ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อพระโพธิสัตว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รายพระนามพระโพธิสัตว์ที่สำคัญในคติมหายานและวัชรยาน.
​​
เทวรูปพระโพธิสัตว์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ภาคพันกร แบบประเพณีจีน ณ เขาจิ่วหัว มณฑลอานฮุย ประเทศจีน.
นิกาย มหายาน
วัชรยาน
ตันตระ
เซน
พื้นที่หลัก ศาสนาพุทธแบบทิเบต
ศาสนาพุทธในประเทศจีน
ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น
ศาสนาพุทธในประเทศมองโกเลีย
ศาสนาพุทธในประเทศภูฏาน
ศาสนาพุทธในราชอาณาจักรสิกขิม
ศาสนาพุทธในลาดัก
ศาสนา ศาสนาพุทธ

รายนาม

[แก้]

รายนามพระโพธิสัตว์ (อังกฤษ: List of bodhisattvas) โดยพระโพธิสัตว์ คือบุคคลที่บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระโพธิสัตว์สำคัญตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายานและวัชรยานมีดังนี้ คือ

รูป นาม บทบาท
พระกษิติครรภโพธิสัตว์ (จีน: 地藏, Di Zang, เกาหลี: Ji Zang, ญี่ปุ่น: Jizo, ทิเบต: Sai Nyingpo, เวียดนาม: Địa Tạng) พระโพธิสัตว์แห่งสัตว์นรกทั้งปวง หรือพระโพธิสัตว์ผู้มีมหาปณิธาน.
พระคคนคัญชะโพธิสัตว์ สัญลักษณ์คือต้นกัลปพฤกษ์ หัตถ์ขวายกขึ้น หัตถ์ซ้ายวางบนสะโพก กายสีเหลือง มี 2 กร
พระคันธหัสติโพธิสัตว์ กายสีเขียวหรือขาวอมเขียว 2 กร มือขวาทำปางประทานพร มือซ้ายถืองาช้าง วางบนดอกบัวหรือถือสังข์
พระจันทรประภาโพธิสัตว์ (Ch: 月光, Yue Guang, เกาหลี: dal bich, Jp: Gekkō ) พระโพธิสัตว์ผู้เป็นสาวกของพระไภษัชยคุรุ สัญลักษณ์คือดวงจันทร์วางบนดอกบัว หัตถ์ขวาประทานพร หัตถ์ซ้ายถือพระจันทร์บนดอกบัว กายสีขาว 2 กร
พระสุริยประภาโพธิสัตว์
พระจุนทีโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนามหายานเช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ รูปลักษณ์ของท่านอยู่ในท่านั่งหรือยืน จะทรงมีสิบแปดพระกร มีพระเนตร 3 พระเนตร ลักษณะที่สังเกตได้ง่าย คือ หนึ่งในพระกรทั้งสิบแปดพระกรนั้นจะทรงธงด้ามยาวไว้คันหนึ่งเสมอ โดยหลายท่านเมื่อเห็นพุทธศิลป์ของพระองค์ก็มักจะเข้าใจกันผิดว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (กวนอิม) ไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไรในพระพุทธศาสนาของจีน แต่จะมีบทบาทในญี่ปุ่นมากกว่า.
พระชญาณเกตุโพธิสัตว์ กายสีเหลืองหรือฟ้า 2 กร มือขวาถือธงกับเพชรพลอย มือซ้ายทำท่าประทานพร.
พระนิรชาลินีประภาโพธิสัตว์ สัญลักษณ์คือวงกลมแห่งดวงอาทิตย์ หัตถ์ขวาประทานพร หัตถ์ซ้ายถือพระอาทิตย์บนดอกบัว กายสีแดง มี 2 กร เป็นพระโพธิสัตว์ผู้ขจัดตัณหาของสรรพสัตว์
ไตรโลกยวิชยะ วิทยราชแห่งทิศตะวันออก ผู้ทำหน้าที่คุ้มครองพระอักโษภยะพุทธะในศาสนาพุทธแบบทิเบต มหายานบางกลุ่มถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์เอกเทศ ไม่ได้จัดอยู่ในสกุลของพระธยานิพุทธะองค์ใด.
