ฮัมซะฮ์ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ
ฮัมซะฮ์ حمزة | |
---|---|
อะมีร อะซาดุลลอฮ์ (ราชสีห์ของอัลลอฮ์) เศาะฮะบะฮ์ ผู้พลีชีพเพื่อศาสนา | |
เลขาธิการแห่งสงครามของรัฐอิสลามประจำเมืองมะดีนะฮ์ | |
ถัดไป | คอลิด อิบน์ อัลวะลีด |
ประสูติ | ค.ศ.570 มักกะฮ์, แคว้นฮิญาซ, อาระเบีย ฮัมซะฮ์ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ |
สวรรคต | 22 ธันวาคม ค.ศ.624 ในช่วงสงครามอุฮุด ภูเขาอูฮุด |
คู่อภิเษก | Salma Daughter of Al-Milla Khawla bint Qays |
พระราชบุตร | Umama Amir ibn Hamaza Yaala ibn Hamza Umara ibn Hamza และอีกมากมาย |
حمزة | |
ราชวงศ์ | บนูฮาชิม |
พระราชบิดา | อับดุลมุฏฏอลิบ อิบน์ ฮาชิม |
พระราชมารดา | ฮาละฮ์ บินต์ วูฮัยบ์ |
ศาสนา | อิสลาม ก่อนหน้านั้น พหุเทวนิยมอาหรับ |
อาชีพ | เศาะฮะบะฮ์ Military officer |
ฮัมซะฮ์ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ (<ideonly>แม่แบบ:Ngeonly><de> entation}} <de>) (ค.ศ.570[1]–625)[2]: 4 เป็นเศาะฮะบะฮ์ และเป็นลุงของศาสดา (نَـبِي) มุฮัมมัด
ชื่อตอนที่ยังอยู่ในวัยเด็กคือ "อบูอุมามะฮ์"[2]: 2 (أَبُو عُمَارَةَ) และ "อบูยะอฺลา"[2]: 3 (أَبُو يَعْلَى). โดยมีสมญานามว่า ราชสีห์ของอัลลอฮ์[2]: 2 (أسد الله) และ ราชสีห์แห่งสวรรค์ (أسد الجنّة) ส่วนศาสดามุฮัมมัดได้ให้สมญานามว่า ซัยยิดุช-ชุฮาดา’ (سَـيِّـدُ الـشُّـهَـدَاء "หัวหน้าของผู้สละชีพ")[3]
ครอบครัว
[แก้]บิดามารดา
[แก้]พ่อของฮัมซะฮ์ชื่อว่าอับดุลมุฏฏอลิบ อิบน์ ฮาชิม อิบน์ อับดุลมะนาฟ อิบน์ กุซ็อย จากเผ่ากุเรชในเมืองมักกะฮ์[2]: 2 แม่ของชื่อว่า ฮาละฮ์ บินต์ วะฮับ จากกลุ่มบนูซุครอของเผ่ากุเรช[2]: 2
ฮัมซะฮ์แก่กว่ามุฮัมหมัด 4 ปี[2]: 4 แต่ซุบัยร์แย้งในฮะดีษว่า "ตุวัยบะฮได้เลื้ยงดูทั้งฮัมซะฮ์และมุฮัมหมัด" อิบน์ ซัยยิด จึงสรุปว่าฮัมซะฮ์แก่กว่ามุฮัมหมัดแค่ 2 ปี โดยหลังจากนั้นเขาพูดว่า "มีแต่พระองค์เท่านั้นที่รู้"[4] อิบน์ ฮะญัร บันทึกว่า: "ฮัมซะฮ์เกิดก่อนมูฮัมหมัดประมาณ 2 - 4 ปี"[5]
ฮัมซะฮ์มีความสามารถในการต่อสู้, ยิงธนู และศึกสงคราม[3]
การแต่งงานและลูกหลาน
[แก้]ฮัมซะฮ์แต่งงานสามครั้งและมีลูกหกคนได้แก่[2]: 3
- ซัลมา บินต์ อุมัยส์
- ซัยนับ บินต์ อัล-มิลลา
- อามีร อิบน์ ฮัมซะฮ์
- บักร์ อิบน์ ฮัมซะฮ์ เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก
- เคาละฮ์ บินต์ ก็อยส์
เข้ารับอิสลาม
