วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/กรุ 3
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
กรุ 1 | กรุ 2 | กรุ 3 | กรุ 4 | กรุ 5 | → | กรุ 10 |
1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27 |
แหล่งข้อมูล ชีวประวัติ
ประวัติบุคคล จาก สำนักข่าวไทย วิกิพีเดีย:แหล่งความรู้ที่เผยแพร่#ชีวประวัติ -- bact' คุย 23:35, 8 มกราคม 2006 (UTC)
เปลี่ยนอังกฤษ เป็นภาษาไทย
ผมเสนอว่า น่าจะเปลี่ยนภาษาอังกฤษ เป็นไทย สำหรับคำ template, category, redirect. เหมือนกับคำว่า "ภาพ", "ผู้ใช้..." ไม่ทราบว่าท่านอื่นเห็นอย่างไรครับ
- ผมว่าน่าจะดีเหมือนกัน พวกคำสั่งต่าง ๆ เวลาคนอ่านแล้วจะได้เข้าใจง่าย อย่างเวลาพิมพ์ [[Category...]] พิมพ์ภาษาไทย เช่น [[หมวดหมู่:...]] แทน เหมือน ของวิกิภาษาเยอรมันเค้า น่าจะดีเหมือนกัน ส่วนอันไหนที่ทำไปแล้วก็ ซักพักคงมีคนเขียนบอตได้คล่อง มาช่วยเขียนบอตแก้ไป --Manop | พูดคุย - 01:44, 17 มกราคม 2006 (UTC)
- สำหรับคำที่เกี่ยวเนื่องกับเนมสเปซ (เช่น template, category, image ฯลฯ) เมื่อแปลเนมสเปซเป็นภาษาไทยแล้วจะสามารถใช้ภาษาไทยแทนได้ทันที แต่สำหรับ redirect ซึ่งเป็นคำสั่งในมีเดียวิกิ อันนี้อาจจะแก้ไม่ได้ครับ -- PaePae 13:00, 29 มกราคม 2006 (UTC)
วิกิประเทศไทย
เห็นว่ามี สถานีย่อย:ประเทศไทย (ถ้ายกตัวอย่างในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ก็คงประมาณ en:Portal:India) กับแม่แบบ {{วิกิประเทศไทย}} (ซึ่งมันจะไปแสดงคำว่า "สารานุกรมประเทศไทย" อยู่ตรงมุมขวาบนของหน้า, ถ้าใครเคยเห็น "สารานุกรมการ์ตูน" น่ะแหละ ที่เดียวกันเลย) เลยระดมใส่ไปเยอะอยู่ (จังหวัด วัด ถนน ราชวงศ์ และบุคคลไทย ประมาณนี้ แต่ยังไม่หมด) คุณ Manop ทักมาว่า น่าจะหารือก่อน
ลองหารือวิธีก่อนดีมั้ยครับ ไม่งั้น เดี๋ยวประมาณครึ่งนึง อาจจะต้องติดป้าย วิกิประเทศไทย ซะงั้น ลองดูตัวอย่าง โครงการ -- โครงการแม่ -- โครงการลูก ของ วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ
- (เพิ่มเติม) อีกอย่างนึง portal: ประเทศไทย ก็คิดว่า ไม่ active แล้วเหมือนกัน
--Manop | พูดคุย - 21:59, 20 มกราคม 2006 (UTC)
คือผมก็ยังนึกไม่ออกเท่าไหร่ ว่าจะถามอะไรดี - - อืม เอาเป็นว่า
- แม่แบบ {{วิกิประเทศไทย}} เนี่ย ควรจะใส่ที่หัวข้อประเภทไหนมั่ง ?
- ที่นึกได้ก็ สถานที่ในประเทศไทย (จังหวัด, เขต, วัด, ถนน, ..) บุคคลไทย (กษัตริย์, นายก, พระ, ..) อาหารไทย (มีนิดเดียว) เหตุการณ์ในประเทศไทย (14 ตุลา, สึนามิ?, ..) วรรณกรรมไทย (อิเหนา, รามเกียรติ์) และอะไรก็ตามที่มันไทยน่ะ (บางอันยังไม่ได้ใส่ไปจริง ๆ แต่ไอเดียมันคืออย่างนั้นน่ะ)
- แล้ว (อย่างที่คุณ Manop ห่วง) มันจะเยอะไปมั๊ย ? หรือไม่เป็นไร ขอให้มันเกี่ยวก็พอ ?
- สถานีย่อย:ประเทศไทย ยังมีความเคลื่อนไหวกันอยู่รึเปล่า ?
- ถ้าไม่เคลื่อนไหว จะมีผลอะไรต่อการใส่หรือไม่ใส่ {{วิกิประเทศไทย}} มั๊ย ? หรือไม่เกี่ยวกัน ?
อืมม เท่านั้นมั้งครับ
คือเท่าที่ผมมอง
- สถานีย่อย:ประเทศไทย นี่คงตั้งใจให้เป็น หน้ารวมสำหรับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศ/ดินแดน/ชาติ/คน/วัฒนธรรมไทย (ลักษณะ en:Portal:India)
- วิกิพีเดียภาษาไทย ทุกอย่างในโลก (และนอกโลก) ด้วยภาษาไทย (ลักษณะ hi:Main Page)
-- bact' คุย 22:32, 20 มกราคม 2006 (UTC)
เนื้อหาของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็น GFDL
ผมเพิ่ม ลิงก์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน http://www.midnightuniv.org/ ลงใน วิกิพีเดีย:แหล่งความรู้สาธารณะ นะครับ เนื้อหาทั้งหมดเป็น GNU Free Document License (เหมือนวิกิพีเดีย) สามารถนำมาใช้ได้ทันที -- bact' คุย 19:51, 23 มกราคม 2006 (UTC)
- ไม่น่าเป็น GFDL นะครับ ตามในเว็บที่เขียนไว้น่าจะเป็น CC-Attribution-Share Alike ซะมากกว่า --Manop | พูดคุย - 22:13, 23 มกราคม 2006 (UTC)
- afaik know, there's no page in Midnight Univ that's CC. but anyway, it seems like there're confusions in copyright/license stuffs, as some of the pages mentioned they are all public domain, but at the same time some of them said they are copyleft (which, they cannot be both). ve asked them in their webboard, hope there will be someone can come up with a clear answer http://board.dserver.org/m/midnightuniv/00002367.html thx a lot anyway for your spotting -- bact' คุย 10:49, 24 มกราคม 2006 (UTC)
- in this while, i think we may still use some of their great articles, since many of them said they are either "public domain" or "copyleft".
- for instances, [1] [2] [3] -- bact' คุย 10:55, 24 มกราคม 2006 (UTC)
ติดภาพร่วมเฉลิมฉลอง เดือน มิ.ย.
มีไอเดีย ติดป้ายตลอดเดือนครับ ร่วมเสนอความเห็นได้ที่ พูดคุย:งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙ --Manop | พูดคุย - 20:56, 18 พฤษภาคม 2006 (UTC)
นโยบายใหม่ Semi-Protect
Semi-Protect เห็นว่าตอนนี้ในวิกิพีเดียฉบับภาษาอังกฤษ กำลังตั้งนโยบายนี้กันอยู่ สรุปประมาณว่า จะมีการล็อกหน้าแบบพิเศษขึ้นมา คือคนที่เขียนได้จะต้องล็อกอิน และ/หรือ ต้องใช้วิกิพีเดียมาอย่างน้อยกี่วัน หรือเขียนอย่างน้อยกี่ข้อความนะครับ อ่านรายละเอียดเต็มได้ที่ en:Wikipedia:Semi-protection policy --Manop | พูดคุย - 01:26, 18 ธันวาคม 2005 (UTC)
semi-lock บทความคัดสรร ??
ทำเหมือนของบทความภาษาอังกฤษนะครับ เพิ่งเห็นว่า มีคนลบไปหมดเลยเป็นหน้าว่าง [4] --Manop | พูดคุย - 20:44, 27 มกราคม 2006 (UTC)
แหล่งอ้างอิงเรื่องกฎหมาย
- Public Law Net เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย - มี ห้องสมุดกฎหมาย รัฐธรรมนูญในอดีตและปัจจุบัน พระราชบัญญัติ ข้อกฎหมายอื่น ๆ รวบรวมคำวินิจฉัยของศาล คำศัพท์กฎหมาย และสาระกฎหมายอื่น ๆ พร้อมลิงก์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้อง - ตัวกฎหมายและคำวินิจฉัยของศาลนั้น เป็นสาธารณสมบัตินำมาให้ได้ทันที ส่วนเนื้อหาอื่น ๆ ให้ดูลิขสิทธิ์เป็นรายชิ้นไป
- กลุ่มวิจัยพัฒนากฎหมายคดีความและนิติการ กระทรวงศึกษาธิการ รวบรวมกฎหมายทุกอย่างที่เกี่ยวกับการศึกษา (กฎหมายหลัก, พ.ร.บ., ระเบียบ ข้อบังคับ, กฎ, ประกาศ, คำสั่ง, หนังสือเวียน)
- thailaw.com รวบรวมกฎหมาย โดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษี การค้า มีประกาศของคณะปฏิวัติ และกฎหมายอื่น ๆ ด้วย
เพิ่มไว้แล้วใน วิกิพีเดีย:แหล่งความรู้สาธารณะ และ วิกิพีเดีย:แหล่งความรู้ที่เผยแพร่--bact' คุย 13:57, 28 มกราคม 2006 (UTC)
บางบทความควรมีการอัปเดต
บางบทความควรได้รับการอัปเดตนะครับอย่างเช่น พวกประเทศต่าง ๆ เรื่องจำนวนประชากร ลำดับ เรื่องประวัติ และบางอย่างควรจะได้รับการอัปเดตนะครับ
การก่อกวน / Vandalism
ผู้ใช้:2T กรุณาระมัดระวังการใช้ภาษา้ด้วยครับ
- ในหน้าประวัติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่ละคน มีการแทรกข้อความ "แก๊งกวนตีน" ฯลฯ เข้าไปในคำอธิบายรูป [5] [6] [7] [8]
- อันนี้ไม่เกี่ยวกับการก่อกวน แต่อยากถามว่า มีความเหมาะสมแค่ไหน กับการเอาที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ส่วนบุคคลมาลงในวิกิพีเดีย
-- 172.176.104.72 07:33, 21 เมษายน 2006 (UTC)
- เพิ่งเห็นครับ เดี๋ยวตามแก้ให้ครับ --- Jittat 13:56, 10 พฤษภาคม 2006 (UTC)
- คิดว่าที่อยู่นี่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ไม่น่าจะเกี่ยวกับเนื้อหาหรือประเด็นที่ทำให้บุคคลดังกล่าวอยู่ในสารานุกรมนะครับ --- Jittat 14:14, 10 พฤษภาคม 2006 (UTC)
Namespace
ตอนนี้มีปัญหาเรื่อง บอต ทำงานและเข้าไปแก้ไขข้อความในหน้า [[วิกิพีเดีย:.....]] เพราะถือว่าเป็นส่วน namespace บทความ (ตอนนี้ namespace โครงการอยู่ที่ [[วิกิพีเดีย:....]] ลองมาถามดูเผื่อคนอื่นมีไอเดียว่าจะแก้ไขอย่างไรดีครับ --Manop | พูดคุย - 17:58, 19 เมษายน 2006 (UTC)
เกี่ยวกับการลบ (เสนอให้ร่วมกันพิจารณาแนวทาง)
- ถ้าส่วนนี้ สรุปได้ให้นำไปเขียนสรุปในหน้า วิกิพีเดีย:นโยบายในการลบบทความ
เห็นคุยกันด้านบนเกี่ยวกับการลบ (ตรง#หน้าที่ถูกลบ) แล้วก็เห็นคุณ Manop ก็พยายามทำตามที่คุณ Ans เสนอมานะครับ ทีนี้ผมเสนอให้เราลองดูบทความ Wikipedia:Deletion policy ของภาษาอังกฤษ ซึ่งจะมีการพยายามแยกแยกประเภทของบทความที่ควรถูกลบ พร้อมทั้งเวลาโดยประมาณสำหรับการรอให้มีการพูดคุย ในกลุ่มนี้มีเรื่องของ speedy deletion (ดู Wikipedia:Speedy deletions) ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอการพูดคุย ถ้าบทความเข้าข่ายลักษณะดังกล่าวก็ลบได้เลย หรือถ้าแจ้งลบแล้วผู้ดูแลก็ลบได้เลยไม่ต้องรอ
ทีนี้ลองมาดูกันไหมครับ ว่าอันไหน ส่วนไหนจะปรับปรุงเข้ามาใช้กับของเราได้ เพื่อประสิทธิภาพในการเขียนและตรวจสอบแล้วก็การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ทุกคนน่ะครับ (ถ้าคุยกันเยอะเดี๋ยวจะได้ไปเปิดเป็นหน้าใหม่เลย) ขอบคุณครับ --- Jittat 01:50, 16 พฤษภาคม 2006 (UTC)
- ดีดีครับ ผมว่าร่วมกันเขียนนโยบายขึ้นมาครับ ส่วนตัวผมลบ/เสนอลบ สำหรับ (1) บทความที่สร้างมาแล้วเป็นหน้าว่าง (2) บทความที่มีแค่ชื่อบทความ (3) บทความที่มาโฆษณาขายของ (4) บทความที่มีแต่ลิงก์ไม่มีเนื้อหา --Manop | พูดคุย - 04:50, 18 พฤษภาคม 2006 (UTC)
- เดี๋ยวผมจะติดธุระ คงจะหายไปสักอาทิตย์นึงนะครับ กลับมาแล้วจะมาช่วยทำต่อครับ --- Jittat 15:46, 18 พฤษภาคม 2006 (UTC)
- ผมคิดเห็นด้วยกับคุณ Manop เป็นส่วนใหญ่นะครับ ขอแถม editing experiment (ทดลองแก้) อีกอันนึงครับ อันนี้ก็เยอะ แต่ "บทความที่มีแต่ลิงก์ไม่มีเนื้อหา" หมายถึงลิงก์ภายนอกหรือภายใน ถ้าภายในมันจะไปปนกับ "รายชื่อ" หรือเปล่าครับ -- ผมว่า โฆษณา ควรจะต้องพูดคุยก่อนนะครับ ว่าเข้าข่ายเพียงใด แก้ไขเนื้อหาได้หรือไม่ --Wap 16:07, 18 พฤษภาคม 2006 (UTC)
- บทความที่มีแต่ลิงก์ผมลบไปเยอะเหมือนกัน (ลิงก์ไปเว็บอื่นนะ) ตัวอย่างเช่น โรงเรียน กขค แต่ทั้งหน้า ไม่มีเนื้อหามีเพียงข้อความว่า "อ่านได้ที่เว็บไซต์โรงเรียน" หรือ "อ่านได้ที่เว็บไซต์ชมรมศิษย์เก่า" นะครับ--Manop | พูดคุย - 20:56, 18 พฤษภาคม 2006 (UTC)
- เพิ่มครับ พอดีเพิ่งเจอ ฝากดูที่ โรงเรียนบางกะปิ (ประวัติหน้า) เป็นกรณีศึกษาครับ --Manop | พูดคุย - 17:13, 19 พฤษภาคม 2006 (UTC)
- บทความที่มีแต่ลิงก์ผมลบไปเยอะเหมือนกัน (ลิงก์ไปเว็บอื่นนะ) ตัวอย่างเช่น โรงเรียน กขค แต่ทั้งหน้า ไม่มีเนื้อหามีเพียงข้อความว่า "อ่านได้ที่เว็บไซต์โรงเรียน" หรือ "อ่านได้ที่เว็บไซต์ชมรมศิษย์เก่า" นะครับ--Manop | พูดคุย - 20:56, 18 พฤษภาคม 2006 (UTC)
- เอามาฝากอีกอันพิจารณาครับ พุทธสถานสันติอโศก --Manop | พูดคุย - 14:42, 26 พฤษภาคม 2006 (UTC)
- เห็นด้วยกับคุณ Manop ในข้อ 1, 2, 3 ครับ -- สำหรับการลบทันที ไม่ต้องรอ
- สำหรับกรณีที่ 4 ควรจะมีเรื่องของระยะเวลามาเกี่ยวข้องด้วย ว่าคนเริ่มบทความ อาจจะกลับมาเขียนอีกหรือไม่ หรือผู้ใช้คนอื่น ๆ ที่ผ่านไปมา จะสามารถช่วยให้กลายเป็นโครงหรือมากกว่านั้นได้หรือไม่
- อาจจะขึ้นเป็นป้ายเตือนไว้ด้านบน และหลังจากกำหนดระยะเวลาหนึ่งแล้ว ก็ค่อยลบ
- -- bact' คุย 03:18, 19 พฤษภาคม 2006 (UTC)
- ผมว่าเราควรเพิ่ม กล่องข้อความ ประเภทตรวจสอบ อีกประเภทครับ คือประเภทโฆษณา. ผมเคยเห็นป้ายนี้จากบทความหนึ่ง ตอนนี้หาไม่เจอ กำลังจะใช้พอดี --Jutiphan | พูดคุย - 08:52, 5 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
บทความตัวเลข
อยากสอบถาม บทความเกี่ยวกับตัวเลข หลัง ๆ เริ่มเห็นว่ามีเยอะขึ้นมาเรื่อย ๆ แต่ไม่มีเนื้อหา ไม่รู้ว่ามีนโยบายจัดการอย่างไรกันบ้างครับ --Manop | พูดคุย - 00:58, 1 มิถุนายน 2006 (UTC)
Bangkok Business newspaper and Thai Wikipedia (HELP PLEASE)
I receive the message from my teacher that the Bangkok Business newspaper want to publish some articles about Thai wikipedia. Then he want me to write an article/interview. But the main problem is I can't type thai font at this time! (also, I know that many of you can write far better article, than I could) Could anyone please write the article to promote our community? The newspaper shall also publish the writer's name (I will not take any credit). Or we can discuss/help about the article together (wiki). Here is the details: -- จุง 13:12, 3 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- at least I shall this page to him first วิกิพีเดีย --จุง 13:27, 3 กรกฎาคม 2006 (UTC)
Hi,
I hope you are doing well. Today I have something to ask for a favor. The Bangkok Business newspaper called me yesterday because they heard something about Thai Wikipedia that I told some other people. I haven't done written anything there and I have little time to go there. But there is a columnist that is interested in writing something about it to promote the website. I don't have the information first hand and you are already gone. So I don't know whom I can send you.
