การพิชิตมักกะฮ์
ยึดครองมักกะฮ์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามระหว่างชาวมุสลิม–กุเรช | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
มุสลิม | เผ่ากุเรช | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
มุฮัมมัด | อบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์ | ||||||
กำลัง | |||||||
10,000 นาย | ไม่ทราบแน่ชัด | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
2[1] | 12[2] |
การพิชิตมักกะฮ์ (<ideonly>แม่แบบ:Ngeonly><de> entation}} <de> ฟัตฮ์ มักกะฮ์)เป็นเหตุการณ์ที่เมืองมักกะฮ์ถูกครอบครองโดยชาวมุสลิมที่นำโดยศาสดามุฮัมมัดในเดือนธันวาคม ค.ศ. 629 หรือ มกราคม ค.ศ. 630[3][4] (ปฏิทินจูเลียน) วันที่ 10-20 รอมฎอน ฮ.ศ. 8[3]
วันที่
[แก้]มีรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่หลายแบบ เช่น
- วันที่มุฮัมมัดออกจากมักกะฮ์น่าจะเป็นวันที่ 2, 6 หรือ 10 รอมฎอน ช่วงก่อนฮิจเราะฮ์ศักราช[3]
- วันที่มุฮัมมัดเข้ามักกะฮ์น่าจะเป็นวันที่ 10, 17/18, 19 หรือ 20 รอมฎอน ฮ.ศ.8[3]
ถ้านำข้อมูลนี้ให้เป็นปฏิทินจูเลียนทำให้เกิดข้อมูลที่คาดเคลื่อน ตัวอย่างเช่น วันที่ 18 รอมฎอน ฮ.ศ.8 อาจจะเป็นวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ.629, 10 หรือ 11 มกราคม ค.ศ.630 และ 6 มิถุนายน ค.ศ.630[3]
เบี้องหลัง
[แก้]ในปี ค.ศ.628 เผ่ากุเรชและชาวมุสลิมในมะดีนะฮ์ลงนามสนธิสัญญาฮุดัยบิยะฮ์โดยมีระยะเวลา 10 ปี แต่ในปี ค.ศ.630 มีการยกเลิกสัญญาหลังจากเผ่าของบนูบักร์ พันธมิตรของเผ่ากุเรชได้โจมตีเผ่าบนูคุซาอ์ที่เป็นพันธมิตรของชาวมุสลิม
หลังจากอุบัติเหตุครั้งนั้น เผ่ากุเรชจึงส่งผู้แทนมาหามุฮัมมัดว่าจะรักษาสนธิสัญญากับชาวมุสลิมและเสนอค่าสินไหม แต่ว่าพวกเขาถูกผู้คนบอกว่าพวกเขาไม่รักษาคำสัญญา[5] [ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง] [6] [ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
เข้าไปในมักกะฮ์
[แก้]หลังจากอบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์ออกไปแล้ว มุฮัมมัดจึงรวบรวมทหารขนาดใหญ่ทันที โดยที่ท่านไม่บอกสถานที่ที่พวกเขาจะไป แม้แต่เพื่อนที่สนิทที่สุดและแม่ทัพก็ไม่รู้เช่นกัน[7]
จากนั้นกองทัพมุสลิมจึงเดินทางไปมักกะฮ์ในวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ.629 (6 รอมฎอน ฮ.ศ.8)[3] โดยรวมอาสาสมัครและทหารจากเมืองที่ยอมรับมุฮัมมัด จึงทำให้มีทหารกว่า 10,000 นาย นี่เป็นจำนวนทหารมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น หลังจากนั้นมุฮัมมัดได้นำกองทัพตั้งค่ายที่มัรรุซ-ซะฮ์ราน โดยห่างจากมักกะฮ์ไป 10 ไมล์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วสั่งให้ทหารจุดไฟให้ห่างๆ รอบมักกะฮ์ เพื่อที่จะทำให้ชาวมักกะฮ์หวาดกลัว[2]
ในขณะเดียวกัน อบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์ กำลังกลับไปที่มักกะฮ์ ตามรายงานเขียนว่าเขาพบกับอับบาซ ลุงของมุฮัมมัดโดยบังเอิญ
เมืองมักกะฮ์ตั้งอยู่ในเทือกเขาอิบรอฮีม และหุบเขาสีดำที่อาจจะสูงประมาณ1,000 ft (300 m)ในบางพื้นที่ โดยมีทางเข้ามักกะฮ์อยู่สี่ทาง ได้แก่: ทางตะวันตกเฉียงเหนือ, ทางตะวันตกเฉียงใต้, ทางใต้ และทางตะวันออกเฉียงเหนือ มุฮัมมัดได้แบ่งทหารออกเป็นสี่ส่วนโดยให้อบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัล-ญัรรอฮ์เข้าทางตะวันตกเฉียงเหนือ, อัซซุบัยร์เข้าทางตะวันตกเฉียงใต้, อะลีเข้าทางใต้ และคอลิด อิบน์ วะลีดเข้าทางตะวันออกเฉียงเหนือ[8]
