ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/กรุ 9

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุ 5 กรุ 7 กรุ 8 กรุ 9 กรุ 10 กรุ 11 กรุ 15

Betawiki: better support for your language in MediaWiki

Dear community. I am writing to you to promote a special wiki called Betawiki. This wiki facilitates the localisation (l10n) of the MediaWiki interface. You may have changed many messages here to use your language in the interface, but if you would log in to for example the Japanese language Wiktionary, you would not be able to use the interface as well translated as here. In fact, of 1,736 messages in the core of MediaWiki, 5.99% of the messages have been translated. Betawiki also supports the translation of messages for 126 extensions, with 2,174 messages. Many of them are used in WMF projects and they are vital for understanding the wiki. Currently 0.00% of the WMF extension messages have been translated. Translators for over 90 languages contribute their work to MediaWiki this way every month.

If you wish to contribute to better support of your language in MediaWiki, as well as for many MediaWiki extensions, please visit Betawiki, create an account and request translator privileges. You can see the current status of localisation of your language on MediaWiki.org and do not forget to get in touch with others that may already be working on your language on Betawiki.

If you have any further questions, please let me know on my talk page on Betawiki. We will try and assist you as much as possible, for example by importing all messages from a local wiki for you to start with, if you so desire.

You can also find us on the Freenode IRC network in the channel #mediawiki-i18n where we will be happy to help you get started.

Thank you very much for your attention and I do hope to see some of you on Betawiki soon! Thanks, GerardM@Betawiki

  • Currently 94.32% of the MediaWiki messages and 7.77% of the messages of the extensions used by the Wikimedia Foundation projects have been localised. Please help us help your language by localising at Betawiki. This is the recent localisation activity for your language. Thanks, GerardM 19:29, 17 พฤษภาคม 2551 (ICT)
  • Currently 93.13% of the MediaWiki messages and 10.63% of the messages of the extensions used by the Wikimedia Foundation projects have been localised. Please help us help your language by localising at Betawiki. This is the recent localisation activity for your language. Thanks, GerardM 16:46, 11 กรกฎาคม 2551 (ICT)
ใครสนใจร่วมแปลเข้าได้ที่ หน้ารายการที่ต้องการแปลที่ translatewiki.net แต่ต้องทำเรื่องเป็นผู้แปลก่อนนิดหน่อยครับ --Manop | พูดคุย 14:30, 13 กรกฎาคม 2551 (ICT)
  • Currently 96.61% of the MediaWiki messages and 14.37% of the messages of the extensions used by the Wikimedia Foundation projects have been localised. Please help us help your language by localising at Betawiki. This is the recent localisation activity for your language. Thanks, GerardM 21:44, 9 สิงหาคม 2551 (ICT)
  • Currently 95.20% of the MediaWiki messages and 15.98% of the messages of the extensions used by the Wikimedia Foundation projects have been localised. Please help us help your language by localising and proof reading at Betawiki. This is the recent localisation activity for your language. Thanks, GerardM 17:43, 11 กันยายน 2551 (ICT)
  • Currently 92.21% of the MediaWiki messages and 15.54% of the messages of the extensions used by the Wikimedia Foundation projects have been localised. Please help us help your language by localising and proof reading at Betawiki. This is the recent localisation activity for your language. Thanks, GerardM 17:02, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)
  • Currently 94.06% of the MediaWiki messages and 13.08% of the messages of the extensions used by the Wikimedia Foundation projects have been localised. Please help us help your language by localising and proof reading at Betawiki. This is the recent localisation activity for your language. Thanks, GerardM 16:43, 11 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
  • Currently 94.44% of the MediaWiki messages and 14.58% of the messages of the extensions used by the Wikimedia Foundation projects have been localised. Please help us help your language by localising and proof reading at Betawiki. This is the recent localisation activity for your language. Thanks, GerardM 18:56, 15 ธันวาคม 2551 (ICT)
  • Currently 95.81% of the MediaWiki messages and 15.14% of the messages of the extensions used by the Wikimedia Foundation projects have been localised. Please help us help your language by localising and proof reading at Betawiki. This is the recent localisation activity for your language. Thanks, GerardM 04:26, 13 มกราคม 2552 (ICT)
  • Currently 95.81% of the MediaWiki messages and 15.14% of the messages of the extensions used by the Wikimedia Foundation projects have been localised. Please help us help your language by localising and proof reading at Betawiki. This is the recent localisation activity for your language. Thanks, GerardM 04:26, 13 มกราคม 2552 (ICT)
  • Translatewiki.net formerly known as Betawiki is where the Internationalisation and Localisation of MediaWiki is concentrated. Over 300 languages are supported, issues with MediaWiki programs are dealt with. We need all the help we can get to ensure that we can maintain this service in the face of an increasing workload.
  • Currently 93.62% of the MediaWiki messages and 11.81% of the messages of the extensions used by the Wikimedia Foundation projects have been localised. Please help us help your language by localising and proof reading at translatewiki.net. This is the recent localisation activity for your language. Thanks, GerardM 21:41, 15 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)

กล่องท้ายบทความ

ไม่ทราบว่าวิกิพีเดียมีนโยบายการใช้ภาพในกล่องท้ายบทความอย่างไร เพราะบางแม่แบบใช้ภาพใส่ลงไปในแม่แบบมากกว่าตัวบทความด้วยซ้ำ เช่น {{พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา}} ส่วนตัวเห็นว่า 1 ภาพ ต่อ 1 กล่องท้ายบทความน่าจะเหมาะที่สุด โดยเฉพาะกับภาพ Fair use นะครับผม--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 06:02, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

แล้ว แม่แบบ:จักรราศี กับ แม่แบบ:ปีนักษัตร ละครับ --Octra Dagostino 07:18, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

  • พวกนี้ใช้รูปจากคอมมอนส์นี่ครับ แต่ถ้าเอาออกผมก็คิดว่าไม่เสียหายนะครับ แล้วคุณออกตะว่า {{พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา}} เป็นยังไงครับ ถ้าอนุญาตให้ใช้ได้ ผมจะได้เอารูปตรามหาวิทยาลัยมาใส่ในแม่แบบอุดมศึกษาทั้งหมดดีไหมครับ หรือหารูปวังมาใส่ในแม่แบบวังในประเทศไทยทั้งหมดจะดีไหมครับ หรือหารูปการ์ตูนเซย่ามาใส่ในแม่แบบตัวการ์ตูนเซย่าให้หมด ดีไหมครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 07:31, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

แบบนั้นเรียกประชดครับ รูปก็ใส่ได้ตามความเหมาะสมสิครับ ไม่ใส่เยอะเกินไปจนรกน่าเกลียด ถ้าหากมีสักร้อยไอเท็มก็ไม่ควรใส่ภาพลงไปหรอกครับ --Octra Dagostino 07:35, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

ให้คนสร้างออกมาแสดงความคิดเห็นก่อน ผมยังไม่สามารถตัดสินใจได้ในขณะนี้ --Octra Dagostino 07:47, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

เก็บรูปออกตามคำแนะนำแล้วครับ --aquashagreenlatte ไฟล์:WikiBotany tap.png 14:28, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

กล่องข้อมูล

พอดีพึ่งคิดออกอีกเรื่อง กล่องข้อมูล ควรใช้พารามิเตอร์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ จากแต่เดิมใช้ภาษาไทย แต่เดี๋ยวนี้เห็นเปลี่ยนมาใช้ภาษาอังกฤษกันหลายอัน เช่น {{กล่องข้อมูล พุทธศาสนสถาน}} {{กล่องข้อมูล มหาวิทยาลัย}} {{กล่องข้อมูล โรงเรียน}} ขอบคุณครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 06:52, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษครับไม่ใช่ภาษาไทย แต่เราเอามาแปลเป็นไทยต่างหาก ต้องเขียนให้รองรับทั้งสองแบบครับ เพราะบางคนก็คัดลอกกล่องข้อมูลมาจากภาษาอังกฤษ เวลาจะใช้ก็ไม่รู้หรอกว่าจะต้องเปลี่ยนตรงไหนบ้าง (ผมยังไม่รู้เลย) --Octra Dagostino 07:14, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

  • ทั้ง 3 กล่องใช้ภาษาอังกฤษมาก่อนหรือครับ ผมพึ่งจะทราบ แต่ทำไมผมว่าบางกล่องใช้ภาษาไทยมาก่อนนะครับ แต่การใช้ทั้ง 2 ภาษานั้นดีครับ แต่ควรใช้อะไรเป็นหลักครับ ถ้าคิดจะแปลเป็นไทยก็ควรแปลให้หมดครับ ไม่ใช่ลูกครึ่ง เพราะอย่างกล่องข้อมูลพุทธศานสถาน กว่าจะมานั่งแกะว่าแต่ละตัวในภาษาปะกิดใช้อะไรแล้วมาถอดเป็นไทยออกจะลำบากครับ ผมก็เรียนมาน้อย ภาษาปะกิดก็อยู่แค่พออ่านออกแค่นั้นครับ ในที่นี้หมายถึงวิธีการใช้ที่ระบุอยู่ในในแต่ละกล่องครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 07:24, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

คิดว่าเอาภาษาอังกฤษเป็นหลักครับ เวลาแม่แบบมีการอัปเดตโดยการก๊อปปี้โค้ดมาจากอังกฤษ ก็จะต้องมานั่งแปลชื่อพารามิเตอร์อีกรอบงั้นเหรอ --Octra Dagostino 07:33, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

    • ต้องมีการกอปปี้โค้ดอะไรเพิ่มหรือครับ อย่าง principal_buddha ถ้าไม่ไปดูว่ามันคืออะไร คุณออกตะคิดว่าจะใช้เป็นไหมครับ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น พระประธาน อันนี้ไม่ง่ายและเข้าใจง่ายกว่าหรือครับ ถ้าจะกอปปี้มาก็แปลครับ เผื่อคนอื่นเขาบ้างครับ และพวกนี้ใช้แล้วใช้นานครับ ใช่จะแก้ไขกันบ่อย ๆ หรือไม่ใช่ครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 07:39, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

ถ้าก๊อปปี้มาใช้ถูกแน่นอนครับ เพราะค่าต่าง ๆ มันก็เซ็ตไว้ตรงพารามิเตอร์นั้น ๆ อยู่แล้ว แทบไม่ต้องแปลไทยด้วยซ้ำ --Octra Dagostino 07:52, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

  • จริงเหรอครับ ที่ว่าแทบไม่ต้องแปลด้วยซ้ำ ถ้าคุณออกตะไปเจอวัดเอ แล้วต้องการกอปปี้ข้อมูลกล่องมาลงวัดบี คุณออกตะจะต้องคลิกเข้ามาเพื่อ copy กล่องที่หน้า "กล่องข้อมูล พุทธศาสนสถาน" หรือ คุณออกตะจะกอปปี้จากหน้าวัดเอแล้วมาเปลี่ยนเป็นของวัดบีอันไหนง่ายกว่าครับ แล้วต้องมานั่งลบข้อความขยายสำหรับพารามาเตอร์ที่ไม่ได้ใช้อีกหรือครับ ไม่ทราบว่า คุณออกตะนี่ เคยใช้กล่องพวกนี้หรือเปล่า หรือแค่คิดเองว่ามันง่ายจนไม่ต้องแปลหรือครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 08:00, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

คุณหมายถึงก๊อปปี้ระหว่างบทความภาษาไทยด้วยกัน? ผมหมายถึงก๊อปปี้มาจากบทความภาษาอังกฤษครับ (ใช่ ผมไม่ต้องแปลจริง ๆ) สัก 80% เลยมั้งที่ชื่อพารามิเตอร์ในแม่แบบเป็นภาษาอังกฤษนะครับ --Octra Dagostino 08:11, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

คุณก็ดูเอาสิครับว่า กล่องที่ผมยกตัวอย่างเนี่ยะ มันใช้ในบทความภาษาไหนมากกว่ากันครับ ส่วนใหญ่บทความเกือบทั้งหมดไม่ได้กอปปี้มาจากปะกิดนะครับ แล้วจะให้พารามิเตอร์เป็นปะกิดเพื่ออะไร ไม่ใช่พวกบทความของต่างประเทศ เช่น สงครามโลก นะครับ ถึงจะต้องใช้พารามิเตอร์ภาษาปะกิด อ้อ คุณอย่าลืมนะครับผม ว่าวิกิพีเดียมีบุคคลที่หลากหลายที่เข้ามาช่วยกันแก้ บางคนก็ไม่ได้เข้าใจภาษาอังกฤษอย่างคุณทุกคนนะครับ ต้องคิดเผื่อพวกนี้ด้วย ไม่ใช่คิดว่าตัวเองใช้เป็นไม่มีปัญหาก็พอ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 08:16, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

ก็ผมเสนอแนวทางไปแล้วไงว่า ต้องเขียนให้รองรับทั้งสองภาษา ทีนี้คุณจะใช้ภาษาอะไรก็ไม่ต้องห่วงอีกต่อไปครับ ในเอกสารการใช้งานก็ต้องอธิบายพารามิเตอร์สองแบบนั้นด้วย แต่การแก้นั้น เหนื่อยแน่นอนครับ เพราะแม่แบบมันเยอะมาก ไม่ต่างอะไรกับการเปลี่ยนไปใช้ภาษาไทยอย่างเดียวหรือภาษาอังกฤษอย่างเดียว คุณก็ได้แสดงให้เห็นแล้วนี่ว่า แม่แบบบางอันใช้ภาษาไทยอย่างเดียวไม่เหมาะ และผมก็เห็นแล้วว่า แม่แบบบางอันใช้ภาษาอังกฤษอย่างเดียวก็ไม่เหมาะ --Octra Dagostino 08:18, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

  • ผมก็คิดเช่นเดียวกันครับ แต่ตอนนี้เอกสารการใช้งาน เขียนเฉพาะพารามิเตอร์ภาษาอังกิดไงครับ จึงเป็นที่มาของการสอบถาม เข้าใจประเด็นไหมครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 08:24, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

ตัวแปรก็ใส่รวม ๆ กันไว้ได้ครับ จะเอาไทยหรืออังกฤษขึ้นก่อนก็ไม่มีปัญหาทั้งนั้น เช่น {{{ไทย|{{{english}}}}}} หรือ {{{english|{{{ไทย}}}}}} ความหมายเหมือนกัน แต่เอกสารต้องอธิบายทั้งสองตัวแปร สรุปเลยละกัน

  1. แก้ไขโค้ดแม่แบบให้รับพารามิเตอร์ได้สองภาษา
  2. ปรับปรุงวิธีใช้งานโดยอธิบายพารามิเตอร์ทั้งสองภาษา

--Octra Dagostino 08:32, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

สามารถแก้ไขได้ครับ ให้รองรับสองภาษา ผมเองก็จำไม่ได้ว่าอันไหนที่แก้ไปแล้ว ช่วงนี้ก็รีบ ๆ เพราะวันที่ 1 ต้องไปต่างจังหวัดที่ซึ่งไม่มีอินเตอร์เน็ตเป็นระยะเวลา 3 เดือน ส่วนสาเหตุที่พยายามแก้พาราฯเป็น eng ไว้นั้น เนื่องจากว่าเป็นการช่วยลดขนาดบทความเวลานำแม่แบบนี้ไปใส่ เพราะต้องไม่ลืมว่า อักษรไทยมีขนาดเป็น3 เท่าของอักษรละติน ส่วนอีกข้อ ถ้าเป็นแม่แบบข้ามภาษา เช่น{{ตารางจำแนกพันธุ์}} อันนี้เป็นไปเพื่อความสะดวกในการ copy ข้ามมาจากภาษาอังกฤษด้วย --aquashagreenlatte ไฟล์:WikiBotany tap.png 14:45, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