Would it be possible if we have an "e-mail interview" from you? Here is the list of questions that they want an answer. If you have time, please write them in Thai and I will forward it to the newspaper. Of course, I will not take your credit. I will put your name on the article.
1. how did it start ? (ที่มาที่ไป) 2. Purpose of the website (จุดมุ่งหมาย) 3. How do you compare Thai wikipedia with other countries (เทียบกับของประเทศอื่น ถือว่าเป็นอย่างไร) 4. What else do you want it to happen? (อยากให้มีอะไรอีก) 5. anything you like to say or to add
I think it is better for the purpose of the newspaper if you can write them in Thai. They ask me if it is possible to get an answer from you by Monday. I said I would try.
Please give your best shot to promote this website on a Thai national newspaper.
Best regards, Wicharn
คุณพิมพ์ไทยผ่านคีย์บอร์ดเสมือน ได้จากเว็บ http://chaimai.com/thai_keyboard.php?lang=th ครับ พิมพ์ลง text box แล้ว ก๊อปปี้มาลงเมลคุณ Liger (~ /|\ ~ ) 14:26, 3 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- รีบมากรึเปล่าครับ อาจต้องช่วยกันเขียน เอกสารสำหรับสื่อมวลชน --Pi@k 04:22, 4 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- Thanks khun Liger krab for visual keyboard krab; To khun Pi@k, it seems like the journalist want to publish the article within this week. My teacher asks me for phone number of some wikipedian I know in Thailand (hence, it should be a bit hurry); I'll try to contact user:Jittat. But I agree that it'd be best if we can write together. จุง 15:45, 4 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- Or perhaps we shall try to provide the standard article for journalist? (just like standard greeting page) จุง 15:46, 4 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- Thanks khun Liger krab for visual keyboard krab; To khun Pi@k, it seems like the journalist want to publish the article within this week. My teacher asks me for phone number of some wikipedian I know in Thailand (hence, it should be a bit hurry); I'll try to contact user:Jittat. But I agree that it'd be best if we can write together. จุง 15:45, 4 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- ถ้าเรื่องเขียน ๆ ลองถาม ผู้ใช้:Jittat ดูครับ ถ้าไม่ยุ่งคงช่วยได้ ข้อมูลทั่วไป, ซึ่งน่าจะตอบบางคำถามได้, ดูได้ที่ วิกิพีเดียภาษาไทย -- 172.176.187.67 00:36, 20 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- ไม่ได้ตามวิกิมาสักพัก เลยเพิ่งเห็นน่ะครับ ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้ติดต่อหรือสอบถามข้อมูลจากผู้ใช้คนอื่น ๆ ตกลงทางหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเขาติดต่อมาสัมภาษณ์ ผมก็ไปพูดคุยกับเขา ผมเพิ่งเห็นบทความ "วิกิพีเดีย ห้องสมุดสุดขอบโลก" วันนี้น่ะครับ คือผมไม่ได้พยายามที่จะโปรโมตวิกิพีเดียภาษาไทยสักเท่าไหร่ ผมพยายามจะบอกเขาว่าผมตอบไปตามความเห็นของผมน่ะครับ คิดว่าบทความก็น่าจะออกมาทำนองนั้น ทางผู้เขียนเองจากการพูดคุยก็ทำการบ้านมาดีนะครับ คือเขามีประเด็นเรื่องต่าง ๆ (เช่นความถูกต้อง-ความขัดแย้ง) อะไรพวกนี้อยู่บ้างแล้ว ส่วนข้อมูลของคุณมานพตอนท้ายบทความนั่น (ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับลูกสาวตัวน้อย!) ผมพูดประมาณว่าหลาย ๆ คนก็เชื่อถึงประโยชน์ของวิกิพีเดียประมาณนั้น โดยยกตัวอย่างคุณมานพ ว่าทำงานหนักมากเพราะต้องการเห็นความรู้เผยแพร่อย่างเสรี ส่วนเรื่องลูกสาวนี่ผมก็เพิ่งจะเห็นในบทความนี่แหล่ะครับ (คนเขียนอาจหาข้อมูลเพิ่มเอง หรือไม่ผมก็พูดไม่รู้เรื่องจนเขาเขียนออกมาผิด) ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยมาไว้ที่นี้ด้วยนะครับ --- Jittat 20:04, 20 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- โอ้ว จอร์ด! ผมเจอแล้ว คนเขียนเขาอ้างอิงบทความจากที่ onopen ย่อหน้าสุดท้ายเป็นความเห็นของจิมมี่ เวลส์ ที่บอกว่าให้มีตำราเรียนฟรี และลูกสาวตัวน้อย (ของเวลส์)... ในบทความนั้นมีความเห็นอื่น ๆ ของคุณมานพอยู่ด้วย ผมคิดว่าเขาคงเขียนจนไปปนกันน่ะครับ (เดี๋ยวจะลองติดต่อคนสัมภาษณ์ดูนะครับ ว่าแก้ไขได้หรือเปล่านะครับ) --- Jittat 20:11, 20 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- เคยมีประสบการณ์ให้สัมภาษณ์นักข่าวเหมือนกันครับ (ไม่ใช่เรื่องวิกิพีเดีย) ถ้าเป็นนักข่าวที่รู้จักหน่อยก็จะขออ่านก่อนเอาไปพิมพ์ ส่วนที่มาสัมภาษณ์ประเดี๋ยวประด๋าว มักจะตีความคำพูดเราผิด --Pi@k 02:13, 21 กรกฎาคม 2006 (UTC)
บทความที่ต้องการ (จากการค้นหา)
พอดีได้ไอเดียมาว่า น่าจะเริ่มเขียนบทความ จากคำที่คนไทยชอบค้นหากัน จะได้เหมือนโปรโมตไปในตัว แต่ติดปัญหาที่ว่าไม่รู้ว่าคีย์เวิร์ดไหน คนไทยค้นหามากที่สุด แต่ค้นเจอมาว่าที่ Truehis.net มีสถิติข้อมูลไว้ แต่ต้องให้สมาชิกที่จ่ายเงินถึงดูได้ ถ้าใครเป็นสมาชิก ฝากดูด้วยนะครับ เปิดเจอมาว่า คีย์เวิร์ดที่ค้นหามากที่สุดของ
ต.ค. 48 | 12 ก.พ. 49 | 3 มี.ค. 49 | 11 ก.ค. 49 |
---|---|---|---|
เห็นว่าล่าสุด แดจังกึม ขึ้นอันดับมาเหมือนกัน--Manop | พูดคุย - 20:24, 17 มกราคม 2006 (UTC)
สภากาแฟของจริง
ผู้ใช้วิกิในกทมและปริมณฑล น่าจะนัดพบปะกันบ้างนะครับ จะได้พูดคุยกันบ้าง ผมพลาดไปสองครั้ง ไม่ทราบว่าใครมีไอเดียยังไงบ้างครับ --ธวัชชัย 14:45, 3 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- เอาเป็นอย่างน้อย 3 เดือนที วันที่เอาตามสะดวก ดีมั๊ยครับ (เริ่ม ก.ค. นี้ อีกที ต.ค. - ม.ค. - เม.ย. - แล้ววนมา ก.ค. อีกที คร่าว ๆ) :P เดือน ต.ค. User:Markpeak จะจัดงาน Blognone เผื่อไปแปะด้วยได้ :P -- 172.173.229.47 15:00, 3 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- เข้าทีครับ งั้นขอเสนอคร่าว ๆ ก.ค. มีวันหยุด 10 อาสาฬหบูชา และ 11 เข้าพรรษา วันไหนสักวัน ประมาณนี้จะเร็วไปไหม --ธวัชชัย 15:12, 3 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- นึกต่อ (ฝัน) 23 ต.ค. วันปิยะ (15 ห้าม ไปเลือกตั้งซะ :P), ม.ค. นี่ไม่แน่ใจ, 6 เม.ย วันจักรี --172.173.229.47 15:26, 3 กรกฎาคม 2006 (UTC)
แล้วเดือนกรกฏาตกลงวันไหนล่ะเนี่ย?--明 アキラ - คุย 04:02, 9 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- รอดูอีกสักหน่อย ตอนนี้ยังหาแนวร่วมยังไม่ได้ ;) --ธวัชชัย 14:57, 10 กรกฎาคม 2006 (UTC)
อยากไปด้วย แต่อยู่เมืองนอก ช่วงนี้ Liger (~ /|\ ~ ) 14:33, 14 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- ถ้าจะเงียบซะแล้ว ^_^ สงสัยต้องเปลี่ยนจากสภากาแฟ เป็น ลานเบียร์ --Manop | พูดคุย - 17:47, 19 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- งั้นนัดใหม่เป็นช่วงต.ค. เลยไหมครับ? จะได้นานหน่อย... (คุณ Bact' จะกลับมายัง?) เอ.. ผมกลับรู้สึกว่าเสาร์-อาทิตย์ช่วงที่ตรงกับวันหยุดเราไม่น่าจะนัดนะครับ (เพราะว่าหลาย ๆ อาจจะไปเที่ยว หรืออะไรพวกนี้) --- Jittat 20:15, 20 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- สนับสนุนความคิดลานเบียร์ของคุณ Manop ครับ -- 172.173.66.36 14:16, 25 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- โอเค ไอเดีย ลานเบียร์มาก ๆ ตุลาคม อยู่เมืองไทยครึ่งเดือน น่าจะได้แจม Liger (~ /|\ ~ ) 15:45, 11 สิงหาคม 2006 (UTC)
เปลี่ยนป้ายช่วยเหลือ ในวิกิพีเดีย
แม่แบบตัวละคร
ลองทำ แม่แบบลิขสิทธิ์ตัวละคร แม่แบบ:ตัวละคร เห็นของวิกีไทยยังไม่มีครับ ไม่แน่ใจว่ามันใช้ได้ไหมครับ เลยให้ผู้รู้ตรวจสอบหน่อยครับ แล้วถ้ามันสมบูรณ์แล้วก็ไม่รู้ไปใส่ในเมนูใ้หเลือกตรงที่หน้า อัปโหลด ยังไงครับ --PoSTeRWEB 18:02, 11 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- คุณ PoSTeRWEB ได้ย้ายไปใช้ แม่แบบ:ภาพตัวละคร แทนแล้ว -- bact' คุย 06:16, 19 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
บทความ วิกิพีเดีย ใน สารานุกรมบริเตนนิกา
มีบทความเรื่องวิกิีพีเดีย ใน สารานุกรมบริเตนนิกา ด้วยครับ ไม่รู้มีตั้งแต่เมื่อไร เพิ่งเห็นเหมือนกัน - http://www.britannica.com/eb/article-9433599
ลิขสิทธิ์
แปลจากภาษาอื่น ไม่มีปัญหาเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ จริงหรือ?
จากบทความ วิกิพีเดีย:เขียนงานอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์: "การแปลบทความจากภาษาอื่นจะไม่มีปัญหาเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ เหมือนกับการใช้คำพูดเราใส่เข้าไปในบทความ อย่างไรก็ตามการใช้โปรแกรมช่วยในการแปลเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เนื่องจากการคัดลอกคำต่อคำ และนอกจากนี้บทความที่แปลออกมาอ่านยาก หรืออ่านไม่รู้เรื่อง" -- จริงหรือ? เป็นนโยบายวิกิพีเดีย หรือเป็นช่องโหว่กฎหมายไทย? Patiwat 20:30, 31 สิงหาคม 2006 (UTC)
- อืม สงสัยเหมือนกันครับ อย่างการ์ตูนญี่ปุ่นที่พิมพ์ในบ้านเรา ยังต้องขออนุญาตแปลเลย -- 213.48.102.235 20:32, 31 สิงหาคม 2006 (UTC)
- คงไม่ใช่นโยบายวิกิพีเดีย หรือช่องโหว่อะไร น่าจะเป็นความเข้าใจผิดของผู้ใช้ที่เข้ามาช่วยเขียนมากกว่าครับ ตอนนี้ได้แก้ไขเนื้อหาแล้ว ;) --ธวัชชัย 14:17, 1 กันยายน 2006 (UTC)
- Thanks. 24.193.105.76 00:54, 2 กันยายน 2006 (UTC)
- เพิ่มเติมครับ งานทุกอย่างรวมถึงงานศิลป์ มีลิขสิทธิ์ในตัวเองหมดครับ ทั้งภาพและอักษร รวมถึง การ์ตูน และวรรณกรรม (แบบไม่มีรูป) ส่วนงานแปลจากวิกิพีเดียภาษาอื่นมา ไม่มีปัญหาเนื่องจาก วิกิพีเดียทุกภาษาใช้ลิขสิทธิ์ในลักษณะ GFDL ซึ่งไม่มีปัญหาสำหรับผู้สนใจนำงานไปใช้ต่อ โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องถือลิขสิทธิ์เดิม --Manop | พูดคุย - 20:09, 5 กันยายน 2006 (UTC)
ภาพที่ไม่ระบุแหล่งที่มา ควรถูกลบ
ใน en.wikipedia ภาพที่ upload แต่ไม่ระบุแหล่งที่มาของภาพ จะถูก tag แม่แบบ:Subt:nsd และ แม่แบบ:Speedy-image-c เพื่อแจ้งลบภายใน 7 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการ upload ภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ th.wikipedia ก็น่าจะมีอย่างนี้เหมือนกัน เพราะหลายภาพถูก upload โดยไม่ระบุที่มา แต่ดันระบุว่าเป็น Public domain/GFDL ไม่รู้ว่าเป็น Public domain/GFDL จริง หรือลอกจากใหนมา ถ้าไม่มีแหล่งที่มา ก็ตรวจสอบไม่ได้ คนอื่นว่าไง? Patiwat 19:53, 12 กันยายน 2006 (UTC)
- ดีดีครับ ถ้ามีกันช่วยตรวจสอบลิขสิทธิ์ภาพ เพราะตอนนี้ลิขสิทธิ์ภาพมากกว่าครึ่ง ไม่มีระบุ แล้วอีกบางส่วนที่คนไทย ไม่เข้าใจว่า ภาพสาธารณสมบัติ คืออย่างไร มีหลายคนเข้าใจผิดว่า ภาพจากหนังสือพิมพ์ หรือตามสื่อต่าง ๆ เป็นภาพสาธารณสมบัติก็มี --Manop | พูดคุย - 20:20, 12 กันยายน 2006 (UTC)
- สนับสนุนครับ คิดไว้ว่าจะตรวจสอบเรื่องภาพมานานแล้ว เมื่อ 2 เดือนก่อนผมเคยทำ แม่แบบ:ภาพไม่มีป้ายลิขสิทธิ์ เอาไว้แปะภาพที่ไม่ระบุสถานะลิขสิทธิ์ หลังจากนั้นไม่ค่อยว่างก็เลยไม่ได้ทำต่อ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้เหมาะสมก็เอาเลยครับ --Pi@k 02:03, 13 กันยายน 2006 (UTC)
- 800px-Mahidols-1938.jpg: Source stated as a 2005 book by Priyananda Rangsit, although the picture is originally taken by Prince Rangsit Prayoonsak in 1938. Public domain (published > 50 years). No need to delete.
