ข้ามไปเนื้อหา

สวาหา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระแม่สวาหา
(แม่พระเพลิง)
स्वाहा
ชายาพระเพลิง
เทพนารีแห่งไฟ[1] และ นรก ชีวิตหลังความตาย แม่ ชีวิต การสมรส
ส่วนหนึ่งของ เทพีผู้รักษาอัฐโลกบาล
เทพีแห่งไฟ
จิตรกรรม เจ้าแม่สวาหา (ซ้าย) และ พระอัคนี (ขวา) ศิลปะแบบประเพณีอินเดียภาคเหนือ
ชื่ออื่นแม่พระเพลิง (ในภาษาไทย)
เจ้าแม่พระเพลิง (ในภาษาไทย)
อัคคีเทวี
อัคนีศักติ
โยคินี
ส่วนเกี่ยวข้องศักติพระเพลิง
พระเทวี
เทพีอัฐโลกบาล
เทพมารดร
นิกายศักติ
อาทิปราศักติ
ที่ประทับไฟในพิธีกรรมยัญของโหมกูณฑ์
เทวสภา
ปัญจภูต
มนตร์เทวีสวาหามนตร์
พาหนะแกะ
แพะ
แรด
ระมาด
ราชรถอัคนีสีทองเทียมม้าอัคนีสีแดง
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระเพลิง[2]
บุตร - ธิดาปาวกา
ปาวะมานณะ
ศุจิ
พระสกันทะ (บุตรบุญธรรม)
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น
เทียบเท่าในกรีกพระแม่อะกลีอา
เทียบเท่าในโรมันพระแม่อะกลีอา

สวาหา (สันสกฤต: स्वाहा) เป็นคำศัพท์ที่พบในศาสนาฮินดูแปลว่า "กล่าวดีแล้ว" ("well said") เป็นคำกล่าวเมื่อจบมนตร์[3] ในภาษาทิเบต แปลคำว่าสวาหาว่า "แล้วจึงเป็นสิ่งนั้น" ("so be it") และมักออกเสียงว่า "โซฮา" (soha) มากกว่า นอกจากนี้ในฤคเวทยังแปลว่า "การถวายบูชา" (แด่พระอัคนีหรือพระอินทร์) ในทางบุคลาธิษฐาน (personification) ในศาสนาฮินดู ยังถือเป็นเทวีองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู เป็นชายาของพระอัคนี เทพเจ้าแห่งไฟ[4]

ในศาสนาฮินดู

[แก้]
พระอัคนี เทพเจ้าแห่งไฟ พระสวามีของพระนางสวาหา

ในฐานะที่เป็นเทวี พระนาม สวาหา ในฤคเวทอาจหมายถึง "เครื่องบูชา" ที่ส่งผ่านไป ในบางปุราณะ พระนางเป็นหนึ่งในเทพมารดาผู้ดูและอุมถัมป์ของพระขันทกุมารก่อนส่งถวายคืนพระปารวตี และยังเป็นเทพมารดาของนางอาคเนยี (आग्नेयी) ธิดาของพระอัคนี และได้รับการยกย่องว่าเป็นบุตรีของท้าวทักษะและนางประสูติ และเป็นภคินีต่างมารดาของพระสตี (อดีตชาติของพระปารวตี) นอกจากนี้พระนางถือเป็นประธานในการบูชาในพิธีโดยเฉพาะพิธีโหมกูณฑ์และยัชญะ โดยคำว่า 'สวาหา' นั้นถูกเปล่งออกมาในระหว่างการสังเวย

นอกเหนือจากวัฒนธรรมอินเดีย

[แก้]

ในศาสนาฮินดูในประเทศไทยโดยปกติเรียกนางว่า แม่พระเพลิง ซึ่งหมายถึง เทพีแห่งไฟ ในภาษาไทย โดยทั่วไปนางมักจะได้การบูชาและกล่าวถึงหรืออ้างอิงเป็นสักขีพยานในการบุญต่าง ๆ กับแม่พระคงคา และ แม่พระพาย (ชายาของพระวายุ) จากคติในศาสนาฮินดู และ พระแม่ธรณี และ พระแม่โพสพ จากศาสนาพื้นเมืองเดิมของไทย โดยกล่าวถึงร่วมกันห้าองค์เรียงตามลำดับ เทวรูปของนางที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างในไทย ได้แก่ อุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิม ตำบลพุสวรรค์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ในแดนห้าแม่ผู้ยิ่งใหญ่[5][6] และ บ้านสุขาวดี พัทยา ถนนสุขุมวิท อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นต้น[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hertel, Bradley R.; Humes, Cynthia Ann (January 1993). Living Banaras: Hindu Religion in Cultural Context. ISBN 9780791413319.
  2. Antonio Rigopoulos (1998). Dattatreya: The Immortal Guru, Yogin, and Avatara: A Study of the Transformative and Inclusive Character of a Multi-faceted Hindu Deity. State University of New York Press. p. 72. ISBN 978-0-7914-3696-7.
  3. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 1186
  4. https://vedicgoddess.weebly.com/goddess-vidya-blog/svaha-the-wife-of-fire
  5. https://kuanyinpark.org/index.php/sthan-thi-sakhay-laea-kar-yeiym-chm/daen-ha-mae-phu-ying-hiy
  6. http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~cvipada/land_06.html
  7. https://harida.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1835:baan-sukhawadee-pattaya&catid=12&Itemid=375