ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/กรุ 7

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุ 1 กรุ 5 กรุ 6 กรุ 7 กรุ 8 กรุ 9 กรุ 10

รู้ไหมว่า…

ผมเห็นว่า ในส่วนหน้าแรกที่มีกรอบของหัวข้อ รู้ไหมว่า... ตอนนี้ในส่วนของการเสนอชื่อเพื่อขึ้นในหน้าหลัก น่าจะมีการลิงก์ให้เข้าถึงหน้า วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า ได้ด้วย และตอนนี้ยังไม่มีหลักตายตัวชัดเจนว่า หัวข้อ รู้ไหมว่า... จะอยู่นานเท่าไหร่ แต่ที่ลองสังเกตดูจะอยู่ 1 เดือน ซึ่งผมคิดว่า บทความใหม่ ๆ ก็มีมาพอสมควร อาจจะมีการเปลี่ยนทุกครึ่งเดือน และในการเสนอชื่อ ผมว่าหัวข้อที่ถูกเสนอเก่า ๆ ประมาณ 3-4 เดือน ก็ยังอยู่ในนั้น ไม่ได้ลบออกประการใด เราควรมีกฏเกณฑ์มั๊ยว่า พอเสนอเสร็จ พอมีการเปลี่ยนหน้าในหน้าหลัก หัวข้อที่ถูกเสนอจะถูกลบ เพื่อให้โอกาสบทความใหม่ ๆ ด้วย และเพื่อกระตุ้นให้คนเขียนบทความใหม่ด้วย จะได้รู้สึกมีกำลังใจในการเขียน ที่บทความขึ้นหน้าหลัก คิดเห็นอย่างไรครับ ผมแค่ลองเสนอดู --Sry85 23:37, 5 ตุลาคม 2007 (ICT)

  • ต้องสมบูรณ์ขนาดไหนถึงจะพอนำเสนอได้นะครับ ไอ้ที่เขียนอยู่เรื่อย ๆ นี่ก็ไม่แน่ใจเท่าไหร่ ว่าแต่หัวข้อ FA เดือนนี้เห็นแล้วมันขัดใจจริง อุตส่าห์หนีเรื่องการเมืองการเขียนวิกิพีเดียดีกว่า ดันเจอ FA เดือนนี้เข้าไป เล่นเอาจุกเลย นึกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะได้ซะอีก ว่าแต่อยากถามเหมือนกัน ตรงช่องรู้ไหว่านี่ใครเสนอเข้าไปได้นะครับ แล้วใครดูแล ผมลองเข้าไปดูในหัวข้องบางอันแล้ว ขนาดระดับโครงยังไม่ได้เลย ผมว่านะ อีกอย่างหัวข้ออยู่น๊านนาน นานกว่าบัตรเติมเงินในโทรศัพท์ผมอีกละมั๊ง (เติมไม่ทันโดนตัดเงินทิ้งไป 400 กว่า --!) รู้ไหมว่าน่าจะสับเปลี่ยนบ่อย ๆ นะครับ เอาหัวข้อที่สมบูรณ์ ๆ ใหม่ ๆ ขึ้นมาทุก ๆ สัปดาห์ หรือเมื่อมีหัวข้อสมบูรณ์กว่ารอจ่อคิวอยู่ --Mafuyu 00:20, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)

ระดับโครงก็เสนอได้เลยครับ ระดับสั้นมากไม่เอานะ ปกติจะเปลี่ยนทุกครึ่งเดือน ถ้าขี้เกียจหน่อยก็เลยไปยันหนึ่งเดือน ขึ้นอยู่กับว่าจะมีหัวข้อมารอต่อคิวอยู่เท่าไร และความหลากหลายของหัวข้อที่จะถูกหยิบขึ้นมาหนึ่งชุด (ไม่ได้เรียงตามลำดับก่อนหลัง) แต่ล่าสุดนี้รู้สึกว่าจะไม่มีการเลือกจากรายชื่อที่เสนอเลยนะครับ --Octahedron80 02:18, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)

  • ถ้าเรื่องที่เคยเสนอแล้ว แต่ถูกแก้จนต่างจากของเดิมอย่างมากนี่ เสนอซ้ำได้มั๊ย ของเก่ามันแค่โครง อย่างโอเอสตัง นี่เป็นไงครับ --Mafuyu 02:24, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)

ไม่เกี่ยวครับ เนื้อหาในรู้ไหมว่า ใช้เสนอสิ่งที่น่าสนใจในแต่ละเดือนเป็นข้อความสั้น ๆ ไม่ได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา ถึงจะเปลี่ยนข้อความมาใหม่มันก็ยังเป็นหัวข้อเดิม เพราะข้างบนก็ระบุไว้แล้วว่า "พยายามเน้นในส่วนบทความสร้างใหม่เพื่อป้องกันการซ้ำซ้อนกับชื่อที่เคยเสนอก่อนหน้า" และ "กรุณาตรวจสอบด้วยว่าไม่ซ้ำกับที่ผ่านมา" วิกิพีเดียมีบทความมากกว่า 27,000 บทความ จะไปเสนอซ้ำทำไมครับ :D --Octahedron80 02:28, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)

  • ก็เพราะมีมากนะซิ ถึงอยากหาทางให้สะดุดตาซะหน่อย จะได้มีคนได้เห็นมั่ง ทางรอดเดียวที่เหลือ คือ ทำให้ถึงระดับ FA แล้วค่อยไปเสนอแข่งกับคนอื่น ตายแน่ ๆ ดันชอบแต่เรื่องไร้สาระ แล้วจะเขียนให้เป็น FA ยังไงหว่า --! --Mafuyu 02:38, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)

โอเอสตังคงไม่ได้เป็นถึง FA แต่ถ้าเป็น GA พอได้ เรื่องประเภทนี้ :D ทำไมผมรู้ว่าซ้ำ ก็ตอนนั้นผมเป็นคนเสนอเอง --Octahedron80 02:41, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)

ผมว่าเสนออย่างไรก็ได้นะครับ แต่ก่อนมีนโยบายว่าเฉพาะบทความใหม่ เพื่อป้องกันการเสนอซ้ำ แต่คิดว่าบทความเก่าที่ยังไม่ถูกเสนอมีเยอะพอควร ส่วนเรื่องที่เสนอผมว่าถ้าไม่ซ้ำบ่อยจนเกินไปก็คงโอเคมั้งครับ ถ้าไม่มีบทความอื่นให้เสนอแล้ว --Manop | พูดคุย 05:22, 7 ตุลาคม 2007 (ICT)
จริง ๆ แล้วหลักการของ "รู้ไหมว่า" น่าจะตั้งใจเลือกจากบทความใหม่ ๆ มาให้ดูกันมากกว่า เพื่อจะได้เห็นว่า เรามีบทความอะไรใหม่ ๆ น่าสนใจบ้าง มากกว่าจะเป็นแหล่งรวมความรู้รอบตัวอะไรก็ได้นะครับ --KINKKUANANAS 09:39, 12 ตุลาคม 2007 (ICT)

หน้าอัปโหลดแบบใหม่ (อีกรอบ)

คุณ Passawuth ได้ลองสร้างหน้าอัปโหลดแบบใหม่ ผู้ใช้:Passawuth/อัปโหลด ที่จะใช้แทนที่หน้า วิกิพีเดีย:อัปโหลด ที่ลิงก์มาจากทางเมนูซ้ายโดยตรง เลยคิดว่าน่าจะมีการรีวิวจากคนอื่น ๆ ก่อนใช้งานจริง และหลายรูปก็ไม่ได้สื่อความหมายถูกต้อง โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นว่ารูปเยอะไปโดยไม่จำเป็น และยิ่งจะสร้างความสับสนให้ผู้ใช้ใหม่ได้ง่าย --Manop | พูดคุย 05:22, 7 ตุลาคม 2007 (ICT)