เพิ่มเติม จากประสบการณ์ บางแม่แบบมีเหตุผลอื่นคือ ก๊อปเขามาโดยยังไม่รู้ว่า พาราฯ นี้จะแปลเป็นไทยว่าอะไร (เพราะบางตัวเป็นศัพท์บัญญัติ ซึ่งคนก๊อปยังไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้) เลยต๊ะไว้ก่อน
  • กรณีแบบนี้ ควรช่วยกันแก้ ใครมีความรู้เฉพาะทางนั้น ก็ไปช่วยกันหน่อย
กรณีที่คุณ Thanyakij ว่านั้น ขอวิเคราะห์ในความเห็นส่วนตัวว่า ลองชั่งข้อดีข้อเสียข้อเสียดู
  • ข้อดี ลดขนาดบทความ
    • หักล้าง ไม่แน่ใจว่าลดได้มากแค่ไหน ลดแล้วได้เร็วขึ้นแค่ไหน มีประโยชนืคุ้มข้อเสียไหม
  • ข้อเสีย ทำให้คนเขียนใช้แม่แบบยาก บางพาราฯ ถ้าศัพท์อังกฤษอาจงงไม่รู้จะใส่อะไร (ยกเว้นคำทับศัพท์ ที่คงไม่มีผล) --Sirius (TeeTaweepo)

กล่องข้อมูล นักเขียน

ฝากช่วยดู {{กล่องข้อมูล นักเขียน}} หน่อยสิคะ อยากจะเพิ่มหัวข้อ Notable works กับ Notable awards แต่เพิ่มไม่ได้อะค่ะ (ทำไม่เป็น -_-")

ปล. กล่องข้อมูลนักเขียน เป็นตัวอย่างหนึ่งของกล่องข้อมูลที่ไม่ได้ update ตามกล่องข้อมูลในภาษาอังกฤษ มีการใช้พารามิเตอร์เป็นภาษาอังกฤษ แต่แสดงผลเป็นภาษาไทย --Tinuviel | พูดคุย 12:52, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

  • อ๊ะ.. รู้สึกว่าจะเพิ่มได้แล้วค่ะ ขอโทษที่รบกวน แต่ฝากเป็นกรณีศึกษาเรื่องแม่แบบที่ใช้พารามิเตอร์เป็นภาษาอังกฤษ แต่แสดงผลเป็นภาษาไทย แล้วกันนะคะ --Tinuviel | พูดคุย 13:00, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

คอตอสอ

ทีมคตส นี่ จะถือว่าเป็นคณะตุลาการรึเปล่า?

ถ้าไม่ใช่แล้ว ยังจะผ่านเกณฑ์ วิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียงอยู่อีกหรือไม่?

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 02:58, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)

เฮียหมายถึงคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐหรือเปล่า?

ถ้าใช่, คตส. ไม่ใช่ตุลาการ ไม่ไ้ด้มีอำนาจพิพากษาคดีหรือออกหมายเป็นต้นอย่างตุลาการ แต่เป็นองค์กรพิเศษทำหน้าืที่จัดสำนวนฟ้องต่ออัยการซึ่งคนที่เห็นว่าน่าจะเป็นคนชั่วช้าเพื่อดำเนินการตามกระบวนยุติธรรมต่อไป และใช้อำนาจบางอย่างแทน ปปช. ในระหว่างที่ยังไม่มีตัวตนช่วงนั้น

เห็นว่าน่าจะผ่านเกณฑ์ เพราะว่ากันแต่ตัวบุคคล แต่ละคนก็ดัง ๆ ทั้งนั้น มีบทความเฉพาะสำหรับบุึคคลนั้นก็มี นอกจากนี้ คตส. ยังเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยยุคหนึ่งด้วย (ก็ในช่วง คมช. นั้นแหละ) กับทั้งยังเป็น "บุคคลที่กำลังเป็นประเด็นในเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง" อีกด้วย ก็น่าจะผ่านนะ

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๓:๐๘ นาฬิกา (GMT+7)

ผ่านครับ แต่ไม่ใช่ในฐานะนักการเมืองหรือตุลาการ --Octra Dagostino 11:17, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)

ไม่แน่ใจว่าคตส นี่น่าจะมีออกสื่อหนังสือพิมพ์เยอะนะครับ ในฐานะคตส น่าจะผ่านเกณฑ์หรือเปล่าครับ แต่ไม่ทราบว่าออกหนังสือพิมพ์กันทุกคนหรือเปล่า --Manop | พูดคุย 11:37, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)

ผ่านเกณฑ์ (แจมอีกเสียง) --Sirius (TeeTaweepo)

ย้ายภาพ GFDL + CC ไปคอมมอนส์

มีไอเดียมาเสนอครับ ว่าภาพในวิกิพีเดียไทยอันไหนที่เป็น GFDL, ครีเอทีฟคอมมอนส์ และ สาธารณสมบัติ นี่ย้ายไปคอมมอนส์หมดเลยดีไหมครับ และก็ต่อไปใครอยากโหลดภาพ ก็ให้ไปโหลดในคอมมอนส์แทน เพราะตอนนี้ล็อกอินเดียวใช้ทุกวิกิและคอมมอนส์แล้ว น่าจะสะดวกกับคนโหลดมากกว่าแต่ก่อน ส่วนเว็บวิกิพีเดียไทย ก็เหลือไว้เก็บเฉพาะพวกรูปการใช้งานโดยชอบธรรม แทน มีความเห็นอย่างไรกันบ้างครับ --Manop | พูดคุย 03:08, 30 ตุลาคม 2551 (ICT)

  • เห็นด้วย อย่างยิ่งเลยครับ เพราะจากประสบการณ์ส่วนตัว เวลาแปลบทความมา (และเวลาแปลไปภาษาอื่นก็คงทำนองเดียวกัน) ถ้าใช้ภาพคอมมอนส์ จะสะดวกเขียน ประหยัดทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์ และประหยัดเวลา ไม่ต้องอัปโหลดซ้ำ
    • มีปัญหาน่าสังเกต 2 ข้อคือ หลอกว่าเป็นสาธารณะ (ผมไม่แน่ใจว่าแก้ได้กันหรือยัง)
    • และสะดวกหรือไม่ ทำอย่างไรให้สะดวก - ย้ายได้โดยผู้ดูแล ไม่ต้องอัปใหม่? ใช้บอตย้ายไป? หรือแมนนวล? ท่านมีแผนในใจอย่างไรครับ วานบอก --Sirius (TeeTaweepo)
  • ใส่แม่แบบ {{mtc}} {{ย้ายไปคอมมอนส์}} {{Copy to Wikimedia Commons }} ที่ภาพนั้นครับ จะลิงก์ไปที่ฟังก์ชัน Copy to Commons via CommonsHelper ยังไงก็ไปช่วยกันปรับหน่อยก็แล้วกัน ทดลองแล้วหนึ่งหน้าที่ ภาพ:Car-free-day08.jpg ยังงงนิดหน่อย t¸·´ ¯·.¸¸.ღp --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Teetaweepo (พูดคุยหน้าที่เขียน) 01:07, 1 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

{{mtc}} เป็นป้ายเอาไว้สำหรับแจ้งย้ายครับ ซึ่งเมื่อย้ายไปแล้วก็ต้องเอาออก และเมื่อเวลาจะย้ายจริง ๆ ก็ใช้ลิงก์เดิมนั้นตลอด ซึ่งก็ต้องสมัคร TUSC ก่อน --Octra Dagostino 09:07, 1 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

เหตุการณ์ปัจจุบัน

หน้า เหตุการณ์ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อดีไหมครับ เพราะจะได้ไม่เป็นบทความสารานุกรมเรื่อง "เหตุการณ์ปัจจุบัน" (แต่จริง ๆ มันคงไม่มีใครคิด) แค่โยนหินถามทางเฉย ๆ นะครับ --Manop | พูดคุย 10:38, 1 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

ถ้าเกิดเปลี่ยน จะเปลี่ยนเป็น วิกิพีเดีย:เหตุการณ์ปัจจุบัน หรือ สถานีย่อย:เหตุการณ์ปัจจุบัน ดีครับ เห็นในภาษาอื่นส่วนมากจะใช้เนมสเปซสถานีย่อยกัน แต่ก็มีบางภาษาใช้เนมสเปซวิกิพีเดีย -- Portalian 21:11, 3 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

แบนเนอร์พระพี่นางฯ

สวัสดีครับ ตามที่ได้มีการติดแบนเนอร์เฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครองราชย์ครบ 60 ปีมาก่อนแล้ว... ผมอยากเสนอให้มีแบนเนอร์ของสมเด็จพระพี่นางฯ อยู่บนหน้าหลักด้วยเช่นกัน (ผ่านทาง แม่แบบ:ส่วนหัวของหน้าหลัก) โดยภาพมีลักษณะดังนี้:

ไฟล์:Princess Galayani.gif

ซึ่งโดยส่วนตัวผมเห็นว่าแบนเนอร์พระเจ้าอยู่หัวนั้นผ่านไปได้ด้วยดี จึงไม่น่าเกิดความขัดแย้งสำหรับการติดภาพ .gif นี้ด้วยเช่นกัน และภาพดังกล่าวไม่ได้ไม่เป็นกลางแต่อย่างใดครับ --Piazza Navona 19:16, 6 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

เข้าใจหาเรื่องเบี่ยงเบนประเด็นดีนี่ครับ เหมือนนักการเมืองที่พันธมิตรฯพยายามไล่ดีจังเลย --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 19:34, 6 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
ถ้าจะติดป้าย ก็ไม่น่าจะติดป้ายที่เป็นภาพเคลื่อนไหวนะครับ เพราะมันจะเหมือนเป็นการประดับและเหมือนเป็นโฆษณาตามเว็บไซต์มากกว่าแสดงความหมายอื่น ส่วนตัวภาพรู้สึกว่าติดลิขสิทธิ์ด้วยหรือเปล่าครับ (เห็นว่าก๊อปมาจากไหนซักที) --Manop | พูดคุย 21:14, 6 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
สำหรับชาวไทยก็ไม่ว่าอะไรนะครับ แต่ชาวต่างชาติที่เข้ามาอาจจะเห็นว่าเป็นแบนเนอร์โฆษณา แล้วแจ้งไปยังต้นสังกัดให้เอาออก ผู้ดูแลก็จะโดนเทศน์ไปหนึ่งกัณฑ์ครับ --Octra Dagostino 21:51, 6 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมไปให้ความเห็น เรื่องกล่องผู้ใช้ที่เกี่ยวกับการเมืองด้วยนะครับ เพราะคุณเองก็เป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้คนหนึ่งนะครับ คุณPassawuth อย่าทำเฉไฉไปครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 03:29, 7 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
ผู้ดูแลโดนด่าก็เป็นเรื่องปกติแหละครับ อย่าคิดมาก (จริง ๆ คงไม่มีใครสนใจเท่าไร) ว่าแต่หน้าแม่แบบนั้นใครจะใส่เข้าใครจะนำออก ก็คงแล้วแต่ผู้ใช้แหละครับ เพราะไม่ได้ล็อก ถ้าใส่เข้าและไม่มีการออกก็คงไม่เป็นไรกระมัง แต่ถ้าใส่เข้า ๆ ออก ๆ กันหลายรอบก็คาดว่าคงต้องล็อกนะครับ --Manop | พูดคุย 07:37, 7 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
ถ้ามีผู้สนับสนุนให้ติด "ป้ายนี้" สักสามคนผมก็โอเคแล้วครับ แต่ถ้าไม่เห็นด้วยกับ "ป้ายนี้" บางท่านอาจจะลองเอาป้ายแบบอื่นมานำเสนอแทน --Octra Dagostino 18:19, 8 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
เป็นกลาง ผมคิดว่า ยังไงก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ใครจะเอาไปติดในหน้าส่วนตัวของตัวเอง ก็ถือว่าเป็นสิทธิ์ของเจ้าตัวนะครับ -ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 20:41, 8 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

แบนเนอร์พระพี่นางฯ 2

อันนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ --Piazza Navona 10:25, 9 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

อันนี้ประชดหรือเปล่า ใหญ่เกินไปครับ ขนาดไม่ควรจะใหญ่กว่าขนาดแบนเนอร์มาตรฐานทั่วไปครับ ลองนึกถึงสภาพหน้าเว็บหลังจากติดแบนเนอร์นี้ลงไปแล้ว รวมทั้งตำแหน่งที่ติดด้วย ในฐานะคนทำเว็บ รับไม่ได้อย่างแรงครับ คุณอาจจะปรับขนาดมาใหม่ให้เท่ากับมาตรฐาน (ปล. ผมไม่ได้พูดถึงสิ่งที่อยู่ในภาพ) --Octra Dagostino 13:50, 9 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

แบนเนอร์ขนาดคราวที่แล้วกำลังดีนะครับ อันนี้ดูค่อนข้างใหญ่ไปหน่อย แต่การออกแบบกับสีทำออกมาก็ดูสวยดีครับ อีกเรื่องคือชื่อเต็มนี่ไม่แน่ใจว่าต้องเป็น "สมเด็จพระพี่นางเธอ..." หรือ "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ..." ครับ --Manop | พูดคุย 05:16, 12 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

แบนเนอร์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (3)

ไฟล์:Gnv banner.png

ขอเสนอแบนเนอร์นี้ครับ ไม่ทราบว่าใหญ่ไปรึเปล่า--~phenoCALYPSE~ 20:46, 12 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

เพิ่มเติมนิดหน่อยนะครับ ถ้าต้องการเพิ่มเติม ใส่ได้ที่หน้า {{ส่วนหัวของหน้าหลัก}} ครับ ส่วนรายละเอียดคงเหมือนที่คุยกันด้านบนคือใครใส่ก็ได้ ใครนำออกได้เช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นแอดมินครับ --Manop | พูดคุย 21:19, 12 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

ไม่แน่ใจว่าที่เขียนไป สมเด็จเจ้าฟ้าฯ เป็นการย่อชื่อพระนามที่ผิดรึเปล่า --Sry85 22:30, 14 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

-- อ่านเพิ่มเติม http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?Search=1&ID=996

คุณ Sry ดูลิงก์ข้างบน และดูถ่ายทอดสดพระราชพิธีด้วยก็ดีนะครับ จะได้ทราบว่ามีการใช้พระนามย่อนี้รึเปล่า --~phenoCALYPSE~ 23:30, 14 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

ไอพีผู้หวังดี

หลัง ๆ เริ่มมีผู้ใช้ไม่ประสงค์ออกนาม มาช่วยติดป้ายเก็บกวาดกันเยอะขึ้นครับ แต่พวกป้ายบางอย่าง เช่น {{ลบ}} ก็อยากให้ผู้หวังดีทั้งหลายช่วยแสดงตัว และอธิบายเหตุผลเพิ่มเติมนิดหน่อยครับ เพราะว่าหลายเรื่องที่คนใหม่ ๆ มาเขียนนั้น อาจจะจัดรูปแบบได้ไม่ดีเท่าคนเก่า ๆ ทั้งหลาย แต่เนื้อหา และข้อมูลที่มีก็ค่อนข้างมีประโยชน์และเหมาะต่อการพัฒนาบทความ เลยฝากรบกวนช่วยสอดส่องด้วยครับ และถ้าใครเป็นผู้หวังดีแต่ไม่อยากล็อกอินในกรณีจำเป็น ก็ช่วยฝากล็อกอินด้วยครับ --Manop | พูดคุย 21:12, 6 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

แม่แบบ:เรื่องจากข่าว

สวัสดีครับ แม่แบบ:เรื่องจากข่าว บนหน้าหลักนั้น ผมคิดว่าเมื่อทางวิกิพีเดียไทยนำเสนอข่าวไป คนก็คงสนใจอยากจะอ่านเพิ่มเติมเป็นธรรมดา จึงขอเสนอให้ ใส่ลิงก์ไปเว็บไซต์อื่นให้คนที่สนใจได้อ่านเพิ่มเติมครับ เช่น:

