ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้รวบรวมรายชื่อสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย ทั้งโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก, ระบบดิจิทัล, โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม, โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล และโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง

สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน

[แก้]

ระบบแอนะล็อก

[แก้]
  • ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี - เป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (2498-2520), องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (2520-2547) และ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (2547-2561) เริ่มออกอากาศเป็นแห่งแรกในประเทศไทย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียแผ่นดินใหญ่ ด้วยภาพขาวดำระบบ 525 เส้นของสหรัฐ ผ่านย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ด้วยชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ต่อมาเริ่มออกอากาศคู่ขนาน ด้วยภาพสีระบบ 625 เส้นของยุโรป ทางช่องสัญญาณที่ 9 ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2517 แล้วจึงยุติการออกอากาศ ทางช่องสัญญาณที่ 4 โดยคงออกอากาศไว้ ทางช่องสัญญาณที่ 9 เท่านั้น เป็นผลให้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 โดยอัตโนมัติ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 จนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ตามที่มีข้อตกลงร่วมกับ กสทช. อนึ่ง ระหว่างนั้นยังมีการเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และเปลี่ยนอีกครั้งเป็นชื่อปัจจุบัน เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558
  • ททบ.5 เอชดี - เป็นสถานีโทรทัศน์ซึ่งดำเนินการโดย แผนกวิทยุโทรทัศน์ กองการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กรมการทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ใช้กำลังพลของ แผนกวิทยุโทรทัศน์ กองการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กรมการทหารสื่อสาร) เริ่มออกอากาศด้วยภาพขาวดำระบบ 525 เส้นของสหรัฐ ผ่านย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ด้วยชื่อว่า สถานีโทรทัศน์กองทัพบก โดยชื่อย่อคือ "ททบ.7" หรือ "ช่อง 7 ขาวดำ" ต่อมาย้ายไปออกอากาศ ด้วยภาพสีระบบ 625 เส้นของยุโรป ทางช่องสัญญาณที่ 5 โดยชื่อที่เปลี่ยนไปเป็น "ททบ.5" หรือ "ช่อง 5" ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2517 จนถึงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ตามที่มีข้อตกลงร่วมกับ กสทช. อนึ่ง ระหว่างนั้นยังมีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน เป็นชื่อปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2527[1]
  • ช่อง 7 เอชดี - เป็นสถานีโทรทัศน์ซึ่งดำเนินการโดย แผนกวิทยุโทรทัศน์ กองการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กรมการทหารสื่อสาร กองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหมเป็นผู้กำกับดูแล ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ออกอากาศด้วยภาพสีระบบ 625 เส้นของยุโรป ผ่านย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ถึง 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 และหลังจากยุติระบบอนาล็อกได้เปลี่ยนชื่อเป็น ช่อง 7 เอชดี ซึ่งเป็นการยุติการออกอากาศก่อนหมดสัญญาสัมปทานเพื่อลดต้นทุนการออกอากาศ โดยชื่อย่อแต่เดิมคือ "ช่อง 7 สี" เนื่องจากต้องการให้ผู้ชมจดจำว่า "ช่อง 7" เป็นของกรมการทหารสื่อสาร กองทัพบก ทั้งส่วนที่ออกอากาศด้วยภาพขาวดำและภาพสี
  • ช่อง 3 เอชดี - เป็นสถานีโทรทัศน์ซึ่งบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (2513-2520), องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (2520-2547) และ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (2547-2563) เป็นผู้กำกับดูแล ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ในกลุ่มบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) เริ่มออกอากาศด้วยภาพสีระบบ 625 เส้นของยุโรป ผ่านย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2549 แล้วจึงย้ายมาออกอากาศ ผ่านย่านความถี่ยูเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 32 ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 ตามอายุของสัญญาสัมปทาน
  • เอ็นบีที 2 เอชดี - เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของภาครัฐ ซึ่งดำเนินการโดย กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ออกอากาศด้วยภาพสีระบบ 625 เส้นของยุโรป ผ่านย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 11 โดยเริ่มทดลองออกอากาศ จากเครื่องส่งโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2528 โดยประชาชนทั่วไปรู้จักในชื่อทางการ และต่อด้วยชื่อเลขช่องคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 หรือในชื่อย่อคือ "สทท.11" หรือ "ช่อง 11" ต่อมาจึงย้ายมาใช้ เครื่องส่งโทรทัศน์ของ สทท.เอง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2529 และมีพิธีเปิดสถานีฯ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 โดยถือเป็นวันสถาปนา สทท. ต่อมารัฐบาลมีนโยบายให้ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอใหม่ โดยให้ยุติการใช้คำว่า "ช่อง 11" ในชื่อที่ไม่เป็นทางการของสถานีฯ อย่างจริงจัง โดยให้เปลี่ยนไปใช้คำว่า "เอ็นบีที" หรือ "สทท." เป็นการทดแทน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้การออกอากาศในระบบแอนะล็อก ยังคงดำเนินไปจนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ตามที่มีข้อตกลงร่วมกับ กสทช.
  • โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย - เป็นองค์กรที่ประชุมผู้บริหารของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องในประเทศ ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 โดยมีสมาชิกร่วมก่อตั้งประกอบด้วย ททบ.5 (ประธาน), ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี และช่อง 7 เอชดี ต่อมาไทยทีวีสีช่อง 3, สทท. และไทยพีบีเอส เป็นสมาชิกเข้าร่วมงานนับแต่เริ่มก่อตั้งของแต่ละสถานี รวมถึงทีวีดิจิทัลทุกช่องตั้งแต่เริ่มออกอากาศในระบบภาคพื้นดินด้วย ส่วนช่องโทรทัศน์ผ่านช่องทางอื่น ๆ มีหน้าที่รับการประสานขอความร่วมมือจากสมาชิก เพื่อร่วมกันแพร่ภาพออกอากาศเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งถ่ายทอดสดและเทปบันทึกภาพ