ลองแก้ไขปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่เช่นกันค่ะ แต่เป็นการนำแบบเก่าและใหม่มารวมกัน ดูเพิ่มเติมได้ที่หน้าอัปโหลดแบบใหม่ค่ะ เป็นการลิงก์เข้าหน้าอัปโหลดแบบเดิมที่คุณมานพทำไว้ และรวมรูปแบบภาพของน้องวุฒิเข้าไปด้วย ขอคำแนะนำทุกท่านด้วยนะคะ--Se:Rin | พูดคุย - 10:53, 7 ตุลาคม 2007 (ICT)
ตอนนี้มีสร้างแบบใหม่สองแบบครับ สงสัยต้องให้คุณ Passawuth กับ คุณ Serin ช่วยกันทำโดยรวมหน้า ผู้ใช้:Passawuth/อัปโหลด และ User:Serin/Try เข้าด้วยกันหรือเปล่า --Manop | พูดคุย 23:39, 7 ตุลาคม 2007 (ICT)

เรี่องจากข่าว

นอกจากสรุปข่าวสั้น ๆ ทางด้านขวาแล้วมีบทความเต็มของข่าวรึเปล่าครับ เรื่องของข่าวนี่มันมีโครงสร้าง และวัตถุประสงค์เป็นยังไง อยากจะเสนอข่าว หรือว่าอยากจะสรุปสั้น ๆ ให้ดูแล้วไปหาอ่านต่อเอง เห็นข่าวในช่าง 2-3 วัน โล่งโจ้ง เข้าไปดูเห็น Botkung ทำงานงก ๆ อยู่คนเดียว (ไม่ใช่คนซิ ^^!) เลยว่าจะเข้าไปศึกษาตรงนั้นซะหน่อย ใครดูแลส่วนนั้นอยู่ ช่วยอธิบายหน่อยครับ --Mafuyu 04:18, 11 ตุลาคม 2007 (ICT)

ปกติในส่วน เหตุการณ์ปัจจุบัน และส่วนด้านขวาของหน้าหลักจะเป็นสรุปข่าวสั้น ๆ นะครับสองสามบรรทัด และทำลิงก์ไปยังข่าวจริง ซึ่งมีแค่นั้น โดยนอกจากนี้ถ้าต้องการเขียนเป็นข่าวยาวสามารถลองดูได้ที่ วิกิข่าว เป็นอีกโครงการ (แต่วิกิข่าวไทย ท่าจะร้าง) ส่วนผู้ดูแลอยู่ก็ตอนนี้ท่าทางจะไม่มีผู้ดูแลโดยตรงครับ ส่วนใหญ่ก็ใครสนใจก็เข้าไปเขียนครับ ถ้าสนใจสามารถเขียนได้ครับ เขียนได้ทุกวันยิ่งดี ฮิฮิ --Manop | พูดคุย 05:27, 11 ตุลาคม 2007 (ICT)
วิกิข่าว ใช้อุปกรณ์อะไรไม่ได้เลยครับ ทำลิ้งค์ ใส่รูป ทำตัวหนา ตัวเอียง ฯลฯ ที่มีให้กดข้างบนเพื่อสะดวกในการเขียน ในวิกิข่าว รู้สึกว่าจะไม่ทำงานนะครับ ถึงอยากจะเขียนก็คงลำบากละ ไม่รู้จะทำยังไง--Mafuyu 05:37, 11 ตุลาคม 2007 (ICT)
ดูจากวิกิพีเดียอังกฤษ เขาบอกว่า In the News ไว้สำหรับการนำเสนอบทความที่กำลังเป็นที่สนใจในเวลานั้น ๆ ก็คือบทความที่กำลังมีการปรับปรุงตามเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น ไม่ใช่เพียงการนำเสนอข่าวที่น่าสนใจทั่วไป แต่ในวิกิพีเดียภาษาไทย เหมือนว่าจะไม่ค่อยเป็นแบบนั้นเท่าไร (ตัวเองก็ไม่ได้รู้เหมือนกันครับ ว่ามันตั้งใจไว้แบบนั้น ตอนที่เคยใส่ข่าวเข้าไป) --KINKKUANANAS 09:44, 12 ตุลาคม 2007 (ICT)

ผมอยากจะให้เสนอข่าวที่เป็นที่น่าสนใจในระดับโลกนะครับ ไม่ใช่แค่ระดับประเทศไทย เพราะชาวต่างชาติที่ไม่ใช่ชาวไทยก็เข้ามาวิกิพีเดียภาษาไทย --Octahedron80 11:01, 15 ตุลาคม 2007 (ICT)

ชาวต่างชาติกี่คนที่อ่านภาษาไทยออกเหรอ แล้วเข้ามาอ่านในวิกิไทยด้วยย เจ๋งเจง
แล้วคุณ Octahedron80 ไม่เขียนมั่งหรือครับ ใน {{เรื่องจากข่าว}} --Manop | พูดคุย 11:12, 15 ตุลาคม 2007 (ICT)
ผมเขียนไปจำนวนหนึ่งแล้วคุณมานบ --Octahedron80 11:30, 15 ตุลาคม 2007 (ICT)
เรื่องจากข่าว มีที่ให้เสนอรึเปล่าครับ ถ้าไม่ใช่ที่ วิกิข่าว--Mafuyu 11:25, 15 ตุลาคม 2007 (ICT)
ไม่มีที่เสนอครับ ส่วนใหญ่ก็เขียนขึ้นมาเลยครับ เพราะตอนนี้คนเขียนน้อยนิด ส่วนใหญ่แล้วเรื่องสำคัญก็ลงใน {{เรื่องจากข่าว}} ส่วนเรื่องสำคัญน้อยลงมาหน่อยก็เขียนใน เหตุการณ์ปัจจุบัน ครับ ตอบคุณ Octahedron80 นะครับ ขอโทษทีครับพอดีผมดูประวัติไม่ลึกพอ เพิ่งเห็นว่าคุณเขียนเมื่อเดือนที่แล้วทีนึง แล้วก็สามเดือนที่แล้วทีนึง แฮะแฮะ โทษทีครับ --Manop | พูดคุย 11:51, 15 ตุลาคม 2007 (ICT)
โดยพื้นฐานก็เห็นด้วยกับคุณ Octahedron80 นะครับ (ตัวเองก็คิดแบบเดียวกัน) แต่ในเมื่อประชากรเกือบทั้งหมดวิกิพีเดียไืทยเกี่ยวข้องกับประเทศไทยสักทาง ก็คงต้องทำลืม ๆ ไปบ้างบางเวลามั้งครับ สิ่งที่ผมเห็นว่าน่าเอามาพัฒนาได้จากที่เห็นใช้ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ คือให้ข่าวที่เขียน เป็นลักษณะสนับสนุนส่วนสารานุกรมของวิกิพีเดีย ไม่ใช่เป็นแค่สถานีรายงานข่าวที่แยกออกมาต่างหากน่ะครับ (จาก Wikipedia:In the news section on the Main Page) --KINKKUANANAS 10:08, 16 ตุลาคม 2007 (ICT)
ตามที่คุณ KINKKU ANANAS ว่ามานะครับ เขียนข่าวแล้วให้มีการพัฒนาหรือเข้าไปอ่านต่อในส่วนสารานุกรม (แต่ไม่ใช่การเขียนข่าวขึ้นมาใหม่เหมือนกับวิกิข่าว) โดยผู้อ่านอ่านข่าวสั้น ซึ่งจะสรุปสองสามบรรทัด โดยส่วนสรุปนั้นจะมีลิงก์ไปยังบทความ บุคคล สถานที่ ที่ปรากฏในข่าวให้ผู้อ่านได้ไปสืบค้นต่อครับ --Manop | พูดคุย 11:05, 19 ตุลาคม 2007 (ICT)

หน้าต้อนรับ

ดูที่ หน้าต้อนรับของวิกิอังกฤษ ประกอบ

ของไทยมีแบบนี้ไหมครับ เท่าที่เห็นก็มีแต่หน้าเริ่มต้น กับสอนการใช้งาน และมีแม่แบบต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย แต่ว่าเรามีหน้าแบบนี้บ้างไหมครับ ของฝรั่งเศสก็มีแบบนี้เหมือนกันครับ และเราควรจะมีบ้างไหมครับ --You Know Whoพูดคุย 20:26, 15 ตุลาคม 2007 (ICT)

งงหน่อยนึงครับ อย่างอันแรกของอังกฤษเป็นต้อนรับผู้ดูแลระบบมั้ง ส่วนอันที่สองเป็นต้อนรับผู้ใช้ใหม่ มันไม่เหมือนกันนะครับ --Manop | พูดคุย 23:09, 15 ตุลาคม 2007 (ICT)
เอ่อ ทั้งสองอันเหมือนกันนะครับ เพราะถ้าดูจากทั้งสองฝ่ายจะเห็นว่า ของอังกฤษลิงก์มาที่ฝรั่งเศส ของฝรั่งเศสลิงก์มาที่อังกฤษ และก็มีหลายภาษาที่มีหน้านี้นะครับ --You Know Whoพูดคุย 17:41, 18 ตุลาคม 2007 (ICT)

วิกิพีเดียภาษาไทย + กฎหมายไทย ?