- ผนวช.jpg: Picture taken in 1956. Public domain (published > 50 years). But exact source not stated. No need to delete.
- Portrait bhumibol sirikit.jpg: Picture taken in 1950. Public domain (published > 50 years). But exact source not stated. No need to delete.
- Kingfamily.JPG: Copyright status unknown. Exact source not stated. I don't think it is public domain, but I can't verify because I don't know the source. I think the picture should be deleted.
- Dejimon.jpg: Source stated as "ภาพหน้าจอ จาก การ์ตูน". Copyright is owned by original publisher. Don't need to delete because "fair use" can be claimed.
- -- Patiwat 03:39, 13 กันยายน 2006 (UTC)
- Quote:Kingfamily.JPG: Copyright status unknown. Exact source not stated. I don't think it is public domain, but I can't verify because I don't know the source. I think the picture should be deleted.
- Now is the winter of our discontent... --Soul
ว่าไงบ้างครับ ถ้าจะทำ ต้องมีการสร้าง แม่แบบ:ภาพไม่ระบุที่มา แม่แบบ:ภาพลบภายใน7วัน [[หมวดหมู่:ภาพไม่ระบุที่มา]] [[หมวดหมู่:ภาพลบภายใน7วัน]] และการโยงภาพไปยังคิวพิจารณา/ลบที่ วิกิพีเดีย:ปัญหาลิขสิทธิ์. Patiwat 21:39, 14 กันยายน 2006 (UTC)
- ปัจจุบันนี้ บอตคุงได้ดำเนินการเรื่องนี้แล้วครับ โดยจะทำการตรวจสอบภาพที่ไม่ได้ระบุลิขสิทธิ์ตลอดวัน และจะติดป้ายพร้อมวันที่ รวมถึงแจ้งผุ้ใช้ดังกล่าวให้ทราบ และนอกจากนั้น จะทำการอัปเดตรายชื่อและแจ้งไปที่หน้า วิกิพีเดีย:ปัญหาลิขสิทธิ์ ซึ่งขณะนี้ยังมีภาพที่ไม่ได้ระบุลิขสิทธิ์จำนวนมาก มากกว่า 2,500 ภาพจากการนับคำนวณของบอตคุง --Jutiphan | พูดคุย - 08:07, 19 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
การอ้างอิง
การอ้างอิงแหล่งที่มา
ตามแนวนโยบายของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ผมคิดว่าเราควรให้ความสำคัญกับการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทความที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง และบทความที่มีความเห็นจากที่ต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการใส่ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนลงไปในบทความ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของเนื้อหา แนวนโยบายนี้ได้แปลไว้บ้างแล้วที่ วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา ครับ --Pi@k 12:43, 29 มกราคม 2006 (UTC)
- เห็นด้วยครับ ผมเพิ่ม "เมื่อใดที่ควรอ้างอิง" และ "แหล่งข้อมูลใดที่ควรอ้างอิง" เข้าไปแล้ว
โดยแปล/ปรับ จากหัวข้อย่อยของภาษาอังกฤษ -- มีเฉพาะหัวข้อย่อย ยังไม่มีรายละเอียด คิดว่าน่าจะต้องปรับบ้างให้เข้ากับแหล่งอ้างอิงภาษาไทย --172.180.101.251 11:18, 24 มิถุนายน 2006 (UTC)
- ผมได้ทำการปรับปรุง วิธีการอ้างอิงแล้วนะครับ. หลังจากการสำรวจ ผมพบว่า en Wikipedia นั้นมี cite (cite.php) สำหรับรูปแบบการอ้างอิงอัตโนมัต ซึ่งใน th ไม่มี. ผมว่าเราควรที่จะเพิ่มความสามารถส่วนนี้ครับ เพราะจะช่วยปูทางให้การอ้างอิง เป็นรูปแบบเดียวกัน. รายละเอียด cite ที่ en Wikipedia --Jutiphan | พูดคุย - 18:57, 8 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- น่าสนใจครับ แต่ลองดูวิธีและนำมาประยุกต์ใช้ในวิกิพีเดียภาษาไทยก็ดีครับ แต่ฝากนิดนึงว่าไม่อยากให้การใช้งานยากเกินไป เพราะในวิกิพีเดียอังกฤษ ก็มีปัญหาว่า แต่ละคำสั่งใช้งานยาก และมีให้เลือกหลายอย่าง ทำให้คนเขียนงง สุดท้ายคนก็ไม่ใช้กันนะครับ --Manop | พูดคุย - 19:18, 8 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
ต้องการอ้างอิง
ตอนนี้เริ่มมีแม่แบบต้องการอ้างอิงหลายแบบออกมา หลายคนคงจะผ่านตากันบ้างแล้ว ซึ่งอาจจะมีการติดป้ายอีกจำนวนมากในอนาคตอันใกล้นี้ หลายแบบ
- แม่แบบ:ต้องการอ้างอิง แม่แบบ:ต้องการอ้างอิงไทย สำหรับอ้างอิงทั้งหน้า
- แม่แบบ:ต้องการอ้างอิงย่อหน้านี้ อ้างอิงเฉพาะส่วน
- แม่แบบ:ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน อ้างอิงเฉพาะประโยค
ซึ่งเป็นการดีสำหรับวิกิพีเดียภาษาไทย ที่จะมีเนื้อหาที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ถ้ามีการอ้างอิงจากแหล่งอื่นที่เชื่อถือได้ เลยมีคำถามขึ้นมา 3 ข้อ ครับ (1) ตำแหน่งการวางของแม่แบบ (2) บทความไหนที่ยังไม่ควรใส่ (3) การอ้างอิงจากเนื้อเรื่องที่เขียนขึ้นมาเอง หรือแปลจากวิกิพีเดียอังกฤษ
ตำแหน่งการวางแม่แบบ - ต้องการอ้างอิง
สำหรับแม่แบบอ้างอิง จะเน้นที่คนเขียนเป็นหลัก ให้หาแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมแตกต่างจากแม่แบบอื่นที่เน้นที่คนอ่าน โดยปัจจุบันนี้มีการวางหลายตำแหน่งไม่ว่า ด้านบนสุด ด้านล่างสุด หรือ ตรงส่วนเกือบล่างในส่วนอ้างอิง โดยความเห็นส่วนตัวผมว่า น่าจะเก็บไว้ในส่วนอ้างอิง ในคำสั่งลักษณะ
== อ้างอิง == <div class="references-small"> <references /> {{ต้องการอ้างอิง}} </div>
เพื่อให้ง่ายสำหรับคนที่มาเพิ่มเติมภายหลัง --Manop | พูดคุย - 07:20, 11 กันยายน 2006 (UTC)
- (Sorry this is in English). The standard for the en.wikipedia is to put the tag on the top of the article? Why? Because references don't have to appear in the references section. In-line links[9] are also a valid format for references. Patiwat 16:57, 11 กันยายน 2006 (UTC)
- If in-line links are used for citation, there is not references section. Patiwat 22:51, 11 กันยายน 2006 (UTC)
- See en:Wikipedia:Citing sources, which notes that in-line links are still an accepted citation format. Editors should use whatever format already exists in an article, since some formats are better suited for some types of article. This is really a moot point for most articles in th.wikipedia, since most articles have no references at all. Patiwat 19:25, 12 กันยายน 2006 (UTC)
บทความเขียนเองหรือแปลจากวิกิพีเดียอังกฤษ
อันนี้เป็นคำถามส่วนตัว ถ้าผมแปลจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ แน่นอนว่าแหล่งอ้างอิงหลักของผมจะเป็นวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ และแหล่งอ้างอิงที่ถูกเขียนในภาษาอังกฤษ และถ้ามีการติดป้ายว่า {{ต้องการอ้างอิงไทย}} จะกลับกลายเป็นว่าหาแหล่งอ้างอิงจากแหล่งอื่น (ที่ไม่ได้เกิดจากการเขียน) มาอ้างอิงส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องแทน ซึ่งอาจจะดูแปลก ๆ (แต่มีมาแล้ว) เลยฝากมาเป็นข้อคิดเห็น ว่าควรจะแก้ปัญหาอย่างไร ส่วนตัวแล้วผมอยากให้มี แหล่งข้อมูลอื่น/แหล่งข้อมูลอื่น ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะอ้างอิงโดยตรงหรือเนื้อหาใกล้เคียงเป็นภาษาไทย มากกว่าภาษาอื่น เพราะจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน --Manop | พูดคุย - 07:20, 11 กันยายน 2006 (UTC)
- เห็นด้วยครับพี่น้อง Mda 11 กันยายน 2549
- บางทีการใส่ "citation" ดะไปหมดดูเหมือน การก่อกวน เลยค่ะ เจอมาแล้ว เมื่อเช้า...แต่ก็ไล่ใส่ให้หมดแล้วนะคะ ไม่เป็นไรค่ะ สนุกดี :P --Look-Narm 12:07, 11 กันยายน 2006 (UTC)
- (Sorry this is in English). I agree with Manop. Important content in th.wikipedia should have Thai citations (see en:Wikipedia:Verifiability#Sources for the equivalent policy). Editors should strive to find Thai references for these article - that is what the {{ต้องการอ้างอิงไทย}} tag informs them. Books and external websites that might be useful but are not in Thai can still be shown, but not as a reference. They should be shown as "External links/Further reading". Patiwat 17:06, 11 กันยายน 2006 (UTC)
- Do what you think it's right.I trust on U, Mr.Manop.
- BTW, please update this graph.
- We may see something, in next few months.--Soul, 15 กันยายน 2006 (UTC)
บทความไหนที่ยังไม่ควรใส่
บทความที่ยังไม่จำเป็นต้องใส่ ส่วนตัวผมว่า บทความที่ยังเป็น "โครง" อยู่ยังไม่จำเป็นต้องใส่ เช่นบทความสองสามบรรทัด แต่มีป้าย ต้องการอ้างอิงใส่ไว้ ซึ่งจะทำให้ดูตลกมากกว่า น่าสนใจให้หาแหล่งอ้างอิงเพิ่ม นอกจากนี้ก็อาจรวมถึงบทความที่เป็นข้อเท็จจริง รวมถึงด้านวิทยาศาสตร์ เช่น "พระอาทิตย์ขึ้นทิศตะวันออก" อาจจะไม่ต้องการอ้างอิงในส่วนนี้ --Manop | พูดคุย - 07:20, 11 กันยายน 2006 (UTC)
- นี่ก็เห็นด้วยครับ ถ้าเติมต้องการแหล่งอ้างอิงตรงที่ชาวบ้านเขารู้กันแล้ว ก็แปลกครับ Mda 11 กันยายน 2549
- เข้ามาอ่าน ก็เห็นด้วยอย่างที่เขียนมาข้างบน ถ้ามีความเห็นเพิ่มเติม จะแวะเข้ามาใหม่ครับ -- ธวัชชัย 13:28, 11 กันยายน 2006 (UTC)
- (Sorry this is in English). There are "โครง" (stubs) which have citations, so being a stub doesn't neccesarily mean that the article is unreferenced.
- The stub tag puts the article in the stub-category (meaning: expand the article) while the unreferenced tag puts the article in the unreferenced-category (meaning: add references to the article). These two concepts are very different. Even "Featured Articles" in en.wikipedia often have a {{citation needed}} or two - this is not considered vandalism, but is a means to improve the quality of articles that are already good.
- Citations are not needed for "every day information". But citations are very important for three things in particular 1) controversial information, 2) information about living people, 3) information that might have been plagiarized (ละเมิดลิขสิทธิ์). 1) An article on ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ should not state that there is ปัญหาการทุจริต in รถไฟขนส่งจากตัวเมืองมายังสนามบิน without a citation. 2) The standard for quality in articles about living people is much higher than, say, an article on a cartoon character. We must get the article right. No information is better than speculative information. 3) There is plagiarism on th.wikipedia. If people don't add references it becomes very difficult, almost impossible, to identify when such plagiarism occurs. But just because we can't identify it doesn't mean that it is less wrong. Wikipedia is a สารานุกรมเสรี. That means that the information has to be free - not copied from somebody else. When I see a detailed article without a single reference, the first thing that comes to mind is "the author probably stole it from somewhere." An important way to improve the quality of articles is to add references.
- Some people have said to me: "Stop complaining! You should work to find references to the information that I have put in the article. Deleting my information is vandalism, and putting up tags is ugly." However, the burden of evidence is not on the person who adds the {{citation needed}} tag or deletes uncited information - it is the job of the person who originally adds the information. Patiwat 17:41, 11 กันยายน 2006 (UTC)
- One additional note (sorry this is so long!). The standard of quality for articles on living people is higher than the standard for cartoon characters, but the standard of quality for articles on Thai royalty has to be even higher. We must get these absolutely right: no information without undisputedly solid references. No controversial information without undisputable NPOV. Low quality on articles on Thai royalty could destroy th.wikipedia's reputation. Patiwat 18:10, 11 กันยายน 2006 (UTC)
- ผมว่ามันอยู่ที่เนื้อหา ไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นโครงหรือไม่เป็นโครง (เช่น "ประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งในทวีปเอเชีย" -- อันนี้ไม่ต้องอ้างอิงก็ได้ แต่เป็นโครง) ช่วงแรก ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ผมก็ไม่ค่อยได้ใส่ใจกับการอ้างอิง เพราะขณะนั้นจำนวนบทความและจำนวนสมาชิกยังน้อยมาก แนวทางหรือนโยบายเรื่องนี้ก็ยังไม่ปรากฏในวิกิพีเดียภาษาไทย แต่เมื่ออยู่นานเข้า ผมก็ยิ่งเห็นว่าการอ้างอิงแหล่งที่มานั้นมีความจำเป็นมาก (นั่นเป็นเหตุให้ผมเริ่มเขียนหน้า วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา) ยิ่งตอนนี้วิกิพีเดียภาษาไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จำนวนบทความมากขึ้น จำนวนคนอ่านมากขึ้น หลายคนนำข้อมูลจากวิกิพีเดียไปอ้างอิง อาจจะไม่ใช่ในเชิงวิชาการ แต่ก็เห็นถูกคัดลอกไปลงในเว็บบอร์ดต่าง ๆ หากวิกิพีเดียถูกเขียนขึ้นโดยไม่ปรากฏแหล่งอ้างอิง มันก็ทำให้หลายคนสงสัยในความน่าเชื่อถือ ผมว่าเราน่าจะรณรงค์ให้คนเขียนพยายามระบุแหล่งอ้างอิงเสียตั้งแต่ตอนนี้ ดีกว่าปล่อยไว้นานกว่านี้ ปัญหาจะมากขึ้นและใช้เวลานานกว่าจะแก้ไขและตรวจสอบได้หมด --Pi@k 02:15, 12 กันยายน 2006 (UTC)
- Even for a biography of a living person, I think leaving the following information without citations is fine:
- The date of birth or death,
- The cause of his/her death, if it is not controversial,
- The name of his/her parents, children, and relatives,
- His/her education,
- The places he/she works/worked at, and the position he/she assumes/assumed,
- Prizes he/she received from famous organizations,
- His/her well-known achievements or crimes. (Newton's discovery of Newton's law, Tyson's biting Holyfield's ear, etc)
- If an article contains only these types information, I sincerely think it does not warrant a {{ต้องการอ้างอิง}} tag.