[แก้]เขาเข้ารับอิสลามในช่วงปลายปี 615 หรือต้นปี 616[2]: 3 ในขณะที่เขากลับมาจากการล่าสัตว์ในทะเลทราย ได้มีคนบอกเขาว่าอบูญะฮัลได้ "ทำร้ายและต่อว่าท่านศาสดา"[2]: 3 "ต่อว่าศาสนาของท่านและพยายามทำให้ท่านขายหน้า" แต่มุฮัมหมัดก็ไม่ตอบโต้อะไรทั้งสิ้น[8]: 131 ฮัมซะฮ์จึง "รู้สึกโกรธ" และ "รีบไปหาอบูญะฮัล"ที่กะอ์บะฮ์ ขณะที่อบูญะฮัลกำลังนั่งอยู่กับผู้อาวุโส เขาจึงตีอบูญะฮัลด้วยคันธนูของเขา แล้วพูดว่า "เจ้าจะยังทำร้ายเขามั้ย ถ้าฉันอยู่ในศาสนาของเขาและพูดเหมือนอย่างที่เขาพูดล่ะ? ชกฉันสิถ้าเจ้ากล้า!"[8]: 132 คนข้าง ๆ อบูญะฮัลพยายามจะช่วยเขา แต่อบูญะฮัลพูดว่า "ปล่อยให้อบูอุมารา [ฮัมซะฮ์] อยู่คนเดียวเถอะ ขอสาบานต่อพระเจ้า ข้าได้ดูถูกหลานชายของเขาอย่างมาก"[8]: 132 หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ฮัมซะฮ์ได้เข้าไปในบ้านอัล-อัรกอมและเข้าอิสลาม[2]: 3
ประสบการทางทหาร
[แก้]ครั้งแรก
[แก้]มุฮัมมัดได้ส่งฮัมซะฮ์พร้อมกับคนขี่ม้า 30 คนไปที่อ่าวแถวแคว้นญุฮัยนะฮ์เพื่อหยุดคารวานชาวกุเรชที่กลับจากซีเรีย ฮัมซะฮ์ได้พบอบูญะฮัลที่กำลังคุมกองคารวานพร้อมกับคนขี่ม้า 300 คนที่ชายหาด มัจดี อิบน์ อัมร์ อัล-ญุฮัยมีได้พูดแทรกว่า "สำหรับเขาคือสันติภาพทั้งคู่" และทั้งสองกลุ่มจึงแยกจากกันโดยไม่มีการต่อสู้ใด ๆ ทั้งสิ้น[2]: 4 [8]: 283
เสียชีวิต
[แก้]ฮัมซะฮ์พลีชีพในสงครามอุฮุดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ.625 (3 เชาวาล ฮ.ศ.3) ขณะที่มีอายุ 59 ปี (จันทรคติ)
ฮัมซะฮ์ถูกฆ่าโดยวะฮ์ชี อิบน์ ฮัรบ์ทาสชาวอบิสสิเนียของฮินด์ บินต์ อุตบะฮ์ภายใต้สัญญาว่าเขาจะเป็นอิสระถ้าเขาฆ่าฮัมซะฮ์ได้ เนื่องจากเธอแค้นที่ฮัมซะฮ์ฆ่าลุงของเธอที่สงครามบะดัร [8]
หลังจากนั้นวะฮ์ชีได้เปิดท้องและนำตับให้ฮินด์ บินต์ อุตบะฮ์[2] และเธอเคี้ยวตับของเขาแล้วคายทิ้ง "จากนั้นเธอทำลายร่างกายของฮัมซะฮ์โดยนำบางส่วนจากร่างกายมาทำสร้อยข้อเท้า, สร้อยคอ และจี้ แล้วนำมันกลับไปที่มักกะฮ์"[2]
มุฮัมมัดได้กล่าวว่า "ฉันเห็นมลาอิกะฮ์ (เทวทูต) กำลังอาบน้ำให้ฮัมซะฮ์ในสวรรค์"[2]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Companions of The Prophet", Vol.1, By: Abdul Wahid Hamid
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 Muhammad ibn Saad. Kitab al-Tabaqat al-Kabair vol. 3. Translated by Bewley, A. (2013). The Companions of Badr. London: Ta-Ha Publishers.
- ↑ 3.0 3.1 "Prophetmuhammadforall.org" (PDF). www.prophetmuhammadforall.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-27. สืบค้นเมื่อ 2018-10-20.
- ↑ Ibn Sayyid al-Nas, Uyun al-Athar.
- ↑ Ibn Hajar al-Asqalani, Finding the Truth in Judging the Companions.
- ↑ Al-Jibouri, Yasin T. "Descendants of the Prophet's Paternal Uncles". Muhammad, Messenger of Peace and Tolerance. Qum: Ansariyan Publications.
- ↑ Muhammad ibn Saad. Kitab al-Tabaqat al-Kabir vol. 8. Translated by Bewley, A. (1995). The Women of Madina, p. 288. London: Ta-Ha Publishers.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อIshaq