จำไม่ได้ว่าอ่านเจอที่ไหนครับที่มีเขียนว่า วิกิพีเดียภาษาไทย ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายไทย แต่อยู่ภายใต้กฎหมายสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์อยู่ที่อเมริกา (จริงแล้วเซิร์ฟเวอร์อยู่ที่ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และ เกาหลีใต้) เลยไม่แน่ใจว่าต้องอธิบายให้กระจ่างหรือเปล่าในส่วนนี้ และนอกจากนี้ผมว่าบทความหลายบทความก็ไม่สอดคล้องกฎหมายสหรัฐอเมริกานะครับ เลยไม่แน่ใจว่าที่กล่าวว่า "วิกิพีเดียไม่อยู่ภายใต้กฎหมายไทย" ควรจะเปลี่ยนเป็น วิกิพีเดียไม่อยู่ภายใต้กฎหมายใดทั่วโลกหรือเปล่า --Manop | พูดคุย 11:28, 16 ตุลาคม 2007 (ICT)

อยู่ใน "อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย" หัวข้อ "วิกิพีเดียไม่เซ็นเซอร์" วลีที่คุณว่า "อยู่ภายใต้กฎหมายสหรัฐอเมริกา" นั้นไม่ถูกต้อง ต้องเป็น "ขึ้นตรงกับกฎหมายของประเทศหรือรัฐที่แต่ละเซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่" อันนี้ครอบคลุมทั้งสามประเทศที่มีเซิร์ฟเวอร์ และประโยคนี้ก็มีในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษด้วย ขอเพิ่มอีกประการหนึ่ง วิกิพีเดียภาษาไทย คือ วิกิพีเดียที่เป็นภาษาไทย ไม่ใช่ วิกิพีเดียของประเทศไทย เพราะถ้าหากเป็น "ของ" ประเทศไทยแล้วกฎหมายไทยต้องเข้ามาดูแลจุดนี้อย่างแน่นอน แล้วนโยบายเรื่องที่ไม่มีเซ็นเซอร์ก็จะไร้ความหมาย --Octahedron80 11:47, 16 ตุลาคม 2007 (ICT)

งั้นถ้าผิดกฎหมายเกาหลีใต้ ทำอย่างไรดีครับเนี่ย ฮุฮุ ไ่ม่รู้ภาษาเขาด้วย อ่านกฎหมายยิ่งคงไม่ออกใหญ่ --Manop | พูดคุย 10:55, 17 ตุลาคม 2007 (ICT)
แฮะแฮะ แซวเล่นนะครับ อย่าถือโทษ เห็นช่วงนี้สภากาแฟเงียบ คือหลังจากที่ได้ค้นหาและได้ข้อสรุปดังนี้ครับ คือเซิร์ฟเวอร์วิกิพีเดียมี 3 ที่ (ซึ่งคิดว่าคงมีมากกว่าร้อยเซิร์ฟเวอร์) โดยในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในรัฐฟลอริดา ซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์หลักเก็บข้อมูลที่เป็นเนื้อหาทั้งหมด ในขณะที่อีก 2 ที่ย่อยใน เนเธอร์แลนด์ และเกาหลีใต้ จะเป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับงานเก็บกวาดต่าง ๆ ซึ่งจะไม่มีเนื้อหา ส่งผลให้กฎหมายทั้งหมดที่มีสิทธิเกิดขึ้นจะตกมาอยู่ที่เซิร์ฟเวอร์หลักซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่รัฐฟลอริดาครับ โดยกฎหมายที่คลุมวิกิพีเดีย ก็จะเป็นกฎหมายของรัฐฟลอริดา รวมถึงพวก Federal Law (ไม่รู้ชื่อไทยขออภัย) โดยนอกจากนี้เขายังได้แนะนำมาว่า กฎหมายเหล่านั้นคือกฎหมายอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ครอบครองหรือผู้ให้บริการ ในขณะที่กฎหมายสำหรับผู้ใช้บริการ ให้ลองตรวจสอบกฎหมายอินเทอร์เน็ตของแต่ละประเทศอีกต่อหนึ่ง เนื่องจากบางประเทศจะมีส่วนกฎหมายที่กล่าวถึงผู้ใช้บริการอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งตรงนี้คงต้องฝากผู้รู้กฎหมายไทยไปสืบมาหน่อย ว่ามีกฎหมายไหนกล่าวถึงผู้ใช้งานว่าอย่างไรหรือเปล่า --Manop | พูดคุย 11:11, 19 ตุลาคม 2007 (ICT)
ถ้าจะว่ากันตามกฎหมายไทยขณะนี้แล้ว ตาม พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 การกระทำใด ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายในประเทศไทย ก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นในประเทศไทยครับ แม้ว่าจะกระทำนอกราชอาณาจักรก็ตาม ... แต่อย่างไรก็ตาม เห็นด้วยกับที่ว่า "วิกิพีเดียไม่มีเซ็นเซอร์" ครับ อย่าให้ใครใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือปิดปาก ----ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 58.136.73.218 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

แล้วถ้าเกิดความเสียหายขึ้นในประเทศไทยแล้ว ใครจะเป็นจำเลยครับ? เพราะวิกิพีเดีย-วิกิมีเดียไม่มีตัวตนในประเทศไทย ผู้เขียนก็อาจจะไม่ใช่คนไทยหรืออยู่ในประเทศไทย รัฐไทยไม่น่ามีอำนาจไม่ถึงนะครับ ถ้าเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในต่างประเทศ ยกเว้นส่วนของ "คนเข้าดู" --KINKKUANANAS 19:47, 23 ตุลาคม 2007 (ICT)

ผู้แก้ไขจะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนที่เขียนครับ มูลนิธิจะช่วยให้ข้อมูลได้แค่ว่าผู้แก้ไขมาจากไหน แก้ไขเมื่อเวลาเท่าไร เพราะการแก้ไขทุกครั้งล้วนมีการบันทึกวันเวลาและไอพีไว้อย่างถาวร (แม้จะไม่เปิดเผยก็ตาม) ซึ่งสามารถขยายผลไปถึงบันทึกของผู้ให้บริการและผู้ใช้ในเครือข่ายนั้น เรื่องกฎหมายของเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่นั้นคือส่วนที่คณะกรรมการสอบสวนต้องพิจารณามาก่อน ส่วนจะิผิดกฎหมายของประเทศใดนั้นขึ้นอยู่กับประเทศที่ผู้แก้ไขอาศัยอยู่ในขณะนั้น ปิดท้ายด้วยกฎหมายของประเทศที่เป็นสัญชาติของผู้แก้ไข ขั้นตอนการดำเนินงานเดี๋ยวเขาก็ติดต่อประสานงานกันเอง มูลนิธิหรือชาววิกิพีเดียคนอื่น ๆ ไม่เกี่ยวข้อง เป็นแค่ผู้ให้ข้อมูลหรือพยานเท่านั้น

ปล. ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมีคนฟ้องร้องหรือไม่ --Octahedron80 19:57, 23 ตุลาคม 2007 (ICT)

