ข้ามไปเนื้อหา

ปลาสวาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สวาย)

ปลาสวาย
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: ปลาหนัง
Siluriformes
วงศ์: ปลาสวาย
Pangasiidae
สกุล: ปลาบึก
Pangasianodon
(Sauvage, 1878)
สปีชีส์: Pangasianodon hypophthalmus
ชื่อทวินาม
Pangasianodon hypophthalmus
(Sauvage, 1878)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์และอพยพย้ายถิ่นของปลาสวาย
ชื่อพ้อง

Helicophagus hypophthalmus Sauvage, 1878
Pangasius sutchi Fowler, 1937[3]
Pangasius hypophthalmus (Sauvage, 1878)

ปลาสวาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon hypophthalmus) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก ที่อยู่สกุลเดียวกัน รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8–9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร

พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 โดยถือเป็นสัตว์น้ำชนิดแรกที่กรมประมงของไทยผสมเทียมประสบความสำเร็จเป็นชนิดแรกด้วย[4] ปลาในธรรมชาติมีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน ในธรรมชาติมักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพเข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก และจากการศึกษาล่าสุดพบว่า ในเนื้อปลาสวายนั้นมีโอเมกา 3 คิดเป็นปริมาณแล้วสูงกว่าในปลาทะเลเสียอีก โดยมีถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม[5] [6]

รูปภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Vidthayanon, C.; Hogan, Z. (2011). "Pangasianodon hypophthalmus". IUCN Red List of Threatened Species. 2011: e.T180689A7649971. doi:10.2305/IUCN.UK.2011-1.RLTS.T180689A7649971.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. "Pangasius hypophthalmus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ February 7, 2009.
  4. หน้า ๑๗๖-๑๗๗, ๘๔ ปี สถาปนากรมประมง. วารสารพิเศษกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
  5. "กินปลาน้ำจืดแหล่งโอเมกา 3 ไม่แพ้ปลาทะเล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-23. สืบค้นเมื่อ 2009-12-14. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  6. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2547. 257 หน้า. หน้า 31. ISBN 974-00-8738-8

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]