นักเรียน 50 คน เสียชีวิตในอุบัติเหตุโรงเรียนถล่ม

โดยจะต้องเป็นเว็บไซต์ดังนี้:

  • น่าเชื่อถือ
  • เป็นภาษาไทย (ตัวอย่างแค่สมมุติเอาเฉย ๆ)

ที่ผมเสนอนี้ (อันนี้สำคัญนะครับ) ไม่ใช่เพื่อจะได้ลิงก์ไปเว็บผู้จัดการในส่วนของข่าวการเมือง (ถ้าบางคนจะอ้างเอาอย่างนั้น ซึ่งผมไม่เคยคิดเลย) แต่เหตุผลคือ:

  • บทความที่ลิงก์ไปนั้น รายละเอียดไม่เพียงพอ คนที่สนใจจะอ่าน ต้องไปหาอ่านเอาเพิ่ม
  • วิกิพีเดียไทยไม่มีคนเขียนสิ่งที่อัปเดตเพียงพอ ดังนั้นรายละเอียดจึงน้อยมาก บางบทความอยู่ที่ระดับสั้นมาก
  • การใส่ลิงก์ ช่วยยืนยันแหล่งข่าว ความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือ จะทำให้การกล่าวอ้างว่าข่าวไม่เป็นจริงไม่ได้ (อันนี้แหล่งข่าวต้องน่าเชื่อถือด้วย)
  • วิกิอื่น ๆ ก็ทำกัน ผู้อ่านจะได้สามารถอ่านรายละเอียดข่าวได้มากขึ้นหากสนใจ
    • วิกิอิตาลี ลิงก์ไปที่วิกิข่าวอิตาลี ทว่าวิกิข่าวไทยไม่มีใครไปทำอยู่แล้ว ดังนั้นจึงน่าจะเป็นการดีที่จะลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่น (อันนี้ไม่ใช่ทำตามเขานะครับ แต่ไอเดียเขาตรงกับไอเดียผม)

หากสิ่งที่ผมเสนอผ่านก็น่าจะมีการกำหนดเว็บไซต์ที่ลิงก์ไปด้วย เพื่อป้องกันการโต้เถียงไม่สิ้นสุด ดีไม่ดีอย่างไรช่วยวิจารณ์เสนอด้วยครับ ขอบคุณครับ --Piazza Navona 15:25, 8 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

แหม จำกัดวงแต่ลิงก์ข่าวให้เป็นเวบภาษาไทยนี่ ตั้งใจจะเขี่ยผมออกนอกวงสินะครับ ๕๕๕ เพราะผมหาข่าวจากต่างประเทศมาเป็นส่วนมาก แต่ก็อีกนั่นแหละครับ บีบวงให้จำกัดแต่สำนักข่าวไทย มันก็ไม่ทำให้คนอ่านหูตาเปิดกว้างขึ้นสิครับ อย่างน้อย รอบโลกเรานี้ มีอะไรเกิดขึ้นมากมาย แต่สำนักข่าวในบ้านเรา กลับหยิบมาเพียงแค่หยิบมือ ผมคิดว่า วิกิข่าว น่าจะเป็นอะไรที่เปิดกว้าง สร้างทางเลือกในการรับข่าวที่มากกว่านั้นนะครับ
อย่าปิดกั้นด้วยแค่ว่า ต้องเป็นภาษาไทยเลย เพิ่มภาษาอังกฤษด้วยอีกอันดีกว่า เพราะอย่างน้อย ทุกคนรู้ภาษาอังกฤษอยู่แล้ว แต่ดีไม่ดี เป็นอีกเรื่องครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 15:48, 8 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
  • มองมุมมองของคนที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษสิครับ ที่เป็นลิงก์ข่าวภาษาไทยเพราะว่าภาษาอังกฤษคนจะอ่านได้หรือ ทุกคนเขาไม่ได้มีโอกาสเหมือนคุณนิครับ จะได้เรียนภาษาอังกฤษและอ่านข่าว ฟังข่าวได้ จริงอยู่ที่คนส่วนใหญ่อ่านได้ แต่คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าสามารถอ่านข่าวภาษาอังกฤษให้เข้าใจได้ (ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดคือ Donuttowanoon) --Piazza Navona 16:22, 8 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
ไม่เห็นด้วย ถ้าเป็นในวิกิข่าว จะมีลิงก์จากข่าวไปยังเว็บไซต์อื่นก็โอเคครับ แต่นี่เป็นวิกิพีเดียซึ่งเน้นที่บทความสารานุกรม ไม่ได้เน้นที่ข่าวเป็นหลัก คิดว่าไม่น่าจะจำเป็นถึงขนาดนั้น -- Portalian 16:09, 8 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
เฉย ๆ เรื่องลิงก์ กลัวอย่างเดียวคือมันจะเลอะเทอะเปรอะไปหรือเปล่า แต่ ไม่เห็นด้วย เรื่องการลิงก์เฉพาะเว็บข่าวของไทย เพราะถ้าจะอ่านข่าวในประเทศจะไปหาอ่านจากที่ไหนก็ได้ง่าย ๆ (วิกิพีเดียไม่ใช่สถานีรวมลิงก์ข่าวเน้อ) --Tinuviel | พูดคุย 16:38, 8 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

อย่างนี้คิดถึง BBC ไทยขึ้นมาเลยครับ ไม่รู้จะยุบไปทำไม --Piazza Navona 16:43, 8 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

ประเด็นของผมคือ ไม่ต้องการให้เกิดการปิดกั้นข่าวสาร เนื่องด้วยว่า สำนักข่าวในประเทศไทยไม่ลง อีกอย่างนะครับ เวลาเขียนข่าวในวิกิฯ ผมก็ไม่ได้เขียนเป็นภาษาอังกฤษสักหน่อย ส่วนคนที่สนใจ ตามไปดูที่ลิงก์นั่น คุณคิดว่าจะมีสักกี่คนที่ทำกันหล่ะครับ หรือถ้าไปจริงแล้ว กลับอ่านภาษาอังกฤษไม่ได้ เขามีสิทธิ์อะไรมาว่าผุ้เขียนข่าวหล่ะครับ ในเมื่อเราบริการแปล-สรุปมาให้แล้่ว
นอกจากนี้ ผมถาม จะมีสักกี่คนที่มานั่งตรวจสอบความถูกต้องของข่าวสาร ที่ผ่านมา เห็นมีแต่เรื่องชวนทะเลาะจากข่าวที่เกี่ยวกับการเมือง ซึ่งอย่าลืมว่า คุณเองก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วยนะครับ
ไม่เห็นด้วย สรุปว่า ผมไม่เห็นด้วยทั้งประเด็นการให้มีการทำลิงก์ ด้วยเหตุผลเดียวกับคุณ Tinuviel และ Portalian และประเด็นที่ให้จำกัดข่าวสารแต่ข่าวในประเทศ เพราะเห็นว่า วิกิฯสมควรจะเปิดกว้าง และเป็นสากลครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 17:17, 8 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
ไม่เห็นด้วย หน้าเหตุการณ์ปัจจุบันก็มีอยู่แล้ว ก็ใส่ลงในนั้นสิครับ ทำไมจะต้องเอามาใส่ในแม่แบบ เพราะแม่แบบมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เปลี่ยนข่าวใหม่ลิงก์ก็หาย แต่หน้าเหตุการณ์ปัจจุบันจะเป็นการเก็บอย่างถาวร นอกจากนี้ วิกิพีเดียไทย เป็นสารานุกรมที่มีเนื้อหาเป็นภาษาไทย ไม่ใช่ของเฉพาะประเทศไทย แหล่งข่าวภายนอกจะเป็นภาษาอะไรก็ช่าง ไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน แต่เวลาเอามาลงก็ต้องแปลเป็นภาษาไทยอยู่แล้ว อย่าแปลผิดเพี้ยนหรือบิดเบือนก็เป็นพอ ประเด็นข่าวที่นำเสนอควรมาจากทุกมุมโลก และเป็นจุดสนใจของผู้อ่านในระดับสากลเป็นอย่างน้อย และสามารถชี้นำไปสู่การสร้างสารานุกรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ได้ ไม่ใช่เอาไว้โจมตีกัน ไม่ใช่เอาไว้รายงานข่าวสั้นหรือข่าวด่วน ประการสุดท้าย อยากฝากว่า วิกิพีเดีย คือสารานุกรม ไม่ได้เป็น วิกิข่าว --Octra Dagostino 18:01, 8 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
ไม่เห็นด้วย ตามคุณ Octra Dagostino บอกนะครับ จริง ๆ แล้วข่าวทุกข่าวที่ลงใน {{เรื่องจากข่าว}} ควรจะอยู่ในหน้าเหตุการณ์ปัจจุบันด้วยซ้ำนะครับ เพราะหน้านั้นก็เอาไว้ทำหน้าที่นี่อยู่แล้ว นอกจากนี้หน้าแรกก็จะได้ไม่รกด้วย และถ้ามีอ้างอิงลิงก์ไปที่เว็บข่าวในหน้าเหตุการณ์ปัจจุบัน ก็จะช่วยให้ทราบได้ว่ามีที่หน้าหรืออ้างอิงตรงไหน ว่าแต่จะเอาลิงก์ "วิกิข่าว" ออกจากแม่แบบไหมครับ เพราะคนที่กดเข้าไปจะได้ไม่เซ็ง เพราะปลายทางไม่มีอะไรให้อ่าน --Manop | พูดคุย 04:03, 9 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
ท่าทางคงไม่มีความเห็นเพิ่มเติม งั้นสรุปเลยละกันนะครับ ว่าหากคนไหนต้องการใส่ใน แม่แบบ:เรื่องจากข่าว ให้ใส่ในเหตุการณ์ปัจจุบันก่อนทุกครั้งนะครับ อันไหนที่ไม่ได้ใส่ ก็อาจจะต้องเชิญให้ออก --Manop | พูดคุย 09:15, 14 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

แม่แบบ:เรื่องจากข่าว (รอบ 2)

ครับ ฉะนั้นก็ล้มไป... งั้นตามมติก็คือ (ข้อเพิ่มคำถามด้วยนะครับ ค้างคามานานแล้ว) :
  1. ข่าวทุกประเด็นที่ลงในแม่แบบเรื่องจากข่าว จะต้องลงในเหตุการณ์ปัจจุบันพร้อมลิงก์อ้างอิงด้วย
    1. จะทำแบบ ...ข่าว... (ผู้จัดการ) หรือ ....ข่าว.... (ผู้จัดการ) ดี?
    2. จะใช้ชื่ออะไรดีเช่น AFP หรือ เอเอฟพี? ผู้จัดการออนไลน์ กับ Manager Online?
  2. ลิงก์วิกิข่าวควรเอาออกจากแม่แบบ และหน้าเหตุการณ์ปัจจุบันด้วย เพราะปลายทางไม่มีอะไร
  3. หน้าเหตุการณ์ปัจจุบัน จะเปลี่ยนเนมสเปซเป็น วิกิพีเดีย: หรือ สถานีย่อย: ดี?
--Piazza Navona 10:05, 9 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
(1) รูปแบบของเก่ามันเป็น ...ข่าว... (ที่มา) อยู่แล้วนะครับ ลองเข้าไปดูที่ เหตุการณ์ปัจจุบัน น่าจะใช้กันมาสองสามปีแล้ว ไม่งั้นถ้าจะใช้รูปแบบใหม่ ก็อาจรบกวนฝากแก้ของเก่าด้วย (ค่อนข้างเยอะเหมือนกัน) (2) ชื่ออะไรดีนี่คงแล้วแต่คนเขียนนะครับ ว่าแต่ไม่คิดถึงมุมมองคนที่ไม่รู้อักษรอังกฤษบ้างหรือครับ (3) ลิงก์เหตุการณ์ปัจจุบัน ก็มีข่าวให้อ่านเยอะแยะครับ ลองกดเข้าไปอ่าน (อีกแล้ว) (4) ชื่อแม่แบบ อย่าให้เป็น "เรื่องจากข่าว2" เลยครับ คำว่า 2 ไม่มีความหมาย ไม่งั้นก็จะมี 3, 4, 5 โผล่มาอีก ถ้าจะใช้น่าจะใช้ชื่อที่มีความหมายในตัว และกระชับมากกว่า --Manop | พูดคุย 10:23, 9 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
ส่วนตัวคิดว่า ปัจจุบัน ทุกอย่างดีอยู่แล้ว ภารกิจหลักของวิกิพีเดียคือการเขียนบทความ ไม่ใช่การเขียนข่าว ไม่จำเป็นต้องทำให้ทุกอย่างมันวุ่นวายขนาดนั้น เสียเวลา แต่ถ้าคุณอยากจะทำเป็นสถานีข่าว ก็ร่างโครงการขึ้นมาเลยละกัน แต่ผมว่า เอาเวลาไปเขียนบทความดีกว่ามั้ง โครงกง โครงการที่คุณเคยว่า ๆ จะทำ ก็อยู่ ๆ ก็เลิกทำไปแล้วนี่
นอกจากนี้นะครับ โดยเฉพาะคุณเลยนะ Passawuth เดี๋ยวพอคุณลงข่าวว่า ลิงก์มาจากผู้จัดการ แล้วเนื้อหาโจมตีฝ่ายตรงข้าม เดี่ยวคู่มวยของคุณ ZenithZealotry ก็จะออกมาใส่ลิงก์อีกสำนักข่าวแก้ต่างให้ฝั่งตัวเองอีก แล้วสุดท้าย เหตุการณ์แย่งชิงพื้นที่ข่าวก็กลับมาอีก แล้วอย่างนี้ เมื่อไรมันจะสงบเสียที
ส่วนตัวนะ ผมว่า ZenithZealotry เขาจะแนว ๆ ว่า ทำสิ่งที่ตัวเองอยากทำไป แต่ก็พิทักษ์สิ่งที่เขาคิดว่าถูกว่าควร แต่ก็ยอมรับฟังความเห็นคนอื่นอยู่บ้าง ผิดกับคุณ เที่ยวกัดชาวบ้านเขาไปทั่ว เริ่มจะเหมือนโดนัทเข้าไปทุกทีแล้วนะครับ
ไม่ลองคิดดูบ้างเหรอครับว่า ถ้าคุณเอาเวลากัดชาวบ้านไปเขียนบทความนี่ น่าจะได้หลายบทความ แล้วอีกหลาย ๆ โครงการที่คุณเคยเฟ้อเจ้อเอาไว้ ก็คงเสร็จไปแล้ว
นอกจากนี้นะครับ ก่อนจะมากัดกับใคร รวมถึงผมด้วย คิดก่อน ก่อนคุณจะทำการบันทึก มีเวลาให้คิดเยอะครับ อย่างน้อย ไตร่ตรองเนื้อหาให้ดี ๆ ครับ ไม่ใช่ทำตัวเป็นตัวอะไรที่ไล่กัดคนเขาไปทั่วครับ
เท่านั้น
--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 10:27, 9 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
เข้าใจผิดหรือเปล่าครับ ผมหมายถึงเรื่องข่าว ๆ 2 ... ซึ่งแม่แบบก็เหมือนเดิมครับ เสนออันนี้คือเรื่องข่าวที่หลาย ๆ คนใช้ต่างกัน บางคนใช้ ผู้จัดการ บางคนใช้ Manager --Piazza Navona 10:29, 9 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
ตอบ: ลิงก์ผู้จัดการใคร ๆ ก็ลง ไม่ใช่ผมลงคนเดียว ดังนั้นไม่ใช่ว่าผมจะลงลิงก์นั้น คุณเคยเห็นผมลงลิงก์ผู้จัดการบ้างไหม --Piazza Navona 10:31, 9 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
ตอบโดนัท2: อ่านข้างบน หัวข้อที่ 1 หัวข้อย่อยที่ 1 ผมเห็นแล้วว่าคุณลงลิงก์ผู้จัดการ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 10:35, 9 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
ลิงก์นี้เป็นแค่ลิงก์สมมุติครับ (ดูไม่ออกรึไง) เหตุการณ์ปัจจุบันน่ะ เคยเห็นผมลงไหม --Piazza Navona 10:38, 9 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
อยากให้ความสำคัญไปที่ เหตุการณ์ปัจจุบัน มาก่อน แม่แบบเรื่องจากข่าว ครับ ให้ลงข่าวเท่าที่จะนำเสนอไปไว้ในเหตุการณ์ปัจจุบัน แล้วเลือกเอาบางข่าวมาโชว์ ไม่ใช่ว่าจะเอามาโชว์หน้าแรกอย่างเดียวแต่ไม่มีรายละเอียดข้างใน เนมสเปซของเหตุการณ์ปัจจุบันควรจะเป็น วิกิพีเดีย: เพราะมันไม่ใช่แหล่งรวมบทความอย่าง สถานีย่อย: (ลองนึกถึงคำว่า portal) --Octra Dagostino 13:44, 9 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
เห็นด้วย กับคุณ Octraฯ เป็นอย่างยิ่ง ที่กล่าวว่า "เนมสเปซของเหตุการณ์ปัจจุบันควรจะเป็น วิกิพีเดีย: เพราะมันไม่ใช่แหล่งรวมบทความอย่าง สถานีย่อย: (ลองนึกถึงคำว่า portal) " ผมว่าแค่นี้ก็เพียงพอแล้วครับ สำหรับเหตุผลที่ว่า ทำไมต้องเนมสเปซวิกิพีเดีย --lovekrittaya Obama & Biden or Osama bin Laden? 18:56, 9 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
ส่วนตัวชอบเนมสเปซ "สถานีย่อย" สำหรับหน้า เหตุการณ์ปัจจุบัน นะครับ เพราะเป็นแหล่งรวบรวมเหตุการณ์ปัจจุบันมารวมไว้หน้าเดียว ซึ่งใครอยากอ่านเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันก็เข้ามาหน้านี้ เหมือนเป็น portal ตัวหนึ่ง และคิดว่าไม่ควรเป็นหน้าโครงการเหมือนหน้าอื่นที่มีเนมสเปซ "วิกิพีเดีย" เพราะไม่ได้เน้นที่ตัวคนร่วมเขียน แต่เน้นที่ตัวคนอ่าน เช่นเดียวกับหน้าสถานีย่อยอื่น --Manop | พูดคุย 05:13, 12 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
คิดว่าน่าจะเป็น "สถานีย่อย" ครับ เพราะเนื้อหาไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการวิกิพีเดีย แต่เป็นที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (เหตุการณ์ปัจจุบันจากทั่วโลก ไม่ใช่เหตุการณ์ปัจจุบันภายในวิกิพีเดีย) -- Portalian 20:24, 12 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
สวัสดีครับ หลังจากที่ผู้ดูแลทั้งสองท่านช่วยชี้แจงแล้ว ผมจึงเข้าใจและขอเปลี่ยนความเห็นละกันครับ โดยเฉพาะที่กล่าวว่า เหตุการณ์ปัจจุบันจากทั่วโลก ไม่ใช่เหตุการณ์ปัจจุบันภายในวิกิพีเดีย อันนี้จริงแท้แน่นอนเลยครับ แต่ดูแล้วก็ไม่น่าจะเป็นสถานีย่อยอีก เพราะตามที่คุณ Octraฯ ว่าไม่ใช่ที่รวมบทความ ก็น่าจะถูกอีก ถ้าเป็นไปได้ คิดว่าน่าจะเป็นเนมสเปซ พิเศษ: แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้ครับ เข้าใจว่ามันจะเป็นของระบบวิกิ จะสร้างเองไม่ได้ แต่ถ้าจะให้เป็นกรณีเฉพาะ ที่ไม่มีเนมสเปซ (ดังเดิม) ผมคิดว่ามันก็น่าจะดีอยู่ เพราะตัวมันเองก็เป็นหน้าบทความสรุปเหตุการณ์ปัจจุบันอยู่เหมือนกันครับ --lovekrittaya Obama & Biden or Osama bin Laden? 23:24, 12 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
เพิ่มเติมอีกหน่อย ถ้าจะเทียบเคียงระหว่างส่วนสรุปเหตุการณ์ล่าสุด กับส่วนรู้ไหมว่าของสถานีย่อย มันก็จะดูคล้าย ๆ กัน (เพียงแต่ส่วนสรุปเหตุการณ์ล่าสุด (ในช่วงที่ผ่านมา) มันใหญ่กว่ารู้ไหมว่าเท่านั้นเอง) ก็คือเป็นส่วนที่ชวนให้ทราบนั่นเอง และมีลิงก์ภายในที่เชื่อมไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง อยู่ในแต่ละหัวเรื่องเช่นเดียวกันครับ ดังนั้นถ้าจะต้องมีเนมสเปซ ผมขออนุญาตเข้ามาเปลี่ยนใจตอนนี้เลยครับว่าเป็นสถานีย่อย: --lovekrittaya Obama & Biden or Osama bin Laden? 23:28, 12 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

