ข้ามไปเนื้อหา

สงครามมุสลิม–กุร็อยช์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามมุสลิม–กุร็อยช์
ส่วนหนึ่งของ การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม
วันที่13 มีนาคม ค.ศ. 624 – ค.ศ. 629 หรือ 630
(17 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 2 – 10 ถึง 20 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8)
สถานที่
ผล

มุสลิมชนะ

  • การปกครองมักกะฮ์ของกุร็อยช์สิ้นสุด
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
มักกะฮ์ถูกยึดครองโดยมุสลิม
คู่สงคราม

มุสลิมแห่งมะดีนะฮ์

กุร็อยช์

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
มุฮัมมัด
อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ
ฮัมซะฮ์ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ 
ซุบัยร์ อิบน์ อัล-เอาวัม
อะบู อุบัยดะฮ์ อิบน์ อัล-ญัรรอห์
ซัลมาน อัลฟาริซี
คอลิด อิบน์ อัลวะลีด (627–630)
อบูญะฮัล  
อุมัยยะฮ์ อิบน์ เคาะลัฟ  
คอลิด อิบน์ อัลวะลีด (624–627)
อิกรีมะฮ์ อิบน์ อัมร์  Surrendered
อะบู ซุฟยาน อิบน์ ฮาร์บ  Surrendered
สุฮัยล์ อิบน์ อัมร์  Surrendered
ศ็อฟวาน อิบน์ อุมัยยะฮ์  Surrendered
กำลัง
  • บะดัร: 1,000 คน (แหล่งข้อมูลอิสลาม)
  • 600–700 คน (ประมาณโดยวัตต์)[1]

    ความสูญเสีย
    เสียชีวิต 79–96 คน เสียชีวิต 115–128 คน
    ตกเป็นเชลย 70 คน

    สงครามมุสลิม–กุร็อยช์ เป็นความขัดแย้งหกปีในคาบสมุทรอาหรับ ระหว่างชาวมุสลิมรุ่นแรกนำโดยมุฮัมมัดกับเผ่ากุร็อยช์ที่นับถือเทพหลายองค์[2][3] สงครามเริ่มขึ้นด้วยยุทธการที่บะดัรใน ค.ศ. 624[4] และจบลงด้วยการพิชิตมักกะฮ์ (ค.ศ. 629–630)[5]

    มุฮัมมัดเริ่มเผยแผ่ศาสนาอิสลามในเมืองมักกะฮ์ตอนอายุ 40 ปี ช่วงแรกเขาไม่ได้รับการต่อต้านจากชาวมักกะฮ์จนกระทั่งมุฮัมมัดเริ่มโจมตีความเชื่อของพวกเขา[6][7][8][9] ใน ค.ศ. 622 หลังจัดการข้อพิพาทระหว่างเผ่าบนูเอาส์กับบนูคอซรอจญ์ในเมืองมะดีนะฮ์[10][11] มุฮัมมัดและผู้ติดตามอพยพไปที่นั่นเพื่อหลีกหนีการกดขี่จากชาวมักกะฮ์

    เมื่ออยู่ที่มะดีนะฮ์ มุฮัมมัดเริ่มสั่งปล้นสะดมขบวนคาราวานของเผ่ากุร็อยช์[12][13] ใน ค.ศ. 624 มุฮัมมัดทราบข่าวว่ามีขบวนคาราวานกุร็อยช์ขนาดใหญ่ที่บรรทุกทรัพย์สินจำนวนมากจากกาซากำลังเดินทางกลับไปยังมักกะฮ์ เขาจึงส่งกองทัพไปขัดขวางที่บะดัร ด้านอะบูซุฟยาน ผู้นำขบวนคาราวานตัดสินใจเลี่ยงไปใช้อีกเส้นทางและส่งข่าวไปยังมักกะฮ์เพื่อขอความช่วยเหลือ[13] จากนั้นกองทัพจากมักกะฮ์นำโดยอัมร์ อิบน์ ฮิชาม (อบูญะฮัล) ที่คุ้มกันขบวนคาราวานถูกบีบให้สู้กับกองทัพมุสลิม กองทัพมักกะฮ์พ่ายแพ้ในยุทธการนี้และอบูญะฮัลถูกสังหาร[14][15]