แปลว่า เป็นไปตามหลักการที่ว่า งานในวิกิพีเดียเป็นของผู้ที่แก้ไข (ซึ่งก็ต้องไปแยกดูจากประวัติว่าเนื้อหาที่เป็นปัญหาเป็นของใคร?) ซึ่งหากเป็นคดีความ ก็จะต้องประสานไปที่มูลนิธิเพื่อขอข้อมูลของ contributor ที่ว่า (และมูลนิธิก็อาจปฏิเสธ?) แล้วกรณีที่ว่า ผู้แก้ไขไม่มีสัญชาติไทยและไม่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักร ก็ไม่ขึ้นกับกฎหมายไทยดังกล่าว? ที่ว่ามาเข้าใจถูกต้องไหมครับ --KINKKUANANAS 20:16, 23 ตุลาคม 2007 (ICT)

เข้าใจอย่างนั้นก็ไม่ผิด ดูอย่างกรณีของยูทูบก็ได้ครับ ผมคาดคะเนว่าคนที่อัปโหลดคลิปที่ไม่เหมาะสมคงจะไม่ใช่คนไทยหรือคนในประเทศไทย หรือ อาจมีคนไทยบางคนทำขึ้นและอัปโหลดคลิปนี้ฝากไปให้ชาวต่างชาติช่วยใส่ลงยูทูบ จึงฟ้องร้องไม่ได้ แต่ทางการอาจสามารถขอข้อมูลประวัติการอัปโหลดของฝรั่งรายนั้นก็ได้ แล้วค่อยมาขยายผลไล่ตาม transaction ว่าเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทยไหม แต่การตรวจสอบก็ต้องใช้เวลา อาจจะหลุดมือไปก่อน จึงขอให้ยูทูบลบคลิปให้เกลี้ยงแทน (ซึ่งเร็วกว่า) แต่็ช่วงแรก ๆ นั้นขอแล้วไม่เป็นผล ก็เลยบล็อกไปเสีย นี่ความคิดเห็นนะครับ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง อย่าอ้างอิง :) ชักเริ่มนอกเรื่อง เลิกคุยเรื่องยูทูบ กลับเข้าวิกิพีเดียดีกว่า --Octahedron80 20:27, 23 ตุลาคม 2007 (ICT)

ไม่ให้ไอพีสร้างบทความใหม่

ผมเห็นวิกิอังกฤษห้ามผู้ใช้ที่ไม่ล็อกอินสร้างบทความใหม่ ผมคิดว่าน่าจะทำบ้างนะครับ เพราะช่วยลดจำนวนบทความขยะไปได้เยอะมากเลย และดึงดูดผู้คนมาสร้างบัญชีผู้ใช้เพิ่มขึ้น ทำให้สามารถ คุย/ตักเตือน/บล็อก ได้ง่าย --Pพูดคุย 20:39, 30 ตุลาคม 2007 (ICT)

ลดจำนวนบทความขยะอย่างไรครับ ช่วยอธิบายเพิ่มหน่อยครับ แต่ก็น่าสนใจครับ ถ้ามีคนล็อกอินมากขึ้นก็คงสะดวกเวลาตรวจสอบ จะได้สามารถเข้าไป คุย/แนะนำ/ช่วยเหลือ ได้ง่าย --Manop | พูดคุย 02:55, 31 ตุลาคม 2007 (ICT)
บทความแบบว่า ..ประโยคเดียว หรือ ทดลองนะครับ แบบเช่น ..
ทดลอง ทดลอง สร้างหน้านี้ได้แล้วหรือ

อะไรแบบนี้นะครับ มันจะช่วยตัดไปได้เยอะมากเลย จะเตือนก็สะดวกครับ --Pพูดคุย 19:42, 1 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

จริง ๆ ผมก็เคยคิด ๆ ไว้เหมือนกันครับ แต่พอไปดูในหน้า พิเศษ:Newpages ก็ยังเห็นบทความดี ๆ ที่สร้างโดยผู้ใช้ไม่ล็อกอินอยู่มากพอสมควรเหมือนกัน -- Portalian 23:30, 2 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

หน้าหลักใหม่

สรุป

กรุณาโปรดเช็คตามรายชื่อข้างล่างที่เบราว์เซอร์รองรับ :

  • Internet Explorer
    • เนื่องจากข้อจำกัดของเบราว์เซอร์ ทำให้ไม่อาจรับประกันได้ว่า Internet Explorer 5 จะสามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
    • Internet Explorer 6
    • Internet Explorer 7
  • ค่าย Mozilla
    • Mozilla Firefox 2.x
    • SeaMonkey
    • Camino (มาตรฐานเดียวกันหมด)
  • อื่น ๆ
    • Safari 3
    • Opera 8 ขึ้นไป
    • Netscape Navigator 9 (หากใช้เวอร์ชั่นต่ำกว่า 7 จะไม่สามารถแสดงผลตามแบบเบราว์เซอร์อื่น ๆ ได้ เนื่องจากคุณภาพจะต่ำลง)

เสนอ

ดูที่ ผู้ใช้:Passawuth/หน้าหลัก1

คิดว่าหน้าหลักตอนนี้นะครับ มันไม่ค่อยมีรูปสวย ๆ เท่าไหร่ ก็เลยลองเพิ่มรูปและกล่องบางอันขึ้นมา เพื่อทำให้หน้าหลักดูดีขึ้น มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ

ป.ล. ต้องขอโทษที่ล่าช้าไปมากในการเสนอ เพราะทำแต่สถานีย่อยอยู่ครับ --Pพูดคุย 20:07, 2 พฤศจิกายน 2007 (ICT)
ชอบตรงการใส่ภาพ ภาพ:Wikibar2.png ดีครับ ทำให้แถบข้อความดูมีสีสันมากขึ้น -- Portalian 23:36, 2 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

ความโค้งของเส้นขอบมากเกินไปหรือเปล่าครับ น่าจะปรับรัศมีให้น้อยลงนิดนึง --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 10:39, 3 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

ตรงหัวมันลิงก์เยอะไปหน่อยหรือเปล่าครับ เต็มไปหมดเลย --Manop | พูดคุย 10:59, 3 พฤศจิกายน 2007 (ICT)
เอาออกแล้วนะครับ ส่วนโค้งนั้นจะเป็นกับ Firefox หรือเบราว์เซอร์จากค่าย Mozilla เท่านั้น ซึ่งก็กำลังจะแก้ไขเรื่องดังกล่าวอยู่ครับ --Pพูดคุย 14:51, 3 พฤศจิกายน 2007 (ICT)
เรียบร้อยแล้วนะครับ ทั้งเรื่องลิงก์พยายามให้เหลือน้อยที่สุดแล้ว และตรงรัศมีก็ทำให้โค้งน้อยลง ใน Safari ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าสามารถใช้งานขั้นพื้นฐานทั้งหมดได้ แต่ตรง Bullet จะมีตำแหน่งคลาดเคลื่อนจาก IE และ Firefox ไป แต่โดยรวมแล้วถือว่า Ok ครับ --Pพูดคุย 15:12, 3 พฤศจิกายน 2007 (ICT)
เรื่อง bullet สามารถทำให้ตรงกันได้ทั้งสองเบราว์เซอร์ครับ ลองอ่านหน้านี้ดู [1] --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 20:14, 4 พฤศจิกายน 2007 (ICT)
เห็นด้วยกับคุณ Manop ครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 15:21, 3 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

เอาออกหมดแล้วครับ เหลือแต่ลิงก์ที่ไม่มีตรงส่วน Navigator และขอบมนก็ลดลงแล้ว ตอนนี้เหลือแค่บรรทัดเดียวแล้วครับ --Pพูดคุย 15:50, 3 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

