ข้ามไปเนื้อหา

ลาดัก

พิกัด: 34°10′12″N 77°34′48″E / 34.17000°N 77.58000°E / 34.17000; 77.58000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลาดัก
ดินแดนสหภาพของประเทศอินเดีย
อารามลามายูรู ซึ่งเป็นอารามในศาสนาพุทธ
อารามลามายูรู ซึ่งเป็นอารามในศาสนาพุทธ
ตราอย่างเป็นทางการของลาดัก
ตรา
ลาดักในประเทศอินเดีย
ลาดักในประเทศอินเดีย
พิกัด: 34°10′12″N 77°34′48″E / 34.17000°N 77.58000°E / 34.17000; 77.58000
ประเทศธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
เขตเลห์
การ์คิล
ดินแดนสหภาพ31 ตุลาคม 2562[1]
เมืองหลวงเลห์[2] และการ์คิล[3]
การปกครอง
 • ราชยปาลราธากฤษณะ มาถุร
 • ผู้แทนชัมยางค์ เสริงค์ นามคยาล
 • สภาสูงชัมมูและกัศมีร์
พื้นที่[4]
 • ทั้งหมด59,196 ตร.กม. (22,856 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2011)
 • ทั้งหมด274,289 คน
 • ความหนาแน่น4.6 คน/ตร.กม. (12 คน/ตร.ไมล์)
ภาษา
 • ราชการลาดัก, ทิเบต, ฮินดี
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
ทะเบียนพาหนะเลห์: JK10; การ์คิล: JK07
เมืองหลักเลห์, การ์คิล
อัตราการเกิด19%[5] (1981)
เว็บไซต์http://leh.nic.in/ (เลห์)
http://kargil.nic.in/ (การ์คิล)

ลาดัก (ลาดัก/บัลติ: ལ་དྭགས; ฮินดี: लद्दाख़; อูรดู: لدّاخ) หรือ ทิเบตน้อย (อังกฤษ: Little Tibet) เป็นดินแดนสหภาพแห่งหนึ่งของประเทศอินเดีย ปัจจุบันครอบคลุมตั้งแต่ธารน้ำแข็งเซียเชนของเทือกเขาการาโกรัมไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัยทางตอนใต้ ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายอินโด-อารยันและทิเบต[6][7] ที่นี่เป็นภูมิภาคที่มีประชากรเบาบางที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ แต่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับทิเบต ลาดักมีชื่อเสียงด้านความสวยงามแห่งขุนเขาและวัฒนธรรมพื้นเมือง

เดิมลาดักรวมอยู่กับบัลติสถาน (ปัจจุบันขึ้นกับประเทศปากีสถาน) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนบนของหุบเขาสินธุ ทางใต้ติดเมืองซันสการ์และลาเหาล์และสปีติ ทางตะวันออกติดจังหวัดงารีในเขตปกครองตนเองทิเบต ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับอักไสชิน (ยาวไปตามเทือกเขาคุนหลุน) ทางตอนเหนือติดกับหุบเขานูบราผ่านช่องเขาคาร์ดุง ส่วนทิศตะวันตกติดกับชัมมู, กัศมีร์ และบัลติสถาน

ส่วนดินแดนอักไสชินเป็นแดนพิพาทระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน[8] โดยจีนให้อักไสชินขึ้นกับเทศมณฑลโฮตันในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ขณะที่อินเดียให้อักไสชินขึ้นกับลาดักของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ก่อให้เกิดความขัดแย้งเป็นสงครามระยะสั้นเมื่อ ค.ศ. 1962 เพราะทั้งสองต่างอ้างสิทธิเหนือดินแดนอักไสชินและอรุณาจัลประเทศ กระทั่งใน ค.ศ. 1993 และ ค.ศ. 1996 ทั้งสองประเทศลงนามเพื่อกำหนดเส้นควบคุมแท้จริง[9]

ในอดีตลาดักมีความสำคัญเพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์โดดเด่นและเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญ[10] ทว่าในกาลต่อมาทางการจีนได้ประกาศปิดพรมแดนทิเบตกับเอเชียกลางช่วงปี ค.ศ. 1960 ทำให้การค้าและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศถดถอย กระทั่ง ค.ศ. 1974 รัฐบาลอินเดียได้ให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวในลาดักจนประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งก็เพราะลาดักตั้งอยู่ในรัฐชัมมูและกัศมีร์อันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของกองทัพอินเดีย

ลาดักมีเมืองใหญ่อยู่สองเมืองคือเลห์และการ์คิล[11] รัฐบาลรัฐชัมมูและกัศมีร์ก่อตั้งหน่วยการบริหารขึ้นต่างหากแยกจากหน่วยการบริหารกัศมีร์ โดยมีที่ทำการใหญ่ในเลห์[12] จากการสำรวจสำมะโนครัวใน ค.ศ. 2011 ประชากรส่วนใหญ่ในลาดักนับถือศาสนาอิสลาม (โดยมากเป็นชีอะฮ์) ร้อยละ 46.4 รองลงมาคือศาสนาพุทธแบบทิเบตร้อยละ 39.7, ศาสนาฮินดูร้อยละ 12.1[13] มีนักเคลื่อนไหวในลาดักเรียกร้องให้ลาดักมีสถานะเป็นดินแดนสหภาพแยกออกจากรัฐชัมมูและกัศมีร์ ด้วยเห็นว่าได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากกัศมีร์ รวมทั้งลาดักเองก็มีวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากมุสลิมในกัศมีร์ แต่ทว่าประชาชนในการ์คิลซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมได้ออกมาต่อต้านการยกลาดักขึ้นเป็นดินแดนสหภาพ[14][15]

วันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2019 รัฐบาลอินเดียประกาศจัดตั้งลาดักเป็นดินแดนสหภาพแยกจากรัฐชัมมูและกัศมีร์[16]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://egazette.nic.in/WriteReadData/2019/210412.pdf
  2. "Ladakh Gets Civil Secretariat". 17 October 2019.
  3. Excelsior, Daily (12 November 2019). "LG, UT Hqrs, Head of Police to have Sectts at both Leh, Kargil: Mathur". สืบค้นเมื่อ 17 December 2019.
  4. "MHA.nic.in". MHA.nic.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2008. สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
  5. Wiley, AS (2001). "The ecology of low natural fertility in Ladakh". J Biosoc Sci. 30 (4): 457–80. PMID 9818554.
  6. Jina, Prem Singh (1996). Ladakh: The Land and the People. Indus Publishing. ISBN 978-81-7387-057-6.
  7. "In Depth-the future of Kashmir". BBC News. สืบค้นเมื่อ 16 April 2013.
  8. "Fantasy frontiers". The Economist. 8 February 2012. สืบค้นเมื่อ 24 September 2014.
  9. "India-China Border Dispute". GlobalSecurity.org.
  10. Rizvi, Janet (2001). Trans-Himalayan Caravans – Merchant Princes and Peasant Traders in Ladakh. Oxford India Paperbacks.
  11. Osada et al. (2000), p. 298.
  12. "Creation of ladakh division".
  13. Rizvi, Janet (1996). Ladakh — Crossroads of High Asia. Oxford University Press.
  14. "Kargil Council For Greater Ladakh". The Statesman, 9 August 2003. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-19. สืบค้นเมื่อ 22 August 2006.
  15. Loram, Charlie (2004) [2000]. Trekking in Ladakh (2nd ed.). Trailblazer Publications.
  16. Already, Rajya Sabha Clears J&K As Union Territory Instead Of State, NDTV, 5 August 2019.