- Here are some justification/comments:
- Wikipedia is not the only source of information on earth. Although it is Wikipedia's goal to achieve accuracy on every topic, Wikipedia needs not burden itself with the verification of hard cold facts that are relatively easy to verify such as above. Mistakes regarding such information are the same as mistakes in science articles. If a person gets incorrect information from Wikipedia and uses it, it's that person's fault for not cross-checking the information himself.
- If there is an article about a person on Wikipedia, that person is well known enough to most people. Chances are that, if there is a mistake in the above items, a Wikipedian will quickly correct it.
- The reason why Wikipedia tries to be very careful about biographies of living people is to prevent disputes and to maintain Wikipedia's NPOV. The English guideline says remove unsourced or poorly sourced negative material. It doesn't say we have to cite everything.
- When I see the {{ต้องการอ้างอิง}} tag, I personally think the article contains opinionated stuffs or negative comments that might be a result of slandering or vandalism. Worse, I might think that the article is taken from somewhere else. The {{ต้องการอ้างอิง}} tag, IMO, greatly reduces the credibility of the article it appears in. This is not something I would expect from articles containing only basic biographic information. I don't need any citations for the fact that George W. Bush's wife's name is Laura, or that Rama IX moved to Switzerland when he was young! The {{ต้องการอ้างอิง}} can be misleading, and, thus, should be used prudently.
- -- Pramook 05:10, 14 กันยายน 2006 (UTC)
- Is it acceptable for an article containing only uncontroversial biodata/resume data to not have any references? I don't think so. This information, even if it is uncontroversial, is not so obvious that everybody knows it. The editor that contributed the information obviously copied from somewhere. It should be that editor's responsibility to state where he got his information. Wikipedia is supposed to be verifiable, and is supposed to give readers the means to verify the correctness of information they read by giving them references. We can't just say "if you don't believe it, go read a real encyclopedia or look it up on the web. This appears to be the consensus of many editors. Patiwat 22:00, 14 กันยายน 2006 (UTC)
- First, basic information itself is verifiable: it is published in reputable sources somewhere, and any user (with an access to the internet) can verify it easily. Second, although the policy says sources should be cited whenever possible, it doesn't say Wikipedia has to provide ways for a user to verify every facts in it. Citing courses is a way to prove that a statement is verifiable. It is not verifiability itself. Therefore, I think it is not necessary to challenge basic information because of its nature. Of course, we have to be careful because a lot of statements, if left uncited, can bring problems to Wikipedia. However, I foresee no serious problems if we left basic information without references because:
- The information is harmless.
- The information is likely to be correct (as noted above).
- The only way to put the information on Wikipedia is to copy it from somewhere. No questions about plagiarism. (Here, I separate the information from its wording.)
- If meta-verifiability is a policy, then I might have read something wrong.
- I wouldn't be trying to argue this point if it didn't seem to be the concensus of many an editor that every article, no matter how basic, needs at least one citation. See here and here. I've also written plenty of stubby 1 sentence articles without bothering to put up a reference. But when I think about it, I was just lazy - since I could have spent 5 seconds copying and pasting a URL to back up that simple statement. Its a habit thing... Patiwat 22:47, 16 กันยายน 2006 (UTC)
- Quote:I was just lazy
- Now I know why.--soul, 16 กันยายน 2006 (UTC)
- Well, if a lot of people worldwide don't agree with me, then I shall conply. -- Pramook 04:45, 17 กันยายน 2006 (UTC)
- When I see "if you don't believe it, go read a real encyclopedia or look it up on the web, " I get some weird impressions. While Wikipedia strives to be a good encyclopedia, I think it doesn't want to say to people that, "Hey! I'm correct! I'm reliable! You have to believe me!" That's for people to decide for themselves. What Wikipedia tries to do, though, is to make sure that it can say "I'm not making anything up!" with confidence because this prevents problems from coming its way. (Yes. I think "I'm not making anything up! And I have all the evidences, and you cannot find even the slightest fault!" is an overkill.) So, I think Wikipedia can include basic information, without citations, and can still say "I didn't make it up" with confidence. A skeptical person does not agree with this opinion, of course. But I think having to verify that basic facts in Wikipedia are verifiable is just paranoia. -- Pramook 13:36, 15 กันยายน 2006 (UTC)
- One person's obviously true claim can be another person's patently false claim. Let me give you an example. A recently created article on the วิโอลา was only 3 lines long, and had no references. The 3 lines weren't claiming very much: that the viola was a string instrument, played in orchestras, belonged to the same family as the violin and bass, and looked exactly like a violin except was bigger. To the casual reader, this seems perfectly uncontroversial and simple and the information should be taken for granted. Unfortunately, it contains an error. And since it contains not a single reference, it leaves me at a loss as to where to verify the truthfulness of the article or where to learn more about the instrument and potentially expand the article. The viola does not look exactly the same as the violin, only bigger - the proportions are also different. I'm sure the original editor didn't have bad intentions - they maybe didn't know too much about the topic and only put up some information that was on the top of their head. But their unwillingness to take the simple effort to include a reference means that an error can go unverified and unnoticed. Patiwat 22:47, 16 กันยายน 2006 (UTC)
- Okay. We simply disagree on this. While you say, "You have to be careful on every information you put on Wikipedia. Make sure you can show someone credible said it before, " I say, "You can be a little sloppy as long as the information you put in doesn't harm anyone (and some other criteria, blah, blah, blah). If it's wrong, someone will correct it later." Errors in birth dates are serious to everyone (and can possibly go unnoticed longer than the fact that viola is not proportional to violin), but I still think it's okay. Well, this doesn't matter any more, I guess. -- Pramook 04:45, 17 กันยายน 2006 (UTC)
- That's cool. I guess our background are different too. Most of my edits are in politics and history related topics, where it is extremely important to get things like NPOV and references correct. I'm a bit compulsive about this, even when I read articles where the standard doesn't neccesarily have to be as strict, like articles on anime. I remember being very frustrated and throwing in a ton of {{cn}}s when reading the articles on en:Neon Genesis Evangelion because everybody seemed to be adding their own original research, psychoanalyzing the characters, and debating the meaning of the films, without bothering to cite any references. Even topics that seem uncontroversial can be controversial for people who care about them. Patiwat 09:42, 17 กันยายน 2006 (UTC)
- {{ต้องการอ้างอิง}} should not imply that the article contains opinionated stuffs or negative comments that might be a result of slandering or vandalism. Opinionated stuff needs the {{POV}}/{{ไม่เป็นกลาง}} while unsourced negative comments don't need a tag at all - they should be immediately deleted. If the {{ต้องการอ้างอิง}} makes you think that the article is opinionated or negative, then maybe the tag should be reworded or reformatted to make it more neutral? Patiwat 22:14, 14 กันยายน 2006 (UTC)
- Frankly, an article without references is less credible than an article with references. That's the whole point: adding references allows people to test that no original research was done, lets them verify that the facts are correct, and assures them that the content is free and not stolen from someplace else. Patiwat 22:17, 14 กันยายน 2006 (UTC)
เกี่ยวกับป้ายอ้างอิง
ผมอยากเสนอให้เปลี่ยนชื่อครับ หรือใช้ชื่อใหม่ เพราะพบว่า บางชื่อยาว และอาจจะทำให้ใช้ไม่ค่อยสะดวก รวมถึงอาจจะสับสนอย่างชื่อ ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน เพราะปกติแล้วส่วนนั้น หมายถึง section. ผมขอแนะนำรูปแบบนี้ครับ
เสนอใช้แทนชื่อ แม่แบบ:ต้องการอ้างอิง และ แม่แบบ:ต้องการอ้างอิงไทย
แม่แบบ:ขาดอ้างอิง
แม่แบบ:ขาดอ้างอิง|ไทย (ใส่ตัวแปรไทย เพื่อให้แสดงคำว่า ภาษาไทยเพิ่มเติม)
เสนอใช้แทนชื่อ แม่แบบ:ต้องการอ้างอิงย่อหน้านี้
แม่แบบ:ขาดอ้างอิงส่วน
แม่แบบ:ขาดอ้างอิงส่วน|ไทย (ใส่ตัวแปรไทย เพื่อให้แสดงคำว่า ภาษาไทยเพิ่มเติม)
ใช้แทนชื่อ แม่แบบ:ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วนนี้
แม่แบบ:ขาดอ้างอิงตรงนี้
--Jutiphan | พูดคุย - 15:25, 10 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ผมว่า "ต้องการอ้างอิง" ความหมายน่าจะตรงกว่านะครับ เพราะ "ขาดอ้างอิง" แสดงถึงว่าขาดไป แต่ต้องการอ้างอิง จะแสดงถึงว่าขาดไป และต้องการนำมาใส่เพิ่มเติม ซึ่งคนอ่านจะรู้สึกได้ว่า ควรจะหามาใส่เพิ่มครับ และคำว่า "ขาดอ้างอิง" ยังดูเหมือนกับว่ามีความหมายซ้อนถึงเป็นการจับผิดอีกทางหนึ่ง
- ส่วน อ้างอิง ไทย หรือไม่ไทย ผมว่าคงไม่ค่อยจำเป็นกระมังครับ ไม่ค่อยมีผลต่างกันเท่าไรและยิ่งดูเหมือนเป็นพวกชอบจัดผิดมากขึ้น และจะมีแม่แบบเพิ่มขึ้นและการใช้งานยากขึ้นเพิ่มไปอีกเปล่า ๆ และยิ่งตอนนี้ป้ายต้องการอ้างอิงเริ่มเยอะขึ้น แต่คนใส่ป้ายไม่มีใครตามเก็บกันเท่าไร เลยกลายเป็นว่าบทความมีแต่ป้ายเต็มไปหมด ลองมาช่วยกันใส่อ้างอิงดีกว่าไหมครับ แทนที่จะใส่ป้ายอื่นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะกลายเป็นบทความรวมป้ายไปซะเปล่า ๆ --Manop | พูดคุย - 19:10, 10 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- เล่นผมขำเลยครับ. ถ้างั้น ผมคิดว่าอย่างน้อยควรเปลี่ยนชื่อให้รูปแบบการใช้งาน ตรงกัน เป็นแบบนี้:
แม่แบบ:ต้องการอ้างอิง (เหมือนเดิม)
แม่แบบ:ต้องการอ้างอิงไทย (เหมือนเดิม)
แม่แบบ:ต้องการอ้างอิงส่วน (สำหรับส่วนของบทความ)
แม่แบบ:ต้องการอ้างอิงตรงนี้ (สำหรับประโยค หรือย่อหน้า)
--Jutiphan | พูดคุย - 02:10, 19 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- เล่นผมขำเลยครับ. ถ้างั้น ผมคิดว่าอย่างน้อยควรเปลี่ยนชื่อให้รูปแบบการใช้งาน ตรงกัน เป็นแบบนี้:
- โดยส่วนตัวชอบชื่อแบบเดิมมากกว่า โดยเฉพาะ "{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}" ผมว่าสื่อความหมายได้ดีแล้วครับ --ScorpianPK 06:09, 19 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
อ้างอิงที่ไม่ใชอ้างอิง
The main page of บ้านฝัน.คอม (http://www.banfun.com/) should not be used as a reference for articles. If information from บ้านฝัน.คอม was actually used for the article, then the URL of the specific page should be shown. Patiwat 17:56, 11 กันยายน 2006 (UTC)
- ใจเย็น ๆ ครับ จิบกาแฟคุยกันได้ วิกิพีเดียภาษาไทยยังเดินเตาะแตะครับ คุณ Patiwat อาจจะเห็นหลายอัน เช่น จาก บ้านฝัน.คอม หรือ จาก วรรณกรรม.คอม หรือ จาก มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หรือจากเว็บท่องเที่ยวต่าง ๆ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งหลายอันเดิมเป็นบทความเก่าที่อยู่ในเว็บนั้นและทางเจ้าของเขาให้นำมาคัดลอกลงในวิกิพีเดีย ด้วยความยินดีครับ อย่างไรถ้าอันไหนที่คุณ Patiwat เห็นว่าไม่ใช่อ้างอิงที่เหมาะสม สามารถเอาออกได้นะครับ --Manop | พูดคุย - 21:57, 11 กันยายน 2006 (UTC)
- My concern isn't about copyright violations. My concern is that the reference isn't specific enough. It's like saying the reference was "Matichon newspaper". No date, no headline, no author. How is a reader supposed to know what article was actually used? Similarly, I don't think a citation for the main page for http://boxrec.com really qualifies as an appropriate reference. The full URL should be shown, e.g., http://www.boxrec.com/boxer_display.php?boxer_id=4059 for Khaosai Galaxy. Patiwat 00:11, 15 กันยายน 2006 (UTC)