ระบบดิจิทัล

[แก้]

ผู้ให้บริการโครงข่ายส่งสัญญาณ

[แก้]

กสทช.เปิดย่านความถี่วิทยุระดับสูงยิ่งหรือที่นิยมเรียกว่ายูเอชเอฟ ระหว่างช่องสัญญาณที่ 26 จนถึงช่องสัญญาณที่ 60 สำหรับใช้แพร่ภาพออกอากาศ (ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ได้กำหนดให้มีการส่งสัญญาณระหว่างช่องสัญญาณที่ 21 ถึง 48 เพื่อนำคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ์ จัดสรรให้แก่ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม สำหรับใช้ในการสื่อสารในระบบ 5 จี) โดยมีช่วงความถี่ 8 เมกะเฮิร์ตซ์ ต่อ 1 ช่องสัญญาณ และใช้ความถี่ 1 เมกะเฮิร์ตซ์ ต่อ 1 ช่องรายการ ดังนั้นแต่ละช่องสัญญาณ จึงมีความสามารถแพร่ภาพสูงสุด 8 ช่องรายการ โดยมีอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ ควบคุมการส่งแพร่ภาพ ในแต่ละช่องสัญญาณ ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 กสทช.อนุมัติให้เจ้าของโครงข่าย โทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิมจำนวน 4 ราย เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายในระบบดิจิทัล ผ่านอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณจำนวน 5 ชุด (ชุดที่ 6 ยังไม่จัดสรรให้ใช้ช่องความถี่) ดังต่อไปนี้

สถานีโทรทัศน์ภาคบริการสาธารณะ

[แก้]

สถานีโทรทัศน์ภาคบริการทางธุรกิจ

[แก้]

สถานีโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก

ส่วนกลาง

[แก้]

ส่วนภูมิภาค

[แก้]

ช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่

[แก้]

