ข้ามไปเนื้อหา

ฐานบินพิษณุโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฐานบินพิษณุโลก
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
พิษณุโลก
เครื่องบินแบบที-28 โทรจาน จัดแสดงอยู่บริเวณประตูทางเข้าฐานบินพิษณุโลก
แผนที่
พิกัด16°46′59″N 100°16′45″E / 16.78300°N 100.27916°E / 16.78300; 100.27916 (ฐานบินพิษณุโลก)
ประเภทฐานทัพอากาศ
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการธงของกองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
ควบคุมโดยฐานบินพิษณุโลก (พ.ศ. 2508–2515)
แผนการฐานบินพิษณุโลก (พ.ศ. 2515–2523)
กองบิน 46 (เพื่อพลาง) (พ.ศ. 2523–2525)
กองบิน 46 (พ.ศ. 2525–ปัจจุบัน)
สภาพปฏิบัติการ
เว็บไซต์wing46.rtaf.mi.th
ประวัติศาสตร์
สร้าง2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508; 59 ปีก่อน (2508-11-02)
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองบิน 46
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุIATA: PHS, ICAO: VTPP[1]
ความสูง145 ฟุต (44 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
14/32 3,000 เมตร (9,843 ฟุต) คอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต

ฐานบินพิษณุโลก[2] (อังกฤษ: Phitsanulok Air Force Base) เป็นฐานบินปฏิบัติการกิจพิเศษ[3][4]และที่ตั้งทางทหารของกองบิน 46 กองทัพอากาศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เป็นกองบินหลักในการสนับสนุนปฏิบัติการตามโครงการพระราชดำริ[5]

ประวัติ

[แก้]

สนามบินพิษณุโลกมีการระบุว่ามีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ประมาณปี พ.ศ. 2484 แต่ยังไม่พบเอกสารอ้างอิงแต่อย่างใดว่ามีการใช้งานในช่วงเวลาดังกล่าว

ต่อมาสนามบินพิษณุโลกได้รับการประกาศอนุญาตให้เป็นสนามบินอนุญาตเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ซึ่งสามารถนำอากาศยานขึ้นลงได้ถูกต้องตามกฎหมาย และเริ่มเปิดให้มีการเดินอากาศเชิงพาณิชย์ได้[6]

ฐานบินพิษณุโลกได้รับการสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 ตามแผนยุทธการที่ให้กองบินต่าง ๆ ประสานกับหน่วยภาคพื้นดินเพื่อหาที่ตั้งฐานบินในการวางกำลังในสถานการณ์การกำเริบของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งฐานบินพิษณุโลกมีภารกิจในการสนับสนุนทางอากาศในการปราบปราบผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง โดยจัดอากาศยานมาวางกำลังในเวลานั้น ได้แก่ เครื่องบินลาดตระเวนและโจมตีแบบ โอวี-10 บรองโก จากหน่วยบิน 413, 213, 4111, เอยู-23 พีซเมกเกอร์ จากหน่วยบิน 2021, 2233 เครื่องบินโจมตีทางอากาศแบบ ดักลาส เอซี-47 จากหน่วยบิน 6231, เครื่องบินชี้เป้าทางอากาศแบบ ดักลาส ซี-47 สกายเทรน จากหน่วยบิน 7112, 7131 และเฮลิคอปเตอร์แบบ ยูเอช-1 ไอระควอย จากหน่วยบิน 3331[7]

หลังจากนั้นฐานบินพิษณุโลกได้เป็นที่ตั้งของหน่วยบินและยกฐานะเป็นแผนการฐานบินพิษณุโลกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2515 ต่อมาได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นฝูงบิน 406 ซึ่งเป็นฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามในเดือนกันยายน พ.ศ. 2520 และมีการปรับอัตราเป็นกองบิน 46 (เพื่อพลาง) ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2523[7]

ต่อมาฐานบินพิษณุโลกได้เป็นที่ตั้งของกองบิน 46 จากการยกฐานะขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2525 และมีการปรับภารกิจและอากาศยานประจำกองบินคือนำดักลาส ซี-47 สกายเทรนมาดัดแปลงเป็นเครื่องบินบีที-67 เมื่อปี พ.ศ. 2539 สำหรับใช้ปฏิบัติการลำเลียงทางอากาศ และภารกิจดับไฟป่า รวมถึงการปฏิบัติการฝนหลวง

บทบาทและปฏิบัติการ

[แก้]

กองทัพอากาศไทย

[แก้]

ฐานบินพิษณุโลก เป็นฐานบินหลักสำหรับกองบิน 46 กองทัพอากาศไทยในการปฏิบัติการพิเศษ[3]รวมถึงเป็นฐานบินปฏิบัติกิจพิเศษ[4] ซึ่งฐานบินพิษณุโลกประกอบไปด้วยเครื่องบินลำเลียง 1 ฝูงบิน คือ