The main page of boxrec.com (http://www.boxrec.com) should not be used as a reference for articles. If information from บ้านฝัน.คอม was actually used for the article, then the URL of the specific page should be shown. Patiwat 00:01, 15 กันยายน 2006 (UTC)
นโยบายคอลัมน์รู้ไหมว่า
แจ้งถึง วิกิพีเดียนทุกท่านครับ ขณะนี้มีการพูดคุยกันเรื่องระยะในการอัปเดต คอมลัมน์รู้ไหมว่า และมีเปิดหน้าให้เสนอบทความ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ คุยเรื่องแม่แบบ:รู้ไหมว่า และเพิ่มบทความที่น่าสนใจ ทั้งเก่าและใหม่ (แต่ไม่ซ้ำของเดิมในคอลัมน์) ที่ วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า
Wikimania 2007 Team Bulletin
Published by the Wikimania 2007 Taipei Team, Wikimania 2007 Team Bulletin provides the latest news of the Team's organizing work to everyone who is interested in Wikimania; it also gives the Team chances to announce calls for help/participation, so assistance in human and other resources can be sought in a wider range. Team Bulletin is published at the official website of Wikimania 2007 and released to the public domain. Issue 1 and Issue 2 has already published.--218.166.212.246 02:16, 29 ตุลาคม 2006 (UTC)
การจัดหมวดหมู่ประเทศ
จากวิกิพีเดีย:สภากาแฟ (การใช้ภาษา) #ชื่อบทความประเทศต่าง ๆ (จริง ๆ น่าจะไปต่อหน้่าเดิม แต่เห็นว่ามันไม่เกี่ยวกับภาษาก็เลยเอามาขึ้นที่นี่แล้วกัน) ตอนนี้เข้าใจว่า หน้าบทความประเทศต่าง ๆ ให้ใส่ไว้ในหมวดหมู่ประเทศนั้น ๆ แล้วใส่หมวดหมู่นั้นในหมวดหมู่ประเทศในทวีป... อีกทีหนึ่ง ทีนี้สงสัยว่า ในหมวดหมู่:ประเทศที่เป็นเกาะ หมวดหมู่:ประเทศที่ไม่มีทางออกติดทะเล หมวดหมู่:รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป หมวดหมู่:ประเทศในเครือจักรภพ ฯลฯ จะใช้หลักการเดียวกันเลยหรือเปล่าครับ ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว เท่ากับว่าบทความพวกนี้จะมีจัดลงได้แค่หมวดหมู่เดียวเท่านั้น แล้วที่เหลือไปจัดในหมวดหมู่ย่อย มันจะทำให้ประโยชน์ด้านการช่วยเหลือผู้อ่านจากหน้าบทความน้อยลงหรือเปล่าครับ (เท่าที่เห็นในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ หมวดหมู่พวกนี้จะมีทั้งหมวดหมู่ย่อยและตัวบทความ แต่ก็ไม่รู้ว่าเพราะตกลงกันแล้วให้เป็นแบบนั้น หรือเพราะไม่ได้ตกลงกันไว้ก็ไม่ทราบ) ขอความเห็นครับ cW32 talk 10:50, 22 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ไม่แน่ใจว่าเข้าใจคำถามถูกต้องหรือเปล่า แต่อย่าง หมวดหมู่:ประเทศ ตอนนี้ก็ดูโอเค หรือเปล่าครับ ??? --Manop | พูดคุย - 19:56, 23 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ผมหมายถึงการภายในหมวดหมู่พวกนั้นน่ะครับ อย่างเช่นใน หมวดหมู่:ประเทศที่เป็นเกาะ ควรจะเอาหน้าบทความ ประเทศไซปรัส ไปใส่หรือว่าเอาหมวดหมู่:ประเทศไซปรัสไปใส่ครับ cW32 talk 20:22, 23 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
โครงการร่วมเขียนบทความเฉลิมพระเกียรติ
ผมเปิดโครงการขึ้นมาใหม่ครับ ชาววิกิพีเดียได้ร่วมเขียนบทความเฉลิมพระเกียรติ ดูเพิ่มได้ที่ วิกิพีเดีย:ร่วมเขียนบทความเฉลิมพระเกียรติ ครับ ตอนแรกมีความคิดว่าเผื่อมีโรงเรียนหรือหน่วยงานไหนอยากได้ข้อมูลไปลงเว็บตัวเอง เราก็จะเป็นคนเลือกที่ดีและสมบูรณ์พร้อมให้เขาเอาไปลงเลย โดยเรื่องลิขสิทธิ์นั้นทางวิกิพีเดียค่อนข้างเปิดกว้าง ถ้าเทียบกับเว็บอื่น ๆ และอีกทางหนึ่งก็ช่วยกันเผยแพร่ความรู้เหมือนที่ทุกคนที่นี่กำลังทำอยู่ครับผม --Manop | พูดคุย - 06:16, 5 ธันวาคม 2006 (UTC)
เรื่องลิขสิทธิ์ที่เว็บอื่นคัดลอกวิกิพีเดียไป
คือจะถามว่าตอนนี้บางทีมีการนำข้อมูลในวิกิพีเดียไปใช้แล้วแปะบนเว็บ แต่ปกติจะใช้โดย copy ไปทั้งดุ้นเลย แล้วบางทีพอคนอื่นมาดูบทความในวิกิพีเดียทีหลังก็จะนึกว่าไป copy เขามา กลายเป็นว่าเขาเอาข้อมูลในวิกิไปใช้ ใช้ได้ไม่มีปัญหา แต่คนอื่นที่เข้ามาแก้ไขบทความในวิกิไม่รู้ เลยคิดว่า มันละเมิดลิขสิทธิ์ เราจะแก้ปัญหายังไงครับ Prince 07:33, 22 กันยายน 2006 (UTC)
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี: เสรี means that the content can be used by anybody for any reason, within the scope of the GNU Free Documentation License. See วิกิพีเดีย:ลิขสิทธิ์ Patiwat 07:28, 23 กันยายน 2006 (UTC)
- ปัญหาลิขสิทธิ์ในประเทศไทย จะพูดยากนะครับ เพราะว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่า ลิขสิทธิ์ในงานเขียนเป็นอย่างไร เพราะปกติทั่วไป ก็จะก๊อปกันไปก๊อปกันมา ไม่ว่าจากเว็บ หรือเว็บบอร์ดครับ เพราะฉะนั้น เมื่อวิกิพีเดียภาษาไทยพัฒนาไปได้ระดับนึง จะมีโอกาสเป็นไปได้สูงตามที่คุณ Prince กล่าวมา ส่วนตัวผมเองก็ยังไม่มีวิธีที่แก้ไขได้แน่นอน แต่อาจจะไปบอกตามเว็บ หรือเว็บบอร์ดที่ก๊อปไป อย่างน้อยก็บอกว่า "เอามาจาก วิกิพีเดีย" ประมาณนี้นะครับ อย่างน้อยจะได้รู้ว่าเราไม่ได้ก๊อปมา แต่เขาก๊อปไป แต่อย่างวิธีการนี้ก็อาจจะไม่เข้าข่ายลิขสิทธิ์แบบ GFDL เท่าไร แต่อาจจะพอหยวน ๆ ได้ครับ --Manop | พูดคุย - 21:43, 16 ตุลาคม 2006 (UTC)
- ครับ ผมพบว่า มีบางเว็บนำข้อมูลจาก วิกิพีเดีย ไปทั้งดุ้น แต่ไม่บอกแหล่งที่มา ซึ่งผมเจอในบทความAJAX. คุณมานพคิดว่า ควรทำการแจ้งเว็บที่เกี่ยวข้องหรือเปล่าครับ หรือว่าอย่างไรดี. เพราะไม่งั้นแล้ว ในอนาคตผมกลัวจะสับสนว่า ใครก๊อปใครกันแน่. ผมว่าเราน่าจะมีการแจ้งให้ทราบว่า คุณสามารถนำข้อมูลไม่ใช้ได้ แต่ควรจะบอกถึงแหล่งที่มา อะไรประมาณอย่างนี้นะครับ --Jutiphan | พูดคุย - 16:17, 10 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ช่วงนี้พอดีเห็นเกี่ยวกับการ copy & paste จากเว็บบอร์ด หรือเว็บเยอะ แล้วก็เห็นที่พุดคุยกัน เลยเกิดข้อสงสัยครับว่า ถ้าเราเป็นคนเขียนงานนั้นเอง
ลงบนเว็บไซต์ ก. ซึ่งเขาประกาศว่ามีลิขสิทธิ์ ไม่ได้แจกจ่ายฟรี แล้วเอามา copy & paste ลงใน วิกิพีเดีย อย่านี้ไม่ผิดใช่ไหมครับ แต่ว่าคนอื่น อาจจะคิดว่า เราไปลอกงานคนอื่นมา แล้วอย่างนี้ จะมีการอ้างอิง หรือบอกได้อย่างไรครับว่า เราเป็นคนเขียนบทความในเว็บไซต์นั้นเอง แล้วนำมาลงที่ วิกินี้ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนอะครับ --PoSTeRWEB 04:54, 11 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- คือผมว่านะครับ ถ้าเองเป็นคนเขียนเอง เราเองก็แจ้งได้ว่า เราอ้างอิงมาจาก Wikipedia. เนื่องจากว่าบทความในวิกิพีเดียมีการเปลี่ยนแปลงได้ และอาจจะมากกว่าหนึ่งคน ดังนั้นทางที่สุด ควรแจ้งว่า เราอ้างอิงมาจาก วิกิพีเดียครับ หรืออะไรแบบนี้. ปัญหาที่อาจจะเกิด คือเว็บที่ copy จากวิกิพีเดีย แล้วไม่มีการแจ้งแหล่งที่มาให้ทราบ. ซึ่งจะทำให้ กลายเป็นว่า วิกิพีเดียไป copy เขามาหรือเปล่า แต่ความจริงแล้วไม่ใช่. --Jutiphan | พูดคุย - 09:09, 11 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ถ้าเราเป็นคนเขียนงานนั้นเองลงในเว็บไซต์ ก. ถ้านำมา copy&paste ลงในวิกิพีเดีย ถือว่าคุณยอมรับให้นำออกเผยแพร่ต่อ ภายใต้สัญญาอนุญาต GFDL ครับ ซึ่งอาจจะขัดแย้งกับลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์ ก. แต่ถ้าคุณยอมรับตามสัญญานี้ คุณอาจต้องระบุที่เว็บไซต์ว่าหน้านั้น ๆ ได้เผยแพร่แล้ว และ/หรือ ระบุในหน้าพูดคุย หรือหน้าผู้ใช้ของคุณ ว่าคุณเป็นเจ้าของเว็บไซต์นั้น ๆ ก็อาจจะช่วยได้ครับ (แต่ไม่ใช่ในหน้าบทความนะครับ) --Wap 09:14, 11 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
การก่อกวน
นโยบายใหม่ ป้องกันการก่อกวน
- มีการพูดคุยที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:นโยบายและแนวปฏิบัติ
การเตือนก่อกวน
เห็นว่าตอนนี้ส่วนใหญ่ เราจะเตือนก่อกวนโดยการใส่แม่แบบ {{test}} ไปที่หน้าผู้ใช้ และใส่ทับไปเรื่อย ๆ (โดยเฉพาะที่ใช้สคริปต์จัดให้) เราควรจะเปลี่ยนเป็นใช้การ substitute ตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษไหมครับ ผมว่าค่อนข้างดีนะครับ เพราะสิ่งที่ผู้ใช้ได้รับคือข้อความ ไม่ใช่แค่ตัวเรียกแม่แบบ นอกจากนี้มันยังไม่เปลี่ยนตามแม่แบบด้วยครับ (ข้อความที่ส่งหาผู้ใช้น่าจะคงรูปแบบตอนที่ผู้ใช้ได้รับมากกว่านะครับ) ท่านอื่น ๆ ว่าอย่างไรครับ kinkku ● ananas 13:13, 31 มกราคม 2007 (UTC)
- ดีครับ ทดสอบแล้ว เวิร์ก ^_^ --Pi@k 14:08, 31 มกราคม 2007 (UTC)
- ความจริงผมเองก็เคยคิดอยู่เหมือนกันครับ ว่าจะทำอย่างนั้นดีไหม แต่ข้อดีที่ไม่ทับ คือเปลี่ยนข้อความในแม่แบบได้ แล้วบางทีใส่ทับไปนั้นทำให้รูปแบบดูรกในหน้าผู้ใช้ แต่ถ้าหากคิดว่า ทับน่าจะดีก่วา ผมยินดีที่จะเปลี่ยนสคริปต์จัดให้เป็นการใช้ทับแทนครับ แล้วก็ปัจจุบันนี้ เตือนละเมิด ในสคริปต์จัดให้สำหรับผู้ใช้นั้น ได้ใช้การทับอยู่แล้วนะครับ --Jutiphan | พูดคุย - 15:54, 31 มกราคม 2007 (UTC)
เอ่อ ผมเริ่มงงแล้วว่า อะไรคือทับและไม่ทับ ที่ผมพูดถึงตอนแรกคือว่า (ผมเข้าใจว่า) ในสคริปต์จัดให้นั้น เวลาเตือนครั้งที่สอง มันจะเอา {{test2}} ไปแทนที่ {{test}} โดยจะทำให้ข้อความที่หน้าผู้ใช้ปรากฏแต่อันล่าสุด (ผมเข้าใจถูกไหมครับ) ซึ่งอันนี้ที่ผมเรียกมันว่าทับในตอนแรก (เพราะมันไปทับอันเดิม) kinkku ● ananas 06:37, 1 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- มาพูดคุยกันได้ที่หน้าพูดคุยผมโดยตรงนะครับ สำหรับเรื่องเกี่ยวกับสคริปต์จัดให้ คือปัจจุบันนี้ เตือนก่อกวนนั้นไม่ได้ใช้ subst ทีครับ ซึ่งผมเองกลับไปคิด ตอนนี้กำลังดูแนวทางและผลที่ได้อยู่ เนื่องจากว่าหากใช้ subst แล้วนั้น สคริปต์จัดให้อาจตรวจสอบและทับของเก่าไม่ได้ เพราะไม่มีอะไรให้จับ เลยยังไม่ได้แก้ไขครับ เพราะว่าจุดตรงนี้ ซึ่งสำหรับรายละเอียด หรือคำแนะนำอื่น ๆ มาพูดคุย แสดงความคิดเห็นได้ครับ --Jutiphan | พูดคุย - 20:05, 1 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
เตือนก่อกวนส่งผลกับคนอื่น (สำหรับผู้ไม่ล็อกอิน)
เห็นว่าตอนนี้มีปัญหาสำหรับเตือนหมายเลขไอพีครับ เพราะในเมืองไทยมีหลายไอพีที่ซ้ำซ้อนกัน และล่าสุดเห็นมีพูดคุยในหน้าคุณ Octahedron80 ข้อความข้างล่างนี่ยกมาจากหน้านั้นครับ
- im this ip and i just thought i know something more to the subject so i just edit and turn out i got a few warn that say im harassing which has no explanation to it also i didnt mean to mess up your system of doing 'wikipedia' but what u did [delete or send warning which say im harassing is really rude for people who mean well so i kinda disappointed and i probably not gonna do anything with this thai-wiki anymore so just wanna tell u if this how u treat new people this wiki probably not hv much people help infrom things and u will live inside your own small worldืnothing can b neutral u know? it s always include people point of view
ปัญหานี้คิดว่าเนื่องจากผู้ใช้หมายเลขไอพีเดียวกันในวันก่อนหน้าได้ก่อกวน ในส่วนนี้ในเรื่องการ์ตูนนารุโตะ เลยโดนตักเตือนไป แต่พอคนเดิมออกไปคนใหม่เข้ามาใช้หมายเลขไอพีเดียวกัน ป้ายยังคงอยู่ทำให้คนที่เข้ามาใหม่เข้าใจผิดได้ว่า ยังไม่ได้ทำอะไรผิดก็โดนว่าซะแล้วทำให้รู้สึกไม่ดีไปกับวิกิพีเดียภาษาไทยไป เลยคิดว่าเวลาแจ้งก่อกวน เราน่าจะมีระบุเจาะจงไป "เรื่อง" กับ "วันที่และเวลา" หรือไม่ก็เราควรมีระบบลบป้ายก่อกวนออกใหม่อัตโนมัติ??? ทุกท่านมีความเห็นกันอย่างไรบ้างครับ --Manop | พูดคุย - 21:02, 4 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
สนับสนุนการลบป้ายเตือนออกโดยอัตโนมัติ ตามช่วงเวลาที่กำหนด--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 06:06, 5 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
61.91.191.11 (ย้ายมาจาก คุย:วิกิ:ก่อกวน)
ไอพีนี้เป็นเส้นทางหลักของอินเทอร์เน็ตของทรูครับ สมมติถ้าบล็อกไปผมก็อาจเข้ามาแก้ไขไม่ได้อีกเลย เพราะไอพีนี้เคยโดนบล็อกจากวิกิอังกฤษมาแล้วด้วย เนื่องจากเขาอาจเห็นว่ามันเป็น proxy อิสระ และผมก็เคยไปขอให้ปลดบล็อกออก (เฉพาะผม) จึงเรียนมาเพื่อให้ทราบ--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 12:17, 4 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
และผมคิดว่าเหตุผลนี้น่าจะพออธิบายไอพีที่ขึ้นต้นด้วย 61.91.191.* ทั้งหมดได้--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 12:33, 4 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- เห็นด้วยครับเรื่องการระบุ ชื่อบทความ พร้อมวันและเวลา ที่ก่อกวน ต้องออกแบบป้ายเตือนใหม่ด้วย (ปรับจากของเว็บภาษาอังกฤษน่าจะพอใช้ได้) --Pi@k 06:13, 5 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
นโยบายงดงานค้นคว้าต้นฉบับ (No Original Research)
ปัจจุบัน th.wikipedia ไม่มีหน้า นโยบายงดงานค้นคว้าต้นฉบับ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ 1 ใน 5 เสาหลัก และยังไม่มีแม่แบบระบุหน้าที่สงสัยว่ามีการละเมิดนโยบาย ซึ่งเป็นประเด็นในช่วงนี้ เพราะมีผู้ใช้สร้างบทความใหม่ ไม่มีแหล่งอ้างอิง และ ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการเขียน จากความรู้ของตนเอง เพื่อเผยแพรู่้ (ex:สำนักงานวางทรัพย์) ความตั้งใจดีนะครับ แต่มันผิดหลักการพื้นฐาน ว่า wikipedia เป็นที่รวบรวมข้อมูลความรู้จากแหล่งอื่นที่เืิชื่อถือได้ ที่สามารถตรวจสอบที่มาได้ ดังนั้น ขอเสนอแม่แบบข้างล่าง อยากให้ผู้ใช้คนอื่นตรวจสอบภาษา และออกความเห็น
ต้นฉบับ {{OriginalResearch}} from en.wikipedia
-- Patiwat 21:19, 14 กันยายน 2006 (UTC)
- (ขอโทษนะครับ ไม่ได้หาเรื่องจริงจริงนะ) ข้อความว่า ความตั้งใจดีนะครับ แต่มันผิดหลักการพื้นฐาน ว่า wikipedia เป็นที่รวบรวมข้อมูลความรู้จากแหล่งอื่นที่เืิชื่อถือได้ มันผิดหลักการพื้นฐานว่า "วิกิพีเดียไม่มีกฎตายตัว" หรือเปล่าครับ คุณ Patiwat ไม่ใช่คนเดียวกับ คุณ 172.x ใช่ไหมครับ ข้อความคล้าย ๆ --Manop | พูดคุย - 23:07, 14 กันยายน 2006 (UTC)
- "เสาหลักที่ 5: วิกิพีเดียไม่มีกฎตายตัว นอกจากหลักการพื้นฐานทั้งห้าที่ได้อธิบายตรงนี้ จงกล้า ..."
