ข้ามไปเนื้อหา

สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก
สนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น
ชิเงรุ โยชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ลงนามในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1951 ในโรงอุปรากรอนุสรณ์สงครามที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
วันลงนาม8 กันยายน 1951; 72 ปีก่อน (1951-09-08)
ที่ลงนามซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
วันมีผล28 เมษายน 1952; 72 ปีก่อน (1952-04-28)
ผู้เจรจา
ภาคีประเทศญี่ปุ่นกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง 48 ประเทศ
ผู้เก็บรักษารัฐบาลสหรัฐอเมริกา
ภาษา
Treaty of San Francisco ที่ วิกิซอร์ซ

สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก (อังกฤษ: Treaty of San Francisco; ญี่ปุ่น: サンフランシスコ講和条約โรมาจิSan-Furanshisuko kōwa-Jōyaku) มีีอีกชื่อว่า สนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น (Treaty of Peace with Japan; ญี่ปุ่น: 日本国との平和条約โรมาจิNihon-koku to no Heiwa-Jōyaku) เป็นสนธิสัญญาที่สถาปนาความสัมพันธ์แบบสันติอีกครั้งระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับฝ่ายสัมพันธมิตรในนามของสหประชาชาติด้วยการยุติสถานะทางกฎหมายของสงคราม การครอบครองทางทหาร และจัดให้มีการชดใช้สำหรับการกระทำอันโหดร้ายจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง สนธิสัญญานี้ลงนามโดย 49 ประเทศในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1951 ที่โรงอุปรากรอนุสรณ์สงคราม ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[2] ประเทศอิตาลีและจีนไม่ได้รับเชิญ โดยประเทศหลังเนื่องจากความไม่เห็นพ้องที่ว่าประเทศใดเป็นตัวแทนชาวจีนระหว่างสาธารณรัฐจีนหรือสาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีก็ไม่ได้รับเชิญด้วยเหตุผลคล้ายกันว่าประเทศใดเป็นตัวแทนชาวเกาหลีระหว่างเกาหลีใต้หรือเกาหลีเหนือ[3]

สนธิสัญญามีผลในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1952 โดยทำให้บทบาทของญี่ปุ่นในฐานะมหาอำนาจจักรวรรดิสิ้นสุด จัดสรรค่าชดเชยแก่ชายสัมพันธมิตรและอดีตเชลยศึกที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมสงครามของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยุติการยึดครองญี่ปุ่นหลังสงครามของฝ่ายสัมพันธมิตร และคืนอำนาจอธิปไตยเต็มรูปแบบ สนธิสัญญานี้พึ่งพากฎบัตรสหประชาชาติ[4] กับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างมาก[5]เพื่อประกาศเป้าหมายของสัมพันธมิตร ในมาตราที่ 11 ประเทศญี่ปุ่นยอมรับข้อตัดสินของศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกลและศาลอาชญากรรมสงครามฝ่ายสัมพันธมิตรอื่น ๆ ที่บังคับใช้กับญี่ปุ่นทั้งในและนอกประเทศ[6]

ประเทศที่เข้าร่วมประชุม[แก้]

อาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, เบลเยียม, โบลิเวีย, บราซิล, กัมพูชา, แคนาดา, ชิลี, โคลอมเบีย, คอสตาริกา, คิวบา, เชโกสโลวาเกีย, ดอมินีกา, เอกวาดอร์, อียิปต์, เอลซัลวาดอร์, เอธิโอเปีย, ฝรั่งเศส, กรีซ, กัวเตมาลา, เฮติ, ฮอนดูรัส, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิรัก, ลาว, เลบานอน, ไลบีเรีย, ลักเซมเบิร์ก, เม็กซิโก, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, นิการากัว, ฟิลิปปินส์, โปแลนด์, ซาอุดีอาระเบีย, สหภาพโซเวียต, ศรีลังกา, แอฟริกาใต้, ซีเรีย, ตุรกี, สหราชอาณาจักร, สหรัฐ, อุรุกวัย, เวเนซุเอลา, เวียดนาม และญี่ปุ่น

พม่า, อินเดีย และยูโกสลาเวีย ได้รับการเชิญแต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม เกาหลีใต้ไม่ได้รับการเชิญเนื่องจากไม่ได้รับการยอมรับเป็นสัมพันธมิตรรวมทั้งประเทศไทย จีน ไต้หวัน และจีนแผ่นดินใหญ่ก็ไม่ได้รับการเชิญเนื่องจากอยู่ระหว่างสงครามกลางเมือง ยังไม่สามารถตัดสินว่าใครจะเป็นตัวแทนประเทศที่ถูกต้องตามกฎหมาย

การลงนามและการให้สัตยาบัน[แก้]

มี 49 ประเทศที่ร่วมลงนาม ยกเว้นเชโกสโลวาเกีย โปแลนด์ และสหภาพโซเวียต เนื่องจากทั้งสามประเทศปฏิเสธที่จะเข้าร่วมสนธิสัญญา ประเทศโคลอมเบีย อินโดนีเซีย และลักเซมเบิร์กได้ร่วมลงนามแต่ไม่ได้ทำสัตยาบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. มาตราที่ 27
  2. "Document 735 Editorial Note". Foreign Relations of the United States, 1951, Asia and the Pacific. Vol. VI, PART 1.
  3. "San Francisco Peace Conference".
  4. คำปรารภ และมาตราที่ 5
  5. คำปรารภ
  6. "Treaty of Peace with Japan (with two declarations). Signed at San Francisco, on 8 September 1951" (PDF).

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Calder, Kent. "Securing security through prosperity: the San Francisco System in comparative perspective." The Pacific Review 17.1 (2004): 135–157. online
  • Hara, Kimie. "50 years from San Francisco: Re-examining the peace treaty and Japan's territorial problems." Pacific Affairs (2001): 361–382. online
  • Lee, Seokwoo. "The 1951 San Francisco peace treaty with Japan and the territorial disputes in East Asia." Pacific Rim Law and Policy Journal 11 (2002): 63+ online.
  • Trefalt, Beatrice. "A peace worth having: delayed repatriations and domestic debate over the San Francisco Peace Treaty." Japanese Studies 27.2 (2007): 173–187.
  • Zhang, Shengfa. "The Soviet-Sino boycott of the American-led peace settlement with Japan in the early 1950s." Russian History 29.2/4 (2002): 401–414.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]