Thai Artists Project

ข้าพเจ้ามีโครงการที่จะทำประวัติและผลงานการแสดงของกลุ่มนาฏศิลปินแห่งกรมศิลปากร และอาจขยายไปถึงสาขาอื่น เช่น ดุริยางคศิลปินด้วยในอนาคต เพราะเกี่ยวกับกลุ่มบุคคล ถึงแม้ว่าจะเป็นบทความกึ่งวิชาการก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นวิกิพีเดียเพียงพอหรือเปล่า โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการค้นคว้าต่อเนื่องกับศิลปแขนงอื่น เช่น ในด้านวรรณกรรมหรือประวัติศาสตร์ เพราะศิลปินเหล่านั้นต้องมีความรู้ทั้งทางด้านวรรณคดีและศิลปศาสตร์หลายแขนง จึงควรบันทึกเรื่องราวของท่านไว้ เช่น บทความของอาจารย์เสรี หวังในธรรม เป็นต้นซึ่งก็ยังมีคนรวบรวมไว้ได้น้อยมาก และตอนนี้ท่านก็จากไปแล้วอย่างน่าเสียดาย

เลยอยากถามให้แน่ใจว่าโครงการนี้พอจะเป็นไปได้ไหมถ้าเขียนเพื่อการศึกษา ส่วนข้อมูลคงต้องได้จากการสัมภาษณ์ส่วนตัว ร่วมกับการค้นคว้าจากกรมศิลปากร ที่ถามเพราะอาจต้องติดต่อขออนุญาตเป็นทางการ ถ้าทำที่วิกิไม่ได้ ก็อาจต้องทำเป็นเว็บส่วนตัวซื่งอาจจะยุ่งยากเกินไป

แล้วถ้าใครจะพอช่วยเหลือได้บ้างก็จะขอบคุณอย่างยิ่ง --Suchaya

สวัสดีครับ ตอนนี้เท่าที่เห็นก็ยังไม่มีโครงการในด้านศิลปินไทยในวิกิพีเดียไทยครับ ที่เคยเห็นผ่านตาก็มี ศิลปินกรมศิลปากร ที่มีเนื้อหาระดับหนึ่ง แต่รูปแบบอาจจะยังไม่เหมาะสมนักในการเป็นสารานุกรมในภาพรวม เพราะเหมือนกับเป็นการสร้างบทความที่มีเนื้อหาเป็นส่วนตัวอยู่
โครงการทุกโครงการ หน้าทุกหน้าในวิกิพีเดียไทยนั้น ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตใครในการเริ่มสร้างครับ ทุกคนสามารถเขียนและแก้ไขได้ทันที หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถสอบถามผู้ใช้ท่านอื่นได้ทุกคนครับ ส่วนวิธีการเขียนนั้นสามารถศึกษาคร่าว ๆ ได้จากเมนู "เรียนรู้การใช้งาน" ด้านซ้ายมือครับ
ในช่วงต้นขอแนะนำให้คุณ Suchaya ลองสร้างและแก้ไขบทความซักระยะ เรียนรู้รูปแบบการใช้งานและระบบการเชื่อมโยงของซอฟต์แวร์ หลังจากนั้นอาจจะลองศึกษาในส่วนโครงการเฉพาะทางที่ โครงการวิกิ เพื่อวางแผนสร้างแบบแผนและแนวทางในการร่วมมือกับผู้ใช้รายอื่น ซึ่งเมื่อเนื้อหามีมากพอในระดับหนึ่งแล้ว อาจจะสร้าง สถานีย่อย เพิ่มขึ้นมาเพื่อเป็นหน้ารวบรวมเนื้อหาที่มุ่งเน้นสำหรับผู้อ่าน นอกเหนือจากหน้าโครงการที่เน้นเนื้อหาสำหรับผู้เขียนครับ หากมีข้อสงสัยในด้านไหน สอบถามได้ตลอดครับ --Manop | พูดคุย 06:12, 24 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
ถ้ามีโครงการวิกิในเรื่องนี้คงจะดีมาก แต่ไม่แน่ใจว่าเข้าใจผิดหรือไม่ เท่าที่อ่านคล้ายว่าคุณ Suchaya จะพยายามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทยไว้ที่นี่โดยข้อมูลส่วนหนึ่งจะมาจากการสัมภาษณ์เป็นส่วนตัว จึงอาจต้องระมัดระวังในเรื่องนโยบาย วิกิพีเดียไม่ใช่ที่เผยแพร่งานค้นคว้าต้นฉบับ ในระหว่างการพัฒนาบทความอาจมีการติดป้ายแจ้งลบหรือไม่เป็นสารานุกรมโผล่มาก็ได้ ขอให้คุณ Suchaya อย่าเพิ่งเสียกำลังใจ ค่อย ๆ ศึกษาวิธีเขียนสารานุกรมในวิกิฯ และปรับปรุงวิธีการเขียนไปเรื่อย ๆ นะคะ ขอชื่นชมในเจตนาที่ดีและถ้ามีโอกาสก็จะช่วยค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 11:04, 24 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

วิกิพีเดียไม่ใช่เว็บไซต์แปลภาษาอัตโนมัติ

ย้ายไปที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย#วิกิพีเดียไม่ใช่เว็บไซต์แปลภาษาอัตโนมัติ

วิกิพีเดียไทย กับ กฎหมายไทย

เห็นว่าประเด็นเริ่มเย็นไปแล้ว (มาช่วงร้อนไม่ทัน) เลยคิดว่าน่าจะมาคุยและตกลงหรืออาจจะร่วมร่างนโยบายเฉพาะกิจสำหรับวิกิพีเดียไทยไปเลยก็ได้นะครับ ว่าวิกิพีเดียไทย ควรมีนโยบายที่สอดคล้องกับกฎหมายไทยแค่ไหน ส่วนไหน เพราะตอนนี้ก็มีหลายประเด็นที่เหมือนจะร่วมเถียงกัน ซึ่งแต่ละฝ่ายที่เถียงกันไม่ว่า

  • เซิร์ฟเวอร์วิกิพีเดียไม่ได้อยู่เมืองไทย
  • คนเขียนอยู่เมืองไทย

และอีกหลายประเด็นที่มีการยกมาหลายรอบ เลยคิดว่าน่าจะร่วมออกความเห็นสร้างนโยบายในจุดนี้ โดยนโยบายนี้ไม่ได้มุ่งหวังไปที่ตัวกฎหมาย แต่มุ่งไปที่นโยบายชุมชนแทนที่นะครับ --Manop | พูดคุย 01:00, 27 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

    • เซิร์ฟเวอร์วิกิพีเดียไม่ได้อยู่เมืองไทยก็จริง แต่สามารถเปิดได้ในไทย ดังนั้นหน้าที่มีข้อความเข้าข่ายผิดกฎหมายไทยจึงสามารถถือว่าได้ ปรากฏ (สำเร็จ) ในไทย ทางการไทยก็เอาผิดคนเขียนได้ (ถ้าคนเขียนดันเข้ามาไทย) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าตำหวดเขา "เอาจริง" ฮา ๆ. ผมคิดว่านโยบายนี้ดีมากครับ กันผลเสียต่อส่วนรวม (กันทางการเขาคิดบ้าจี้บล็อกวิกิเสียทั้งเว็บ) -- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 15:07, 27 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

เราก็ทำอย่างผู้บริหารยูตูดสิคะ ส่งจดหมายตอบกระทรวงไอซีทีกลับไป สอนให้รู้จักบล็อกเฉพาะหน้าที่เป็นปัญหา ไม่ใช่บล็อกทั้งเว็บ

ส่วนเรื่องตัวบริการอยู่ที่ไหน ต่างประเทศหรือประเทศไทย ไม่ได้เป็นปัญหาหรอกค่ะ ถ้าความผิดนั้นทำที่ต่างประเทศ โดย (1) คนทำเป็นคนต่างด้าว แต่คนไทยหรือรัฐบาลไทยเป็นฝ่ายเสียหาย หรือ (2) คนทำเป็นคนไทย แต่รัฐบาลท้องที่ที่ความผิดทำขึ้นขอให้ไทยลงโทษ ก็ต้องรับโทษในไทย (มาตรา 8 ประมวลกฎหมายอาญา) แล้วยังมีความผิดอีกหลายอย่างที่กฎหมายไทยว่าต้องรับโทษในไทย ซึ่งเป็นเรื่องรายละเอียด ก็ต้องไปดูกันต่อไป

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑, ๑๗:๐๔ นาฬิกา (GMT+7)

จะว่าไปแล้ว นโยบายของวิกิพีเดียหลาย ๆ ส่วน โดยเฉพาะที่เอามาจากวิกิอังกฤษตรง ๆ ค่อนข้างจะพ้องต่อสามัญสำนึกของกฎหมายอยู่แล้วนะครับ และส่วนตัว ที่คิดว่าจะมีปัญหากับทางการไทยนั้นก็คือ กฎหมายหมิ่นประมาท และ กฎหมายลิขสิทธิ์

กฎหมายหมิ่นประมาทนั้น นโยบาย วิกิพีเดีย:อย่าว่าร้ายผู้อื่นก็เป็นสามัญสำนึกที่ป้องกันปัญหาหมิ่นประมาทอยู่แล้ว และกฎหมายลิขสิทธิ๋ ก็ป้องกันโดยวิกิพีเดีย:ลิขสิทธิ์อยู่แล้่ว

สิ่งที่นอกเหนือไปจากขอบข่ายของนโยบายวิกิพีเดีย แต่มีในกฎหมายไทยคือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ตามที่ผมเข้าใจ การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็ใช้สามัญสำนึกเดียวกับการหมิ่นประมาท ดังนั้น ถ้าไม่ว่าร้ายราชวงศ์ ก็ไม่หมิ่นฯ แต่ผมคิดว่าหลายคนคงไม่ชัดเจนในจุดนี้ คิดว่าการวิจารณ์ราชวงศ์ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย แต่ลองได้วิจารณ์ก็คือหมิ่นฯ ดังนั้นคงต้องให้เหล่านักกฎหมายอธิบายแล้วว่า ขอบข่ายของการหมิ่นพระบรมฯนั้น อยู่ที่ไหน?