- แ่ต่ นโยบายงดงานค้นคว้าต้นฉบับ เป็นส่วนหนึ่งของเสาหลักที่ 1: วิกิพีเดียคือสารานุกรม.
- 172.x เป็นใครหลอ? Patiwat 23:46, 14 กันยายน 2006 (UTC)
- it's me ! woo hoo, what a paranoid :P -- 172.176.157.14 14:55, 22 กันยายน 2006 (UTC)
- 172.x เป็นใครหลอ? Patiwat 23:46, 14 กันยายน 2006 (UTC)
- แ่ต่ นโยบายงดงานค้นคว้าต้นฉบับ เป็นส่วนหนึ่งของเสาหลักที่ 1: วิกิพีเดียคือสารานุกรม.
อืมม งดงานค้นคว้าต้นฉบับ ฟังแล้วมัน ติดลบ ประหลาด ๆ ครับ ทำให้ไม่อยากอ่านต่อ (อ่านไปก็ไม่ได้ความรู้อะไรเพิ่ม .. ทำนองนั้น) -- ใน วิกิพีเดีย:กฎง่าย ๆ ใช้คำว่า วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ (ใช้คำว่า "ค้นคว้า" แืทน "วิจัย" สำหรับคำว่า research ซึ่งน่าจะกินความหมายทั่ว ๆ ไปมากกว่า) สำหรับข้อความในกล่อง น่าจะกระชับหน่อย เหลือสองบรรทัดก็น่าจะได้ ถ้าตัดลิงก์ที่ซ้ำซ้อนออกครับ บทความนี้ อาจมีความรู้ใหม่ หรือเป็นผลการวิจัยต้นฉบับ หรือมีข้อมูลที่ไม่ระบุแหล่งอ้างอิง ช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย ด้วยการระบุแหล่งอ้างอิง ดูรายละเอียดในหน้าอภิปราย --172.176.157.14 15:03, 22 กันยายน 2006 (UTC)
- I agree with 172.176.157.14's suggestions. Now somebody has to actually sit down and write/translate วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ... Patiwat 07:22, 23 กันยายน 2006 (UTC)
- ผมช่วยก็ได้ครับ สำหรับเรื่องฟังแล้วประหลาด น่าจะลองเปลี่ยนเป็น ไม่เผยแพร่ความรู้ใหม่ หรือ ไม่เผยแพร่ข้อมูลใหม่ หรือ ไม่เผยแพร่ผลงานใหม่. ซึ่งผมเห็นมีอยู่ในหน้า วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย. เดี๋ยวผมช่วยเขียน แปลจากนโยบายให้ได้ครับ. ส่วนเรื่องชื่อป้ายนั้น ผมว่าถ้าเปลี่ยนเป็น ความรู้ใหม่ หรือ ผลงานใหม่ หรือ ข้อมูลใหม่ น่าจะพังดู OK เลยครับ --Jutiphan | พูดคุย - 18:52, 8 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ทำไว้นิดหน่อยที่ วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ แล้วนะครับ เชิญไปร่วมกันปรับแก้ได้ -- bact' คุย 05:46, 18 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
วิกิพีเดียภาษาไทยกำลังล้มเหลว - Thai Wikipedia is Failing
ขอโทษที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ
A recent article in the English-language Wikipedia titled “Wikipedia is Failing” caused me to take a hard look at how the Thai-language Wikipedia is doing. The results are depressing. Note that the article is NOT titled “Wikipedia Can Improve.” The author implies that that systematic and fundamental problems are causing the failure. Here is a preliminary look at several equivalent metrics for the Thai Wikipedia.
เนื้อหาหลัก - Performance on Core Topics
Meta-Wiki and en.wikipedia maintain lists of “Vital Articles” and “Articles Every Wikipedia Should Have.” “Wikipedia is Failing” notes that of the 1182 Vital Articles, only 72 (6%) are Featured Articles. How does th.wikipedia compare? As far as I know, there is no equivalent list of Vital Articles in th.wikipedia. A pseudo-random selection of Vital Articles from almost every branch of knowledge from the en.wikipedia list shows many holes. • Edgar Allan Poe (no Thai article) • George W. Bush (Thai article, no Thai references) • Isaac Newton (Thai article, no references) • Spanish Civil War (no Thai article) • Egypt (Thai article, stub, no references) • Mount Everest (Thai article, no references) • Great Wall of China (Thai article, stub, no references) • Yoga (no Thai article) • Skepticism (no Thai article) • Portuguese language (Thai article, stub, no references) • Milk (Thai article, stub, no references) • NATO (Thai article, stub, no references) • Asteroid (Thai article, stub, no references) • Hydrogen (Thai article, stub, no references) • Common cold (Thai article, no references) • Sound (Thai article, stub, no references) • Hydropower (no Thai article) • Nuclear weapon (Thai article, stub, no references) • Game theory (no Thai article) • Ampere (Thai article, stub, no references)
th.wikipedia contains only 13 Vital Articles out of 20. 9 out of those 13 articles are stubs. All 13 have either no references or no Thai references. None of them could be called a Feature Article, or even a Good Article. I must say that th.wikipedia is a complete failure in core topics.
เนื้อหารอง - Performance on Broader Topics
“Wikipedia is a Failure” looks at the ratio of Featured and Good Articles to total articles. I haven’t figured out how to accurately count the number of Thai Featured Articles, but there a manual count shows 22 Thai Featured Articles out of 19,000 total articles. We claim to be proud of about 0.1% of all articles. A random selection of 10 articles will almost certainly show that all 10 articles are poorly written, incomplete, biased, or unreferenced. This is also sign of a complete failure.
มาตรฐานคุณภาพ - Quality of “Quality” Articles
The standard of quality for th.wikipedia article is much different from that used to evaluate Featured Articles or Good Articles in other wikipedias. One of the criteria for wikipedia Featured Articles is high-quality local-language references. Is this so for the past 11 Featured Thai Articles? • เสือ (5 Thai references) • โดราเอมอน (3 Thai references) • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (30 references) • งานราชพฤกษ์ 2549 (6 references) • ภาษาเกาหลี (unreferenced) • วันเข้าพรรษา (3 Thai references) • สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (1 Thai reference) • บาสเกตบอล (no Thai references) • งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙ (Unreferenced) • ราชวงศ์ชิง (1 Thai reference) • สืบ นาคะเสถียร (2 Thai references) The large majority of Thai Featured Articles contain few, if any, references. Articles on our most respected institutions (like งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙ and สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ) don’t deserve to be categorized as Featured Articles. This isn’t a complete failure, but Featured Articles are supposed to be “รวบรวมหน้าที่เขียนได้ดี มาเพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับผู้เขียนและผู้อ่าน”. Are these articles really good examples to our readers and editors? I don’t think so. In terms of standards of quality, th.wikipedia is a failure.
การรักษามาตรฐานคุณภาพ - Maintenance of standards
More than 20% of all articles that have ever been featured in en.wikipedia are no longer featured. Although this implies the quality has not been maintained, it also shows that somebody is evaluating articles and asking themselves whether these article should continue to be considered among, “the best articles in Wikipedia.”
To my knowledge, no Thai Featured Article has ever been downgraded. Therefore, I seriously wonder whether the maintenance of standards on the th.wikipedia can be considered anything other than a failure.
อัตราการผลิตบทความคุณภาพ - Rate of quality article production
There are over 19,000 articles in th.wikipedia, and over 9,000 stubs. It seems that one article is upgraded to Thai Featured Article status every month. If Featured Article status is considered to be the “gold standard” (and as noted above, I think this is false), then it will take nearly 1,600 years for every article in th.wikipedia to be considered a Featured Article. Given the growth of new low quality articles in th.wikipedia, I don't think the day will ever come when all thai.wikipedia articles are of high quality.
คำถาม - Open questions to the th.wikipedia community:
- ทำไม่ ระบบ wikipedia และ th.wikipedia ถึงล้มเหลว? Why has the system failed to produce a quality reference work?
- จะแก้ระบบอย่างไร? What can be done to change the system?
- ความบากบั่นหรือการประชาสัมพันธ์ จะช่วยมั้ย? Can “working harder, ” “encouraging people to make more edits, ” or “publicizing Wikipedia” ever substantially improve Wikipedia?
- ถ้าไม่เคร่งมาก จะช่วยมั้ย? Will repeated calls to lower the quality standards help Thai Wikipedia achieve its goals?
- จะแก้ใหญ่ หรือแก้ทีละนิด? Is radical change required, or just small adjustments to the current set-up?
- Wikipedia คืออะไร (ในความจริงและในความฝัน) ? What is Wikipedia really, and what do we want it to be?
Note: This is not a criticism of the hard-working editors of th.wikipedia. This is a plea for editors of all wikipedias to give some hard thought to what they are doing. I’ve contributed to several Featured and Good Articles, and after reading the original essay, I’m seriously considering just giving up. What do you think?
