พระแม่คงคา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
พระแม่คงคา | |
---|---|
เทวีแห่งความบริสุทธิ์ เทพธิดาผู้รักษาแม่น้ำคงคา | |
พระคงคาประทับบนมกร ศิลปะแบบประเพณีเบงกอล. | |
ส่วนเกี่ยวข้อง | เทพธิดา หนึ่งในเจ็ดแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของฮินดู โยคินี เทพเจ้าแห่งธาตุน้ำ เทพธิดาผู้รักษาธาตุน้ำ |
ที่ประทับ | พรหมโลก ไวกูณฐ์ เขาไกรลาศ คงโคตริ |
มนตร์ | โอม ศรี คงคาไย นะมะหะ (Om Shri Gangayai Namaha) |
อาวุธ | หม้อกลัศ |
พาหนะ | มกร จระเข้ ปลา (ในศิลปะไทย) |
เทศกาล | คงคาทุสเสหรา, คงคาชยันตี และ นวราตรี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
บุตร - ธิดา | ภีษมะ นรรมทา |
บิดา-มารดา | พระหิมวัต และ พระนางไมนาวตี |
ในศาสนาฮินดูนั้น แม่น้ำคงคาถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ และมีรูปเป็นเทวีพระนามว่า พระแม่คงคา (สันสกฤต: गङ्गा Gaṅgā) พระนางได้รับการเคารพบูชาในศาสนาฮินดู ที่ซึ่งมีความเชื่อว่าการลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคาจะเป็นการคลายบาปและช่วยหนุนไปสู่โมกษะ และเชื่อกันว่าน้ำในแม่น้ำคงคานั้นบริสุทธิ์มาก ผู้แสวงบุญที่เดินทางมานิยมนำเถ้าอัฐิของญาติผู้ล่วงลับมาลอยในแม่น้ำ เชื่อกันว่าจะช่วยนำพาดวงวิญญาณ ไปสู่โมกษะ เรื่องราวของพระนางพบได้ทั้งในฤคเวทและปุราณะต่าง ๆ
ศาสนสถานสำคัญของฮินดูหลายแห่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำคงคา ตั้งแต่ที่ คงโคตริ, หฤทวาร, ปรยาคราช, พาราณสี และกาลีฆัตในกัลกัตตา นอกจากการเคารพบูชาในศาสนาฮินดูแล้ว ในประเทศไทยยังมีเทศกาลลอยกระทงที่ซึ่งมีการลอยกระทงบนทางน้ำไหลเพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณและพระแม่คงคา เพื่อเป็นการสร้างบุญและล้างความชั่วร้ายตามความเชื่อว่าให้ลอยไปกับสายน้ำ
ในรูปเคารพพระแม่คงคาเป็นสตรีท่าทางใจดีมีผิวพระวรกายอ่อน ประทับบนจระเข้ ในพระหัตถ์ทรงดอกบัวในหัตถ์หนึ่ง และพิณอินเดียในอีกหัตถ์หนึ่ง หากเป็นรูปสี่พระหัตถ์อาจทรงหม้อกลัศ หรือหม้อใส่น้ำอมฤต, ประคำ, ดอกบัว, ศิวลึงค์, ตรีศูล หรือทรงวรทมุทราหรือมุทราอื่นขึ้นอยู่กับศิลปะ
ในศิลปะของเบงกอล มักแสดงพระองค์ทรงสังข์, จักร, ดอกบัว และทรงอภัยมุทรา พร้อมมั้งเทน้ำมนตร์จากหม้อกลัศ
พระวาหนะ
[แก้]ใน พรหมไววรรตปุราณะ พระแม่คงคานิยมสร้างรูปเคียงกับพระวาหนะ (พาหนะ) ของพระองค์คือมกร หรือสิ่งมีชีวิตคล้ายมังกรในศาสนาฮินดู ลักษณะการใช้มกรเปนพระวาหนะนี้ได้รับการตีความอย่างหลากหลาย บ้างว่าเป็นตัวแทนของความฉลาดเฉลียว การเอาชนะความดุร้าย เป็นต้น
ในคติความเชื่อต่าง ๆ
[แก้]พระแม่คงคาทรงเป็นที่นิยมได้รับการบูชาอย่างมากในประเทศเนปาล โดยทรงได้รับการบูชาควบคู่กับพระแม่ยมุนา เทวรูปที่มีชื่อเสียงของพระนางคือองค์ที่ประดิษฐาน ณ จตุรัสพระราชวังปาฏัน[1][2] และโคกรรณมหาเทวมนเทียร (Gokarna Mahadev Temple) ในนครกาฐมาณฑุ[3]
ในประเทศศรีลังกา ทรงได้รับการบูชาร่วมกับเทวดาในศาสนาฮินดูองค์อื่น ๆ ในฐานะผู้รักษาพระพุทธศาสนา เทวรูปที่มีชื่อเสียงของพระนางคือที่เกลณียราชมหาวิหาร (Kelaniya Raja Maha Vihara)[4][5]
ในศาสนาฮินดูแบบบาหลี พระนางได้รับการบูชาร่วมกับพระแม่ดานู นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักในฐานะมารดาของภีษมะในมหาภารตะ มีโบสถ์พราหมณ์หลายแห่งที่สร้างอุทิศถวายพระนาง เช่น ตีร์ตากังกา, ปูราตามันมุมบุลกันดาซารี (Pura Taman Mumbul Sangeh) และ โกงโจปูราตามันกันดาซารี (Kongco Pura Taman Gandasari)[6][7][8]
