ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อฐานทัพอากาศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สีแดง คือฐานบินปฏิบัติการหลัก
สีน้ำเงิน คือฐานบินปฏิบัติการหน้า

ระหว่าง พ.ศ. 2497-2518 (สงครามเวียดนามหรือสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง) รัฐบาลไทยอนุญาตให้คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐ ประจำประเทศไทย (Joint United States Military Advisory Group - Thailand: JUSMAG-THAI จัสแม็ก-ไทย) ให้ทุนและดำเนินการการปรับปรุงฐานทัพอากาศไทยให้ทันสมัย ในข้อตกลงที่ไม่ได้ลงนาม ฐานทัพอากาศเหล่านี้จะดำเนินการโดยกองทัพอากาศสหรัฐ เพื่อจุดประสงค์เฉพาะในการโจมตีเวียดนามเหนือด้วยเครื่องบินประมาณ 500 ลำ ฐานเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากฐานทัพเรือใกล้กับท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ ผู้เชี่ยวชาญทางการทหารอเมริกันจำนวนมากได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ที่สำนักงานจัสแม็ก-ไทยในกรุงเทพฯ โดยขณะนั้นมีทหารสหรัฐฯ มากถึง 45,000 นายประจำการในประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

โครงสร้างการบังคับบัญชาของกองทัพอากาศไทยประกอบด้วยกองบัญชาการและห้าส่วนบัญชาการ ได้แก่ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนส่งกำลังบำรุง ส่วนการศึกษา และและส่วนกิจการพิเศษ[1]

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ประเทศไทยประสบกับอัตราการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา: มากกว่า 10% ต่อปีใน GNP และประมาณ 8% ต่อปีในผลผลิตจริง แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509) ประสบผลสำเร็จ ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีมูลค่ารวมประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2513 ความช่วยเหลือทางทหารโดยตรงรวมเป็นเงินอีก 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกัน และต่อเนื่องในอัตรา 25–55 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ตามสถิติของรัฐบาลสหรัฐ ระหว่างปี พ.ศ. 2493 ถึง พ.ศ. 2530 สหรัฐ ได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ประเทศไทยมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ด้วยโครงสร้างขนาดใหญ่ขององค์กร ทำให้ประเทศไทยเกิดความมั่งคั่งในทุกระดับของสังคม ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในด้านการก่อสร้างขนาดใหญ่ การสื่อสาร การคมนาคม และการป้องกันประเทศ หมวดหมู่ต่อไปนี้พบได้ในรายงานสรุปของสำนักงานตรวจสอบอิสระของรัฐสภาสหรัฐ เช่น หัวรถจักร, การบริการด้านปฏิบัติการการบิน, ทางหลวงกรุงเทพ-สระบุรี, ถนนสายใต้, สินเชื่อเพื่อการพัฒนา, การสนับสนุนทางเทคนิค, ตำรวจพลเรือน, วิทยุหมู่บ้าน, การพัฒนาการเกษตร, การดูแลสุขภาพในชนบท, น้ำดื่ม, มาลาเรีย, การจัดสรรไฟฟ้าในชนบท และโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่ เป็นต้น

นอกจากนี้ มีการก่อสร้างถนนที่ทนทานทุกสภาพอากาศความยาว 315 กิโลเมตร (196 ไมล์) ในสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วยสะพานและท่อระบายน้ำ 138 แห่ง มีค่าใช้จ่าย 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (174,000 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับอุปกรณ์บำรุงรักษา ต้องมีการฝึกอบรมบุคลากร 199 คน (ช่างเครื่อง 36 คน, ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหา 6 คน, พนักงานควบคุมอุปกรณ์ 97 คน, คนขับรถ 60 คน))

หลังสงครามยุติ

[แก้]
ฐานบินโคราชในปี พ.ศ. 2530

การสิ้นสุดของสงครามส่งผลให้บุคลากรและอุปกรณ์ของสหรัฐ ทั้งหมดถูกถอดออกภายในปี พ.ศ. 2519 ตามคำร้องขอของไทย กองทัพอากาศไทยพบว่ามีค่าใช้จ่ายสูงเกินไปในการปฏิบัติการ ยกเว้นที่ฐานบินโคราชและตาคลี โดยโครงสร้างทางการบินอีกหลายรายการถูกส่งต่อการดูแลไปยังกรมการบินพลเรือน

