อัมร์ อิบน์ ฮิชาม
อัมร์ อิบน์ ฮิชาม | |
---|---|
เกิด | ค.ศ. 556 มักกะฮ์, อาระเบีย (ปัจจุบันคือประเทศซาอุดีอาระเบีย) |
เสียชีวิต | 13 มีนาคม ค.ศ. 624 บัดร์, ฮิญาซ, อาระเบีย |
สาเหตุเสียชีวิต | ถูกตัดหัวในสงครามบะดัร |
มีชื่อเสียงจาก | เป็นศัตรูของศาสดามุฮัมมัด |
คู่สมรส | มุญาลิดยะฮ์ บินต์ อัมร์ อัรวะฮ์ บินต์ อบีอัลอาส |
บุตร | อิกริมะฮ์ ซุรอเราะฮ์ ตะมีมี ศ็อคเราะฮ์ อัสมา ญามีละฮ์ อุมมุฮากิม อุมมุซะอีด ญุวัยรียะฮ์ ฮุนฟะฮ์ อุมมุฮะบีบ |
อัมร์ อิบน์ ฮิชาม (<ideonly>แม่แบบ:Ngeonly><de> entation}} <de>) มักรู้จักกันในชื่อ อบูญะฮัล (<ideonly>แม่แบบ:Ngeonly><de> entation}} <de>; เกิด ค.ศ. 556– เสียชีวิต 17 มีนาคม ค.ศ. 624) เป็นหนึ่งในชาวมักกะฮ์ที่นับถือเทพเจ้าหลายองค์ อยู่ในเผ่ากุเรชที่รู้จักกันในการปฏิเสธและต่อต้านศาสดามุฮัมมัด กับผู้ศรัทธาชาวมุสลิมในมักกะฮ์ เขาไม่ใช่ลุง (เช่นอบูละฮับ) หรือมีเชื้อสายกับมุฮัมมัด เนื่องจากมุฮัมมัดอยู่ในกลุ่มบนีฮาชิมของเผ่ากุเรช ส่วนอบูญะฮัลอยู่ในกลุ่มบนูมัคซูมของเผ่ากุเรช[1]
ชื่อ
[แก้]เขามีชื่อเล่นว่า "อบู อัล-ฮะกัม" (ابوالحكم), ("บิดาแห่งความรอบรู้") เนื่องจากว่าเขาเป็นคนที่มีความรู้ ความฉลาด และทำให้ผู้นำของเผ่ากุเรช เชื่อในความคิดของเขาและแต่งตั้งเป็นผู้นำสมาชิกของการชุมนุมของพวกเขา ถึงแม้ว่าจะอายุ 30 ปีก็ตาม
แต่หลังจากที่ศาสดามูฮัมมัดเริ่มเผยแผ่ศาสนาอิสลาม เขาจึงเริ่มไม่ปราณีต่อมุฮัมมัดและปฏิเสธคำสอนของท่าน ดังนั้นมูฮัมมัดจึงให้ชื่อเล่นให้กับเขาว่า อบูญะฮัล (أبو جهل') ("บิดาแห่งความเขลา") และเขาถูกเรียกเป็นอิบน์ อัล-ฮันซาลิยะฮ์ทางฝั่งแม่[2]
ครอบครัว
[แก้]บิดามารดาและญาติพี่น้อง
[แก้]พ่อของเขาชื่อฮิชาม อิบน์ อัล-มุฆีเราะฮ์ และแม่ของเขาชื่ออัสมา บินต์ มัฆราบะฮ์ อิบน์ ญันดัล อัล-ตะมีมียา และเขามีพี่น้อง 7 คน ได้แก่:
- ซาลามะฮ์ อิบน์ ฮิชาม
- อุรวะฮ์ อิบน์ ฮิชาม
- คอลิด อิบน์ ฮิชาม
- ฮาริษ อิบน์ ฮิชาม
- อัล-อาส อิบน์ ฮิชาม
- ฮันตามะฮ์ บินต์ ฮิชาม
- อุมม์ ฮัรมาลา บินต์ ฮิชาม
ภรรยาและลูก
[แก้]เขามีภรรยาคนแรกชื่อมุญาลิดียา บินต์ อัมร์ อิบน์ อุมัยร์ อิบน์ มะบัด อิบน์ ซูรารา โดยมีลูกชาย 3 คน ได้แก่:
- อิกริมะฮ์
- ซูรารา
- ตามีมี
และมีภรรยาคนที่สองชื่ออัรวา บินต์ อบี อัล-อาส อิบน์ อุมัยยะฮ์ โดยมีลูกสาว 8 คน ได้แก่:
- ซัครา
- อัสมา
- ยามีลา
- อุมม์ ฮากิม (ฮากิมะฮ์)
- อุมม์ ซะอีด (ซัยดะ)
- ยุวัยรียา
- ฮุนฟาอฺ
- อุมม์ ฮาบีบ (ฮาบีบะฮ์)
การเสียชีวิต
[แก้]อัมร์โดนมุเอาวาส อิบน์ อัมร์ และมุอาซ อิบน์ อัมร์ฟันดาบจนบาดเจ็บ และถูกฆ่าโดยอับดุลลอฮ์ อิบน์ มัสอูดในสงครามบะดัร[3]
เมื่อมุฮัมมัดเห็นศพที่ไร้วิญญาณในสนามรบ ท่านจึงกล่าวว่า "นี่คือฟาโรห์แห่งประชาชาตินี้"[4]
หลังจากการตายของเขา ผู้คนในเมืองพากันร้องให้ และยกย่องเขาเป็นวีรบุรุษ
อายะฮ์อัลกุรอ่านที่เกี่ยวกับเขา
