มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
Muban Chombueng Rajabhat University | |
ที่ทำการมหาวิทยาลัย | |
ชื่ออื่น | จีน: 庄棚皇家大学; พินอิน: Zhuang Peng Huang Jia Da Xue |
---|---|
ชื่อเดิม | สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง |
ชื่อย่อ | มรมจ. / MCRU |
คติพจน์ | สุกมฺมิโก กิตฺติมาวหาติ (งานสุจริตมีเกียรติทั้งสิ้น) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 414,904,600 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | กอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ |
อธิการบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช |
อาจารย์ | 297 คน (พ.ศ. 2567) |
บุคลากรทั้งหมด | 509 คน (พ.ศ. 2567) |
ผู้ศึกษา | 4,159 คน (พ.ศ. 2566) |
ที่ตั้ง | 46 หมู่ 3 ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี |
เพลง | มาร์ชมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง |
ต้นไม้ | ราชพฤกษ์ |
สี | สีน้ำเงิน-สีเขียว-สีเหลือง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง (อังกฤษ: Muban Chombueng Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
ประวัติ
[แก้]มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2497 ในชื่อว่า "วิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง" ซึ่งได้ต้นแบบมาจาก Village Institute ของประเทศตุรกี โดย พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เพื่อรับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่เรียนดีจากชนบททั่วประเทศ มาเป็นนักเรียนทุนเรียน 5 ปี จบประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ไปสอนในท้องถิ่นของตน ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตามลำดับ
ในปีการศึกษา 2547 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 1 ตอนที่พิเศษ 23 ก เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2547 มีผลให้สถาบันราชภัฏทุกแห่งเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงจึงมีชื่อใหม่เป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ตามพระราชบัญญัตินั้นเป็นต้นมา[2][3]
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]- สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
- สีเขียว แทนค่า แหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 36 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
- สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
- สีส้ม แทนค่า ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน
- สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- ดอกไม้ประจำสถาบัน ดอกราชพฤกษ์
สีประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]สีประจำสถาบัน น้ำเงิน - เขียว - เหลือง
คณะ
[แก้]- คณะครุศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะวิทยาการการจัดการ
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- คณะพยาบาลศาสตร์(โครงการจัดตั้ง)
สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
[แก้]- สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
- ศูนย์ภาษาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ศูนย์ให้การศึกษา
[แก้]- ศูนย์ให้การเรียนรู้ในเมือง ถนนเลี่ยงเมืองราชบุรี ตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
- วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม
- โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
- โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดราชบุรี
- บ้านแม่ต้าน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๐, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-03-01. สืบค้นเมื่อ 2005-08-23.
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547