ข่าวสาร

[แก้]
  • นิวส์วัน - ดำเนินการโดย บริษัท ผู้จัดการ 360 จำกัด ในเครือผู้จัดการ (4 มีนาคม พ.ศ. 2546)
  • ทีเอ็นเอ็น 2 - ดำเนินการโดย บริษัท ไทยนิวส์เน็ตเวิร์ก จำกัด ในเครือบริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) นำเสนอข่าวสาร และสาระบันเทิง (1 มกราคม พ.ศ. 2551)
  • ฟ้าวันใหม่ - ดำเนินการโดย บริษัท บลูสกายแชนเนล จำกัด ออกอากาศผ่านดาวเทียมและทางอินเทอร์เน็ต (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554)
  • วอยซ์ทีวี - ดำเนินการโดย บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด) นำเสนอรายการข่าวสาร สาระบันเทิง และรายการแนะนำสินค้า ปัจจุบันเช่าสัญญาณออกอากาศจากเอ็มวีทีวี (29 มิถุนายน พ.ศ. 2552)
  • ท็อปนิวส์ - ดำเนินการโดย บริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิทัล มีเดีย จำกัด นำเสนอรายการข่าวสาร และสาระบันเทิงตลอด 24 ชั่วโมง เช่าสัญญาณออกอากาศจากทีวีไดเร็ค (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)

สาระปกิณกะ

[แก้]

กีฬาและนันทนาการ

[แก้]
  • ทรูสปอร์ต - ดำเนินการโดย บริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) นำเสนอการถ่ายทอดสดหรือบันทึกการแข่งขัน หรือรายการกีฬาทุกประเภทจากทั่วโลก (3 มีนาคม พ.ศ. 2538)

บันเทิงและดนตรี

[แก้]
  • ทรูเรียลิตี
  • ทรูไทยฟิล์ม
  • ทรูเอเชียนมอร์
  • ทรูซีรีส์
  • ทรูมูฟวี่ฮิตส์
  • ช้อป ชาแนล ดำเนินงานโดย บริษัท ช้อป โกลบอล ประเทศไทย จำกัด นำเสนอรายการแนะนำสินค้าต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ทีวีไดเร็ค ดำเนินงานโดย บริษัท ทีวีไดเร็ค จำกัด นำเสนอรายการแนะนำสินค้าต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ทีวีดีโมโม่ ดำเนินงานโดย บริษัท ทีวีไดเร็ค จำกัด นำเสนอรายการแนะนำสินค้าต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ทรู ซีเล็คท์ ดำเนินงานโดย บริษัท ทรู จีเอส จำกัด นำเสนอรายการแนะนำสินค้าต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง (28 กันยายน พ.ศ. 2554)
  • โอช็อปปิง - ดำเนินงานโดย บริษัท จี-ซีเจ จำกัด นำเสนอรายการแนะนำสินค้าต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)
  • ไฮช้อปปิ้ง ดำเนินงานโดย บริษัท ไฮช้อปปิ้ง จำกัด นำเสนอรายการแนะนำสินค้าต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง

การศึกษาและศาสนา

[แก้]

เยาวชนและการ์ตูน

[แก้]
  • ทรูสปาร์กเพลย์ - ดำเนินการโดย บริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) นำเสนอรายการการ์ตูนแอนิเมชัน (17 เมษายน พ.ศ. 2532)
  • บูมเมอแรง - ดำเนินการโดย บริษัท เอ็มเทอร์เนอร์ จำกัด นำเสนอรายการการ์ตูนแอนิเมชัน (14 สิงหาคม พ.ศ. 2556)
  • นิคเจอาร์ - ดำเนินการโดย บริษัท ไวอาคอมอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด นำเสนอรายการการ์ตูนแอนิเมชัน (24 ธันวาคม พ.ศ. 2553)

เกษตรกรรม

[แก้]

ช่องโทรทัศน์อินเทอร์เน็ต

[แก้]

ข่าวสาร

[แก้]

บันเทิงและดนตรี

[แก้]