    เผ่ากุร็อยช์ที่ต้องการกอบกู้ศักดิ์ศรีจากความพ่ายแพ้ที่บะดัรและเหนื่อยหน่ายกับการถูกปล้นสะดมเปิดฉากโจมตีฝ่ายมุสลิมจนได้รับชัยชนะในยุทธการที่อุฮุด แต่เลือกจะไม่จัดการมุฮัมมัดด้วยเห็นว่าเพียงพอแล้วในการหยุดยั้งเขา อย่างไรก็ตามมุฮัมมัดกลับมาโจมตีขบวนคาราวานอีกครั้ง ฝ่ายกุร็อยช์ พร้อมด้วยบนูนะฎีร ชนเผ่ายิวที่ถูกมุฮัมมัดขับไล่ก่อนหน้านี้[16] และเผ่าอื่น ๆ จึงยกทัพไปเพื่อยึดมะดีนะฮ์ แต่ต้องเผชิญกับยุทธวิธีสนามเพลาะของฝ่ายมุสลิมตามคำแนะนำของซัลมาน อัลฟาริซีและพ่ายแพ้ในที่สุด[17] หลังจากนั้นไม่นาน มุฮัมมัดโจมตีบนูกุร็อยเซาะฮ์ ชนเผ่ายิวที่สำคัญเผ่าสุดท้ายในมะดีนะฮ์ ส่งผลให้ตำแหน่งผู้นำของเขายิ่งเข้มแข็ง[18]

    มุมมองต่อมุฮัมมัดในสายตาชนเผ่าต่าง ๆ เริ่มดีขึ้นเมื่อเขาเลิกโจมตีขบวนคาราวานกุร็อยช์แล้วหันไปโจมตีเผ่าทางเหนืออย่างบนูลิห์ยานและบนูมุสฏอลิกแทน ต่อมา ค.ศ. 628 ฝ่ายมุสลิมกับฝ่ายกุร็อยช์ร่วมเจรจาและลงนามในสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮ์ อันเป็นความตกลงสงบศึกเป็นเวลาสิบปี มุฮัดมัดจึงสามารถกลับไปมักกะฮ์เพื่อประกอบพิธีอุมเราะห์และสานสัมพันธ์กับเผ่าบนูฮาชิมของตน[19] อย่างไรก็ตามใน ค.ศ. 630 เผ่าบนูบักร์ที่เข้ากับฝ่ายกุร็อยช์กลับโจมตีเผ่าบนูคุซาอะฮ์ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝ่ายมุสลิม เป็นการละเมิดสนธิสัญญาและนำไปสู่การพิชิตมักกะฮ์ เมื่อมุฮัมมัดนำทัพเข้ายึดมักกะฮ์โดยเสียเลือดเนื้อเพียงเล็กน้อย และชาวเมืองส่วนใหญ่ รวมถึงอะบูซุฟยานเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม[20] มุฮัมมัดเสียชีวิตหลังจากนั้นสองปี

    สงครามมุสลิม–กุร็อยช์มีคุณค่าและความสำคัญสูงยิ่งต่อประวัติศาสนาอิสลาม และเป็นส่วนสำคัญในชีวประวัติของมุฮัมมัด (ซีเราะฮ์ หรือ ซีเราะตุนนบี) สงครามนี้ยังปูทางสู่การพิชิตดินแดนโดยมุสลิมทั่วคาบสมุทรอาหรับและดินแดนโดยรอบ

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. Watt 1961, p. 123.
    2. Jones, J. M. B. (1957). "The Chronology of the "Mag̱ẖāzī"-- A Textual Survey". Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London. 19 (2): 245–280. doi:10.1017/S0041977X0013304X. ISSN 0041-977X. JSTOR 610242. S2CID 162989212.
    3. Crawford, Peter (2013-07-16). The War of the Three Gods: Romans, Persians and the Rise of Islam (ภาษาอังกฤษ). Pen and Sword. ISBN 978-1-4738-2865-0.
    4. Haykal, Muḥammad Ḥusayn (May 1994). The Life of Muhammad (ภาษาอังกฤษ). The Other Press. p. 137. ISBN 978-983-9154-17-7.
    5. Gabriel, Richard A. (2014-10-22). Muhammad: Islam's First Great General (ภาษาอังกฤษ). University of Oklahoma Press. ISBN 978-0-8061-8250-6.
    6. Buhl & Welch 1993, p. 364.
    7. Lewis 2002, p. 35–36.
    8. Muranyi 1998, p. 102.
    9. Gordon 2005, p. 120-121.
    10. Buhl & Welch 1993, p. 364-369.
    11. "Aws and Khazraj". www.brown.edu. สืบค้นเมื่อ 2023-05-27.
    12. Peters, Francis E. (1994-01-01). Muhammad and the Origins of Islam (ภาษาอังกฤษ). SUNY Press. pp. 211–214. ISBN 978-0-7914-1875-8.
    13. 13.0 13.1 Buhl & Welch 1993, p. 369.
    14. Rodinson 2021, p. 166.
    15. "Encyclopaedia of Islam, Volume I (A-B): [Fasc. 1-22]", Encyclopaedia of Islam, Volume I (A-B) (ภาษาอังกฤษ), Brill, 1998-06-26, ISBN 978-90-04-08114-7, สืบค้นเมื่อ 2023-05-28, p. 868
    16. Buhl & Welch 1993.
    17. Buhl & Welch 1993, p. 370.
    18. Buhl & Welch 1993, p. 370-1.
    19. Buhl & Welch 1993, p. 371.
    20. Buhl & Welch 1993, p. 372.