ยุทธวิธีของพวกเขาคือการเดินเข้าไปที่จุดศูนย์กลางจากทุกด้าน จึงทำให้ข้าศึกไม่สามารถตีวงให้แตกได้ง่าย และหยุดไม่ให้ชาวกุเรชคนใดแอบหนีออกไปได้[2]
มุฮัมมัดจึงกำชับว่าอย่าต่อสู้จนกว่าพวกกุเรชจะเริ่มต่อสู้ ดังนั้นชาวมุสลิมเข้ามักกะฮ์ในวันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม ค.ศ.629 (18 รอมฎอน ฮ.ศ.8)[3] การเข้าครั้งนี้ไม่มีการสู้รบหรือนองเลือดเลยทั้งสามฝั่ง ยกเว้นฝั่งของคอลิดถูกกลุ่มของเผ่ากุเรชที่นำโดยอิกริมะฮ์และซอฟวาน โดยพวกกุเรชโจมตีชาวมุสลิมด้วยดาบและธนู แล้วสู้รบกันจนฝ่ายกุเรชยอมแพ้หลังจากที่สูญเสียผู้ชายไป 12 คน ในขณะที่ชาวมุสลิมเสียชีวิตไปแค่ 2 คน[2]
ผลที่เกิดขึ้น
[แก้]อบูซุฟยานเข้ารับอิสลาม และเชื่อว่าเทพเจ้าของชาวมักกะฮ์ไม่มีพลังใดๆ ช่วยมันได้ พร้อมกับกล่าวว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์" เพื่อเป็นการตอบแทนเขา มุฮัมมัดจึงให้พวกเขาประกาศว่า:
- "แม้แต่ใครที่อยู่ในบ้านของอบูซุฟยานจะปลอดภัย ใครที่ยอมวางอาวุธจะปลอดภัย ใครที่ใส่กลอนที่ประตูจะปลอดภัย"[9]
หลังจากที่มุฮัมมัดและผู้ติดตามมาที่กะอ์บะฮ์ ทั้งรูปปั้นและพระเจ้าของพวกเขาถูกทำลายหมด โดยที่ศาสดามุฮัมหมัดได้อ่านอายะฮ์หนึ่งของอัลกุรอาน ความว่า:"และจงกล่าวเถิด เมื่อความจริงปรากฏขึ้นและความเท็จย่อมมลายไป แท้จริงความเท็จนั้นย่อมมลายไปเสมอ"(17:81)
ผู้คนเริ่มชุมนุมกันที่กะอ์บะฮ์ และมุฮัมมัดได้กล่าวว่า:
- "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์องค์เดียว พระองค์ทรงทำสัญญาของพระองค์เป็นจริงแล้ว และได้ช่วยเหลือบ่าวของพระองค์ พระองค์เท่านั้นที่ทำลายพวกสมรู้ร่วมคิดไปแล้ว ต่อไปนี้ พิธีกรรม อภิสิทธิ์ การอ้างสิทธิ์ที่จะล้างแค้นตอบแทน และการจ่ายสินไหมทดแทนอยู่ใต้เท้าของฉัน ยกเว้นการดูแลกะอ์บะฮ์ และการให้น้ำแก่ผู้มาทำฮัจญ์ ภายใต้สถานที่ศักดิสิทธิ์แห่งนี้ แม้แต่การตัดต้นไม้ก็ไม่เป็นที่อนุญาต ชาวกุเรชทั้งหลาย อัลลอฮ์ได้ทรงลบล้างการเคารพกราบไหว้เจว็ดบูชา และความทะนงในเชื้อสายแล้ว เพราะมนุษย์ทุกคนคือลูกหลานของอาดัม และอาดัมถูกสร้างมาจากดิน"
จากนั้นมุฮัมมัดจึงพูดกับชาวกุเรชว่า: "โอ้ชาวกุเรช พวกท่านคิดว่าฉันจะทำอะไรกับพวกท่านหรือ?" พวกเขาตอบว่า "เราหวังว่าท่านจะทำอย่างดีทีสุด ท่านเป็นพี่น้องที่มีเกียรติ ลูกชายของพี่น้องที่มีเกียรติ" เช่นนั้น มุฮัมมัดจึงกล่าวว่า: "ฉันจะพูดเหมือนกับที่ยูซุฟพูดกับพี่ชายของพวกเขาว่า 'ไม่ต้องกลัวอะไรในวันนี้ จงทำตัวตามสบาย พวกท่านเป็นอิสระแล้ว' "[10]
มีแค่ 10 คนเท่านั้นที่ถูกสั่งว่ามีความผิด:[11] อิกริมะฮ์ อิบน์ อบีญะฮัล, อับดุลลอฮ์ อิบน์ ซะอัด, ฮับบัร อิบน์ อัสวัด, มิกยาส ซูบาบะฮ์ ลัยษี, ฮุวัยรัษ อิบน์ นุก็อยด์, อับดุลลอฮ์ ฮิลาล และผู้หญิงอีกสี่คนที่มีข้อหาว่าได้ก่อเหตุอาชญากรรม บางคนก่อคดีอื่น ๆ บางคนหนีสงคราม และไม่รักษาสันติภาพ[11] แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครถูกฆ่านอกจากผู้หญิงสองคนที่ทำผิดกฎหมาย คนหนึ่งถูกประหารแต่อีกคนไว้ชีวิตเพราะเธอเข้ารับศาสนาอิสลาม[12]
หลังจากเปิดมักกะฮ์แล้ว เผ่าที่ไม่ได้เข้าร่วมได้ก่อสงครามฮุนัยน์ขึ้น
หมายเหตุ
[แก้]วันที่ที่ให้ในบันทึกสมัยก่อน | |||
---|---|---|---|
หลักฐานปฐมภูมิ | วันที่ออกเดินทางไปมักกะฮ์ | วันที่เข้ามักกะฮ์ | อ้างอิง |
อิบรอฮีม | 10 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 | [13] | |
อบูซะอีด อัลคุดรี | 2 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 | 17/18 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 | [14] |