[แก้]อับดุลลอฮ์ อิบน์ อับบาส รายงานว่า มี 84 อายะฮ์ในกุรอ่านที่กล่าวถึงอบูญะฮัล
ซูเราะฮ์ อะลัก: 9-19
[แก้]ครั้งหนึ่งขณะที่ศาสดามุฮัมหมัดกำลังละหมาดที่อัล-ฮะรอม อบูญะฮัลได้เดินมาแล้วพูดว่า “ฉันไม่ควรให้แกหยุดทำสิ่งนี่หรอ?!” ดังนั้นศาสดาจึงบอกเขาให้หยุดรบกวนได้แล้ว อบูญะฮัลจึงตอบว่า “นี่แกจะต่อว่าฉันว่าฉันเป็นผู้ต่อต้านที่มีอำนาจมากกว่าใครในหุบเขามักกะฮ์หรือ?” พระองค์อัลลอฮ์จึงตรัสว่า:
- 9. เจ้าเห็นแล้วมิใช่หรือ ผู้ที่ขัดขวาง
- 10. บ่าวคนหนึ่ง เมื่อเขากำลังละหมาด
- 11. เจ้าคิดบ้างไหมว่า หากบ่าวผู้นั้นอยู่บนแนวทางที่ถูกต้อง
- 12. หรือใช้ให้ผู้คนมีความยำเกรง
- 13. เจ้าคิดบ้างไหมว่า หากเขาปฏิเสธ และผินหลังให้
- 14. เขาไม่รู้ดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮฺ นั้นทรงเห็น
- 15. มิใช่เช่นนั้น ถ้าเขายังไม่หยุดยั้ง เราจะจิกเขาที่ขม่อมอย่างแน่นอน
- 16. ขม่อมที่โกหกที่ประพฤติชั่ว
- 17. แล้วให้เขาเรียกที่ประชุมของเขา
- 18. เราก็จะเรียกผู้คุมนรก
- 19. มิใช่เช่นนั้น เจ้าอย่าได้เชื่อฟังมัน แต่จงสุญูด (ซูเราะฮ์ อะลัก: 9-19)
หลังจากนั้นอบูญะฮัลอุดหูตนเองแล้วหนีไป อิบนุ อับบาส รายงานว่า ถ้าอบูญะฮัลได้เรียกผู้คนในกลุ่มมาทำร้ายศาสดา พระองค์จะส่งมลาอิกะฮ์มาลงโทษพวกเขา
ซูเราะฮ์ อันอาม: 108
[แก้]ครั้งหนึ่งอบูญะฮัลเตยบอกกับท่านศาสดา ‘ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ มุฮัมมัด แกช่วยหยุดประนามพระเจ้าของเราได้แล้ว ไม่อย่างนั้นเราจะสาปแช่งพระเจ้าของเจ้า’ ดังนั้นพระองค์จึงประทานอายะฮ์ว่า “และพวกเจ้าจงอย่าด่าว่า บรรดาที่พวกเขาวิงวอนขออื่นจากอัลลอฮ์ แล้วพวกเขาก็จะด่าว่าอัลลอฮ์เป็นการละเมิด โดยปราศจากความรู้ ในทำนองนั้นแหละ เราได้ให้สวยงามแก่ทุกชาติ ซึ่งการงานของพวกเขา และยังพระเจ้าของพวกเขานั้น คือการกลับไปของพวกเขา แล้วพระองค์ก็จะทรงบอกแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน” (ซูเราะฮ์ 6:108)[5]
ซูเราะฮ์ มาอูน: 2-3
[แก้]อบูญะฮัลมีทัศนคติไม่ดีและไร้ความปราณีต่อเด็กกำพร้า อัลลอฮ์จึงประทานอายะฮ์นี้ว่า "นั่นก็คือผู้ที่ขับไล่เด็กกำพร้า และไม่สนับสนุนในการให้อาหารแก่ผู้ขัดสน" (107:2-3) เพื่อเป็นการยืนยันการกระทำที่น่าอับอายของเขา[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Letter No.28, 2nd paragraph, Peak of Eloquence (Page-575), ISBN 0-941724-18-2; retrieved 11 January 2015
- ↑ Guillaume, p. 298
- ↑ Muhammad ibn Ishaq. Sirat Rasul Allah. Translated by Guillaume, A. (1955). The Life of Muhammad, pp. 304, 337-338. Oxford: Oxford University Press. "Muhammad ibn Ishaq. Sirat Rasul Allah."
- ↑ ""The Pharoah of the Community"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-15. สืบค้นเมื่อ 2018-10-04.
- ↑ Guillaume, p162
- ↑ Tantavi, 25:274