พระอักโษภยพุทธะ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พระอักโษภยพุทธะ | |
---|---|
พระอักโษภยพุทธะ ศิลปะธิเบต | |
สันสกฤต | อกฺโษภฺย |
จีน | 阿閦如来 (āchùrúlái) |
ญี่ปุ่น | 阿閦如来 (Ashuku Nyorai) |
มองโกเลีย | ᠬᠥᠳᠡᠯᠦᠰᠢ ᠦᠭᠡᠢ Хөдөлшгүй Ködelüsi ügei |
ทิเบต | མི་བསྐྱོད་པ་ (mikyopa) |
ข้อมูล | |
นับถือใน | วัชรยาน |
พระลักษณะ | ความไม่หวั่นไหว |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
พระอักโษภยะพุทธะ เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระอักโษภยะพุทธะเป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึง"ไม่หวั่นไหว" ประทับทางทิศตะวันออกของพุทธมณฑล
พระกายสีน้ำเงิน รัศมีสีขาว
เป็นต้นตระกูลของพระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระ เป็นสัญลักษณ์แทนโพธิจิตในสรรพสัตว์ ถือดอกบัวที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความกรุณา และระฆังที่หมายถึงอิตถีภาวะแห่งเมตตาและขันติ
ทรงช้างคู่สีน้ำเงิน อันเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังมหาศาล พระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระที่รู้จักกันดีคือพระวัชรปาณิโพธิสัตว์และพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์พระวัชรปาณีโพธิสัตว์และพระกษิติครรภโพธิสัตว์
ความเชื่อ
[แก้]พระองค์เป็นตัวแทนของปัญญาญาณดังกระจก คือส่องให้เห็นหมดทุกด้าน โดยไม่ปิดบังอำพราง ประจำอยู่ทิศตะวันออกในพุทธมณฑล มีลักษณะใกล้เคียงกับพระไวโรจนพุทธะ โดยอาจสลับตำแหน่งในพุทธมณฑลกันได้ ความเชื่อในคัมภีร์มรณะของทิเบต พระอักโษภยะจะปรากฏในวันที่ 2 พร้อมด้วยพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ตัวแทนแห่งความสมบูรณ์และความงอกงามและพระเมตไตรยโพธิสัตว์[1]
รูปลักษณ์
[แก้]ท่าทางประจำพระองค์คือภูมิสปรศมุทรา ซึ่งเป็นการวางพระหัตถ์ซ้ายในรูปแบบการทำสมาธิ พระหัตถ์ขวาเหยียดออก นิ้วชี้ชี้ลงสัมผัสพื้นดินเพื่อแสดงการมีชัยเหนือมาร
เสียงประจำพระองค์คือเสียง "ฮัม" ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากศูนย์ลมที่หัวใจ แสดงถึงการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เป็นร่างแหอยู่ภายในยานเดียวกัน
สัญลักษณ์
[แก้]สัญลักษณ์ประจำพระองค์คือคฑาเพชร ซึ่งสื่อถึงความมั่นคง ไม่คลอนแคลนของธรรมะ และความไม่หวั่นไหวของผู้บรรลุธรรม
พาหนะ
[แก้]พาหนะของพระองค์คือช้าง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง
ในทิเบตถือว่าช้างเป็นสัญลักษณ์ของสติปัญญา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช, แปลโดย อนุสรณ์ ติปยานนท์. คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งทิเบต พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2536.
บรรณานุกรม
[แก้]- ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. [ม.ป.ท.] : ศูนย์ไทยทิเบต, 2538.