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 17:43, 27 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

เรื่องหมิ่นเจ้านี้นักกฎหมายและนักวิชาการโดยทั่วไปเห็นตรงกันหมด เว้นแต่พวกที่คลั่งเจ้าจน "เกินควร" คือ คำว่า "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" นี่มีลักษณะอยู่สองประการ จะเป็นประการไหนก็ได้ คือ (๑) มีลักษณะเป็นการ "หมิ่นประมาท" เจ้า คือ ใส่ความเจ้าต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้เจ้าผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือ (๒) มีลักษณะเป็นการ "ดูหมิ่น" เจ้า คือ ดูถูกเหยียดหยามเจ้า

ต้องบอกไว้ก่อนว่า สำหรับความผิดฐานหมิ่นเจ้านี้ คำว่า "เจ้า" หมายความแค่บุคคลสี่บุคคล คือ พระมหากษัตริย์ ๑, พระราชินี ๑, รัชทายาท ๑ และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ๑ เท่านั้น ที่ไปตีความว่าหมิ่นประมาทลูกสาวของกษัตริย์และลูกสาวคนนั้นไม่ได้เป็นรัชทายาทด้วย เป็นความผิดฐานหมิ่นเจ้า ไม่ใช่เลย กฎหมายอาญามีหลักว่าต้องตีความตามตัวอักษรเป๊ะ ๆ เพราะทางอาญาถือกันเคร่งครัดว่า "ไม่มีความผิดถ้ากฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าเป็นความผิด" และ "ไม่มีโทษถ้ากฎหมายไม่ได้กำหนดโทษไว้" ไม่เหมือนกฎหมายแพ่งที่ยืดหยุ่นได้ เพราะปรกติประเทศที่ใช้ระบบประมวบกฎหมายจะเขียนกฎหมายไว้กว้าง ๆ ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องรายละเอียดต้องว่ากันยาวต่อไป

จะยกตัวอย่างเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นเจ้า เช่น

  • นาย ก บอกว่า พระมหากษัตริย์ ค ทำแบบนี้ไม่ถูกนะ ไหนบอกว่ามีชีวิตพอเพียงไง แต่กลับรวยอันดับหนึ่งของโลกในบรรดากษัตริย์ด้วยกัน แถมยังมีทรัพย์สินมากมายที่ใช้ภาษีประชาชนไปบำรุงอีก - อย่างนี้ไม่เรียกว่าหมิ่นเจ้า เรียกว่าเป็นการวิจารณ์ตามสิทธิในระบอบประชาธิปไตย แล้วยังได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอาญาด้วยว่า ถ้าเป็นการวิจารณ์อย่างสุจริตชนเขาทำกัน ก็ไม่เรียกว่าหมิ่น (มาตราไหนไปดูกันเอง จำไม่ได้ค่ะ 55)
  • นาย ข ไปเที่ยวบอกคนอื่นว่า พระมหากษัตริย์ ค มีนิสัยชอบใช้งานลูกน้องหนัก ๆ แถมยังกดเงินเดือนอีก สวัสดิการก็ไม่ให้ - นี่เรียกว่าหมิ่น แต่ถ้าไปพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง นาย ข ก็อาจไม่ต้องรับโทษ แล้วยังมีรายละเอียดอีกหลายอย่างต้องว่ากันต่อไป
  • นาย จ เขียนลงหนังสือพิมพ์ว่า ที่พระมหากษัตริย์ ค แข่งเรือใบชนะเลิศนั้น ที่จริงแล้วซี้กะกรรมการตัดสินนั่นเอง ไม่ได้มีฝีมืออะไรหรอก - นี่ก็เรียกว่าหมิ่น แล้วยังมีรายละเอียดอีกหลายอย่างต้องว่ากันต่อไป
  • นาย ฆ บอกว่า ทำไม พระมหากษัตริย์ ค ตายแล้ว รัฐบาลต้องเอาเงินภาษีประชาชนไปถลุงสร้างเมรุเผาศพราคานับพันล้านด้วย เอาไปสร้างโรงพยาบาลอุทิศให้ผู้ตายจะดีกว่าไหม จะเป็นรูปธรรมกว่าอีก - นี่ไม่เรียกว่าหมิ่น และเข้าข่ายการวิจารณ์ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

แต่หลาย ๆ คนมักคิดว่า แค่คุณพูดไม่ดีเกี่ยวกับเจ้า วิจารณ์ไปต่าง ๆ นานา ที่ไม่ใช่ทางสรรเสริญเยินยอ คุณก็ผิดฐานหมิ่นเจ้าเข้าเต็ม ๆ แล้ว ซึ่งไม่ใช่เลย

และไม่ใช่กรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติว่า "ผู้ใดจะกล่าวหาพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้" ข้อความนี้หมายถึงจะไปฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ต่อศาลไม่ได้ เพราะพระมหากษัตริย์ของไทยนั้นตามนิตินัยแล้วต้องเป็นแต่สัญลักษณ์ของประเทศเท่านั้น คือ บริหารรัฐกิจตามที่คนอื่นเขาแนะนำเท่านั้น ไม่ได้ทำด้วยตัวเอง คนแนะนำ (ที่เรียกว่า "ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ") จึงต้องเป็นคนรับผิดชอบถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้น แต่ไม่ได้แปลว่ากษัตริย์จะไม่สามารถแนะนำตักเตือนอะไรใครได้ ซึ่งเป็นเรื่องรายละเอียดต้องว่ากันอีกยาว นอกจากนี้ ศาลยังดำเนินกระบวนยุติธรรมในนามของกษัตริย์อีกด้วย เปรียบเสมือนกษัตริย์มาตัดสินคดีเอง จึงไม่น่าที่กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องได้ แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความไม่จะไม่เคยมี เพราะรัชกาลที่ ๗ ก็ถูกฟัองร้องและถูกยึดทรัพย์มาแล้ว ที่สำคัญ ข้อความ "ผู้ใดจะกล่าวหาพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้" เมื่อก่อนเขียนว่า "ผู้ใดจะฟ้องกษัตริย์ยังโรงยังศาลมิได้" (No person shall accuse the King to any sort of court.) ก่อนจะพัฒนามาเป็นข้อความนี้อีกด้วย

สำหรับราชวงศ์ที่มิได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายหมิ่นเจ้า (เพราะไม่ใช่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ก็มีกฎหมายหมิ่นประมาทคุ้มครองอย่างคนทั่ว ๆ ไปอยู่แล้ว

คนอังกฤษเขาเข้าใจเรื่องนี้ดี แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและมักตีโพยตีพายไปต่าง ๆ นานา แถมยังใช้กฎหมายหมิ่นมาเล่นงานฝ่ายตรงข้ามบ่อย ๆ ด้วย

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑, ๑๙:๓๐ นาฬิกา (GMT+7)
เดี๋ยวนะ เท่าที่อ่านนี โดยสามัญสำนึกของกฎหมายนี่ แทบจะไม่ต่างกันเลยนี่ระหว่างกฎหมายหมิ่นประมาท กับหมิ่นพระบรมฯหน่ะ เว้นแค่ว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมฯนั้นคุ้มครองบุคคลเฉพาะ ก็เท่านั้นเองหนิ มีอย่างอื่นที่แตกต่างกันอีกไหม --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 19:40, 27 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

อีกอย่างที่น่าสนใจคือ เรื่องการฟ้องร้องล้นเกล้ารัชกาลที่๗นี่ ช่างกลับจากสิ่งที่เป็น ณ ปัจจุบันจริงจริง นี่ก็แปลว่า มีโอกาสที่กระแสเทิดทูนราชวงศ์แบบหลับหูหลับตาจะหมดไปสินะเนี่ย ซึ่ง ผมมองว่าแบบนี้อันตราย เพราะว่า "ของที่ถูกยกขึ้นไว้สูง พอถูกทิ้งให้หล่นลงมา มันมีความเสียหายมากกว่า" และนี่อาจจะเป็นภัยคุกคามต่อราชบัลลังค์ตัวจริงก็เป็นได้นะ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 19:56, 27 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

๑. หมิ่นเจ้าโทษแรงกว่าหมิ่นบุคคลทั่วไปน่ะ หมิ่นเจ้าติดคุกสามปีถึุงสิบห้าปี (มาตรา ๑๑๒ ประมวลกฎหมายอาญา) ในขณะที่คนทั่วไปติดคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งสอง (มาตรา ๓๒๖) แต่ถ้าทำผ่านการโฆษณาจะเพิ่มเป็นคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งสอง (มาตรา ๓๒๘).

ที่มันแตกต่างกันขนาุดนี้ เพราะกฎหมายอาญาร่างขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้ว พอมาสมัยจอมพล ป. ก็แก้โทษกษัตริย์ให้น้อยลงอีก แล้วปัจจุบันที่โทษสูงเป็นการแก้ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (สมัยสงัด ชลออยู่) ซึ่งมีแนวคิดเทิดทูนเจ้าสืบเนื่องมาจากสมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อยู่แล้ว นักวิชาการเขาวิจัยเรื่องกฎหมายหมิ่นในบ้านเรา ล่าสุดเห็นจะเป็นบทความ ( - ) ของสมชาย ปรีชาศิลปกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มช. ที่ลงในฟ้าเดียวกัน ซึ่งอ่านง่ายหน่อย

เรื่องบทบาทของเจ้าสำหรับระบอบประชาธิปไตยนี้ หยุด แสงอุทัย นักกฎหมายจากนิติฯ มธ. เขียนไว้ถูกต้องที่สุด แล้วก็ถูกจอมพลสฤษดิ์ใช้มาเป็นข้อโจมตีจอมพล ป. จนเกิดการยึดอำนาจอีกด้วย - แต่อย่าไปอ่านคอมเมนต์ละกัน มีแต่สัตว์เลื้่อยคลานออกจากปาก 55~!

๒. เรื่องคดียึดทรัพย์รัชกาลที่ ๗ นั่น อ่านที่ศิลปวัฒนธรรมเขาเพิ่งค้นคว้าใหม่ เห็นจะเข้าใจง่ายกว่าเพื่อนด้่วย

แต่ในยุครัชกาลที่ ๗ นั่นเป็นยุคที่ประชาชนเริ่มเบื่อเจ้ากันจริง ๆ เพราะปัญหาเศรษฐกิจ และก็มีเจ้าเอารัดเอาเปรีัยบด้านภาษีด้วยน่ะ เรื่องนี้ก็ว่ากันอีกยาว ในแถลงการณ์คณะราษฎรตอนยึดอำนาจก็มีตอนหนึ่งบอกว่า จะไม่ใช่ให้เจ้ามาเหนือกฎหมายคอยรีดนาทาเร้นแบบนี้อีกต่อไป ตอนยึดอำนาจประชาชนก็เลยพากันมามุงดูกันเต็ม แล้วก็ไม่มีใครขัดขืนด้วย แต่ต่อมาฝ่ายเจ้าก็พยายามจะเรียกอำนาจจากระบอบเก่ากลับมาให้มากที่สุด มันเป็นการต่อสู้กันระหว่างสองระบอบน่ะ

อย่างรัชกาลที่ ๗ ไปเปลี่ยนข้อความในรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ว่า พอดีประชาชนพากันมาขอให้พระราชทานรัฐธรรมนูญ และพอดีกับว่าทรงเล็งเห็นอยู่แล้วว่าประชาชนของพระองค์มีสติปัญญาสมควรปกครองตนเองได้แล้ว จึงพระราชทานให้ตามมติมหาชน ซึ่งที่จริงแ้ล้วฝ่ายเจ้าไม่ได้คิดจะให้เลย เคยมีการร่างรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ซึ่งคาดว่าจะเ้ป็นประชาธิปไตย แต่กลับเป็นว่ามาตราหนึ่งว่า พระมหากษัตริย์ทรงพระราชอำนาจเป็นล้นพ้น หาที่สุดมิได้ แลพระราชอำนาจนี้ย่อมปกไปในทั่วสกล ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ ที่เปลี่ยนข้อความในรัฐธรรมนูญนั้นยังสร้างภาพที่ผิดให้แก่ประชาชนมาจนปัจจุบันด้วย ทำให้เห็นว่าคณะราษฎรเป็นฝ่ายผิด ที่จริงแล้วประชาธิปไตยในบ้านเรามาจากการต่อสู้ ไม่ใช่การมอบให้ของใครคนหนึ่ง รัชกาลที่ ๗ เองนั้นยังเขียนบันทึกไว้เลยว่า "[ระบอบประชาธิปไตยจะเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่นั้น] ตามความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าขอย้ำว่าไม่"

เรื่องอย่างนี้เหมือนที่อาจเคยได้ยินบางคนชอบพูดว่า การกระทำของคณะราษฎรเป็นการ "ชิงสุกก่อนห่าม" เป็นต้น ส่วนเรื่องฟ้องรัชกาลที่ ๗ นั่นยังไม่มีความเห็นค่ะ (เพราะขี้เกียจแล้ว 5555~!)

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑, ๒๐:๕๑ นาฬิกา (GMT+7)

วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมเสรีที่ใครจะเข้ามาแก้ก็ได้ วิกิก็เหมือนเป็นที่สาธารณะแห่งหนึ่ง เมื่อใครก็ตามที่ใช้เวลาอยู่ในที่สาธารณะก็ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดเรื่องที่จะกระทบกระทั่งกันทั้งทางร่างกายและจิตใจ ฉันคิดว่าเรื่องแบบนี้ไม่ว่าที่ไหนในโลกก็คงเหมือนกัน การใช้วิกิก็ต้องระมัดระวังไม่ให้มีความเสียหายเกิดขึ้น ตัวฉันเองเมื่อเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในวิกิก็ต้องบอกตัวเองให้มีสติเวลาใช้วิกิอยู่ตลอดเวลา การเขียนสารานุกรมก็ต้องเขียนในสิ่งที่เป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ๆ และทุกครั้งก่อนที่จะบันทึกอะไรลงในวิกิก็ต้องดูตัวอย่างซึ่งไม่ใช่แค่คำผิด แต่รวมถึงความคิดและอคติที่อาจมีอยู่ในตัวอักษรของผู้เขียน ฉันไม่อยากเห็นใครก็ตามที่อุทิศเวลาเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะต้องมีปัญหากับกฎหมาย และก็ไม่อยากให้ความรู้นำไปสู่วิกฤติแก่สังคม --Rewindery 03:26, 29 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

ยาวเฟื้อย เหมือนจะออกทะเลไปหน่อย แต่กว่าจะอ่านจบอ่านหลายรอบเลย ฮุฮุ ว่าแต่ผมว่าน่าจะมีหน้านโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาต่างหากจะเป็นการดีต่อทุกฝ่ายนะครับ ทั้ง (1) ฝ่ายที่ไม่รู้อะไร (2) ฝ่ายที่รู้ทุกอย่าง (3) ฝ่ายที่เหมือนจะรู้แต่รู้ผิด (4) ฝ่ายผู้อ่านจะได้ศึกษาไปในตัว เลยคิดว่าสร้างขึ้นมาหน้าใหม่ อาจจะไม่ต้องยาวมาก อาจจะสั้น ๆ เป็นข้อ ๆ กระชับนะครับ โดยอาจจะเป็นชื่อ วิกิพีเดีย:กฎหมายไทยในวิกิพีเดีย (หรือชื่ออื่นที่คิดออกนะครับ) ส่วนถ้าใครคิดว่า วิกิพีเดียอังกฤษยังไม่มี ก็อยากให้ย้อนอ่านหลาย ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นมานะครับ --Manop | พูดคุย 01:23, 30 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

มาร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ดีในวิกิพีเดียไทยกัน

เห็นช่วงนี้ไม่ว่าการเมืองก็เดือด สนามบินก็เดือด วิกิพีเดียไทยก็เดือด เลยคิดว่าน่าจะลดความตึงเครียดกันดีไหมครับ เหมือนที่เคยเขียน ๆ กันไว้ที่ โรงเรียนเตรียมพร้อมวิกิ