และส่วนสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ กองบังคับการ, แผนกการเงิน, แผนกสนับสนุนการบิน, กองเทคนิค, โรงพยาบาลกองบิน, แผนกช่างโยธา, แผนกขนส่ง, แผนกพลาธิการ, แผนกสวัสดิการ และกองร้อยทหารสารวัตร[9]

หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก

[แก้]

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ใช้ฐานบินพิษณุโลกในการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง หมุนเวียนกันมาประจำการ เช่น เซสนา 208 คาราวาน และซุปเปอร์คิง แอร์ 350[10]

หน่วยในฐานบิน

[แก้]

หน่วยบินที่วางกำลังในฐานบินพิษณุโลก ที่วางกำลังอยู่ในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย

เครื่องบินบาสเลอร์ บีที-67 จากฝูงบิน 461 จัดแสดงในงานวันเด็ก ณ ฐานบินเชียงใหม่

กองทัพอากาศ

[แก้]

กองบิน 46

[แก้]

ฐานปฏิบัติการฝนหลวง กองบิน 46[12]

[แก้]
  • หน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ[13]

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

[แก้]
เครื่องบินฝนหลวง หมายเลข 1512 บริเวณลาดจอดเครื่องบินในฐานบินพิษณุโลก

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง

[แก้]

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]

ฐานบินพิษณุโลกเป็นฐานบินหลักของกองบิน 46 มีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในกองบิน ดังนี้

ลานบิน

[แก้]

ฐานบินพิษณุโลกประกอบไปด้วย ทางวิ่งความยาว 3,000 เมตร (9,843 ฟุต) ความกว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 145 ฟุต (44 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 14/32 หรือ 143.69° และ 323.69° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต

โรงพยาบาลกองบิน 46

[แก้]

โรงพยาบาลกองบิน 46 เป็นโรงพยาบาลในกองบิน 46 อยู่ภายใต้สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ กระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยเตียงผู้ป่วยขนาด 50 เตียง[14] สำหรับตรวจรักษาข้าราชการทหาร ลูกจ้าง พนักงาน ครอบครัว และประชาชนบริเวณกองบิน และดำเนินการด้านเวชศาสตร์ป้องกันและเวชศาสตร์การบิน[9]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-06-01.
  3. 3.0 3.1 "วิสัยทัศน์ ภารกิจ | กองบิน 46". wing46.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "Royal Thai Air Force | ยุทโธปกรณ์ในกองทัพอากาศไทย". thaiarmedforce. 2019-05-02.
  5. "'กองบิน 46' จัดพิธีส่งหน่วยบินปฏิบัติการฝนหลวงแก้ปัญหาภัยแล้ง-ดับไฟป่า". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  6. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงคมนาคม ที่ 2/2497 เรื่อง กำหนดสนามบินอนุญาต. เล่ม 71 ตอน 83, ฉบับพิเศษ วันที่ 13 ธันวาคม 2497 หน้า 8
  7. 7.0 7.1 "ประวัติความเป็นมาของหน่วยงาน | กองบิน 46". wing46.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 "ฝูงบิน 461 กองบิน 46 ได้จัดเตรียม เครื่องบินลำเลียง บ.ล.2 ก จำนวน 1 เครื่อง พร้อมนักบินและเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยาน ออกปฏิบัติภารกิจฝนหลวงและบรรเทาปัญหาฝุ่น PM 2.5 ณ ฝูง 106 (อู่ตะเภา) ตั้งแต่ 23 มกราคม 2563 จนกว่าจะเสร็จภารกิจ - ที่นี่เมืองสองเเคว.com". ที่นี่เมืองสองเเคว.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-06-01.
  10. 10.0 10.1 "ฝนหลวงฯ ตั้ง ๔ หน่วยปฏิบัติการ ช่วยเหลือพื้นที่เกษตรต้องการน้ำและบรรเทาปัญหาหมอกควัน-ลดความรุนแรงของพายุลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ". www.royalrain.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "'ผู้การเส' ปธ.ส่งหน่วยบินบน.46 ปฏิบัติการฝนหลวง 3 ฐานบิน ดีเดย์ 15 มี.ค.ปูพรมหาดใหญ่แก้แล้ง". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "พิธีส่งหน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ ประจำปี 2567". welcome-page.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "ผบ.ทอ. ส่งหน่วยบิน 7 ลำ ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือภัยแล้ง". www.thairath.co.th. 2024-03-12.
  14. "แผนการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ 4 - Flip eBook Pages 1-50 | AnyFlip". anyflip.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]