เค้าว่าการใส่รูปเพิ่มเข้ามาตรงแถบข้อความมันดูเยอะและรกมาก และรูปที่ใส่ก็ทำให้หน้าหลักดูเหมือนมีอะไรมาแปะ ๆ ตรงแถบนั้น สีพื้นของรูปมันไม่เนียนและไม่เข้ากับสีแถบ สรุป เค้าว่าแบบเก่าดูโล่งสะอาดและสบายตามากกว่า เข้าโหวตให้แบบเก่าแล้วกันนะ--Blacknut 18:11, 3 พฤศจิกายน 2007 (ICT)
เห็นด้วยกับการใช้หน้าหลักแบบเก่าตามที่คุณ Blacknut บอก หน้าหลักแบบใหม่ดูสวยจริง แต่ดูแล้วค่อนข้างเลอะไปนิดนึง และอีกอย่างที่บอกไว้ว่า หน้าหลักแบบใหม่รองรับเฉพาะ Internet Explorer 7 หรือ Firefox 2.x อย่าลืมว่ายังมีผู้ใช้อีกหลายท่าน ที่ยังใช้ Internet Explorer 6 อยู่น่ะ--Se:Rin | พูดคุย - 21:38, 3 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

ดูใน IE 7 ดีกว่าครับ เพราะตามที่คุณ Blacknut บอก เข้าใจว่าดูจาก IE6 อยู่

คิดว่าคงต้องปรับแก้ตามที่คุณ Blacknut บอกก็ดีนะครับ ให้รับรอง IE6 รวมถึง IE7 ไฟร์ฟอกซ์ ซาฟารี โอเปร่า ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่คนทั่วไปใช้ครับ --Manop | พูดคุย 05:30, 4 พฤศจิกายน 2007 (ICT)
เขาว่าแก้ไปเขาก็ยังเอาแบบเก่าอยู่ดี เพราะจุดสำคัญไม่ได้อยู่ตรงรูปไม่เนียน แต่อยู่ที่ "รก" และ "เยอะเกินความจำเป็น" เช่นรูปดาว กับรูปวิกิตรงแถบบทความคัดสรร ที่ดีที่สุด คือ ไม่มีรูปอะไรเลย แต่ถ้าต้องการความเปลี่ยนแปลงเลือกเอาอันใดอันหนึ่งระหว่างรูปดาวและแถบวิกิซะจะดีกว่า เอา 2 รูปมันจะเต็มจนเกินไป แค่ตัวอักษรก็เต็มพื้นที่หน้าแรกอยู่แล้ว แล้วกล่องสีเขียวกับสีม่วงด้านบนก็เกะกะ และไม่มีความจำเป็นถึงขนาดต้องเอาขึ้นมาเกะกะหน้าแรกด้วยซ้ำไปนะเขาว่า อ้อ เขาดูทั้ง IE6 และ 7 แล้ว เขาถึงมาเขียนบอกนะว่าอะไรคือปัญหาที่พบ--Blacknut 11:06, 4 พฤศจิกายน 2007 (ICT)
ตรงมุมขวาบนผมอยากให้เปลี่ยน "การแก้ไขหน้าพื้นฐาน" เป็น หน้า"สอนการใช้งาน" นะครับ จะได้บอกถึงพื้นฐานหมดเลย นอกจากตัวคำสั่ง และก็ตรงคำว่า "ต่าง ๆ" ผมว่าน่าจะมีคำพูดเก๋ไก๋มาใส่แทนคำนี้นะครับ (เห็นมีตั้งสองคำ) ส่วนเรื่องรูปมาลองสังเกตดู บางรูปก็เล็กเกินไปจนมองไม่ออกว่าเป็นรูปอะไรนะครับ แต่ถ้ารูปใหญ่ก็ไม่รู้จะรกไปหรือเปล่า และก็เรื่องสุดท้ายผมอยากให้มีคือ การประชาสัมพันธ์ วิกิพีเดียนะครับ อยู่ในหน้าหลัก แต่ยังคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรดี แล้วถ้าได้แก้ไขหมดตามความเห็น และไม่มีใครออกความเห็นเพิ่ม ผมว่าซักพักคงเปลี่ยนหน้าหลัก เป็นแบบใหม่นะครับ --Manop | พูดคุย 16:28, 5 พฤศจิกายน 2007 (ICT)
เห็นด้วยกับ Blacknut และ Manop คิดว่าตัดรูปหน้าแถบข้อความ เช่น ดาว ปฏิทิน เหลือไว้แค่แถบวิกิด้านหลังน่าจะเหมาะกว่า เพราะบางรูปเล็กจนไม่รู้ว่ามันรูปอะไร ใส่ไปก็รกเปล่า ๆ -- ScorpianPK (ไม่ได้ Log in)
เขาว่าโล่งขึ้นนะ แนะนำว่าถ้าจะเอากล่องด้านบน สีม่วงสีเขียวนั่น เอามาไว้ใต้หัวข้อสารานุกรม เหนือหัวข้อชุมชนดีกว่านะ--Blacknut 22:19, 9 พฤศจิกายน 2007 (ICT)
ไม่มีความเห็นเพิ่มเติม ผมขอตัดจบเลยนะครับ เปลี่ยนให้เรียบร้อยแล้ว ขอบคุณคุณ Passuwuth ที่ช่วยออกแบบ (ตั้งแต่ 12 ต.ค.) และขอบคุณทุกคนที่ช่วยออกความเห็นครับ ดูกันได้ที่ หน้าหลัก --Manop | พูดคุย 04:08, 15 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

จากการที่ผมชอบตรวจดูและเก็บกวาดบทความวิกิพีเดียต่าง ๆ พบว่ามีบทความจำนวนมาก ไม่มีรูปที่สอดคล้องกับเนื้อหา มีปัญหาในการจัดเรียงรูป หรือรูปเป็นลิงก์แดงเนื่องจากการถูกลบจากการไม่แจ้งแหล่งที่มาของรูป ผมจึงเสนอว่าน่าจะรวบรวมบทความที่ต้องการการปรับปรุงเชิงรูปภาพ โดยการทำหมวดหมู่บทความที่ต้องการการปรับปรุงเชิงรูปภาพและ แม่แบบ{{รูปภาพไม่สมบูรณ์}}ให้ใส่หมวดหมู่ดังกล่าวโดยอัตโนมัติแล้วนะครับ--Iamion | พูดคุย - 12:11, 18 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

น่าสนใจดีครับ --Manop | พูดคุย 12:40, 18 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

วิกิพีเดียจะหันมาใช้ CC

คิดว่าเรื่องนี้น่าสนใจเหมือนกัน และคงมีผลต่อโครงการในระยะยาว เลยมาเล่าต่อกัน

จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย (หรือ วิกีพีเดีย ถ้าไม่อ่านแบบทิงลิช) ประกาศมาเมื่อคืนว่า มูลนิธิวิกิมีเดียตกลงยอมรับที่จะมีการปรับแก้ลิขสิทธิ์ของวิกิพีเดียจากเดิมที่เป็นแบบ GFDL ให้สอดคล้องกับ CC หรือ ครีเอทีฟคอมมอนส์ ที่ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมและมีการพัฒนาตลอดเวลา (รวมถึงการแปลในหลายภาษา ซึ่งภาษาไทยเรากำลังจัดทำอยู่และคงออกมาให้ใช้เร็ววันนี้)
นอกจากนี้เขายังได้กล่าวอีกว่า ถ้า CC ได้มีการก่อตั้งขึ้นก่อนวิกิพีเดีย เขามั่นใจว่าจะเลือกใช้ CC เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลในวิกิพีเดียอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามรูปแบบของ GFDL ที่ปัจจุบันใช้อยู่ นั้นดีเช่นกัน แต่ค่อนข้างยากในการเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้
โดยรูปแบบของ CC ที่จะนำมาใช้ในวิกิพีเดียคือ CC-by-SA

ดูเพิ่มเกี่ยวกับวิดีโอไฟล์ที่มีการพูดของเขาในงาน แล้วก็คิดว่าเรื่องนี้ตอนแรกกะจะมาบอกทิ้งไว้ที่นี่ที่เดียว แต่เลยพ่วงไปเขียนในบล็อกอื่นด้วย เผื่อคนที่ไม่ได้เขียนวิกิพีเดียได้เข้ามาอ่านและออกความเห็นในบล็อกอื่นครับ ผมลองไปโพสต์ไว้ที่ http://blognone.com (คนในวงการคอมพิวเตอร์ใช้กันเยอะ แต่ข้อความยังไม่ขึ้นต้องรอเจ้าของเว็บอนุญาตก่อน) แล้วก็บล็อกส่วนตัว http://itshee.exteen.com/20071202/cc ครับ (สำหรับบล็อกอื่นเกี่ยวกับด้านวิกิพีเดีย อาจลองดูที่ http://www.exteen.com/tag/wikipedia) --Manop | พูดคุย 05:07, 2 ธันวาคม 2007 (ICT)