หลาย ๆ ครั้งบางบทความที่มีการโต้เถียงสูง ในส่วนเนื้อหาซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อไม่ตรงกัน ทำให้เกิดการแก้ไขกลับไปกลับมาหลายครั้ง ซึ่งทำให้เกิดบรรยากาศตึงเครียดในวิกิพีเดียได้และลามไปถึงเกิดความตึงเครียดต่อผู้เขียนวิกิพีเดียหลายคน (ดังที่ผู้ใช้ตั๋มมี่ได้เขียนไว้ในหน้าผู้ใช้) วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ ใจเย็น และ เชื่อว่าคนอื่นมีเจตนาดี ถ้าเห็นว่าข้อเท็จจริงของคนสองคนหรือมากกว่านั้นแตกต่างกัน ให้ลองพูดคุยในหน้าพูดคุย พูดคุยด้วยเหตุผลและอย่าใช้อารมณ์ ซึ่งจะทำให้ลดความตึงเครียด และผู้อื่นที่เข้ามาอ่านจะไม่รู้สึกตึงเครียดในส่วนนั้นร่วมไปด้วย ซึ่งจะทำให้บรรยากาศโดยรวมดีขึ้นไป ถ้าพบเจอผู้ใช้ที่ไม่สนใจมารยาทในวิกิพีเดีย อย่าพยายามตอบโต้ พยายามพูดคุยด้วยมารยาทแทนที่จะตอบโต้ด้วยอารมณ์

เพราะบางทีคนเถียงกันสองคน สามคน แต่คนรอบข้างก็มีความรู้สึกอึดอัด ไม่อยากมีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ไม่ว่าคนเก่า ๆ ที่เขียนอยู่เป็นปกติก็อาจจะเบื่อ หรือว่าคนใหม่ ๆ ที่ผ่านเข้ามา เห็นบรรยากาศตึงเครียด เลยอยากฝากรบกวนทุก ๆ ท่านครับ หากต้องการเถียงกันจริง ๆ อาจจะลากกันไปเถียงกันที่อื่น ไม่ว่าคุยผ่านไออาร์ซี irc://irc.freenode.net/wikipedia-th ผ่านเมสเซนเจอร์ (เถียงกันเองสองคน) หรือผ่านเว็บบอร์ด wikithaiforum.com (อย่าว่าผมมีผลประโยชน์ทับซ้อนเลย) หรือว่าที่ไหนก็ได้ครับว่าไป มาร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ดีในวิกิพีเดียไทยกันเถอะครับ --Manop | พูดคุย 12:21, 1 ธันวาคม 2551 (ICT)

เห็นด้วยครับ เถียงกันมาก ๆ ผมอ่านแล้ว เลยไม่อยากคุยกับใครเลย อยากให้บรรยากาศของวิกิพีเดีย เป็นบรรยากาศทางวิชาการที่ถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างความรู้ให้สังคมไทยมากกว่าครับ--Saeng Petchchai 17:07, 1 ธันวาคม 2551 (ICT)

ที่ดีไปกว่านั้น ให้ทำความเข้าใจกับบทความแตกต่างต้องตายของไร้สาระนุกรมครับ ๕๕๕ โฆษณาแบบนี้จะโดนลบไหมเนี่ย --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 13:46, 2 ธันวาคม 2551 (ICT)

ขอโทษนะคะที่เป็นส่วนทำให้บรรยากาศในวิกิพีเดียไม่ค่อยจะดีเท่าที่ควร ยอมรับว่าอารมณ์ร้อนไปนิด ความคิดตรงข้ามกับหลาย ๆ คน ต่างความคิดต่างอุดมการณ์แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือช่วยกันสร้างวิกิพีเดียไทยให้ดีขึ้นไปกว่านี้ ขอโทษจริง ๆ ค่ะ--Se:Rin พูดคุย – 20:27, 3 ธันวาคม 2551 (ICT)
สำหรับฉัน ฉันคิดว่าบรรยากาศที่ดีในวิกิพีเดียคือบรรยากาศที่มีการแก้ไขอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกันแก้เพื่อให้เกิดความรู้เสรีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินมากมายเพื่อซื้อความรู้ และในอนาคตอันใกล้นี้ ฉันเชื่อว่าวิกิพีเดียอาจเป็นแหล่งความรู้หลักสำหรับทุก ๆ คน ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยชรา เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เทคโนโลยีมีราคาที่ถูกลง รวมถึงเครือข่ายการสื่อสารครอบคลุมทั่วถึงทั้งในและนอกโลก และฉันเชื่อว่าสังคมจะได้รับผลประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ เมื่อช่องว่างทางความรู้แคบลงเรื่อย ๆ ก็ย่อมจะทำให้การใช้ความรู้เพื่อเอาเปรียบผู้อื่นลดน้อยลง และฉันก็เชื่อว่าการนำความรู้ไปใช้เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ จะมากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและฉันอยากเห็นมันเกิดขึ้นจริง ฉันจึงสละเวลาบางส่วนของฉันเพื่อช่วยให้วิกิพีเดียดีขึ้นและสมบูรณ์มากขึ้น แต่ภาษาไทยก็ไม่ใช่ภาษาที่ใช้ง่ายสำหรับฉัน ฉันคิดเสมอว่าภาษาไทยมีความซับซ้อน จะคิดหรือเขียนด้วยภาษาไทยทำให้ฉันต้องใช้เวลามาก และบ่อยครั้งผลที่ได้ก็ไม่ใช่อย่างที่ต้องการจะสื่อ ซึ่งมักทำให้ผู้รับสารเข้าใจผิด และยังสร้างความขัดแย้งแก่กันและกันบ่อยครั้ง เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นฉันคิดว่าสิ่งที่ควรทำก็คือ แก้ แก้ และแก้ --Rewindery 03:41, 4 ธันวาคม 2551 (ICT)
ช่วยกันแก้ไขเพื่อสร้างแหล่งความรู้ในภาษาไทยกันเถอะครับ เพราะแน่นอนย่อมมีประโยชน์ต่อทุกคนชาวไทยเป็นแน่แท้ นอกจากนี้หากมีการทะเลาะกันอาจลองทบทวนว่าสิ่งที่เกิดขึ้น เกิดจากความคิดแตกต่างเพียงแค่นั้น (เหมือนที่คุณไอ้ขี้เมาว่าไว้) หรือว่าเกิดจากความผิดพลาดของตัวข้อมูลเองครับ ที่จะช่วยกันแก้เพื่อให้ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด --Manop | พูดคุย 01:02, 6 ธันวาคม 2551 (ICT)
เราแวะมาขอบคุณชาววิกิทุก ๆ คน วิกิไทยช่วยแก้ปัญหาให้เราได้หลาย ๆ อย่างเลยนะ เราอาจจะไม่ค่อยมีเวลามากมาย แต่ก็อยากมาช่วยสร้างวิกิทุกครั้งที่มีโอกาส ขอบคุณมาก ๆ

Avoid neologisms

อันนี้คือนโยบายอะไรของเขาอะ en:Wikipedia:Avoid neologisms --Octra Dagostino 07:15, 7 ธันวาคม 2551 (ICT)

เราคิดว่า neologisms อาจจะหมายถึงคำศัพท์ที่ยังไม่มีความหมายที่แน่นอน หรือคำที่ยังไม่ถูกยอมรับเป็นมาตรฐานในการนำไปใช้สื่อความหมายในโอกาสต่าง ๆ และก็มักจะเป็นคำที่ยังไม่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรม อาจเป็นคำที่ผู้ใช้คิดขึ้นมาใหม่เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อการอธิบายความหมายของสิ่งนั้นให้ชัดเจนที่สุด สำหรับภาษาไทยอาจไม่พบเห็นคำประเภทนี้เกิดขึ้นบ่อย เพราะคำส่วนใหญ่เกิดขึ้นก่อนในต่างประเทศแล้วจึงนำมาใช้โดยเรียกทับศัพท์หรืออาจนำมาแปลให้มีความหมายเหมือนกันโดยใช้คำที่เป็นภาษาไทยเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาธรรมชาติ ดังนั้นเพื่อให้สารานุกรมเป็นสารานุกรมจึงไม่เหมาะที่จะนำเอาคำเหล่านี้มาเขียน เพราะคำส่วนใหญ่อาจจะยังไม่มีความหมายที่แน่นอนหรืออาจจะเป็นคำที่ไม่มีความเป็นกลาง เช่นคำว่า แอ๊บแบ๊ว? เกรียน? (...) เทพ? ฯลฯ การใช้ neologisms จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง เช่นใช้เพื่ออธิบายบางอย่างให้ชัดเจนมากขึ้นและควรจะมีแหล่งอ้างอิงที่มีการใช้คำเหล่านั้นตามความหมายที่ต้องการจะอธิบาย เราคิดว่าก็คล้ายกับหรืออาจจะหมายถึงคำประเภทต่าง ๆ ที่มีความกำกวมนะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.147.39.232 (พูดคุย | ตรวจ) 04:21, 11 ธันวาคม 2551 (ICT)

การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล

เนื่องจากปัญหาหนึ่งที่พบในวิกิพีเดียคือปัญหาเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของข้อมูล ไม่ทราบว่าจะมีการแก้ไขปัญหานี้อย่างไรครับ --Horus 13:14, 14 ธันวาคม 2551 (ICT)

ความน่าเชื่อถือของข้อมูลจากเว็บไซต์ จะน้อยกว่าข้อมูลจากหนังสือที่มีตีพิมพ์เป็นพื้นฐานอยู่แล้วนะครับ โดยแต่ละเว็บไซต์ก็จะมีการพยายามสร้างชื่อ สร้างความน่าเชื่อถือในรูปแบบของตัวเองโดยการใช้จุดยืนของตัวผู้เขียนที่อาจจะเป็นคนดัง คนมีชื่อเสียง หรือนักวิชาการ ซึ่งจุดนี้วิกิพีเดียจะแตกต่างออกไป เพราะวิกิพีเดียเปิดให้ทุกคนร่วมแก้ไข ซึ่งความน่าเชื่อถือของข้อมูลจะค่อนข้างขึ้นอยู่กับตัวข้อความเอง ไม่ขึ้นกับคนเขียน โดยการใส่อ้างอิงเพิ่มเติมให้เหมาะสมจะช่วยเพิ่มตรงจุดนี้ได้ครับ --Manop | พูดคุย 00:13, 16 ธันวาคม 2551 (ICT)

กินรี

อยากทราบว่ากินรีในภาษาอังกฤษใช้คำว่าอะไรคะใครช่วยกรุณาให้ข้อมูลด้วยค่ะ20:43, 15 ธันวาคม 2551 (ICT) roungthiva“

ถ้ากดเข้าดูในบทความ กินรี แล้วลองดูตรงลิงก์ด้านซ้ายล่างจะเห็นชื่อในภาษาอื่นครับ ไม่ว่า อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ อย่างไรคราวหน้ารบกวนถามคำถามที่ วิกิพีเดีย:ถามคำถาม ครับ --Manop | พูดคุย 00:16, 16 ธันวาคม 2551 (ICT)

ยุบแม่แบบ ถือลิขสิทธิ์

มีความเห็นว่าจะยุบ {{ถือลิขสิทธิ์}} เพราะเหมือนข้อความและความเห็นของผู้อัปโหลดจะเน้นไว้สำหรับใช้งานส่วนตัวนะครับ ไม่แน่ใจว่าจะยุบรวมเข้ากับอันไหนได้บ้างครับ โดยภาพที่โหลดเข้ามาในวิกิพีเดีย เท่าที่เห็นก็จะมีเฉพาะภาพที่มีโลโก้วิกิพีเดียเป็นส่วนประกอบเท่านั้น ที่จะถือลิขสิทธิ์สงวนไว้ --Manop | พูดคุย 05:01, 17 ธันวาคม 2551 (ICT)

  • ลองไปดูที่ EN Wikipedia เขาบอกเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า (ผมแปลแบบหยาบ ๆ เสริมความเข้าใจของผมไปเล็กน้อย)

    ยกเว้นในบางกรณี (Fair Use) วิกิพีเดียอนุญาตให้ใช้และแก้ไขงานได้ในทุกวัตถุประสงค์โดยไม่มีการจำกัดว่าเฉพาะการศึกษา, ห้ามใช้เพื่อการค้า (ยกเว้น CC-NC) ดังนั้นภาพที่อนุญาตให้ใช้เฉพาะในวิกิพีเดีย ควรจะถูกลบ หรือไม่เช่นนั้นก็ควรติดเป็น Fair Use แทน

    — แม่แบบ Copyright Free Use Provided ใน EN Wikipedia

ถ้าทำตามอย่างนั้นจริง สงสัยต้องยุบไปรวมกับ {{ชอบธรรม}} ละมั้ง --MaGa NosFeRaTu Chat Contribs 21:44, 19 ธันวาคม 2551 (ICT)

อาจต้องลอง ๆ ดูครับ เพราะมีแม่แบบหลายตัวที่เก่าและแทบไม่ได้ใช้ครับ --Manop | พูดคุย 03:02, 27 ธันวาคม 2551 (ICT)

จำเป็นไหม

"แม่แบบ:อุทยานดอกไม้" --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 222.123.35.117 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม สามารถแก้ไขได้ทันทีนะครับ หากคิดว่าไม่จำเป็น วิกิพีเดียเป็นระบบวิกิที่ทุกคนสร้างและแก้ไขได้ กรุณาอ่านเพิ่มเติมที่ วิกิพีเดีย:เริ่มต้น --Manop | พูดคุย 22:52, 27 ธันวาคม 2551 (ICT)
  • ผมไม่มีความเห็นครับ แต่ถ้าคิดว่ามันไม่ดูไร้สาระจนเกินไป ก็ไม่จำเป็นต้องกำจัดแม่แบบนั้นออกครับ

--lovekrittaya gwperi 21:30, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)

ผู้ดูแลระบบเพิ่ม

ช่วงนี้เห็นว่าผู้ก่อกวนเริ่มเยอะ ขณะเดียวกันผู้ดูแลระบบเริ่มน้อยลง เลยคิดว่าน่าจะมีผู้ดูแลระบบเพิ่มขึ้นดีไหมครับ จะได้สับเปลี่ยนมาเฝ้าดูวิกิพีเดียไทย รวมถึงบล็อกผู้ก่อกวน มีใครสนใจเสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแลบ้างไหมครับ ไม่ว่าเสนอชื่อตนเอง หรือเสนอชื่อผู้อื่น (อาจลองถามก่อนแล้วค่อยเสนอ) --Manop | พูดคุย 22:52, 27 ธันวาคม 2551 (ICT)

"ผม ๆ ๆ ๆ ผมอยากเป็น ผมอยากเป็น ๕๕๕๕" โดนัทต้องพูดอย่างนี้แน่ ๆ เลย ๕๕๕๕๕ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 13:32, 28 ธันวาคม 2551 (ICT)