- อย่าคิดมากครับ คุณ Patiwat ไม่ใช่คนแรกที่บอกนะครับ ปีก่อนก็มีคนอื่นบอกมา สองปีก่อนก็มีคนอื่นบอกมา ก็ต้องรอดูกันต่อไปครับ เพราะคนที่บอกก่อนหน้าก็ทิ้งวิกิพีเดียไปแล้ว หวังว่าปีหน้าคุณ Patiwat คงไม่ทิ้งวิกิพีเดียภาษาไทยไปเหมือนที่ผ่านมานะครับ (ที่บอกว่าล้มเหลวแล้วก็จากไป) ความล้มเหลวอาจจะหาตัววัดยากนะครับ ก็ต้องดูว่าแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน แต่ถ้าเทียบตามสถิติแล้วค่อนข้างดีขึ้นนะครับ ไม่ว่าคนไทยใช้เยอะขึ้น และอีกหลาย ๆ อย่าง
- ตอนนี้มี โครง น่าจะหมื่นกว่าแล้วนะครับ อย่าคิดมากครับ ทุกอย่างต้องมีการเริ่มต้น ถ้าได้ลองเทียบปริมาณคนเขียนกับปริมาณคนลงทะเบียน กับจำนวนบทความ แล้วคุณ Patiwat จะเข้าใจว่า วิกิพีเดียภาษาไทยค่อนข้างมีคุณภาพครับ
- ส่วนเรื่อง ซิติเซนเดียม ก็คงเทียบไม่ได้ว่าจะจะส่งผลวิกิพีเดียจะตกหรือจะรุ่งครับ (ถ้าได้เทียบกับ h2g2) คงต้องรอดูกันต่อไป เพราะคนเขียนบทความนั้นอาจจะสนับสนุนซิติเซนเดียมก็ว่าได้ เหมือนกับกระแส คลังปัญญาไทย ที่ผ่านมาครับ ทุกอย่างเกิดจากทุกคนครับ อย่าเพิ่งให้ทุกอย่างเกิดจากกระแส --Manop | พูดคุย - 21:27, 14 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- ผมมองว่า วิกิพีเดียไม่ได้กำลังล้มเหลว แต่กำลังพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะยิ่งคนไทยมีพื้นฐานแตกต่างกับชาติอังกฤษอยู่แล้ว ในเรื่องลิขสิทธิ์ เรื่องการอ้างอิง เรื่องแบบนี้ก็แล้วแต่มุมมองด้วยครับ ว่าจะมองอย่างไร อย่างเรื่องการยกบทความคัดสรรนั้น ไม่ใช่ว่าบทความที่ไม่คัดสรรจะดีไม่ได้ หรือไม่มีดี ซึ่งมีหลากหลายบทความที่ไม่คัดสรร แต่ก็อยู่ในระดับคุณภาพที่เป็นสารานุกรมเลยดีทีเดียว จะเอาเรื่องนี้มาตัดสินใจว่า อีกกี่พันปีถึงจะมีบทความดี ๆ กี่ % นั้นคงไม่ถูกต้องนัก
- ซึ่งหากมองดูจำนวนชาววิกิพีเดียต่อเนื่องนั้น ถือว่ามีตัวเลขที่ค่อนข้างน้อย และน้อยมาก ซึ่งส่วนนี้ก็อยู่ที่ปัจจัยการโปรโมต แล้วก็สุดท้ายแล้วหากมีคนมาช่วยกันพัฒนา ทำให้ดีขึ้น ก็จะยิ่งดีขึ้นไปครับ คือวิกิพีเดียมันก็จะมีเรื่อง มีบทความ มีปัญหา มีอะไรที่ต้องแก้ ต้องทำ ต้องปรับตลอดเวลาครับไม่ว่าจะมองเวลาไหน แต่ ณ ขณะนี้จะบอกว่าล้มเหลวคงเร็วเกินไปครับ วิกิพีเดียเป็นระบบที่เปิดกว้างอยู่แล้ว หากใครคิดว่าทำอะไรที่มันดีขี้นได้ ก็ทำได้ครับ คุณ Patiwat ก็มาช่วยพัฒนาวิกิพีเดียภาษาไทยให้ดีขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่สิครับ ผมเองก็พยายามอย่างต่อเนื่องในหลากหลายวิธีด้วยกัน ที่จะทำอะไรให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม --Jutiphan | พูดคุย - 22:08, 14 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- ถ้ามองว่า th.wikipedia ที่ ดีหรือสำเร็จ คือ th.wikipedia ที่มีผู้อ่านเยอะ หรือผู้เขียนเยอะ ก็บอกได้ว่า th.wikipedia สำเร็จ แต่ถ้ามองว่า th.wikipedia ที่ ดีหรือสำเร็จ คือ th.wikipedia ที่มี ข้อมูลเชิงสารานุกรม ที่ เชื่อถือได้ เป็นกลาง ครบถ้วนและเป็นเสรี ผมว่า th.wikipedia ล้มเหลว th.wikipedia จะไม่น่าเชื่อถือ หรือ เป็นกลาง ถ้าผู้เขียนไม่เคร่งที่จะ ระบุแหล่งที่มา ของข้อมูล th.wikipedia จะไม่เป็นเสรี ถ้าผู้เขียนไม่ให้ความสำคัญต่อ ลิขสิทธิ์
- มีวิธีถอดความเป็น บทความคัดสรรมั้ย? (นอกจากจะลบป้าย {{บทความคัดสรร}}) ถ้าไม่มี มันยากที่จะบอกว่า th.wikipedia มีกลไกในการรักษาคุณภาพที่ยั่งยืน
- มีวิธีเสนอ/ประเมิน บทความคัดสรร ที่ไม่ได้มีข้อจำกัดว่า มีได้แค่เดือนละบทความมั้ย? จะได้มีตัวอย่างของบทความคุณภาพ ให้ ผู้อ่าน และผู้เขียนได้ดูกัน เยอะ ๆ
- th.wikipedia กำลังโตขึ้น ใหญ่ขึ้นทุกวัน แต่สัดส่วน บทความคุณภาพ:บทความทั้งหมด กำลังลดลงไปทุกวัน ถ้าทุกวันนี้ มีบทความเกือบ 20,000 บทความ คุณภาพโดยรวมต่ำขนาดนี้ ถ้าสักวันมีบทความเกือบ 2,000,000 บทความ (เหมือน en.wikipedia) คุณภาพมันจะรับได้หรือ? ผมว่ากันไว้ดีกว่าแก้ อย่าทนกับบทความที่ขาดคุณภาพเลย มันจะทำให้ th.wikipedia โดยรวมเสียหาย กลไก Quality Assurance ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มันไม่เพียงพอ Patiwat 01:07, 15 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- บทความในวิกิส่วนใหญ่จะแปลจากภาษาอังกฤษ หรือไม่ก็คัดลอก ดัดแปลง จากเว็บไซต์อื่น น้อยกว่านั้นเป็นการคัดลอกหรือดัดแปลงจากสิ่งพิมพ์ (เมื่อเทียบตามสัดส่วน, แต่อย่าให้อ้างตัวเลขนะ) และน้อยลงไปอีก ที่จะเขียนจากข้อมูลชั้นต้น (ดู สวนแสนปาล์ม พิพิธภัณฑสถานกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ) กระบวนการไม่เหมือนการสร้างสารานุกรมที่เป็นหนังสือในสมัยก่อน
- พูดตรง ๆ วิกิไทยยังไม่ได้รับความน่าเชื่อถือในวงกว้างมากนัก แต่เนื้อหาหลายส่วนก็ถูกนำไปใช้อ้างอิง หลายครั้งผมก็ใช้วิกิอ้างอิงเหมือนกัน อย่างวันสำคัญ ประวัติบุคคล ฯลฯ แต่ถ้าเนื้อหามีในวิกิอังกฤษ ก็มักจะใช้วิกิอังกฤษ
- คุณภาพของบทความคงไม่ได้อยู่ที่การอ้างอิงที่มาอย่างเดียว ภาษา ความเป็นกลาง การละเมิด ต่าง ๆ ต้องพิจารณาด้วยเหมือนกัน ถ้าเทียบการใช้แหล่งอ้างอิงในงานเขียนภาษาไทยส่วนใหญ่ (ยกเว้นงานเชิงวิชาการ) แม้กระทั่งสารานุกรม ก็จะพบว่ามีการอ้างอิงไม่ยุบยิบอย่างวิกิอังกฤษ
- ลองเสนอกันดู ว่าจะควบคุมคุณภาพอย่างไรบ้าง นอกเหนือจากการเน้นเรื่องแหล่งที่มา ซึ่งหลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นแล้ว ตอนนี้ก็ต้องช่วยกันเร่งแก้ไขบทความที่ขาดคุณภาพให้หนักมากขึ้น -ธวัชชัย 01:35, 15 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- เห็นด้วยกับการเสนอการการควบคุมคุณภาพบทความในวิกิพีเดียภาษาไทย เพราะส่วนมาก็เป็นโครงอยู่เยอะเหมือนกัน โดยเฉพาะเนื้อหาของบทความที่ยังขาดคุณภาพอยู่ แต่วิกิไทยกำลังเติบโตขึ้นจากเดิมและจากที่เคยเป็นอยู่ อย่าพึ่งด่วนสรุปว่าวิกิพีเดียภาษาไทยกำลังจะล้มเหลวเลยค่ะ--Se:Rin | พูดคุย - 01:48, 15 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- ขอพูดเรื่องบทความคัดสรรก่อนเพราะบางคนอาจจะไม่ได้เข้ามาในช่วงแรก ๆ จึงไม่ทราบ บทความคัดสรร 3 บทความแรกไม่ได้มาจากการโหวตครับ (รู้สึกจะมีผู้ดูแลเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง) และหลังจากนั้นบทความคัดสรรในช่วงต้น ๆ ก็ยังไม่มีกฎเกณฑ์อะไรที่ชัดเจนโดยเฉพาะเรื่องแหล่งอ้างอิง ถ้าจะเอาเกณฑ์ที่ดีเลิศมาจับก็คงไม่ได้แน่นอน และถ้าหากจะพิจารณาถอดออกก็ทำได้ ส่วนปัญหาเรื่องการอ้างอิงก็ต้องย้ำบ่อย ๆ และแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง ผมยังเชื่อว่าการอ้างอิงเป็นแนวทางหลักที่เกี่ยวโยงกับคุณภาพของบทความ อย่างไรก็ตาม เร็วไปถ้าจะบอกว่าวิกิพีเดียภาษาไทยกำลังล้มเหลว ขอมองในแง่ดีว่าเราทุกคนกำลังอยู่ในช่วงของการเรียนรู้ซึ่งต้องใช้เวลา อาจจะอีกหลายปีกว่าอะไร ๆ จะเข้าที่เข้าทางในแบบที่ยอมรับได้ ผมจึงไม่คาดหวังสูงในตอนนี้ แต่คิดว่ามันมีแนวโน้มที่ดีขึ้นมากกว่าแย่ลงถ้าทุกคนช่วยกัน --Pi@k 03:31, 15 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- สิ่งที่คุณ Patiwat กล่าวไว้ ก็น่าคิดนะครับ คงต้องหาวิธีในการแก้ไขเหมือนกัน ไม่ว่ามันจะล้มเหลวหรือไม่ ยังไงก็คงต้องปรับปรุงอยู่ดี ดังนั้น ล้มเหลวหรือไม่ ไม่ใช่สาระที่จะเอามากล่าวกันตอนนี้ เท่าที่สังเกตการณ์มาสักพัก ผมว่ามีปัญหาอื่นที่แอบแฝงในวิกิมากกว่าที่คุณ Patiwat กล่าวไว้อีกนะครับ แต่ทำยังไงได้ล่ะครับ คนพูดมันเยอะ คนทำมันน้อย คุณภาพของวิกิไม่ได้มาจากการมานั่งวิจารณ์งานของคนอื่นนะครับ ถ้าอยากให้บทความมันดีก็คงต้องลงมือทำ ตอนนี้ส่วนตัวชอบงานของคุณ Serin เพียงคนเดียวเท่านั้นครับ ขอชื่นชมคุณ Patiwat นะครับ ที่กล้าแหวกแนวคิดวิจารณ์วิกิอย่างมีเหตุผลพอควร --ScorpianPK 04:56, 15 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- เพิ่มเติมจากคุณ Pi@k นะครับ เรื่องบทความคัดสรร คุณ Patiwat น่าจะเรียนรู้ได้ (มั้ง) จากการพัฒนาวิกิพีเดียภาษาไทย เพราะจะเห็นว่าวิกิไทยพัฒนาแนวไหนจากบทความคัดสรรนี่เอง ไม่ว่าทั้งทางด้านคุณภาพ และส่วนเนื้อความ คุณ Patiwat อย่าพยายามมองอะไรที่ผิวครับ แนะนำอย่างยิ่ง ลองเอามือมาคลุกดูแล้วคงเห็นภาพได้มากขึ้น --Manop | พูดคุย - 05:02, 15 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- ผมคิดว่า มันอาจจะยังไม่ถึงเวลาที่จะบอกได้ว่า มันจะล้มเหลว แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า ที่กำลังทำอยู่นั้นดีอยู่แล้ว ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร ผมเห็นว่า เราน่าจะปรับปรุงเรื่องการประเมินคุณภาพ และัรักษาคุณภาพ แน่นอนว่า คุณภาพบทความในวิกิพีเดียภาษาไทยนี้ ส่วนใหญ่ยังไม่ดีพอจะเป็นสารานุกรมได้จริง ๆ ผมคิดว่ามันยังไม่ล้มเหลว ถ้าเรายังไม่พอใจและพยายามพัฒนาระบบต่อไป ถ้าเมื่อไหร่ที่เราคิดว่า วิกิพีเดียภาษาไทยดีอยู่แล้ว เมื่อนั้นวิกิพีเดียภาษาไทยก็คงล้มเหลวแน่นอน kinkku ● ananas 08:20, 15 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- คนพวกนี้คิดมากซะจริง ๆ เชียวนะ นะ จะมีอะไรดีไปซะหมดล่ะ กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว ใครอยากให้กรุงโรมมีสระน้ำพุ ก็จงถอดเสื้อผ้า มาสวมชุดคนงานผสมปูน หยิบจอบมาขุดดินให้เป็นสระน้ำซะก่อน กรุงโรมเสร็จสมใจหมาย สวยงาม อยุ่นานนับศตวรรษ ก็เกิดจาก คนที่ใช้กรุงโรม (ก็คือชาวกรีกนั่นเอง) ฉันใด หน้าวิกิพีเดียที่ชื่อว่า พระสมเด็จจิตรลดา ก็ทำเช่นเดียวกับกรุงโรม ไม่ได้ทำวันเดียว อิอิ
- ทำหลายวัน หลายเดือน ถ้าจะนับก็นับมาจากปี 2546 ก็แล้วกัน พอทำถึงเรื่องวัด ก็หมดพาราเซตามอน อันเป็นยาแก้ปวดขมับ 60 เม็ดเห็นจะได้ ถ้านับ ๆ ไว้นะ นะ พอเขียนเสร็จในวันนี้ก็เห็นภาพพระสมเด็จจิตรลดา ได้ชัดเจน สวยงาม ใครอยากได้ภาพพระราชทาน ให้รอวันที่ 5 ธันวาคม 2550 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พิมพ์แจกประชาชนฟรี
- แล้วจะมาบอกว่า วิกิพีเดีย จะล้มเหลวได้ยังไงเอ่ย
- ชาววิกิพีเดียภาษาไทยมีถึงหนึ่งหมื่นแปดพันคนเชียวนะ นะ เค้าสร้างกรุงโรงยังใช้คนไม่ถึงหมื่นคนหรอกนะ นะ ที่สำคัญคือระยะเวลาในการสร้าง ดั่งเช่น คำพังเพยที่ว่า ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน นะ นะ
- ความล้มเหลวของวิกิพีเดียอยุ่ที่ระยะเวลา แล้วก็คน แค่นี้เองนะ นะ คนก็คนเขียน กับคนอ่าน คนอ่าน อ่านแล้วไม่พอใจก็มาเขียนเองซะก็สิ้นเรื่อง เขียนแล้วก็เข้ามาอ่านเอง ปานนั้น มาอ่านทุกวัน กรุงโรมสร้างวันนี้ พรุ่งนี้ก็ต้องเดินกลับมาที่ก่อสร้างเพื่อดูและทำต่อ นะ นะ
- อย่างไรเสีย ก็อย่างลือคำว่า ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เปรียบเสมือนการปิดทองหลังพระ ดูพระสมเด็จจิตรลดา เอาเองละกัน แล้วจะรู้ว่า วิกิพีเดียประสบความสำเร็จในระดับน่าพอใจแล้วนะ นะ
ตอบจาก bact'
- ผมไม่คิดว่า วิกิพีเดียภาษาไทย "กำลังล้มเหลว"
- เพราะเราไม่เคยมี "เป้า" แล้วมันจะไป "ล้มเหลว" ได้อย่างไร :P
- สิ่งที่ต้องสร้างอย่างหนึ่ง นอกจากเนื้อหา คงต้องเป็นแนวคิด "สารานุกรมเสรี" โดยเน้นที่ตัว เสรี
- เสรี ไม่ใช่แค่แง่สัญญาอนุญาตเสรี แต่เป็นเสรีภาพ/และการเคารพเสรีภาพในทุก ๆ ด้าน
- เอาแค่ไม่ แยกเขาแยกเรา เหยียดพวกนั้น เอาพวกนี้ discriminate ยังทำไม่ได้เลย
- เรื่องเหล่านี้ต้องใช้เวลา
- ดูสิ กว่าจะยอมรับกันได้ ว่า "ทุกอย่างต้องมีจุดเริ่มต้น" - "โครง" ก็มีคุณค่า ... ใช้เวลากันเท่าไหร่ ?
- เสรี ไม่ใช่แค่แง่สัญญาอนุญาตเสรี แต่เป็นเสรีภาพ/และการเคารพเสรีภาพในทุก ๆ ด้าน
- วาทกรรม "อยากให้ เนื้อหาดี ต้องลงมือทำ"
- แน่นอน ถูกต้อง!
- แต่ไม่จำเป็นต้องลงมือที่ตัวเนื้อหาเพียงอย่างเดียว
- สิ่งที่อยู่ในหัว ทัศนคติ (ก่อนจะกลายเป็นเนื้อหา/การจัดการ) ก็สำคัญไม่แพ้กัน (ถ้าไม่สำคัญกว่า) -- เราลงมือกับสิ่งเหล่านั้นได้เช่นกัน
- เนื้อหาสมบูรณ์แบบ ครบถ้วน รอบด้าน จัดหน้าสวยงาม อ้างอิงเพียบพร้อม แต่กระบวนการเขียนไม่เปิดกว้าง มีการกีดกันการแสดงออก (ไม่ว่าจะทางใด ระดับใด ตรงหรืออ้อม) ... แบบนี้จะเรียกว่า "มีคุณภาพ" ตามประสงค์ "สารานุกรมเสรี" ไหม ?
- หรือไม่ต้องสนใจ ให้เนื้อหาดีก็พอแล้ว
- ถ้าอย่างนั้น วิกิพีเดีย จะต่างกับ สารานุกรมปกติตรงไหนบ้าง ?
- การที่เนื้อหาดีในวันนี้ จะเป็นหลักประกันว่าเนื้อหาจะดีในวันพรุ่งนี้ไหม ?
- เทียบกับ ทัศนคติและความเข้าใจที่ดี
- หรือไม่ต้องสนใจ ให้เนื้อหาดีก็พอแล้ว
- แต่ถ้าหลักการมากไป อาจจะไม่ถูกใจสมาชิกสัมฤทธิผลนิยม
- ผู้ใช้:Phisite ทำสไลด์สั้น ๆ ไว้ (ผมว่าเองว่า) น่าสนใจดี Wikipedia: the Free Encyclopedia มีสถิติน่าคิดของวิกิพีเดียภาษาไทย
- คำตอบเปิด
- ทำไม ระบบ wikipedia และ th.wikipedia ถึงล้มเหลว?
- ตอบแล้ว
- จะแก้ระบบอย่างไร?
- ไม่รู้
- แต่คิดว่าควรจะต้องทำให้ระบบใหญ่กว่าคน -- อย่าให้ใครคนหนึ่งคนใด กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ไม่ว่าเขาจะเป็นผู้ดูแลหรือไม่ มามีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจใด ๆ ได้
- ความบากบั่นหรือการประชาสัมพันธ์ จะช่วยมั้ย?