ทะเลสาบคังคาตลโอ ในประเทศมอริเชียสเป็นโบสถ์พราหมณ์อีกแห่งที่อุทิศถวายพระนางและได้มีการอัญเชิญน้ำจากแม่น้ำคงคามาผสมในทะเลสาบ และได้ทำพิธีเทวาภิเษกและเปลี่ยนชื่อเป็น ทะเลสาบคังคาตลโอ[9]
พระแม่คงคาได้รับการบูชาร่วมกับ พระอิศวร, พระภูมิเทวี, พระอาทิตย์ และ พระจันทร์ ในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวายและแห่นางดานของศาสนาฮินดูในประเทศไทย โดยทั่วไปพระนางได้รับการสักการะบูชาร่วมกับพระแม่ธรณีของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและแม่พระโพสพของศาสนาผี. สระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ของจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นตัวแทนของน้ำศักดิ์สิทธิ์ของพระนางที่ใช้พิธีกรรมต่างๆของไทย[10][11][12]
ในประเทศกัมพูชาพระนางเป็นที่รู้จักและได้รับการบูชาตั้งแต่ในสมัยจักรวรรดิเขมร โดยเทวรูปที่มีชื่อเสียงของพระนาง คือ เทวรูป พระอุมาคงคาปติศวร (อังกฤษ: Uma-Gangapatisvarar:เขมร: ព្រះឧមាគង្គាបតិស្វរ),ในฐานะชายาของพระศิวะร่วมกับพระปารวตี ที่สำคัญเช่นปราสาทบากอง, และหน้าบันของปราสาทธมมานนท์ เป็นต้น[13][14][15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Statue of the River Goddess Ganga in Royal Palace in Patan, Kathmandu Valley, Nepal Stock Photo - Image of Nepalese, Asian: 89398650". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 2022-05-14.
- ↑ "Nepal Patan Ganga Statue High Resolution Stock Photography and Images - Alamy".
- ↑ "53 Kathmandu Gokarna Mahadev Temple Ganga Statue". Mountainsoftravelphotos.com. 2010-10-10. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
- ↑ "Kelaniya Raja Maha Vihara".
- ↑ "The Goddess Ganga (Bas-relief depicting the goddess Ganga atop her crocodile (Makara) mount at Kelaniya Temple, Sri Lanka) | Mahavidya". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 2022-05-14.
- ↑ "Tirta Gangga Water Palace - A Complete Guide to Visiting". 13 January 2020.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Taman Mumbul dengan Panglukatan Pancoran Solas di Sangeh, Simbol Dewata Nawasanga".
- ↑ "SERBA SERBI TRIDHARMA: Kelenteng Kwan Kung Miau - Denpasar, Bali". 4 January 2015.
- ↑ "How a lake became the sacred Ganga Talao". สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
- ↑ "พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย".
- ↑ "อุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิม".
- ↑ ""พันปีไม่เคยแห้ง" น้ำศักดิ์สิทธิ์ ของพญานาค จากสระทั้งสี่ ที่เมืองสุพรรณบุรี". 4 March 2019.
- ↑ "Vasudha Narayanan | Department of Religion".
- ↑ "Shiva with Uma and Ganga, sandstone, 101 x 53 x 13 cm".
- ↑ "May 2015".
แหล่งข้อมูล
[แก้]- Eck, Diana L. (1982), Banaras, city of light, Columbia University, ISBN 978-0231114479
- Eck, Diana (1998), "Gangā: The Goddess Ganges in Hindu Sacred Geography", ใน Hawley, John Stratton; Wulff, Donna Marie (บ.ก.), Devī: Goddesses of India, University of California / Motilal Banarasidass, pp. 137–53, ISBN 8120814916
- Vijay Singh: The River Goddess (Moonlight Publishing, London, 1994)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Ganga Ma: A Pilgrimage to the Source a documentary that follows the Ganges from the mouth to its source in the Himalayas.