ลึก ๆ ผมก็อยากเป็นนะครับ แต่ประสบการณ์ผมอาจยังไม่มากพอ ผมยังไม่เคยเขียนบทความไหนถึงระดับคุณภาพหรือคัดสรรสักที แปลบทความจากอังกฤษก็เรียบเรียงไม่ดีเท่าไร และส่วนใหญ่จะแก้ไขคำผิดในบทความที่คนอื่นเขียน แต่ผมคิดว่าผมเข้าใจมารยาทในวิกิพีเดีย รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก อะไรที่ผิดไปก็ไม่ทำซ้ำ ผมรู้สึกผูกพันกับวิกิพีเดียมาก ผมก็เฝ้ารอสักวันเพื่อจะได้เป็นผู้ดูแลระบบกับเขาสักที ทุกท่านว่าไงครับ--๛๛DoL--It's GoNNa Be OK๛๛ 18:16, 29 ธันวาคม 2551 (ICT)
ส่วนตัวผมนะครับ ผมเป็นผู้ดูแลของไร้สาระนุกรมอยู่แล้ว ซึ่งแต่เดิมที ก็ไม่ได้คิดว่าจะเป็นหรอก จนวันนึง โดนัทเข้ามาก่อกวน เสนอชื่อผมเป็นผู้ดูแล แล้วทุกคนก็โหวตให้ผมเป็น มันก็เท่านั้นเอง
แต่ถามว่า พอได้เป็นผู้ดูแลไร้สาระฯแล้ว มีอะไรที่พิเศษไปจากเดิมไหม ก็มีครับ แต่เพียงแค่ว่าผมสามารถลบ ล็อกบทความได้ตามใจชอบ แต่ว่า ทุกครั้งที่จะใช้อำนาจที่ว่า ต้องคิดให้ดี ๆ เลยหล่ะครับ เพราะว่า ถ้าทำไปแล้ว จะต้องตอบคำถามผู้คนได้ว่า ทำไปเพื่ออะไร? ใช่ว่า ฉันเป็นผู้ดูแลแล้ว ฉันจะทำอะไรก็ได้ เปล่าเลยครับ
นอกจากนี้ ถึงเป็นผู้ดูแลแล้ว แต่ก็ยังต้องยืนอยู่บนหลักการและเหตุผลเหมือนเดิม ใช่ว่า ข้าเป็นผู้ดูแลแล้ว ข้าถูกเสมอ
สุดท้ายนี้ นอกจากอำนาจที่ว่าแล้ว ผู้ดูแลก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากชาวบ้านเขาเลยครับ
นอกจากนี้ ถ้ามองว่างานผู้ดูแลคืองานผู้นำแล้ว ผู้นำนั้น ใช่เพียงมีตำแหน่งก็ทำได้นะครับ ในหมู่ทหารนั้น การลอบยิงจากข้างหลังนั้นมีให้เห็นในสนามรบเยอะครับ นอกจากนี้ ประเพณีของนาวิกโยธินสหรัฐฯนั้น มีคำว่า "ท้าถอดยศ" ครับ ซึ่งหมายถึงทหารผู้น้อยข้องใจในความสามารถของผู้บังคับบัญชา ก็สามารถท้าถอดยศมาดวลหมัดกันได้ครับ
ดังนั้น ก่อนจะเสนอตัวเป็นผู้ดูแล ขอให้คิดให้ดีก่อนครับว่า "จะเป็นผู้ดูแลไปเพื่ออะไร?" ครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 18:45, 29 ธันวาคม 2551 (ICT)
เห็นด้วย ผมว่าวิกิพีเดียไทยกำลังประสบปัญหา "ขาดแคลนผู้ดูแลระบบ" ครับ อย่างที่คุณธวัชชัยเคยบอกไว้ว่า

ตอนนี้มีผู้ดูแลลาออกไปแล้ว 4-5 ท่าน

แล้วการเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลระบบบางคนไม่ประสงค์เป็นผู้ดูแลครับ อีกทั้งในช่วงที่มีการก่อกวนติด ๆ กันหลายครั้ง ผู้ดูแลกลับไม่มาดูในส่วนนี้ครับ ทำให้ผมต้องมาย้อนก่อกวนเองและแจ้งผู้ดูแลให้ช่วยบล็อก ในขณะที่ผมก็ชอบตรวจสอบบทความแล้วก็มีความสนใจที่จะเป็นผู้ดูแลระบบด้วยครับ ผมว่าน่าจะเพิ่มผู้ดูแลระบบซัก 3-4 ท่านครับ จะได้สลับกันดูแลวิกิพีเดียไทยแบบไม่ขาดตอนครับ --Mopza พูดคุย-ฝากคำถาม 18:53, 29 ธันวาคม 2551 (ICT)
ความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ คือคนที่จะเป็นผู้ดูแลระบบนี่ ทุกคนสามารถเป็นได้ครับ ถ้าคนนั้นรู้ว่าวิกิพีเดียไทยเป็น "สารานุกรมภาษาไทยที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์และช่วยกันเขียนช่วยกันสร้าง" ซึ่งนอกเหนือจากความคุ้นเคยวิกิพีเดียมาระยะหนึ่ง คุ้นเคยกับระบบทั้งในด้านนโยบายและด้านเทคนิค งานผู้ดูแลระบบเองก็ไม่ต่างกับผู้ใช้ทั่วไปนะครับ เพียงแค่มีความสามารถ บล็อก ล็อก และลบ เพิ่มขึ้นมา นอกจากนี้อาจจะไปทำหน้าที่เคลียร์ปัญหาคนอื่น (ซึ่งจริง ๆ ไม่ใช่ผู้ดูแลระบบก็เข้าไปเคลียร์ได้) อาจช่วยสอดส่องพวกก่อกวน
ส่วนตัวผมเห็นว่างานผู้ดูแลจะเป็นงานเก็บกวาดซะมากกว่า ผมคิดว่าทุกคนมีสิทธิเท่ากันหมดถ้าใครสนใจอยากเป็น ไม่ว่าคุณจะเขียนบทความไม่ได้คัดสรร สะกดคำอาจจะผิดพลาดบ้าง แต่ถ้ามีความรู้สึกอยากช่วยเก็บกวาดหรือจัดการระบบนอกเหนือจากการเขียนบทความ ลองเสนอชื่อตัวเองเป็นผู้ดูแลระบบได้ครับ และสุดท้ายก็อยากฝากไว้นะครับ ว่าเป็นผู้ดูแลเองก็ไม่ได้ทำให้ตัวเองโดดเด่นขึ้นกว่าคนเขียนคนอื่นทั่วไปเท่าไรนะครับ (เห็นหลายคนชอบคิดว่าเป็นผู้ดูแล แล้วจะทำให้ใหญ่ขึ้น) เป็นผู้ดูแลคงเป็นแค่เป้าที่ใหญ่ขึ้น ให้คนอื่นด่าได้ง่ายนะครับ เนื่องจากไป ลบ ล็อก และบล็อกคนอื่น --Manop | พูดคุย 03:23, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)
ตอนนี้ผมเสนอชื่อไปแล้วนะครับ ดูที่วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล/Mopza ครับ --Mopza พูดคุย-ฝากคำถาม 03:25, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)
งานเรื่องช่วยตรวจสอบการก่อกวนไม่ใช่สำหรับเฉพาะผู้ดูแลระบบนะครับ ไม่ใช่ว่ารู้สึกว่ามีการก่อกวนเพิ่มขึ้น หมายถึงว่า วิกิพีเดีย ขาดแคลน ผู้ดูแลระบบ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็มีการจัดตั้งทีมช่วยตรวจสอบการก่อกวน รวมถึงทุกคนสามารถช่วยกันสอดส่องได้ครับ โดยจากสถิติแล้ว วิกิพีเดียภาษาไทยยังมีอัตราการก่อกวนอยู่ในระดับที่ค่อนข้างน้อย (< 3% โดยเฉลี่ย) และยังสามารถดูแลได้อยู่ครับ ประกอบกับวิกิพีเดียภาษาไทยยังมีตัวช่วยอย่าง บอตคุงและในเครือช่วยสอดส่องเรื่องการก่อกวน ซึ่งมีประสิทธิภาพลดงานด้านนี้มากกว่า 80% --Jutiphan | พูดคุย - 20:52, 2 มกราคม 2552 (ICT)
  • เรื่องเป้าที่ใหญ่ขึ้นที่คุณมานพกล่าวมานั้น ผมได้เห็นคุณ Mopza ตกเป็นเป้าขนาดค่อนข้างใหญ่มาก่อนหน้านี้แล้วครับ โดยผู้ก่อกวนได้ตั้ง username เลียนแบบ username เขา แล้วเข้ามาก่อกวนหน้าพูดคุยเขา ดังที่ปรากฏในหน้า วิกิพีเดีย:รายชื่อการก่อกวน ครับ (เป็นอีกเหตุผลหนึ่งของการโหวตของผมในครั้งนี้ด้วยครับ) --lovekrittaya gwperi 10:24, 1 มกราคม 2552 (ICT)

โลโก้วิกิพีเดียไทยใหม่

หลายคน คงเห็นแล้วนะครับ หลังจากโครงการออกแบบโลโก้วิกิพีเดียไทยผ่านไป วันนี้ทางบั๊กซิลลาเพิ่งปิดไป และได้โลโก้ใหม่ขึ้นมาแล้วทางขวาบน ฝากขอบคุณ Passawuth ที่ช่วยไปตามเรื่องในไออาร์ซีด้วยครับ --Manop | พูดคุย 12:21, 29 ธันวาคม 2551 (ICT)

ได้เปลี่ยนโลโก้ต้อนรับปีใหม่เลย (รอมา 3-4 เดือน) --Octra Dagostino 13:55, 29 ธันวาคม 2551 (ICT)

บุคคลสำคัญ

เก็บกวาดบทความเรียลลิตี้โชว์

ถูกย้ายไปที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง

บทความผู้สมัครผู้ว่าฯกทม

ถูกย้ายไปที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง

ร่วมกันสร้างทบทวนนโยบาย บุคคลสำคัญในวิกิพีเดีย

ถูกย้ายไปที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง

โครงการบำรุงรักษาคุณภาพของบทความคัดสรรและบทความคุณภาพ

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็นในการเปิดใช้ โครงการบำรุงรักษาคุณภาพของบทความคัดสรรและบทความคุณภาพ ทั้งนี้เพราะว่าผมคิดว่าจะให้อำนาจแก่ผู้ตรวจการในการตรวจสอบบทความคัดสรรและบทความคุณภาพ ซึ่งผมเห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อวิกิพีเดียภาษาไทยอย่างแน่นอน จึงขอให้ทุกท่านอภิปรายและลงความเห็นกันก่อนครับ --Horus 16:08, 4 มกราคม 2552 (ICT)