- ความมานะบากบั่น ในทิศทางที่เหมาะสม มีประโยชน์
- อย่าให้เป็นความดื้อรั้นอยากจะเอาชนะ เป็นใช้ได้ เพราะมันจะขัดกับเรื่อง เสรี ทันที (ไม่เป็นอิสระแม้กระทั่งจากความคิดของตัวเอง)
- การประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ จะทำให้รู้จักเยอะขึ้น อันนี้แน่นอน
- รู้จักเยอะ ก็อ่านเยอะขึ้น - และก็จะเขียนเยอะขึ้น (สัดส่วนมากน้อยยังไงก็ตาม แต่มันเยอะขึ้นแน่)
- แต่ถ้าไม่ได้ประชาสัมพันธ์แนวคิด สารานุกรมเสรี ไปด้วย ผมไม่คิดว่ามันจะเพิ่มคุณภาพอะไรได้
- ความมานะบากบั่น ในทิศทางที่เหมาะสม มีประโยชน์
- ถ้าไม่เคร่งมาก จะช่วยมั้ย?
- จะเคร่งมาก เคร่งน้อย ก็เอาเถอะ -- แต่อย่าสองมาตรฐาน, สุดท้ายคนที่รับสองมาตรฐานไม่ได้เขาก็จะเลิก
- จะแก้ใหญ่ หรือแก้ทีละนิด?
- ไม่รู้
- Wikipedia คืออะไร (ในความจริงและในความฝัน) ?
- ฝัน: แหล่งรวม ข้อมูล ความรู้ ความเชื่อ ทุกอย่าง อย่างเกือบจะไม่มีขีดจำกัด -- ขีดจำกัดเดียวที่มีคือ มันต้องเนื้อหาประเภทสารานุกรม (เช่น กลุ่มผู้อ่านคือผู้สนใจทั่วไป)
- เรื่องเหมาะสมหรือไม่ มีคุณค่าหรือไม่ ปล่อยคนอ่านเขาไปเลือกเอง
- จริง: ? มันก็เกือบ ๆ ละนะ เป๋ ๆ ไปโน้นนิดนี่หน่อย แต่ยังดูมีหวังน่ะ ตอด ๆ ไปเรื่อย ๆ เหนื่อยก็ไปพัก มีแรงก็มาลุยต่อ คิดว่ามันคงมีลุ้น
- ทำไม ระบบ wikipedia และ th.wikipedia ถึงล้มเหลว?
-- bact' คุย 07:23, 17 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
แนวคิด "สารานุกรมเสรี"
มีบทความไหน ที่พอจะช่วย ประชาสัมพันธ์ แนวคิด สารานุกรมเสรี ได้บ้าง (จะได้เข้าไปอ่านก่อนเลย) 124.120.21.229 18:21, 17 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- ถ้าเป็นความเห็นหรือแนวคิด ในวิกิพีเดียอังกฤษน่าจะมีบ้างลองค้นหาดูครับ แต่ในวิกิพีเดียภาษาไทยตอนนี้ไม่มีครับ แต่ถ้าเป็นภาษาไทยหาอ่านตามบล็อกน่าจะพอมีบ้าง --Manop | พูดคุย - 04:38, 19 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
เมื่อใดที่วิกิพีเดียล้มเหลว?
en:Wikipedia_talk:Wikipedia_is_failing#Wikipedia_fail_when_...
- เมื่อใดที่วิกิล้มเหลว?
- เมื่อมันไม่ใช่วิกิอีกต่อไป
- เมื่อใดที่สารานุกรมล้มเหลว?
- เมื่อมันไม่ใช่สารานุกรมอีกต่อไป
- เมื่อใดที่วิกิพีเดียล้มเหลว?
- เมื่อมันไม่สามารถเป็นทั้ง วิกิ และ สารานุกรม ได้ในเวลาเดียวกัน (นั่นคือเมื่อ 2 อย่างนี้อยู่ร่วมกันไม่ได้)
- แล้วเมื่อใดที่มันไม่ใช่วิกิอีกต่อไป?
- เมื่อมันไม่มีเสรีภาพในการแก้ไขและตีพิมพ์ด้วยเจตนาที่ดี
- เมื่อผู้แก้ไขไม่มี จิตวิญญาณของวิกิ อีกต่อไป
--Ans 04:02, 22 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
นโยบายการเสนอชื่อ/การคัดเลือกผู้ดูแล
เรื่องที่คั่งค้างมานาน น่าจะทำให้ชัดเจนเสียที
เชิญที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล#สรุปแนวทางการพิจารณาเพื่อรับเป็นผู้ดูแล (จากด้านบน)
-- bact' คุย 20:51, 19 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
เรื่องอ้างอิง + แหล่งอ้างอิงที่จำเป็น
มีคนถามมาว่า:
... สองข้อครับ กับความสำคัญของแหล่งอ้างอิง (1) อ้างอิงในบทความการ์ตูน (2) อ้างอิงเนื้อหาเล็กน้อยในบทความใหญ่ อย่างการอ้างอิงในบทความการ์ตูน เช่น ถ้าผมแค่ใส่คำว่า "อ้างอิงจากการ์ตูนนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ เล่ม 1-40" ยังงี้นับว่าอ้างอิงโอเคไหมครับ ส่วนอีกเรื่องนึง การอ้างอิงเล็กน้อย นี่ผมไม่แน่ใจว่าแค่ไหนถึงจะเหมาะสมในการอ้างอิงครับ อย่างยกตัวอย่าง บทความนักฟุตบอลคนนึง ถ้ามีประวัติยาวมาก แต่ส่วนอ้างอิงใส่แค่ว่า "อ้างอิงเกี่ยวกับอาการบาดเจ็บที่นิ้วก้อย" (จริง ๆ หาอ้างอิงไม่ได้ มีแต่อ้างอิงที่มีข่าวเขาเข้าโรงพยาบาล) แล้วมีแค่อ้างอิงเดียว อันนี้บทความนี้ยังคงต้องการอ้างอิงเพิ่มเกี่ยวกับส่วนอื่นไหมครับ หรือว่าแค่อ้างอิงอันเดียวก็เพียงพอต่อหนึ่งบทความครับ ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย - ภาพ:Wikipe-tan tab.png 01:01, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- (1) ผมว่าไม่โอเคนะ อย่างถ้าเป็นบทความเีรื่องทั่วไป มีคนอ้าง "สารา่นุกรมเด็ก เล่ม 1-40" หรือมีคนอ้าง "สนุกดอตคอม" มันจะไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านเลย และผู้อ่านก็จะคอยมีข้อสงสัยว่า "เอ๊ะ... อ้างอย่างนี้มั่วหรือเปล่า" ผมว่าถ้าเป็นเนื้อหาืที่อยู่ในการ์ตูน น่าจะอ้างจากเล่ม/ตอน (ex: ซุนหงอคงเป็นเด็กมีหาง<ref>โทริยาม่า อากิรา, ดราก้อนบอล, สำนักพิมพ์ วิบูลกิจ, 1990, เล่ม 1</ref>) ที่ควรระวังเป็นพิเศษคือ ระบุทั้งเล่ม ระบุทั้งปี ระบุทั้งสำนักพิมพ์ เพราะ รู้สึกว่า แต่ละปีการพิมพ์ แต่ละสำนักพิมพ์ รูปแบบเล่มจะไม่เหมือนกัน เห็นบางเล่มบางนิดเดียว บางเล่มหนามาก บางเล่มรวมพิมพ์กับการ์ตูนเีรื่องอื่น ส่วนถ้าเป็นเนื้อหาืที่เกี่ยวกับการ์ตูน ก็ต้องอ้างเหมือนแหล่งอ้างอิงทั่วไป (ex: อีวานเกเลียนถูกวิจารณ์อย่างมาก เนื่ิองจากทำให็เด็กที่ชมฆ่าตัวตาย<ref>กรุงเทพธุรกิจ, อีวานเกเลียนคืออะไร, 10 ม.ค. 2540</ref>)
- (2) ผมว่าไม่โอเคนะ เพราะบทความที่มีข้ิอมูลยาวมาก ย่ิอมมีที่มาของข้อมูล การใส่อ้างอิงสำหรับเกร็ด มันไม่ balance. อีกอย่าง อย่าลืมว่า นโยบาย wikipedia เรื่องบุคคลมีชีวิด มันรัดกุมมาก ทุกข้อมูลสำคัีญ ต้ิองมีอ้างอิง ดูอย่าง case ที่เป็นข่าวสิ (http://yro.slashdot.org/article.pl?sid=07/02/23/003258) ฟ้องร้องกันเชียว วิธีแก้คือถ้าเป็นเนื้อหาในเชิงลบที่ไม่มีอ้างอิง ต้องลบทันทีและถาวร และแจ้ง vandalism สำหรับผู้ที่ก่อกวน ส่วนถ้่าปเป็นเนื้อหาทั่วไป ถ้่าเป็นที่กังขา ก็ใส่ {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} หรือ {{เนื้อหาไม่ตรงอ้างอิง}}
- คนอื่นว่าไง? Patiwat 02:21, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- แล้วถ้าเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเนื้อเรื่องภาพยนตร์การ์ตูนซึ่งไม่มีเป็นหนังสือการ์ตูนจะอ้างอิงยังไงเหรอครับ คราวนี้?? --ScorpianPK 03:16, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- และคุณรู้ได้ไงว่าถูกต้อง/เป็นความจริงละ? และผู้อ่านจะรู้ได้ไงละ ว่าคุีณไม่ได้มั่ว หรืิอจำผิด หรืิอลอก หรือทำ original research หรืิอใช้แหล่งข้อมูลที่ผิด เก่า หรือไม่เป็นกลาง? ถ้าคำตอบคือ "มันเป็นข้อมูลที่ใคร ๆ ก็รู้โดยธรรมชาติ" ก็ลองคิดดูสิว่าข้ิอมูลที่ใคร ๆ ก็รู้โดยธรรมชาติ สมควรที่จะอยู่ในสารานุกรมหรือเปล่า. Patiwat 05:18, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- ขอโทษนะครับ ผมถามว่าจะอ้างอิงยังไง ไม่ได้ถามว่าข้อมูลมันถูกหรือเปล่านะครับ หรือบอกว่าไม่ควรอ้างอิงนะครับ คุณในฐานะที่ผมคิดว่าเชี่ยวชาญในการอ้างอิงเนี่ยะ น่าจะตอบคำถามอย่างมีสติและสัมปชัญญะมากกว่านี้นะครับ ผมมาถามความคิดเห็นนะครับว่าควรจะเอายังไง ไม่ใช่ให้มานั่งยอกย้อนต่อปากต่อคำนะครับ ถ้าถามผมว่ารู้ได้ไงว่าถูก ผมก้อบอกว่าผมดูจากวีซีดีของผมนี่ล่ะ ดูอยู่บ่อย ๆ นี่ล่ะ ทำไมเหรอครับ แล้วผมถามว่าจะอ้างอิงยังไง คุณกลับไม่ให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์เลยนะครับ หรือคุณติดป้ายเป็นอย่างเดียวเหรอครับ ขอบคุณครับ --ScorpianPK 05:58, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- ถ้าอยากรู้วิธีอ้างอิงวีซีดี ก็น่าจะถาม วิธีอ้างอิงวีซีดี นึกว่า ScorpianPK ถาม แนว Manop ว่าถ้าไม่มีหนังสือหรือข่าวอ้่างอิง และจะทำอย่างไร ถ้าเป็นวิดีโอเห็นเขาใช้ {{cite video}} (ex: อิซาโอะ ทาคาฮาตะ (ผู้กำกับ). (1998). สุสานหิ่งห้อย [DVD]. สตูดิโอจิบลิ) ถ้าเป็น รายการการ์ตูน (TV) ภาพยนตร์การ์ตูน (TV) ภาพยนตร์การ์ตูน (โรงหนัง) ภาพยนตร์การ์ตูน (OVA) ภาพยนตร์การ์ตูน (เกมส์) ลองเช็คดูใน en:Wikipedia:Template messages/Sources of articles. Patiwat 07:49, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- สอบถามคุณ Patiwat หน่อยครับ อยากขอคำแนะนำว่า ถ้าบทความการ์ตูนนี่ควรจะอ้างอิงแบบไหนครับ ถ้ามันไม่ได้ลงข่าวเลย หรือว่าถ้าบทความไหนไม่มีอ้างอิง ก็ไม่ต้องสร้างบทความหรือครับ
- Wikipedia ไม่ใช่ที่สำหรับเผยแพร่ความคิดหรือการวิเคราะห์ของคุณ หรือเผยแพร่ข่าวสารใหม่ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ที่อื่นมาก่อน. อยากเห็นตัวอย่างของบทความ (ภาษาอังกฤษ) เกี่ยวกับการ์ตูนที่ไม่เอาใหนมั้ย? ลองดูตรงนี้สิ: Inspiration and symbolism in Neon Genesis Evangelion. Patiwat 05:18, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- ถ้าไม่มีใครมาทำ QC ขีดเส้นระหว่างบทความที่มีเป็นกลาง ครบถ้วน และ ยืนยันได้ กับบทความที่ต้องการความช่วยเหลือ มันจะยากที่คุณภาพของ th.wikipedia จะเพิ่มขึ้น บทความทีผมแก้ล้วนแต่เป็นบทความใหม่ทั้งสิ้น ผมแค่ไม่ต้องการให้บทความพวกนี้ ทำให้ "มีน" ของ th.wikipedia มันลดลงให้มากนัก (แต่ก็รู้ตัวว่าช่วยไ้ด้นิดเดียว - ลองอ่านที่ วิเคราะห์มาใน "วิกิพีเดียภาษาไทยกำลังล้มเหลว"). Patiwat 05:18, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
- ผม QC ตรงใหน ผิด หรือไม่คงเส้นคงวา ก็ช่วยบอกด้วย. บทความใหม่ ๆ ใน wikipedia ใช่ว่าจะขาดคุณภาำพทุกบทความ. มีบทความใหม่ ๆ หลายบทความ ที่ถึงแม้จะสั้นเป็นโครง แต่ก็เป็นกลาง มีอ้างอิง น่าเชื่ิอถือ.
- Manop ถามว่า ควรจะอ้างอิงแบบไหน ถ้ามันไม่ได้ลงข่าวเลย. ขอตอบโดยอ้างนโยบาย en:WP:VERIFY: "If an article topic has no reliable, third-party sources, Wikipedia should not have an article on it." แปลสั้น ๆ : หัวข้ิอใหน ที่ไม่เคยมีใครในโลกนี้เคยกล่าวถึงแม้สักครั้ง หัวข้ิอนั้น ไม่ควรอยู่ในสารานุกรม
- Manop ถามว่า ทำไมผมไม่เพิ่มแหล่งอ้างอิงใน wikipediaบ้าง. 1) ขอตอบโดยอ้างนโยบาย en:WP:VERIFY: "The burden of evidence lies with the editor who adds or restores material." แปลสั้น ๆ : มันไม่ใช่หน้าที่ผม มันคือหน้าที่คนที่ใส่ข้ิืิืิอมูลแต่แรก 2) ในช่วง 8/06 - 11/06 ผมเขียนบทความใหม่ 80 บทความ มีอ้างอิงทุกบทความ (ุึุถึงมีบ้าง ที่เป็นโครง) บางบทความที่ผมมีส่วนร่วมในการแก้ในช่วงนั้น มีอ้างอิงกว่าร้อยแหล่ง (พอดีเป็ีนบทความที่มีคนถกเถียงกันมาก) ผมอาจจะไม่ได้ทุ่มเทให้กับ wikipedia มากเท่า Manop แต่ผมก็ตั้งใจไม่น้อยเหมือนกัน ที่จะสารานุกรมเสรีคุณภาพ. Patiwat 09:01, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)