ถ้าเปลี่ยนไปใช้ CC จริง แล้วจะอ้างอิงเพื่อให้เครดิตใครได้ละครับ ในเมื่อสามารถแก้ไขได้อย่างเสรี ไม่มีการระบุเจ้าของอย่าง GFDL หรือถ้าจะให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนรูปภาพในคอมมอนส์ก็จะไม่มีปัญหา --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 09:42, 2 ธันวาคม 2007 (ICT)

ปล. เสียงอ่านจริง ๆ ของ wikipedia พยางค์แรกยาวกว่าพยางค์ที่สอง (/ˌwiːkiˈpiːdiə/ วีกิพีเดีย)

ถ้าเปลี่ยนจริง น่าจะมีปัญหาอีกหลายประการ อย่างแรก กับข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ซึ่งได้ตกลงที่จะเผยแพร่ภายใต้ GFDL ผ่านวิกิพีเดีย ถ้าเข้าใจไม่ผิด ผู้แก้ไขไม่ได้ยกสิทธิในงานของตัวเองให้กับมูลนิธิ แค่ตกลงที่จะเผยแพร่แบบ GFDL เท่านั้น ผู้ถือสิทธิก็น่าจะยังเป็นผู้ที่แก้ไข ทางมูลนิํธิไม่น่าจะเปลี่ยนสัญญาอนุญาตเองได้ อีกประการหนึ่งก็คือ เงื่อนไข attribution จะต้อง attribute ให้กับใคร ในเมื่อแต่ละบทความมีเจ้าของนับร้อยคน --KINKKUANANAS 10:49, 2 ธันวาคม 2007 (ICT)

ครับ ท่าทางจะมีปัญหาหลายเรื่องเป็นแน่ แต่ไม่รู้ว่าขั้นตอนการย้ายจาก GFDL ไปเป็น CC-by-sa เต็มรูปแบบอาจจะเสียเวลานาน แต่คิดว่าเรื่องทางกฎหมายทางมูลนิธิคงมีคนจัดการได้ ซึ่งปกติแล้ว GFDL ก็ใกล้เคียงกับ CC-by-sa อยู่แล้วด้วย ไม่รู้ว่าทาง FSF, Mediawiki, CC จะจัดการกันอย่างไร แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นแนวโน้มที่ดีในการพัฒนาวิกิพีเดียครับ ยิ่งตอนนี้ทาง CC เริ่มมีการแปลเป็นไทยบางส่วน เท่าที่เข้าใจคิดว่ามีเฉพาะ CC-by-nc-sa ซึ่งอาจจะยังไม่สอดคล้องกับวิกิพีเดียในอนาคตเท่าไร แต่คิดว่าอนาคตคงมีการจัดการเพิ่ม ส่วนตอนนี้ลองดู resolution กันได้ที่ http://wikimediafoundation.org/wiki/Resolution:License_update
ขอบคุณสำหรับ "วีกิพีเดีย"ครับคุณออกตาฯ แฮะแฮะ พลาดไปนิด --Manop | พูดคุย 16:43, 3 ธันวาคม 2007 (ICT)

สารพันกล่องท้ายเรื่อง

ผมรู้สึกว่าพวกกล่องท้ายเรื่องของแต่ละบทความ มันมีหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็น {{แม่แบบ:กล่องท้ายเรื่อง}} / {{แม่แบบ:Navbox}} / {{แม่แบบ:นำทาง}} / ฯลฯ ถ้าเกิดว่าเราจะรวมกล่องท้ายเรื่องพวกนี้ให้เป็น format เดียวกัน จะดีรึเปล่าครับ รวมให้อยู่เป็นแม่แบบเดียวกัน จะได้ประหยัดเนื้อที่วิกิพีเดีย (รึเปล่า?) และก็ทำให้ดูเป็นรูปแบบเดียวกันด้วย ^^ · Dr.Garden · พูดคุย · 00:32, 21 ธันวาคม 2007 (ICT)

สนับสนุนให้รวมเหมือนกันครับ ดูเหมือนจะซ้ำซ้อนกัน --Manop | พูดคุย 11:31, 23 ธันวาคม 2007 (ICT)
ผมจะเปลี่ยนทาง {{แม่แบบ:นำทาง}}, {{แม่แบบ:Navigation}} ไปที่ {{แม่แบบ:Navbox}} นะครับ · Dr.Garden · พูดคุย · 17:35, 24 ธันวาคม 2007 (ICT)
ไม่ไหวฮะ มึนโค้ด ตอนนี้เปลี่ยนแค่ {{แม่แบบ:Navigation}} ไปที่ {{แม่แบบ:Navbox}} ก่อนครับ · Dr.Garden · พูดคุย · 18:10, 24 ธันวาคม 2007 (ICT)
ตอนนี้มีแม่แบบดังนี้ครับในวิกิพีเดีย {{กล่องท้ายเรื่องบน}} คู่กับ {{กล่องท้ายเรื่องล่าง}} / {{กล่องท้ายเรื่อง}} / {{Navbox generic}} / {{Navbox}} / {{นำทาง}} / {{Navigation}} (เปลี่ยนทางแล้ว)

ตอนนี้มันสับสนมากเลยครับ ควรจะกำหนดให้เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด เวลาใช้ในบทความจะได้แสดงผลได้ดีครับ --Pพูดคุย 11:11, 27 ธันวาคม 2007 (ICT)

ผมทำได้นะ ถ้าให้แม่แบบอื่น ๆ แสดงผลแบบเดียวกับ{{กล่องท้ายเรื่อง}}น่ะครับ แต่ว่ามันจะ so ยุ่งยากมาก ถ้าให้แม่แบบกล่องท้ายเรื่องบน ไปแสดงผลเหมือนแม่แบบตระกูล nav เห็นได้ชัดจากกล่อง ปธน.ฝรั่งเศส ที่ P เคยถามผม ว่า nav มันแทรกวัตถุไม่ได้ เอาเป็นว่ารอการตัดสินใจแล้วกัน ผมยังไม่ทำอะไรตอนนี้ (นอกจาก renovate ระบบภายใน "กล่องท้ายเรื่อง")

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น โดยหลักการแล้วก็สามารถทำให้มันแสดงผลส่วนไตเติ้ลบาร์เหมือนกันได้ แม้ระบบภายในจะคนละพวกก็ตาม เพราะอันที่จริง เวลาแทรก 3 แถบขึ้นไป มันก็จะแสดงแต่ไตเติ้ลบาร์อยู่แล้ว เข้าใจว่าปัญหาในการแสดงผลตอนนี้คือ

  1. ตำแหน่งที่ตั้ง ดพก มันไม่ตรงกันในสองแพตเทิร์นนี้ โดย nav อยู่ซ้าย ส่วนกล่องท้าย อยู่ขวา
  2. การจัดวาง (align) ที่กล่องท้ายฯ เน้นชิดซ้ายปล่อยขวา ส่วนกล่องnavฯ จัดกึ่งกลาง
  3. ขอบขาว (padding) ที่กล่องท้ายมีน้อยกว่ากล่อง nav
  4. ช่องหัวข้อย่อย กล่องnav จะเก็บอัตโนมัติกรณีที่ไม่มีหัวเรื่องย่อย แต่กล่องท้ายไม่เก็บ

นอกจากนี้ยังมีกล่อง custom อีก เช่น กล่องหน่วยงานในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ (ตัวอย่าง) ซึ่ง ไม่ได้เข้าพวกทั้งสองรูปแบบ แต่ว่าก็เป็นกล่องท้ายเรื่องเหมือนกัน .. ที่สำคัญมันยังไม่ได้ซ่อน (ไม่มี ดพก)