พระนางตารา (จีน: 度母, Du Mu) - พระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงในพระพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยาน เป็นตัวแทนของคุณธรรมแห่งความสำเร็จในกิจการทั้งปวง ถือกันว่าเป็นศักติชายาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์.
พระแม่อุษณียวิชัย พระโพธิสัตว์เทวีแห่งพระคาถาพุทธอุษณียวิชัยธารณี (มหายานและวัชรยาน) และ อุณหิสสะวิชะยะคาถา(เถรวาท).
พระนาคารชุนะ (จีน: 龍樹, Long Shu, เวียดนาม: Long Thọ) - ผู้ก่อตั้งนิกายมัธยมกะ อันเป็นนิกายย่อยของศาสนาพุทธมหายาน ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระโพธิสัตว์.
นิโอ ผู้พิทักษ์ที่เข้มแข็ง 2 องค์ของพระพุทธเจ้า มักปรากฏอยู่ที่ประตูทางเข้าวัดพุทธศาสนาหลายแห่งในญี่ปุ่นและเกาหลี มีรูปลักษณ์ดั่งนักมวยปล้ำที่ดูน่าสะพรึงกลัว นิโอทั้งสองนี้เป็นร่างสำแดงของพระวัชรปาณีโพธิสัตว์.
พระนางปรัชญาปารมิตา เป็นพระโพธิสัตว์ที่เป็นบุคลาธิษฐานของพระสูตรสำคัญของมหายานคือมหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรที่มีบทบาทสำคัญตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 -12 มีฐานะเป็นมารดาของพระพุทธเจ้า หรือเป็นภาคสำแดงของพระอักโษภยะพุทธะ เป็นสัญลักษณ์ของสุญตา.
พระปัทมสัมภวะ (จีน: 蓮華生上師, Lianhuasheng Shang Shi, ทิเบต: Padma Jungne หรือ Guru Rinpoche) - พระลามะในนิกายวัชรยานซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นพระโพธิสัตว์ มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในทิเบตและภูฏาน นิกายญิงมาปะถือว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง.
พระปัทมปาณิโพธิสัตว์
พระประติภานกูฏโพธิสัตว์ กายสีเหลือง เขียว หรือ แดง มือขวาถือแส้ มือซ้ายวางบนเพลา มี 2 กร
พระภัทรปาลโพธิสัตว์ กายสีแดงหรือขาว มี 2 กร มือขวาทำปางประทานพร มือซ้ายถือเพชรพลอย
พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ (จีน: 大勢至, Da Shì Zhì, เกาหลี: Dae Sae Zhi, ญี่ปุ่น: Seishi, เวียดนาม: Đại Thế Chí) - พระโพธิสัตว์ผู้เป็นตัวแทนของกำลังแห่งปัญญา ปรากฏอยู่เบื้องซ้ายของพระอมิตาภพุทธะ เป็นที่นับถือในนิกายสุขาวดี
พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (จีน: 文殊, Wen Shu, เกาหลี: Moon Soo, ญี่ปุ่น: Monju, ทิเบต: Jampal Yang, เวียดนาม: Văn Thù) - พระโพธิสัตว์แห่งปัญญา
นางวสุธระ พระโพธิสัตว์แห่งความอุดมสมบูรณ์ นับถือกันมากในประเทศเนปาล
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา ผู้สดับเสียงคร่ำครวญในโลกและคอยช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้ข้ามวัฏสงสาร เป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากลที่สุดในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