  • เห็นด้วย เห็นด้วยกับโครงการ Maintain มาก เพื่อรักษาระดับบทความคุณภาพและบทความคัดสรรไว้ ไม่อย่างงั้นบทความที่เป็น FA หรือ GA แล้วมีข้อบกพร่อง มันก็ไม่ค่อยดีอยู่แล้ว
    มีข้อเสนอแนะตรง {{มีบทความเสนอใหม่}} จำเป็นไหมที่จะต้องมีชื่อบทความเพื่อให้ Link ไปดูได้สะดวก เป็นเรื่อง ๆ ถ้าไม่มีผมว่ามันยังไง ๆ อยู่นะ --Chris Vineyard Chat Contribs 16:25, 4 มกราคม 2552 (ICT)
กำลังหาทางแก้ไขแม่แบบอยู่ครับ --Horus 16:31, 4 มกราคม 2552 (ICT)
จริงแล้วในวิกิพีเดียไม่มีผู้มีอำนาจ (หรือผู้ไม่มีอำนาจ) นะครับ ถ้าใครอยากเปิดโครงการไหนสามารถทำได้ทุกคนนะครับ ไม่ว่า หน้าโครงการ หน้าสถานีย่อย หรือแม้แต่หน้านโยบายที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมเท่าเทียมกันหมด --Manop | พูดคุย 13:16, 5 มกราคม 2552 (ICT)
คิดว่าไม่จำเป็นต้องมีป้าย "ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ" เพราะมันเว่อร์ไป เพียงแต่ถ้ามีการพบว่าบทความไหนไม่สมกับความเป็นบทความคัดสรรหรือบทความคุณภาพแล้ว (เช่น ข้อมูลไม่อัปเดต หรืออื่น ๆ) ก็ติดป้ายเพื่อให้มีการอภิปรายปลดบทความลง ถ้าสามารถปรับปรุงบทความกลับขึ้นมาได้ ก็จบ (สถานะคงเดิม) ถ้าทำไม่ได้หรือต้องใช้เวลามาก ก็ปลดสถานะลงก่อนจนกว่าจะมีการปรับปรุงแล้วค่อยเสนอใหม่ แค่นี้น่าจะพอ --Tinuviel | พูดคุย 19:12, 5 มกราคม 2552 (ICT)
น่าจะมีบอกขั้นตอนการเสนอการเสนอบทความปรับปรุง ระยะเวลาพิจารณานานเท่าไหร่ เกณฑ์ว่า ผ่านไม่ผ่านอย่างไร ผมเสนอว่าหากผู้เสนอปลด ควรระบุเหตุผล ว่า บทความ ก. สิ่งที่ควรปรับปรุง 1.บลา ๆ 2. บลา ๆ 3. บลา ๆ .... หากไม่แก้ไขตามระยะเวลา 1 เดือน (ไม่รู้นานไปรึเปล่า) ก็จะถูกปลด และน่าจะทำหน้าตา เหมือนอย่างตอนเสนอแบบบทความคัดสรร หรือบทความคุณภาพเลย ให้เป็นระบบเดียวกัน --Sry85 22:07, 5 มกราคม 2552 (ICT)
ผมคิดว่าเหตุผลที่ระบุไว้ในแม่แบบ {{ปลดสถานะบทความ}} มันกว้างไป บางทีมันอาจไม่ได้มีปัญหาครบทั้งหมด คิดว่าน่าจะปรับปรุงให้สามารถระบุสิ่งที่ควรปรับปรุงได้ชัดเจน และมี Link ไปยังหน้าข้อเสนอการปรับปรุงบทความ น่าจะดีกว่า และสำหรับป้ายผ่านการตรวจสอบ ไม่เห็นมันจะมีเลยนิ...--Chris Vineyard Chat Contribs 18:05, 6 มกราคม 2552 (ICT)
อ้าวแป่ว สับสนค่ะ ไม่ใช่ป้ายผ่าน แต่เป็นป้ายว่า อยู่ในโครงการ คือคิดว่าจะใส่ป้ายนี้ในตอนไหน พอเป็นบทความคัดสรรหรือบทความคุณภาพปั๊บก็ต้องติดเหรอ ถ้าติดแล้วแต่บทความโอเคทำไงต่อคะ เอาออก? (แล้วจะติดทำไม) คือคิดว่าบทความไหนที่มีปัญหาก็ค่อยแปะป้ายเพื่อขออภิปรายปลดบทความลง บทความไหนไม่มีปัญหาก็ไม่ต้องไปทำไรกะมัน จะได้ไม่ต้องเหนื่อยมากค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 18:51, 6 มกราคม 2552 (ICT)
จะว่าไปไปติดเข้าแล้วเอาออกถ้่ามัน Perfect อยู่แล้วมันก็ใช่ที่แหละ... น่าจะติดไว้ที่บทความที่ถูกเสนอชื่อให้ลด (ก็บทความที่มีปัญหานั่นแหละ) ก็ดีนะ แต่ทีนี้ไอ้ที่ติดไว้หมดทุกบทความคงจะเป็นการเล่นแบบ Safety First ละมั้ง --Chris Vineyard Chat Contribs 18:57, 6 มกราคม 2552 (ICT)
  • อืม เห็นด้วยครับ เป็นอันว่าไม่ต้องแปะ {{Article Maintenace}} แล้วก็เสนอให้ลิงก์ไปที่การตรวจสอบปรับปรุงบทความต่างหากนะครับ ผมอยากทราบถึงความคิดเห็นของทุกท่านเรื่องอำนาจของผู้ตรวจการครับ ไม่ทราบว่ามีความเห็นอย่างไรครับ --Horus 19:09, 6 มกราคม 2552 (ICT)
  • ขอถามความคิดเห็นของทุกท่านด้วยครับ การปลดสถานะของบทความคัดสรรอาจหมายถึงบทความคัดสรรนั้นจะต้องถูกปลดออกจากตำแหน่งบทความคัดสรรประจำเดือน (ในอดีต) ด้วย ผมอยากทราบความคิดเห็นในกรณีที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมาจริง ๆ ครับ --Horus 19:11, 6 มกราคม 2552 (ICT)
ใน EN บทความคัดสรรที่ถูกถอดออก ก็ไม่เห็นจะมีการปลดจากบทความคัดสรรประจำวันของทาง EN เลยนะฮะ เสนอว่าให้คงไว้แต่ใส่ว่าเป็น "อดีต" พอ ส่วนเรื่องอำนาจผมเข้าใจว่าผู้ตรวจการไม่น่าจะมีอำนาจมากกว่าผู้ใช้ทั่วไปในบทบาทการสนับสนุนให้ปลดหรือให้คง GA/FA ไว้ แต่จะมีบทบาทด้านการเสนอแนะเพื่อปรับปรุงคุณภาพให้กลับไปเป็น GA/FA เหมือนเดิมซะมากกว่า --Chris Vineyard Chat Contribs 19:26, 6 มกราคม 2552 (ICT)
ที่จริงแล้ว ผมสร้างโครงการนี้มาเพื่อทั้งปลดและทั้งเสนอบทความใหม่น่ะครับ เพราะว่าบทความคัดสรรเก่า ๆ จำนวนมากยังคงต้องได้รับการแก้ไขอยู่ แล้วอำนาจของผู้ตรวจการที่สามารถปลดบทความคัดสรรหรือบทความคุณภาพนั้น จำเป็นต้องคุยกันยาวเลยครับ --Horus 19:54, 6 มกราคม 2552 (ICT)
ตามปกติผู้ใช้งานวิกิพีเดียทั่วไปก็มีสิทธิที่จะเสนอหรือให้ปลดบทความคัดสรรที่ไม่ได้คุณภาพไม่ใช่หรือคะ? ถ้าเข้าใจไม่ผิดนะคะ อำนาจการตรวจสอบบทความทั้งคัดสรรและคุณภาพ ทุกคนเท่าเทียมกันหมด ไม่มีแบ่งแยกว่าผู้ใช้ท่านนั้นท่านนี้เป็นผู้ตรวจสอบโดยเฉพาะ น่าจะเรียกว่าช่วยกันตรวจสอบบทความเพื่อให้ได้คุณภาพมากกว่า เห็นหลัก ๆ เพียงไม่กี่ท่านนะคะที่ช่วยตรวจสอบบทความคัดสรรและคุณภาพ ส่วนมากจะเป็นขาประจำที่คอยตรวจสอบบทความ ให้คำแนะนำและเสนอแนะบางส่วนที่ขาดหายไป ส่วนตัวก็เห็นด้วยกับโครงการที่เสนอมา อีกอย่างการปลดบทความคัดสรรที่ได้รับการคัดเลือกและนำเสนอในหน้าหลักของวิกิพีเดียไปแล้ว ควรจะใช้คำว่าอดีตบทความคัดสรรมากกว่านะคะ เพราะอย่างน้อยบทความที่ถูกปลดก็เคยได้รับคัดเลือกจากชาววิกิพีเดียด้วยกันมา--Se:Rin พูดคุย – 20:00, 6 มกราคม 2552 (ICT)
แน่นอนครับ เพียงแต่เหมือนกับว่าผู้ตรวจการจะเป็นคนทำงานนั่งโต๊ะน่ะครับ ส่วนเรื่องการเรียกอดีตบทความคัดสรรหรือบทความคุณภาพนั้น ข้อนี้เห็นด้วยหมดใจเลยครับ (เห็นว่าหน้าบทความคัดสรรในอดีตไม่ได้ใช้ซะที) --Horus 20:07, 6 มกราคม 2552 (ICT)
พี่ว่าทุกคนก็ทำงานนั่งโต๊ะ (คอม) กันหมดแหละ ไม่งั้นจะเขียนวิกิฯ ได้ไงอะ อ่อ.. มีบางคนอาจนั่งโต๊ะ (กาแฟ) XD --Tinuviel | พูดคุย 20:19, 6 มกราคม 2552 (ICT)
ใช้คำว่า "ผู้เข้าร่วมโครงการ" น่าจะดีกว่าครับ ประมาณว่าเป็นผู้ที่เน้นทำงานในด้านนี้ แต่อำนาจก็เหมือนกับชาววิกิพีเดียคนอื่น ๆ --Portalian 20:38, 6 มกราคม 2552 (ICT)
อ่านแล้วงงนิดหน่อยนะครับ สรุปเป้าหมายโครงการนี้คือ "ปลดบทความที่ไม่ได้คุณภาพ" หรือเปล่าครับ แต่จะไม่มีทีมงานพัฒนา แก้ไข ปรับปรุงบทความให้กลับเป็นบทความคัดสรร/คุณภาพอีกครั้ง ส่วนขั้นตอนผมว่าน่าจะทำเหมือนที่คุณ Sry85 แนะนำนะครับ ให้มีขั้นตอนชัดเจน และใช้ระบบเดียวกับอันเดิม จะได้ลดความซ้ำซ้อน --Manop | พูดคุย 23:58, 6 มกราคม 2552 (ICT)
จริง ๆ มันก็มีระบุไว้นะฮะว่า "แต่ถ้าหากพบว่าสามารถที่จะแก้ไขให้บทความนั้นกลับเข้ามาสู่สถานะบทความคัดสรรหรือบทความคุณภาพได้ สามารถแก้ไขได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้เกิดการถอดบทความขึ้นก่อน" มันเหมือนกับ "ให้โอกาสในการแก้ไขบทความโดยทีมงานที่สนใจ" ซึ่งไม่น่าจะเป็นทีมเดียวกับผู้ตรวจการ (หรือทีมเดียวกันอันนี้ก็อีกเรื่อง) --Chris Vineyard Chat Contribs 11:55, 7 มกราคม 2552 (ICT)
ไม่มีขั้นตอนชัดเจนหรอกครับ ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแก้ไขเองก็ได้ครับ หรือให้ผู้ใช้คนอื่นแก้ไขก็ได้ครับ เพียงแต่ว่าผมไม่ได้ระบุเฉย ๆ --Horus 20:09, 7 มกราคม 2552 (ICT)
หน้า วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร/บทความคัดสรรที่ควรปรับปรุงใหม่ ที่มีการเสนอถอดบทความคัดสรร แต่เนื่องจากไม่มีระบุขั้นตอน เกณฑ์การประเมิน และระยะเวลาการประเมิน ทำให้หน้าดังกล่าวเดินทางมาสู่ทางตัน ยังไงฝากพิจารณาดูหน้าดังกล่าวด้วยครับ --Sry85 01:03, 8 มกราคม 2552 (ICT)
ทราบแล้วครับ ไม่ทราบว่ามีข้อสงสัยอะไรอีกหรือเปล่าครับ --Horus 11:01, 10 มกราคม 2552 (ICT)
  • ถ้าเช่นนั้น โครงการนี้จะเริ่มดำเนินการในวันที่ 16 มกราคมนี้นะครับ (ผมจะใส่เปลี่ยนหน้าให้เป็นโครงการวิกิเต็มรูปแบบ) --Horus 19:56, 14 มกราคม 2552 (ICT)

กล่องบาเบลระดับ 5

กล่องแสดงทักษะภาษาระดับ 5 จำเป็นต้องมีไหมครับ เช่น แม่แบบ:User en-5 หมวดหมู่:User en-5 เพราะว่าที่ meta ผมพบว่าสูงสุดมีเพียงแต่ระดับ 4 ส่วนถัดไปก็เป็นภาษาแม่เลย meta:แม่แบบ:User language โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าระดับ 5 ก็มีความหมายเหมือนกับระดับ 4 (ใกล้เคียงภาษาแม่) ซึ่งตอนนี้ก็มีผู้ใช้แม่แบบนี้อยู่คนเดียว --Octra Dagostino 18:11, 7 มกราคม 2552 (ICT)

: ถ้าระดับ 4 มันเป็น Near Native แล้วระดับสูงสุดควรจะเป็น Native ไม่ใช่ Profession แต่ที่มี En-5 สงสัยจะเป็นเพราะผู้ใช้คนนั้นไม่ได้เกิดในถิ่นที่มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการหรือภาษาแม่ แต่ยังไงผมก็เสนอให้ยุบไปที่ Native ฮะ --Chris Vineyard Chat Contribs 22:25, 7 มกราคม 2552 (ICT)

ไปดูที่ Meta อย่างเดียว ลึมดูที่ EN คิดว่า EN-5 เอามาจาก EN ใช้คล่องกว่า Near Native แต่ไม่ได้ใช้เป็นภาษาแม่ คิดว่าอาจคงไว้ก็ได้ แต่สำหรับ th-5 น่าสนับสนุนนะฮะ... --Chris Vineyard Chat Contribs 08:33, 16 มกราคม 2552 (ICT)
ตามความหมาย ระดับ native จะถือว่ามีความสามารถใช้ภาษาไม่ต่างจากระดับ 4 ครับ (ตาม en:WP:BABEL) ส่วนระดับ 5 จะหมายถึงว่า ใช้ภาษาเขียนแบบอาชีพ ซึ่งอาจจะเหนือ native speaker ทั่วไป (เช่น คนที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ไม่ได้จำเป็นต้องเชี่ยวชาญเรื่องการเขียนภาษาไทยหรือสะกดคำถูกต้องทุกคำก็ได้) ดังนั้น คนที่มีทักษะระดับ 5 อาจจะเป็น native หรือไม่ก็ได้ แต่ใช้ภาษานั้น ๆ แบบเป็นอาชีพ (อาจจะเป็นนักเขียน เป็นอาจารย์ อะไรแบบนี้)
อันนั้นคือตามนิยามที่เอามา ถ้าถามความเห็นผม ผมว่าวิกิพีเดียภาษาไทยไม่น่าจำเป็นต้องมีก็ได้ครับ น่าจะรวมกับ xx-4 ได้ --KINKKUANANAS 23:07, 7 มกราคม 2552 (ICT)

ขอยกอะไรมาให้ดูนะครับ ลิงก์นี้เป็นเงื่อนไขในการยื่นของวีซาอยู่ถาวรของออสเตรเลียครับ ซึ่งเขาจัดว่า ผู้ที่ีถือหนังสือเดินทางของ อังกฤษ, แคนนาดา, นิวซีแลนด์, อเมริกา และไอร์แลนด์ นั้น มีความสามารถเทียบเท่ากับผู้ที่มีผลสอบ IELTS 6 เรียกว่า Competent Level ครับ แต่ทว่า ผู้ที่มีผลสอบ IELTS 7 นั้น เรียกว่า Proficient Level ซึ่งถือว่าดีกว่า และได้คะแนนในการยื่นขอวีซาตัวนี้มากกว่าครับ ดังนั้น ผู้ที่ใช้แม่แบบ en-5 ย่อมต้องอนุมาณว่า เชี่ยวชาญทางภาษามาก ๆ เลยหล่ะครับ คือ เหนือกว่าเจ้าของภาษาทั่ว ๆ ไปหน่ะครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 23:20, 11 มกราคม 2552 (ICT)

น่าจะมี th-5 ด้วยนะ เพราะคนไทยที่เขียนภาษาไทยออกมาอ่านไม่รู้เรื่องเลยมีเยอะแยะไป --Tinuviel | พูดคุย 00:25, 12 มกราคม 2552 (ICT)
สนับสนุนไอเดียครับ th-5 --Manop | พูดคุย 00:28, 12 มกราคม 2552 (ICT)
  • แต่ส่วนมากแล้ว จะเป็นตัวเจ้าของหน้าผู้ใช้เองที่จะใส่ th-3, th-4, th-n, และอื่น ๆ ผมเลยคิดว่าอาจจะมีบางคน เขียนหน้าผู้ใช้เกินจริง เช่น ใส่ว่าเป็น th-5 ทั้งที่คนอื่นเห็นว่าไม่น่าจะถึงครับ --lovekrittaya gwperi 00:37, 19 มกราคม 2552 (ICT)

ปีดาราศาสตร์สากล

อันเนื่องมาจาก ปี ค.ศ. 2009 นี้ เป็นปีดาราศาสตร์สากล ฉลองการคว่ำคติเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล (โคเปอร์นิคัส เดอะ เกรท.. เยส!!) จึงใคร่ขอเสนอให้วิกิพีเดียมีกิจกรรมอะไรเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่วิทยาการด้านดาราศาสตร์แก่ผู้อ่านโดยทั่วไป ไม่ทราบว่าจะเห็นเป็นประการใดเจ้าคะ (ปล. จริง ๆ จะหาคนมาช่วยเขียนนั่นเอง แฮ่ ๆ ๆ) (ปปล. จริง ๆ ดาราศาสตร์เนี่ย มันสนุกมากเลยนะ ไม่ชอบกันเหรอ >_<) --Tinuviel | พูดคุย 00:29, 12 มกราคม 2552 (ICT)

ขึ้นหน้าแรก "รู้ไหมว่า" เลยครับ น่าสนใจดีครับ (ผมเองเพิ่งรู้) อยากช่วยเขียนครับแต่ความสามารถด้านท้องฟ้าและดาราน้อยนิด รู้จักแต่ดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ -_-" นอกจากนี้ทำพวกแบนเนอร์ ปุ่ม ป้าย อะไรไว้ก็ดีนะครับ เผื่อคนอื่นจะได้ไปโปรโมตใน เว็บบอร์ด บล็อก หรือทวิตเตอร์ได้ ผมลองทำเล่น ๆ ภาพนึงครับ (แต่ไม่แน่ใจว่าติดลิขสิทธิ์ยังไงหรือเปล่า) แล้วลองเอาไปแปะในบล็อกผมที่ http://itshee.exteen.com (ด้านขวา) โดยผมลิงก์กลับมาที่หน้าโครงการดาราศาสตร์ เผื่อจะมีเด็ก ๆ คนอื่นสนใจตามมาช่วย แต่ไม่แน่ใจว่าหน้านั้นต้องมีประกาศอะไรเพิ่มหรือเปล่าครับ --Manop | พูดคุย 01:25, 12 มกราคม 2552 (ICT)
อยากทำหน้าโครงการกับหน้าสถานีย่อยให้สวย ๆ เหมือนกันแหละ แต่ทำไม่เป็นอะ ความสามารถด้านศิลปะเกือบเป็นศูนย์ -_-" --Tinuviel | พูดคุย 12:14, 12 มกราคม 2552 (ICT)

ลองทำมาดู << กด ๆ --aquashagreenlatte ไฟล์:WikiBotany tap.png 19:40, 12 มกราคม 2552 (ICT)

ขอบคุณค่ะ ขอทดลองใช้ (ทำให้รูปเป็นลิงก์ไปสถานีย่อยได้หรือเปล่าคะ ทำยังไงอะ) --Tinuviel | พูดคุย 14:07, 13 มกราคม 2552 (ICT)
ลองทำมาดูมั่งครับ [1] เปลี่ยนจากสีดำทะมึนเป็นสีเทาเงินเหลื่อม ๆ ถ้าดูในไฟร์ฟอกซ์แล้วมันจะมีขอบโค้งให้ด้วยครับ --Manop | พูดคุย 00:16, 13 มกราคม 2552 (ICT)
สวยดีค่ะ :D เดี๋ยวอาจจะขอทดลองทำอะไรดูหน่อยนะคะ คิดว่าตรงส่วนของ ปีดาราศาสตร์สากล น่าจะเป็น Event พิเศษ ไม่ใช่ รู้ไหมว่า คืออาจจะทำเป็นแถบยาว ๆ เหมือนตรงแถบ "สถานีย่อยดาราศาสตร์ประจำวิกิพีเดียไทย" และอาจจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ Event สำคัญในปีนี้ แล้วพอถึงปีหน้าก็ค่อยเอา banner อันนี้ออกไปเลยทั้งแผงน่ะค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 14:07, 13 มกราคม 2552 (ICT)
ขอบคุณครับ b^_^p ถ้าต้องการแก้ตรงไหนบอกได้นะครับ แล้วถ้าลงตัวแล้วจะได้นำมาลงทับอันเดิมของหน้าสถานีเก่าด้วย --Manop | พูดคุย 22:03, 13 มกราคม 2552 (ICT)

เก็บกวาดบทความสถานศึกษา

ดูที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:โครงการวิกิสถานศึกษา