ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
ชื่อย่อกสพท./COTMES
ก่อตั้ง7 เมษายน พ.ศ. 2532; 35 ปีก่อน (2532-04-07)
ประเภทองค์กรอิสระที่ไม่เป็นส่วนราชการ
สํานักงานใหญ่ชั้น 8 อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
สมาชิก
28 สถาบัน
เลขาธิการ
รศ.พญ.นันทนา ศิริทรัพย์
เว็บไซต์www.cotmes.net

กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Consortium of Thai Medical Schools;อักษรย่อ:กสพท.) เป็นองค์กรอิสระที่ไม่เป็นส่วนราชการ จัดตั้งขึ้นโดยการรวมกลุ่มกันของคณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความคิดเห็นระหว่างกัน เสนอแนะความเห็นไปยังรัฐบาลรวมทั้งจัดสอบคัดเลือกร่วมกันเพื่อรับบุคคลเข้าศึกษาต่อ

ประวัติ

[แก้]

กสพท.ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยเริ่มต้นจากการประชุมร่วมกันของคณบดีคณะแพทยศาสตร์จำนวน 9 แห่งจาก 7 สถาบันดังรายชื่อดังต่อไปนี้[1]

  1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  6. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  7. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล[a]
  8. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  9. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า[b]

โดยวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของกสพท.มีดังนี้[2]

  1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา วิจัย และบริการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในทุกระดับ ให้สอดคล้องและสนองตอบต่อนโยบายและปัญหาการสาธารณสุขของประเทศ
  2. เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและแลกเปลี่ยนความรู้วิชาการด้านการศึกษาแพทยศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
  3. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนางาน/บุคลากร และระบบข้อมูลกลางของงานทางด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  4. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อคิดเห็นและเสนอต่อรัฐบาล และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในด้านการพัฒนาการศึกษาแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการสาธารณสุขของประเทศไทย
  5. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนางาน บุคลากร และระบบข้อมูลกลางของงานทางด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้ทันสมัย ก้าวหน้า และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  6. เพื่อเป็นสถาบันทางวิชาการและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

นอกจากวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นกสพท.ยังมีหน้าที่จัดสอบวิชาเฉพาะแพทย์หรือ TPAT 1 เพื่อประกอบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิตและเภสัชศาสตร์บัณฑิตในการคัดเลือกผ่านระบบ TCAS รอบที่ 3 ของทปอ.อีกด้วย[3]

สถาบันสมาชิก

[แก้]

ปัจจุบันกสพท.มีโรงเรียนแพทย์เข้าเป็นสมาชิกจำนวน 28 สถาบัน ดังรายชื่อดังต่อไปนี้[4]

  1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  6. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  7. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  8. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  9. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  10. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  11. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  12. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  13. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  14. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  15. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  16. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  17. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  18. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  19. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  20. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  21. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  22. คณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  23. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
  24. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  25. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  26. คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  27. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  28. วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

[แก้]

กรณีคัดลอกข้อสอบ BMAT มาใช้เป็นข้อสอบคัดเลือก

[แก้]

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ได้มีการจัดสอบวิชาเฉพาะแพทย์หรือ TPAT 1 ซึ่งกสพท.เป็นผู้จัดสอบ โดยหลังการสอบเสร็จสิ้นผู้เข้าสอบได้วิจารณ์ว่าข้อสอบฉบับที่ 1 จากทั้งหมด 3 ฉบับมีการคัดลอกข้อสอบ BMAT ซึ่งจัดสอบโดย Cambridge Assessment Admissions Testing มาใช้เป็นข้อสอบคัดเลือกโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของโจทย์ใดๆทั้งสิ้นเพียงแค่แปลโจทย์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเท่านั้น อาจส่งผลให้เกิดความได้เปรียบแก่ผู้เข้าสอบที่เคยเห็นโจทย์ดังกล่าวมาก่อนแล้ว อีกทั้งการคัดเลือกในระบบ TCAS รอบที่ 1 ได้นำผลคะแนนจากข้อสอบ BMAT มาใช้ในการคัดเลือกด้วยดังนั้นอาจมีผู้เข้าสอบบางคนได้รับประโยชน์จากเหตุการณ์ดังกล่าว[5] [6] ต่อมาในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566 กสพท.ได้ออกแถลงการณ์กรณีข้อสอบดังกล่าวว่าจากการตรวจสอบพบว่ามีข้อสอบจำนวน 11 ข้อจากทั้งหมด 45 ข้อมีเนื้อหาคล้ายกับข้อสอบ BMAT จริง จึงมีมติตัดข้อสอบฉบับดังกล่าวออกทั้งฉบับและไม่นำมาคิดคะแนนในการคัดเลือก นอกจากนี้ยังแถลงว่าจะปรับปรุงกระบวนการออกข้อสอบไม่ให้มีเหตุการณ์เช่นนี้อีก[7] อีกทั้งประธานคณะอนุกรรมการจัดสอบคัดเลือกของกสพท.ได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบ[8]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ในขณะนั้นเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดลและย้ายมาสังกัดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชในเวลาต่อมา
  2. เป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย – กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย".
  2. "วัตถุประสงค์ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย – กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย".
  3. "กสพท คืออะไร มีกำหนดการ เงื่อนไขการสอบ และกฎเกณฑ์อย่างไร ถึงจะ 'เรียนหมอ' ได้". www.thairath.co.th. 2023-08-12.
  4. "สถาบันสมาชิก – กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย".
  5. Chumseana, Thanapon. "ดราม่าเดือด! ข้อสอบ 'TPAT1' กสพท. ก๊อบ 'BMAT' มาทั้งดุ้น-ไม่เปลี่ยนโจทย์". เดลินิวส์.
  6. "กสพท.แจงดรามาข้อสอบ TPAT1 คล้ายกับ BMAT รับเสียใจ ประชุมถกเยียวยาวันนี้". mgronline.com. 2023-12-18.
  7. "กสพท สั่งตัดข้อสอบ TPAT 1 ฉบับที่ 1 หลังพบคล้ายข้อสอบเก่า BMAT". Thai PBS.
  8. Thailand, BECi Corporation Ltd. "'นพ.สรนิต' ปธ.อนุกรรมการสอบคัดเลือก กสพท.ขอลาออก เซ่นปมข้อสอบ TPAT1". CH3Plus.com.