เจ้าแม่กวนอิม (จีน: 觀音, เจ้าแม่กวนอิม, เกาหลี: Guan Um,ญี่ปุ่น: Kannon, ทิเบต: Chenrezig, เวียดนาม: Quán Thế Âm) - ในประเทศไทยก็มีการนับถือด้วยเช่นกัน โดยใช้ชื่อพระโพธิสัตว์นี้ว่า "เจ้าแม่กวนอิม"
พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ (จีน: 普賢, Pu Xian, เกาหลี: Bo Hyun, ญี่ปุ่น: Fugen, ทิเบต: Kuntu Zangpo, เวียดนาม: Phổ Hiền) - พระโพธิสัตว์ผู้เป็นตัวแทนของความกรุณาและสมาธิที่ดิ่งลึกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
พระศรีอริยเมตไตรย (จีน: 彌勒, Mi Le, เกาหลี: Mi Ruk, ญี่ปุ่น: Miroku, เวียดนาม: Di Lạc) - พระโพธิสัตว์ผู้ที่จะมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าลำดับที่ 5 ในภัทรกัปป์ต่อจากพระโคตมพุทธเจ้า เป็นที่รู้จักจากความมีมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ เป็นที่นับถือทั่วไปทั้งในฝ่ายเถรวาทและมหายาน
พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ (จีน: 金剛手, Jin Gang Shou, เกาหลี: Kum Kang Soo, ญี่ปุ่น:Shukongojin, ทิเบต: Channa Dorje) - พระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธมหายานยุคต้น เป็นประมุขของพระโพธิสัตว์ผู้ค้ำครองพระพุทธเจ้าและเหล่าพระมนุสสิโพธิสัตว์ มีความเชื่อมโยงกับพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์และนิโอคงโงริกิชิ กล่าวกันว่าพระโพธิสัตว์องค์นี้เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจแห่งพระตถาคตทั้งห้า
พระรัตนปาณีโพธิสัตว์ สัญลักษณ์คือหนังสือ มือขวาถือวัชระ มือซ้ายถือหนังสือ กายสีฟ้า มี 2กร
พระวัชรครรภโพธิสัตว์
พระวิศวปาณีโพธิสัตว์
พระคณบดีโพธิสัตว์ (จีน:象鼻財神)พระโพธิสัตว์แห่งความมั่งคั่งและเจ้าแห่งภูติผีทั้ง9,000กอง สัญลักษณ์คือมีกายสีแดงหรือสีขาว มี4กร มือขวาถือวัชระหรือหัวไชเท้า มือซ้ายถือถ้วยขนมลาดู มือขวาบนถือขวาน มือซ้ายบนถือลูกประคำ มีเศียรเป็นช้าง มีคุณลักษณะพระคณบดี(พระพิฆเนศ) ซึ่งเป็นเทพในศาสนาฮินดู โดยนับถือมากในศาสนาพุทธแบบทิเบตและฎูฎาน รวมถึงจีนทางตอนเหนือ
พระเวทโพธิสัตว์ (พระสกันทะ) (จีน: 韋馱, Wei Tuo) - เทพธรรมบาลผู้คุ้มครองธรรมในพุทธศาสนา มีส่วนที่เชื่อมโยงกับพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ คุณลักษณะตรงกับพระสกันทะ (พระขันธกุมาร) ซึ่งเป็นเทพในศาสนาฮินดู โดยมากนิยมนับถือในศาสนาพุทธแบบจีน
พระศานติเทวะ พระภิกษุมหายานในช่วงราวพุทธศตวรรษ 13 (คริสต์ศตวรรษที่ 8) ผู้เขียนตำราเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ชื่อ "โพธิสัตตวจารยาวตาร" (หนทางสู่การบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์)