กีฬาและนันทนาการ

[แก้]
  • ดาโซน - ดำเนินการโดย บริษัท ดาโซนกรุ๊ป จำกัด นำเสนอการถ่ายทอดสดรายการกีฬาทุกประเภทจากทั่วโลก (8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558)

เยาวชนและการ์ตูน

[แก้]
  • การ์ตูนคลับแชนเนล - ดำเนินการโดย บริษัท การ์ตูนคลับมีเดีย จำกัด ในเครือบริษัท เอฟฟ์ จำกัด นำเสนอรายการการ์ตูนแอนิเมชัน (1 มีนาคม พ.ศ. 2563)
  • เบบี้ทีวี - ดำเนินการโดย บริษัท ฟ็อกซ์เน็ตเวิร์คสกรุ๊ป จำกัด นำเสนอรายการการ์ตูนแอนิเมชัน (4 ธันวาคม พ.ศ. 2546)

สถานีโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค

[แก้]

กรมประชาสัมพันธ์ ริเริ่มโครงการก่อตั้ง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เครือข่ายในส่วนภูมิภาค จำนวน 12 แห่ง ทั่วประเทศ ในจังหวัดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

สถานีโทรทัศน์ในอดีต

[แก้]

สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (ส่วนภูมิภาค)

[แก้]
  • สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดลำปาง - ดำเนินการโดย สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 กรมประชาสัมพันธ์ ต่อมา สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 ย้ายที่ทำการจากจังหวัดลำปาง ไปสู่จังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลให้ต้องยกเลิกการออกอากาศรายการโทรทัศน์ที่จังหวัดลำปาง โดยออกอากาศรายการโทรทัศน์จากจังหวัดเชียงใหม่แทน และปรับปรุงระบบการบริหารงาน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ (2 เมษายน พ.ศ. 2505 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2543) [4]
  • สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดระยอง - ดำเนินการโดย สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 กรมประชาสัมพันธ์ ต่อมา สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 ย้ายที่ทำการจากจังหวัดระยอง ไปสู่จังหวัดจันทบุรี ส่งผลให้ต้องต้องยกเลิกการออกอากาศที่จังหวัดระยอง โดยออกอากาศจากจังหวัดจันทบุรีแทน และปรับปรุงระบบการบริหารงาน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี (9 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2547) [5]

สถานีโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก

[แก้]

สถานีโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียม

[แก้]
  • สถานีโทรทัศน์ อาร์เอสยู วิสดอม ทีวี สถานีโทรทัศน์แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต
  • สถานีโทรทัศน์พีทีวี - ดำเนินการโดย บริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ จำกัด (พ.ศ. 2550-พ.ศ. 2551)
  • สถานีประชาธิปไตย และ สถานีประชาชน - ดำเนินการโดย บริษัท ดี-สเตชัน จำกัด ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม และเป็นช่องรายการในสถานีโทรทัศน์เคเบิลในส่วนภูมิภาค (19 มกราคม-12 เมษายน พ.ศ. 2552 และ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552-9 เมษายน พ.ศ. 2553)
  • โทรทัศน์ดาวเทียมมหาดไทย
  • บางกอกซิตีแชนแนล (Bangkok City Channel) - ดำเนินการโดย อปท.กรุงเทพมหานคร
  • แอร์ฟอร์ซแชนเนล - ดำเนินการโดย สำนักบริหารงานกิจการโทรทัศน์กองทัพอากาศ (สิงหาคม พ.ศ. 2550)
  • ฟาร์มแชนเนล - ดำเนินการโดย บริษัท ฟาร์มแชนเนล (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือบริษัท กันตนากรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม และเป็นช่องรายการในโทรทัศน์เคเบิลส่วนภูมิภาค ถือเป็นช่องโทรทัศน์เพื่อการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย (พ.ศ. 2552)
  • แฟนทีวี - ดำเนินการโดย บริษัท แฟนทีวี จำกัด นำเสนอรายการดนตรีไทยสากลและลูกทุ่ง (10 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 31 มกราคม พ.ศ. 2564)
  • กรีนแชนแนล - ดำเนินการโดย บริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด
  • ช่อง 6 - ดำเนินการโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด นำเสนอรายการการ์ตูนแอนิเมชัน (1 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 1 มกราคม พ.ศ. 2558)ชม
  • แอ็กซ์แชนแนล
  • แบงแชนแนล - ดำเนินการโดย บริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด
  • จีทีเอชออนแอร์ - ดำเนินการโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท-หับ จำกัด
  • เพลินทีวี
  • ป๊อปทีวี (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)
  • ตูนแชนแนล - ดำเนินการโดย บริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) นำเสนอรายการการ์ตูนแอนิเมชัน (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)
  • ทีนิวส์ทีวี - ดำเนินการโดย บริษัท สำนักข่าวทีนิวส์ จำกัด (มิถุนายน พ.ศ. 2553-30 กันยายน พ.ศ. 2559)
  • มีเดียส์ 84 - ดำเนินการโดย บริษัท มีเดียซีน จำกัด นำเสนอละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์และรายการต่างๆ ซึ่งเคยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559)
  • ธรรมะมีเดียแชนเนล - ดำเนินการโดย มูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ของวัดพระธรรมกาย (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 - 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • เครือข่ายโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มคอต - ดำเนินการโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
    • เอ็มคอตวัน - นำเสนอข่าวสาร, รายการบันเทิง และสารคดี (9 เมษายน พ.ศ. 2550 - 1 มกราคม พ.ศ. 2560)
    • เอ็มคอตเวิลด์ - นำเสนอข่าวสาร, รายการบันเทิง และสารคดี เป็นภาษาอังกฤษตลอด 24 ชั่วโมง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
  • ไทยไชโย - ดำเนินรายการโดย บริษัท ไทยไชโย ทีวี จำกัด (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560)
  • แก๊งการ์ตูนแชนเนล - ดำเนินการโดย บริษัท โรสเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอร์ปอเรชัน จำกัด นำเสนอรายการการ์ตูนแอนิเมชัน (23 กันยายน พ.ศ. 2551 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560)
  • มิราเคิล - ดำเนินการโดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2561)
  • สยามสปอร์ตแชนเนล - ดำเนินการโดย บริษัท สยามสปอร์ตเทเลวิชัน จำกัด ในเครือบริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน) (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556)
    • สยามสปอร์ตไลฟว์ (Siamsport Live) - นำเสนอไฮไลต์กีฬาต่างประเทศหลายชนิด เกาะติดสถานการณ์เบื้องหน้าเบื้องหลัง ของการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ พร้อมทั้งการถ่ายทอดสด การแข่งขันกีฬาหลายรายการ (เดิมคือช่อง "สยามกีฬาทีวี" ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2550)
    • สยามสปอร์ตนิวส์ (Siamsport News) - นำเสนอข่าวสารและสาระบันเทิง พร้อมทั้งรายงานสดข่าวด่วน ทันเหตุการณ์ จากขอบสนามถึงหน้าจอโทรทัศน์ โดยคณะผู้สื่อข่าวมืออาชีพ ผู้มีความรู้และมีชื่อเสียงทางกีฬาทุกประเภท (เดิมคือช่อง ** "ฟุตบอลสยามทีวี" ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553)
    • สยามสปอร์ตฟุตบอล (Siamsport Football) - นำเสนอข่าวสารกีฬาฟุตบอล ทั้งของไทยและต่างประเทศ พร้อมบทวิเคราะห์วิจารณ์ จากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในเชิงลูกหนัง พร้อมทั้งการถ่ายทอดสด ฟุตบอลลีกอาชีพของไทยในทุกรายการ (เดิมคือช่อง "สตาร์ซอคเก้อร์ทีวี" ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553)
  • ทูนามิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - ดำเนินการโดย เทอร์เนอร์บรอดแคสติงซิสเตม (เอเชียแปซิฟิก), อินค์. นำเสนอรายการการ์ตูนแอนิเมชัน (1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2561)
  • สปีดแชนเนล - ดำเนินการโดย บริษัท บรอดคาสต์ไทยเทเลวิชัน จำกัด และบริษัท เซิร์ช เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด นำเสนอรายการเกี่ยวกับรถยนต์ และการแข่งขันรถยนต์แบบต่างๆ (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553)
  • ทีวี 24 (เดิมชื่อ เอเชียอัปเดต) - ดำเนินการโดย บริษัท เดโมเครซีนิวส์เน็ตเวิร์ก จำกัด นำเสนอรายการข่าวสาร และสาระบันเทิงตลอด 24 ชั่วโมง (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561)
  • มันนีแชนเนล - ดำเนินการโดย บริษัท แฟมิลีโนว์ฮาว จำกัด นำเสนอข่าวสารและรายการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและการลงทุน
  • ดี-แชนเนล - ดำเนินการโดย บริษัท ดีทีวีเซอร์วิส จำกัด ในเครือบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)
  • โทรทัศน์สื่อกลางไทย-จีน (Thai-China Central Television; TCCTV) - ดำเนินการโดย บริษัท ไทย-ไชนีส เซ็นทรัลเทเลวิชันกรุ๊ป จำกัด (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552)
  • เอ็มวีทีวีแฟมิลี - ดำเนินการโดย บริษัท เอ็มวีเทเลวิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด
    • สบายดีทีวี - นำเสนอรายการดนตรีไทยลูกทุ่งและเพื่อชีวิต จากค่ายเพลงอาร์สยาม (1 สิงหาคม พ.ศ. 2552)
    • ช่อง 2 - นำเสนอข่าวสารและรายการเกี่ยวกับวงการบันเทิง ทั้งในและต่างประเทศ (3 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563)
  • ไอเอ็นทีวี - ดำเนินการโดย บริษัท เมคกิ้ง มีเดีย จำกัด
  • โมโนพลัส - ดำเนินการโดย บริษัท โมโนบรอดคาซต์ จำกัด ในเครือเอ็มไทย นำเสนอรายการบันเทิงและภาพยนตร์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2558)
  • การ์ตูนคลับแชนเนล - ดำเนินการโดย บริษัท การ์ตูนคลับมีเดีย จำกัด ในเครือบริษัท เอฟฟ์ จำกัด นำเสนอรายการการ์ตูนแอนิเมชัน (1 มีนาคม พ.ศ. 2552 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2563)
  • พีซทีวี (เดิมชื่อ ยูดีดีทีวี) - ดำเนินการโดย บริษัท พีซเทเลวิชัน จำกัด นำเสนอรายการข่าวสาร และสาระบันเทิงตลอด 24 ชั่วโมง (10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564)
  • ทีสปอร์ตสแชนเนล - ดำเนินการโดย การกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท สยามสปอร์ตเทเลวิชัน จำกัด นำเสนอรายการเกี่ยวกับกีฬา และนันทนาการทุกชนิด เริ่มออกอากาศครั้งแรก เป็นช่องรายการหนึ่งของโทรทัศน์เคเบิลส่วนภูมิภาค ต่อมาขยายไปออกอากาศกับซีทีเอช (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564)
  • จ๊ะทิงจา - ดำเนินการโดย บริษัท สามเศียร จำกัด และบริษัท จ๊ะ ทิง จา จำกัด ในเครือดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น นำเสนอรายการสำหรับเยาวชน และการ์ตูนแอนิเมชัน (พ.ศ. 2553- 30 กันยายน พ.ศ. 2564)
  • เอ็มแชนแนล - ดำเนินงานร่วมกับ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำเสนอรายการบันเทิง, ภาพยนตร์ และรายการ รวมถึงสกู๊ปเบื้องหลังการถ่ายทำผลงานดังกล่าว (พ.ศ. 2553- 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564)
  • พีเอสไอ สาระดี
  • ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก - ดำเนินการโดย สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 แผนกวิทยุโทรทัศน์ กองการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กรมการทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ออกอากาศผ่านดาวเทียมในประเทศไทย พร้อมกับเครือข่ายอีก 177 ประเทศทั่วโลก (1 มกราคม พ.ศ. 2541)
  • เอ็นบีทีเวิลด์ - ดำเนินการโดย สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี นำเสนอข่าวสาร และรายการสารคดี เป็นภาษาอังกฤษ (1 มกราคม พ.ศ. 2556)
  • ตูนนี่ - ดำเนินการโดย บริษัท มีเดียเพล็กซ์ จำกัด นำเสนอรายการการ์ตูนแอนิเมชัน (1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2565)
  • ทรูอินไซด์ - ดำเนินการโดย บริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) (1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566)
  • ทรูสปาร์กจัมพ์ - ดำเนินการโดย บริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) นำเสนอรายการการ์ตูนแอนิเมชัน (พฤษภาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566)
  • ทรูมิวสิค - ดำเนินการโดย บริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) นำเสนอรายการเพลง (1 เมษายน พ.ศ. 2549 - 1 มกราคม พ.ศ. 2567)
  • ฟ้าวันใหม่ - ดำเนินการโดย บริษัท บลูสกายแชนเนล จำกัด ออกอากาศผ่านดาวเทียมและทางอินเทอร์เน็ต (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554)
  • วอยซ์ทีวี - ดำเนินการโดย บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด) นำเสนอรายการข่าวสาร สาระบันเทิง และรายการแนะนำสินค้า ปัจจุบันเช่าสัญญาณออกอากาศจากเอ็มวีทีวี (29 มิถุนายน พ.ศ. 2552)
  • ท็อปนิวส์ - ดำเนินการโดย บริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิทัล มีเดีย จำกัด นำเสนอรายการข่าวสาร และสาระบันเทิงตลอด 24 ชั่วโมง เช่าสัญญาณออกอากาศจากทีวีไดเร็ค (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)