สรุปความช่วยเหลือจากสหรัฐ

[แก้]

ข้อมูลต่อไปนี้นำมาจากรายงานสรุปของหน่วยงานบริหารความช่วยเหลือของสหรัฐ (USOM) ในประเทศไทย ลงวันที่ พ.ศ. 2511 พบที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยคอร์เนล ชื่อว่า "Pamphlet HC Thailand 370" 3-1924-007-619-574

AID (หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ) ให้ความช่วยเหลือ ตลอดปีงบประมาณ 1968 (ล้านดอลลาร์)

  • แกรนต์ 431; เงินกู้ยืม 64; ภูมิภาค 34: รวม 529
  • เจ้าหน้าที่: อเมริกัน 460 คน ไทย 660 คน
  • การอบรม : คนไทย 6,300 คน ส่งไปต่างประเทศ พ.ศ. 2494-68 ไปศึกษาด้าน เกษตรกรรม 1,490 คน; การศึกษา 1,341; สุขภาพ 969; การบริหารราชการ 824; ตำรวจพลเรือน 435; การพัฒนาชุมชน 501; การขนส่ง 287; อุตสาหกรรม 202; แรงงาน 28; โครงการแม่น้ำโขงและป่าโมง 16; ทั่วไป, 218.

ตัวชี้วัดการพัฒนา ไต้หวัน vs ไทย: GNP 234/141, กำลังไฟฟ้าต่อหัว 680/58, อัตราการรู้หนังสือ 72/70, ผู้อยู่อาศัยต่อแพทย์ 1500/7300, ถนนต่อ 1,000 ตารางไมล์ 590/40, ความหนาแน่นของประชากร 1,010/170,

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติไทย (GNP) คงที่ 1965 ล้านดอลลาร์สหรัฐ: 2504/2925, 2505/3082, 2506/3386, 2507/3590, 2508/3907, 2509/4339, 2510/4551

ฐานทัพอากาศปัจจุบัน

[แก้]

ปัจจุบันกองทัพอากาศได้แบ่งระดับของฐานทัพอากาศออกเป็น 1 ฐานทัพอากาศ และฐานบินอีก 4 ระดับ ประกอบไปด้วย ฐานทัพอากาศ ฐานบินปฏิบัติการหลัก ฐานบินปฏิบัติการหน้า[2] ฐานบินปฏิบัติการกิจพิเศษ[3] และฐานบินปฏิบัติการสำรอง[2] ซึ่งจะจำแนกได้ตามที่มีการเปิดเผยข้อมูล[4] ดังนี้

ฐานทัพอากาศ

[แก้]

ฐานบินปฏิบัติการหลัก

[แก้]

ฐานบินปฏิบัติการหน้า

[แก้]

ฐานบินปฏิบัติการกิจพิเศษ

[แก้]

ฐานบินอื่น ๆ

[แก้]
  • ฐานบินปฏิบัติการสำรอง จำนวน 8 ฐานบิน[2]
  • สนามบินเฉพาะกิจ จำนวน 2 สนามบิน[2]

ฐานบินที่ไม่ทราบข้อมูลระดับ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • JSTOR: Asian Survey: Vol 13,No. 5 (May, 1973) pp. 441–457 United States Military Spending and the Economy of Thailand, George J. Viksnins
  1. "Royal Thai Air Force Organization". rtaf.mil.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-28. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Royal Thai Air Force | ยุทโธปกรณ์ในกองทัพอากาศไทย". thaiarmedforce. 2019-05-02.
  3. "วิสัยทัศน์ พันธกิจ | กองทัพอากาศ". welcome-page.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-05-31.
  5. "วิสัยทัศน์ ภารกิจ | กองบิน 5 กองทัพอากาศ". wing5.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "วิสัยทัศน์ ภารกิจ | กองบิน 46". wing46.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]