อัลฮะกัม | 6 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 | [15] | |
อิบน์อับบาส, ตะบารี | 10 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 | [16] | |
อิบน์อิสฮัก | 20 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 | [17] | |
วะกีดี | วันพุธที่ 10 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 | [18] | |
อิบน์ซะอัด | วันพุธที่ 10 เาะมะฎอน ฮ.ศ. 8 | วันศุกร์ที่ 19 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 | [19][20] |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Akram, Agha Ibrahim (10 August 2007). Khalid Bin Al-waleed: Sword of Allah: A Biographical Study of One of the Greatest Military Generals in History. Maktabah Publications. p. 57. ISBN 0954866525.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Akram 2007, p. 61.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events, Ta-Ha Publishers Ltd., London, 2001 pp 3, 72, 134-6
- ↑ Gabriel, Richard A., Muhammad: Islam’s First Great General, pp. 167, 176
- ↑ Peters, Francis E. (1994). Muhammad and the Origins of Islam. SUNY Press. p. 235 & 334. ISBN 978-0-7914-1875-8.
- ↑ Lewis, Bernard (1967). The Arabs in history. Harper & Row. p. 200. ISBN 978-0-06-131029-4.
- ↑ Seerah ibn Hisham p. 226/2,228.
- ↑ Akram 2007, p. 60.
- ↑ Page 329, Al-Kamil fi al-Tarikh by Ibn al-Athir (อาหรับ).
- ↑ Related by Ibn Kathir, recorded by Ibn al-Hajjaj Muslim
- ↑ 11.0 11.1 The Message by Ayatullah Ja'far Subhani, chapter 48 referencing Sirah by Ibn Hisham, vol. II, page 409.
- ↑ [1] Abu Dawood 8:2678 at International Islamic University Malaysia
- ↑ Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 158:
Ibn Sa'd, Kitab at-Tabaqat al-Kabir, vol. 2, แปลโดย Moinul Haq, S., New Delhi, p. 172 - ↑ Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 159:
Ibn Sa'd, Kitab at-Tabaqat al-Kabir, vol. 2, แปลโดย Moinul Haq, S., New Delhi, p. 171 - ↑ Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 160:
Ibn Sa'd, Kitab at-Tabaqat al-Kabir, vol. 2, แปลโดย Moinul Haq, S., New Delhi, p. 177 - ↑ Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 161:
Ibn Hisham, As-Sirah an-Nabawiyyah, vol. 2, p. 473
al-Tabari (1982), Tarikhul Umam wal-Muluk, vol. 1, Deoband, p. 391 - ↑ Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 162:
Ibn Hisham, As-Sirah an-Nabawiyyah, vol. 2, p. 522 - ↑ Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 163:
Ishaqun Nabi Alvi (August 1964), "?", Burhan, p. 92 (Burhan was an Urdu-language magazine.) - ↑ Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 164:
Ibn Sa'd, Kitab at-Tabaqat al-Kabir, vol. 2, แปลโดย Moinul Haq, S., New Delhi, p. 167 - ↑ Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 165:
Ibn Sa'd, Kitab at-Tabaqat al-Kabir, vol. 2, แปลโดย Moinul Haq, S., New Delhi, p. 170
- Gabriel, Richard A, Muhammad: Islam’s First Great General, pub University of Oklahoma Press, 2007, ISBN 978-0806138602.