สถานีโทรทัศน์อินเทอร์เน็ต

[แก้]
  • แอนิแมกซ์เอเชีย
  • ช็อคโกแลตทีวี
  • ทีวี 24 (เดิมชื่อ เอเชียอัปเดต) - ดำเนินการโดย บริษัท เดโมเครซีนิวส์เน็ตเวิร์ก จำกัด นำเสนอรายการข่าวสาร และสาระบันเทิงตลอด 24 ชั่วโมง
  • เดลินิวส์ทีวี ดำเนินการโดย บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด เครือหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
  • เจเคเอ็นซีเอ็นบีซี - ดำเนินการโดย บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) นำเสนอข่าวสารและรายการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและการลงทุน
  • ตูนนี่ - ดำเนินการโดย บริษัท มีเดียเพล็กซ์ จำกัด นำเสนอรายการการ์ตูนแอนิเมชัน (16 มีนาคม พ.ศ. 2565 - 12 มิถุนายน พ.ศ. 2566)
  • ทรูอินไซด์ - ดำเนินการโดย บริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) (1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566)
  • ทรูมิวสิค - ดำเนินการโดย บริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) นำเสนอรายการเพลง (1 เมษายน พ.ศ. 2549 - 1 มกราคม พ.ศ. 2567)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ก้าวสู่ความเป็นผู้นำทางโทรทัศน์ของ ททบ.5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-21. สืบค้นเมื่อ 2018-06-02.
  2. ซึ่งหมายถึง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด
  3. ซึ่งหมายถึง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด
  4. ปัจจุบัน มีฐานะเป็นแค่สถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ ซึ่งเป็นลูกข่ายของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่
  5. ปัจจุบัน มีฐานะเป็นแค่สถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ ซึ่งเป็นลูกข่ายของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี