สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University | |
![]() | |
สถาบันหลัก | มหาวิทยาลัยมหิดล |
---|---|
ผู้สถาปนา | คุณหญิงสุริยา รัตนกุล |
สถาปนา | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 |
ผู้อำนวยการ | นันทิยา ดวงภุมเมศ |
ชื่อเดิม | สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท |
ที่อยู่ | 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
เว็บไซต์ | www |
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิต รวมจำนวน 7 หลักสูตร และจัดการวิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงและพัฒนาด้านภาษา วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์
ประวัติ
[แก้]สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ. 2517 มีฐานะเป็น "โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยภาษาและวัฒนธรรมอาเชียอาคเนย์" ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้เล็งเห็นความจำเป็นของการผลิตนักวิชาการที่มีความรู้และความเข้าใจวิธีการทางภาษาศาสตร์ ในอันที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร การทำความเข้าใจกับผู้คนที่มีเชื้อสาย เผ่าพันธุ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีและการพูดแตกต่างจากคนไทยโดยทั่วไป ไม่ว่าภาษาเหล่านี้จะเป็นภาษากลุ่ม ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศ หรือภาษาของผู้คนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์แห่งนี้มี ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล เป็นผู้ก่อตั้งและเป็น ผู้อำนวยการคนแรก มีที่ทำการอยู่ที่อาคารอำนวยการคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ได้รับการยกฐานะเป็น "สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท" โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล [1] และในปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
โดยในระยะแรกมีที่ทำการสถาบันฯ ณ อาคารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ ณ อาคารเรียนรวมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล จนเมื่อการก่อสร้างอาคารของสถาบันฯ แล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. 2542 จึงได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งนอกจาก อาคารดังกล่าวแล้วสถาบันฯ ยังมีอาคารเรือนไทย (ระเบียบ คุณะเกษม) ซึ่งใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ตลอดมา [2]
ทำเนียบผู้อำนวยการ
[แก้]สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล | ||
---|---|---|
รายนามผู้อำนวยการสถาบัน | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล | พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2531 | |
2. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล | พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2536 | |
3. ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล | พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2544 | |
4. ศาสตราจารย์ ดร. สุวิไล เปรมศรีรัตน์ | พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2548 | |
5. รองศาสตราจารย์ ดร. โสภนา ศรีจำปา | พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2552 | |
6. ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา | พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2553 | |
7. รองศาสตราจารย์ดวงพร คำนูณวัฒน์ | พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555 | |
8. รองศาสตราจารย์ ดร. โสภนา ศรีจำปา | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 [3] | |
9. รองศาสตราจารย์ ดร. ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2563 [4] | |
10. รองศาสตราจารย์ ดร. มรกต ไมยเออร์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2567 | |
11. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน |
ปรัชญา
[แก้]ภาษาและวัฒนธรรมเป็นหัวใจของการพัฒนาที่ยั่งยืน
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]ระดับปริญญาเอก
[แก้]เปิดสอนจำนวน 3 หลักสูตร คือ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพหุวัฒนธรรมศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
ระดับปริญญาโท
[แก้]เปิดสอนจำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิพิธภัณฑศึกษา
การวิจัยและพัฒนาภาษา วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์
[แก้]ข้อมูลที่ https://lc.mahidol.ac.th
การบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
[แก้]สถาบันฯ จัดให้มีการบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ อันเกี่ยวของกับภาษา วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น
- สวนศิลาจารึก
- แผนที่ภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์
- พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม
- ศูนย์การแปลและบริการด้านภาษา
- ศูนย์ศึกษาฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต
- ศูนย์ภารตะศึกษา
- ศูนย์ข้อมูลวัฒนธรรมดนตรีไทยและเอเชียอาคเนย์
- ศูนย์บริการวิชาการภาษาและวัฒนธรรมเอเชียเพื่อพัฒนา ณ อาคารเรือนไทย (ระเบียบ คุณะเกษม)
- สำนักงานบริการข้อมูลภาษาและวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์
- ห้องสมุดสถาบันฯ
เกี่ยวกับสถาบันฯ
[แก้]สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพด้านการเรียนการสอนชั้นนำ ในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของประเทศไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ,ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการและภาควิชาในมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2524,5 สิงหาคม พ.ศ. 2524
- ↑ "เกี่ยวกับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-13. สืบค้นเมื่อ 2016-12-01.
- ↑ คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 38/2555,เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย[ลิงก์เสีย], 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555
- ↑ คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 29/2559,เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย[ลิงก์เสีย], 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ดูเพิ่ม
[แก้]- พันแสงรุ้ง สารคดีโทรทัศน์ที่ผลิตโดยศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัทป่าใหญ่ครีเอชั่นจำกัด และ ทีวีไทย