อีกทั้งยังมีกล่องท้ายเรื่องบางส่วนที่ยังเป็นแพตเทิร์นเก่าเช่น.. ดอกพุด / สถาบันอุดมศึกษา และ แม่แบบอื่น ๆ ที่มีรูปแบบเป็นกล่อง toc แบบเก่า (ซึ่งตอนนี้ก็ช่วย ๆ กันทะยอยปรับแต่งให้เป็น nav หรือ กล่องท้ายเรื่อง กันอยู่) -- Lv. 51 อะควุด้งลาเต้ +มด ไฟล์:WikiBotany tap.png 16:23, 31 ธันวาคม 2550 (ICT)

ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษตอนนี้พวกกล่องท้ายเรื่องดูเหมือนจะทำให้เหลือแค่ตระกูล {{แม่แบบ:กล่องท้ายเรื่อง}} กับ {{แม่แบบ:Navbox}} ครับ เราอาจจะเอาอย่างมั่งโดยลดให้เหลือ 2 แบบนี้ อันไหนที่ดูเหมือน ๆ หรือคล้าย ๆ ก็ย้ายไปให้เป็นแบบ 2 รูปแบบนี้ (เช่น {{แม่แบบ:นำทาง}} ที่เหมือนกับ {{แม่แบบ:Navbox}} มาก (ไม่รู้จะทำแยกไปทำไม) ก็ย้ายให้เป็นพวกเดียวกันก็ได้ครับ -- หรือใครคิดว่าอย่างไรกันบ้างครับ? ^^ · Dr.Garden · พูดคุย · 10:43, 7 มกราคม 2551 (ICT)
นอกเรื่องนิดหน่อยนะครับ เห็นกล่องท้ายเรื่องบางอย่างซ่อนหมดเลยแสดงเฉพาะชื่อหัวกล่อง แล้วบางทีมีปัญหาว่าคนใหม่ที่ไ่ม่เคยใช้วิกิพีเดียจะไม่รู้ว่าต้องกดแสดงเพื่อจะเห็นข้อมูลนะครับ ไม่รู้ว่าจะแก้ตรงนี้อย่างไรเหมือนกันครับ เพราะบางทีตัวหัวข้อกล่องเองก็ไม่ได้โยงไปยังเนื้อหาด้วย --Manop | พูดคุย 11:55, 7 มกราคม 2551 (ICT)
โดยปกติแล้ว กล่องท้ายเรื่องจะซ่อนตัวอัตโนมัติเมื่อมีจำนวนกล่อง 3 กล่องขึ้นไป เว้นแต่กล่องใดจะตั้งค่าเป็น expand หรือ collapse ไว้น่ะครับ ซึ่งตรงนี้กล่องท้ายฯ ที่ทำยังไม่มีความสามารถนี้ จึงยกยอดไว้ก่อน -- Lv. 55 อะความอคคา ไฟล์:WikiBotany tap.png 12:07, 7 มกราคม 2551 (ICT)

(ไม่รู้ช้าไปรึเปล่า) ตอนนี้แม่แบบที่เคยใช้ {{แม่แบบ:นำทาง}} ทั้งหมด เปลี่ยนมาใช้เป็น {{แม่แบบ:Navbox}} หมดแล้วครับ ตอนนี้กล่องท้ายเรื่องหลัก ๆ ที่เหลือก็มีแค่ตระกูล {{แม่แบบ:Navbox}} กับตระกูล {{แม่แบบ:กล่องท้ายเรื่อง}}

อยากทราบว่าถ้าผมจะเปลี่ยนทาง {{แม่แบบ:นำทาง}} เดิมไปที่ {{แม่แบบ:Navbox}} เลย จะดีหรือไม่ครับ (จะได้ไม่มีใครไปใช้ {{แม่แบบ:นำทาง}} อีก จะได้เป็น {{แม่แบบ:Navbox}} ให้เหมือน ๆ กัน ^ ^) · Dr.Garden · พูดคุย · 15:29, 3 มีนาคม 2551 (ICT)

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงขององค์เสด็จพ่อเหนือหัว

1.เก็บกดมานานมาก ๆ ตอนที่เรื่องนี้ออกมาใหม่ ๆ พวกคุณทั้งหลาย วิจารณ์กันน่าดูชมมาก ๆ เลยนะครับผม ทั้งที่พวกคุณ ๆ ทั้งหลายไม่ได้มีความรู้เรื่องนี้เลย ยังไม่ได้ศึกษากันเลย ไม่เข้าใจเรื่องนี้จริง ไม่รู้จริง ก็กล้าออกมาวิจารณ์กัน ทั้งที่วุฒิภาวะของพวกผู้นั้นสูงเหลือเกิน ทั้งที่พวกคุณ ๆ เรียนกันสูง ๆ จบจากเมืองนอกเมืองนา ขอด่าสักกะหน่อยนะครับผม เขาเรียกว่าโง่อวดฉลาด หรือว่าอยากดังก็ไม่รู้ ดูจากการวิจารณ์และการกระทำของพวกคุณ ๆ แล้วมารู้ตอนหลังว่าตัวเองเข้าใจผิดไป มีไม่สักคนที่กล้ามาบอกว่าผมไม่รู้จริง เข้าใจแบบคลาดเครือน สำนวนไทยเขาเรียกว่า ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียน (สีซอให้ควายฟังเสียดีกว่า)

ดีเลยครับ บทความนี้เป็นที่สนใจสำหรับบุคคลอื่น ๆ มากมาย ต้องการคนรู้จริงอย่างคุณมาช่วยกันเขียนเพิ่มเติมข้อมูลอยู่พอดีครับ ว่าง ๆ ก็แวะเข้ามาเขียนและปรับปรุงบทความได้นะครับ รวมทั้งใส่อ้างอิงของข้อมูลด้วยนะครับ ขอบคุณครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:30, 28 ธันวาคม 2550 (ICT)

ข้อมูลอ้างอิง ผม ได้ดูจากผู้รู้ออกมาพูดในโทรทัศน์และวิทยุหลาย ๆ รายการและหลาย ๆ คนพูด พร้อมด้วยประสบการณ์ของตัวเองและที่พบเห็นมา แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ครับผม 2.เรื่องพลังงานทดแทน ที่องค์เสด็จพ่อเหนือหัว ท่านได้คิดและทดลองทำมานานมาก ๆ และใช้ได้จริงแล้วนั้น พึ่งจะนำออกมาเผยแพร่ทางโทรทัศน์เมื่อไม่นานมานี้เอง ผมไม่เห็นมีใครมาให้ความสำคัญหรือใส่ใจที่จะมาทำวิจัยกันอย่างจริงจัง จนมาถึงวันนี้วันที่น้ำมันเบนซินและดีเซลแพงมาก ก็พึ่งจะเริ่มตื่นตัวกันหาพลังงานทดแทนกันใหญ่ สำนวนเดิมครับผม คนที่มีความรู้ทั้งที่เรียนในเมืองไทยและจากเมืองนอกก็มีเยอะ แต่ก็ไม่มีใครคิดที่จะทำกันอย่างจริงจังหรือมีการค้นคว้าวิจัย ทั้งที่องค์เสด็จพ่อเหนือหัวท่านได้คิดและทำมานานแล้วเป็นตัวอย่างที่ดี และบางประเทศเขาก็ใช้กันตั้งนานมาแล้ว ก็ไม่มีบุคคลใดหรือหน่วยงานใดเล็งเห็นความสำคัญ และแล้ววันนี้ก็มาถึง มีคนบอกว่าน้ำมันปามล์แพงขึ้นมากเนื่องจากนำมาทำน้ำมันใบโอดีเซล ซึ่งทำให้น้ำมันพืชขาดตลาด ซึ่งประมาณ 15 ปี ที่แล้ว ผมได้เดินทางไปขายของกับน้าชายที่ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ที่นั้นเขาทำสวนปลูกปามล์มานานแล้ว แล้วในบางช่วง ราคาเมล็ดปามล์ราคาตก แต่สำหรับตอนนี้ราคาของเมล็ดปามล์ราคาจะตกอีกหรือไม่ แล้วตอนนี้ปลูกปามล์มันต้องใช้เวลาอีกนานไม่ และต้องซื้อน้ำมันดิบมากลั่นกันอีกเท่าไรครับ นี้ยังไม่รวมถึงข้าวเหนียวที่หมักทำข้าวหมากจนเป็นน้ำมีแอกออล์ มัน สบู่ดำ และอื่น ๆ แล้วจะโทษใครดีครับกะผมที่บ้านเราเป็นอย่าง มีผู้รู้ มีทรัพยากรณ์ที่สมบูรณ์ จะโทษใครดีครับกะผม กราบขอประทานอภัยโทษขอรับกะผม จากคนขี้บ่น

บทความเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

อยากให้มีการสร้างและปรับปรุงบทความเกี่ยวกับพระองค์ท่าน เช่น

  • พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ
  • โครงการและมูลนิธิในพระอุปถัมภ์ เช่น มูลนิธิถันยรักษ์ พอ.สว.
  • องค์ประกอบงานพระบรมศพ ทั้งเครื่องอิสริยยศ พระเมรุ และอื่น ๆ

DMS 19:44, 4 มกราคม 2551 (ICT)

ร่วมไว้อาลัย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

คือสังเกตจากหลายเว็บแล้วนะครับ ส่วนใหญ่เขาจะมีการไว้อาลัยกัน โดยถ้าไม่ทำแถบโลโก้ด้านบนเว็บเป็นขาว-ดำ อาจจะเป็นกล่องข้อมูล (ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร) เขียนว่า "น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณใน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" ก็คือจะบอกว่าวิกิพีเดียภาษาไทยเราก็น่าจะทำมั่งนะครับ Prince | พูดคุย 14:54, 5 มกราคม 2551 (ICT)

ผมว่าข้อความไม่ดูไม่ค่อยเป็นกลางนะครับ ถึงจะไม่ใช่ในบทความ แต่ก็น่าจะระวังสักหน่อย แต่ละคนคิดกันได้ต่างกันครับ ต่างคนต่างทำไว้ในหน้าผู้ใช้ดีกว่า --KINKKU ANANAS 20:38, 5 มกราคม 2551 (ICT)

ตราประจำจังหวัด

สมมติว่าผมอยากทำตราประจำจังหวัดให้เป็น svg (ถ้ามีเวลาพอ) ภาพที่สร้างขึ้นใหม่ต้องใช้สัญญาอนุญาตประเภทใด ต้องขออนุญาตจากทางการหรือไม่ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 13:59, 11 มกราคม 2551 (ICT)

กระปุกคัดลอกวิกิพีเดียไปลง

ตอนนี้ ทาง kapook.com เริ่มมีการคัดลอกวิกิพีเดียไปลง (+ เพิ่มเติมเนื้อหา) พอมีใครมีไอเดียไหมครับ ว่าควรทำอย่างไร ตัวย่าง

ยังไงก็ฝากช่วยกันดูด้วยครับ ว่าทำอย่างไรดี ไม่รู้ว่าจะบอกเรื่องการจัดการลิขสิทธิ์ แต่คิดว่าบอกไปก็คงไม่สนอยู่ดี หรือว่าพอมีใครมีรู้จักช่วยจัดการบ้างครับ --Manop | พูดคุย 03:26, 19 มกราคม 2551 (ICT)

นั้นสิ อย่าง http://th.kapook.com/Vista ก็เอาไปเหมือนกัน แม้แต่ภาพด้วย เหอะ ๆ --Jutiphan | พูดคุย - 03:42, 19 มกราคม 2551 (ICT)

การคัดลอกข้อมูลจากวิกิพีเดีย พบเห็นได้ทั่วไปครับ ไม่ใช่แค่กระปุก อีกอย่างคือการนำข้อมูลจาก GFDL ไปใช้ ไม่จำเป็นต้องระบุที่มาก็ได้ แต่จำเป็นต้องเพิ่มสัญญาอนุญาตที่เหมือนกับต้นฉบับ (ซึ่งข้อมูลตัวอักษรนั้นเป็น GFDL ส่วนรูปภาพก็ตามรูปภาพ) สำหรับการตรวจสอบลิขสิทธิ์ในบทความ ถ้าเป็นไปได้ช่วยเปรียบเทียบก่อนว่า ใครคัดลอกใครก่อนกัน ถ้าบทความในวิกิพีเดียคัดลอกมาจากที่อื่นก่อน บทความเราผิด --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 14:48, 19 มกราคม 2551 (ICT)

สรุปว่าการนำเนื้อหา GFDL ไปลงนี่ต้องอ้างถึงเว็บไซต์ที่มาด้วยหรือเปล่าครับ หรือแค่ติดสัญญาเหมือนต้นฉบับก็เพียงพอแล้ว -- Portalian 20:33, 19 มกราคม 2551 (ICT)

ในบ้างความต้องการนั้นต้องครับ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ WP:C --Jutiphan | พูดคุย - 02:56, 20 มกราคม 2551 (ICT)
เห็นว่ากระปุกเริ่มใส่บางหน้าแล้วครับ เช่น http://th.kapook.com/ภาษาญี่ปุ่น --Manop | พูดคุย 01:02, 27 มกราคม 2551 (ICT)
ครับ ผมอีเมลแจ้งไป คัดลอกมาใส่ทั้งดุ้น แม้กระทั้ง <บทความ> ยังใส่เป็น <ภาษาญี่ปุ่น> เลย เหอะ ๆ --Jutiphan | พูดคุย - 13:39, 1 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
ท่าทางกระปุกคง (ยัง) ไม่สนใจครับ เดี๋ยวผมส่งอีเมลไปถามซ้ำอีกที --Manop | พูดคุย 05:22, 6 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
ถ้าใครอยู่เมืองไทย แล้วสามารถจัดการด้านนี้ได้ ฝากพ่วงเว็บ คลังปัญญาไทย ด้วยนะครับ เห็นว่าลอกเหมือนกัน ตัวอย่างที่ ทวีปเอเชีย กับ http://sufficiencyeconomy.panyathai.or.th/wiki/index.php/ทวีปเอเชีย และ เชียงตุง กับ http://royalmusic.panyathai.or.th/wiki/index.php/เชียงตุง เห็นเว็บเหมือนประกาศใหญ่ตัว เหมือนว่าคุณอดีตแอดมินจะรู้จักคนทำเว็บด้วย --Manop | พูดคุย 07:09, 11 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
พ่วงไปอีกหน้าครับ (ช่วงนี้คงเริ่มมีก๊อปกันเยอะ) http://politicalbase.in.th/index.php/สมัคร สุนทรเวช กับ สมัคร สุนทรเวช --Manop | พูดคุย 01:06, 12 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
PoliticalBase ท่าจะไม่เป็นไรครับ ความจริงแล้วลิงก์ใหม่นั้น อย่างน้อยยังบอกว่านำข้อมูลมาจากวิกิพีเดีย มีแต่ kapook ที่ไม่แจ้ง (แต่คงปรับตัวแล้ว?) ส่วน PoliticalBase คงไม่เป็น ระบุแหล่งที่มาและเป็นเืนื้อหา GFDL เหมือนเรา --Jutiphan | พูดคุย - 02:42, 12 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)
เว็บคลังปัญญาไทย สมควรจัดการยิ่งกว่าเว็บไหนทั้งหมด เพราะใช้ตราสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้นหน้าเว็บ เนื้อหาในหน้าหลักก็มีบทความเฉลิมพระเกียรติมากมาย ทำเหมือนเป็นเว็บเฉลิมพระเกียรติ แต่ลอกบทความของคนอื่นไป แล้วใส่ "copyright" ไว้ข้างใต้ทุก ๆ เพจ แบบนี้มันน่านัก ถ้ามาก๊อปบทความจากเว็บส่วนตัวของเราละก็เราฟ้องไปแล้ว แต่มาก๊อปจากวิกิฯ ไปแบบนี้เราจะทำอะไรได้บ้างละคะ --Tinuviel | พูดคุย 11:54, 8 ธันวาคม 2551 (ICT)