุณภาพมาตรฐาน ยกระดับคุณภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปฏิรูประบบบริหารจัดการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาและเพิ่มจำนวนแพทย์เพื่อสนองตอบตามความต้องการของท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จากแพทยสภา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 และทำการเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2556 จำนวน 32 คน โดยมี พลโท ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ นพดล วรอุไร อดีตประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่งคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[3]

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

โดยในช่วงแรกได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลในสังกัดของสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงสาธารณสุขในการร่วมผลิตแพทย์ตามนโยบายโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย และหลังจากนั้นสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จึงเริ่มพัฒนาโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักในการทำการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ โดยมีความร่วมมือระหว่างเครือข่ายกับโรงพยาบาลที่เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ทั้ง 3 แห่งในการพัฒนาทางด้านวิชาการและบริการร่วมกัน

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมุ่งหวังให้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และเพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักของ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำหรับการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ต่อไป ซึ่งการก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงแล้วเสร็จ และจะเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป[4]

หลักสูตรการศึกษา

[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนในสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)

  • สาขาวิชาแพทยศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • พาราคลินิก

ทำเนียบคณบดี

[แก้]
ทำเนียบคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พลโท ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ นพดล วรอุไร พ.ศ. 2555 - 2563
2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ศุภกร โรจนนินทร์ พ.ศ. 2563 - 2567
3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ปรีชา สุนทรานันท์ พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

[แก้]

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีโครงการรับนักศึกษาแพทย์เข้าทำการศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตทั้งสิ้น 3 โครงการ โดยจัดให้นักศึกษาแพทย์ได้ฝึกปฏิบัติงานในชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลที่เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ทั้ง 3 แห่ง ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก และมีการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในโครงการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • โครงการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา ระบบ โควตา 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (Quota)

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากโรงเรียนในเขต 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี

  • โครงการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา ระบบ โควตา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง (Quota)

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากโรงเรียนในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี

  • โครงการรับตรงร่วมกับ กสพท. (Direct Admissions)

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั่วประเทศ โดยรับสมัครร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

[แก้]
  • ระยะเวลาการศึกษา

ระยะเวลาการศึกษา 6 ปี และเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี

  • ระบบการศึกษา

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี และตามแผนการการจัดการศึกษาของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ภาควิชา

[แก้]

ปัจจุบันสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีภาควิชาทั้งสิ้น 23 ภาควิชา ดังต่อไปนี้[5]

ภาควิชา

[แก้]

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและสถาบันร่วมผลิตแพทย์

[แก้]

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6) ณ โรงพยาบาลที่เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ร่วมกับทางสำนักวิชาแพทยศาสตร์อีก 3 โรงพยาบาล โดยได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก" ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ร่วมผลิตแพทย์ในสังกัด สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นหน่วยงานในการจัดการเรียนการสอน และเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและการบริการร่วมกับทางสำนักวิชาแพทยศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเน้นมาตรฐานคุณภาพของบัณฑิตแพทย์จากทุกสถาบันชั้นคลินิกภายใต้การประสาทปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงให้มีคุณภาพเดียวกัน โดยมีดังนี้

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จังหวัด สังกัด
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ จังหวัด สังกัด
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน กระทรวงสาธารณสุข


อ้างอิง

[แก้]
  1. รายนามผู้บริหารสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  2. "วิสัยทัศน์/พันธกิจ-สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง" web.medicine.mfu.ac.th
  3. ประวัติความเป็นมาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2555
  4. ประวัติการก่อตั้งโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงhttp://eiadoc.onep.go.th/eialibrary/4housing/57/F57_4915.pdf เก็บถาวร 2021-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. ภาควิชาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]