พระนางศิตาตปัตร พระโพธิสัตว์ผู้เป็นเทพยดาแห่งฉัตรขาว เป็นผู้คุ้มภัยจากอันตรายเหนือธรรมชาติ
พระสุรังคมโพธิสัตว์ กายสีขาว 2 กร มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายวางบนสะโพก
พระสาครมติโพธิสัตว์ สัญลักษณ์คือสังข์หรือคลื่น ยื่นพระหัตถ์ไปข้างหน้า ทำนิ้วเป็นรูปคลื่น กายสีขาว มี 2 กร
พระสังฆารามโพธิสัตว์ (จีน: 伽藍, Qie Lan, เวียดนาม: Già Lam) - เรียกอีกอย่างว่า "พระวิหารบาลโพธิสัตว์" เป็นพระโพธิสัตว์ที่นับถือเฉพาะในความเชื่อแบบพุทธ-เต๋า ของจีน คำว่าสังฆารามโพธิสัตว์นั้นอ้างอิงถึงกลุ่มเทพที่ทำหน้าที่คุ้มครองวัดและพิทักษ์พุทธศาสนา แต่นามนี้มักจะถูกใช้อ้างอิงถึงกวนอู ผู้เป็นแม่ทัพในตำนานยุคสามก๊ก ซึ่งได้กลายเป็นเทพธรรมบาลด้วยการประกาศตนเป็นชาวพุทธและตั้งปณิธานในการคุ้มครองศาสนาไว้
พระสุริยประภาโพธิสัตว์ (Ch: 日光, Ri Guang, เกาหลี: Il Guang, Jp: Nikkō) - 1 ใน 2 พระโพธิสัตว์ผู้เป็นสาวกของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต
พระสุปุษปจันทระ พระโพธิสัตว์ซึ่งถูกกล่าวถึงในตำรา "โพธิสัตตวจารยาวตาร" ของพระศานติเทวะ
พระสรรวาปายัญชหะโพธิสัตว์ กายสีขาว 2 กร ทำท่าขจัดบาป หรือถือขอสับช้างทั้งสองมือ
พระสรรวโศกตโมนิรฆาตมตีโพธิสัตว์ กายสีเหลืองอ่อนหรือเหลือง มี 2 กร มือขวาถือคฑา มือซ้ายวางบนสะโพก
พระสรรวนิวรณวิษกัมภินโพธิสัตว์ ( จีน :除蓋障菩薩) กายสีขาวหรือฟ้า มี 2 กร มือขวาทำญาณมุทรา มือซ้ายทำท่าปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร
พระอโมฆทรรศินโพธิสัตว์ กายสีเหลือง 2 กร มือขวาถือดอกบัว มือซ้ายวางบนสะโพก
พระอากาศครรภโพธิสัตว์ (จีน: 虛空藏, Xu Kong Zang,เกาหลี: Huh Gong Zang, ญี่ปุ่น: Kokuzo) - พระโพธิสัตว์แห่งความปิติอันไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเกิดจากการช่วยเหลือสรรพสัตว์จำนวนมากพ้นประมาณ สัญลักษณ์คือพระอาทิตย์ มือขวาถือเพชรพลอย มือซ้ายถือดวงแก้ว กายสีเขียว มี 2 กร
พระอักษมยมติโพธิสัตว์ (จีน;無盡意菩薩 Wújìn yì púsà เกาหลี:무진의보살 ญี่ปุ่น:むじんいぼさつ , เวียดนาม: Vô Tận Ý Bồ Tát ) สัญลักษณ์คือพระขรรค์หรือหม้อน้ำ มือขวาประทานพร มือซ้ายทาบบนทาบบนพระอุระ กายสีเหลืองหรือขาว มี 2 กร เป็นพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ เช่น สัจธรรมปุฑริกสูตร ไภษัชยคุรุสูตร[1]
พระแม่มหามายูรีโพธิสัตว์
พระภฤกุฎีโพธิสัตว์
พระแม่สมันตภัทรีโพธิสัตว์
พระแม่ปารณศวรีโพธิสัตว์
พระแม่มหาปติสารโพธิสัตว์
พระชัมภละโพธิสัตว์
พระแม่ศรีมหาเทวีโพธิสัตว์
พระแม่สรัสวดีโพธิสัตว์
พระแม่มารีจีโพธิสัตว์
พระแม่หารีตีโพธิสัตว์
พระแม่ฑากินีโพธิสัตว์
พระวัชระสัตว์โพธิสัตว์
พระแม่เยซี ทะโซญันโพธิสัตว์.

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]