ข้ามไปเนื้อหา

ฐานบินวัฒนานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฐานบินวัฒนานคร
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
วัฒนานคร สระแก้ว
เครื่องบินไร้คนขับตรวจการณ์และฝึกแบบที่ 1 RTAF U-1 ฝูงบิน 301 ขณะอยู่บนเส้นทางวิ่ง
แผนที่
พิกัด13°45′51″N 102°18′48″E / 13.76413°N 102.31340°E / 13.76413; 102.31340 (ฐานบินวัฒนานคร)
ประเภทฐานทัพอากาศ
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการFlag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
ควบคุมโดยฝูงบิน 204 กองบิน 2 (พ.ศ. 2523–2563)
กองบิน 3 (พ.ศ. 2563–ปัจจุบัน)
สภาพปฏิบัติการ
ประวัติศาสตร์
การต่อสู้/สงคราม
กรณีพิพาทอินโดจีน

สงครามมหาเอเชียบูรพา
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองบิน 3
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุICAO: VTBW[1]
ความสูง225 ฟุต (69 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
05/23 1,500 เมตร (4,921 ฟุต) แอสฟอลต์คอนกรีต

ฐานบินวัฒนานคร[2] (อังกฤษ: Watthana Nakhon Air Force Base[3][4]) หรือ สนามบินวัฒนานคร (Watthana Nakhon Airport[3]) เป็นฐานทัพอากาศและที่ตั้งทางทหารของกองบิน 3 กองทัพอากาศไทย ในอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว อดีตเคยเป็นที่ตั้งของฝูงบิน 206 กองบิน 2 ในฐานะฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามชายแดน และฝูงบิน 43 กองบิน 4 ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา

ประวัติ[แก้]

ฐานบินวัฒนานคร เป็นที่รู้จักกันในชื่อ สนามบินวัฒนานคร โดยปรากฎในเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ส่วนใหญ่ในชื่อของสนามบินวัฒนานคร

กรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา[แก้]

ในช่วงปี พ.ศ. 2483 - 2484 กองบินน้อยที่ 3 ในขณะนั้นได้แบ่งฝูงบินมาวางกำลังที่จังหวัดปราจีนบุรี (จังหวัดสระแก้วปัจจุบัน) ณ ฐานบินวัฒนานคร เพื่อสนับสนุนการรบให้กับกองทัพภาคบูรพา และช่วงปี พ.ศ. 2484 - 2488[5] ฐานบินวัฒนานครเป็นฐานบินที่ถูกโจมตีในระลอกแรกจากกองทัพญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ทางฝั่งอรัญประเทศ พร้อมกันกับการยกพลขึ้นบกบริเวณอ่าวไทย โดยกองทัพอากาศซึ่งประจำฝูงบิน 43 อยู่ที่ฐานบินวัฒนานครขณะนั้นได้นำเครื่องบินขับไล่แบบฮอว์คจำนวน 3 ลำ[6]ขึ้นสกัดกั้นจนมีนักบินเสียชีวิตระหว่างการรบทางอากาศ 3 นาย[7]

จดทะเบียนเป็นสนามบินอนุญาต[แก้]

สนามบินบินวัฒนานครได้รับอนุญาตให้เป็นสนามบินอนุญาตตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ในปี พ.ศ. 2498 ซึ่งสามารถให้บริการเที่ยวบินในเชิงพาณิชย์ได้และใช้สำหรับขึ้นลงอากาศยานได้อย่างถูกกฎหมาย แต่ไม่ปรากฎหลักฐานชั้นต้นในเส้นทางการบินในเชิงพาณิชย์ของฐานบินวัฒนานครหรือสนามบินวัฒนานคร[8]

ในปี พ.ศ. 2506 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินงบประมาณที่กันไว้สำหรับปรับปรุงสนามบินชัยภูมิมาใช้การปรับปรุงสนามบินวัฒนานคร เป็นวงเงิน 2,243,440 บาท[9]

สงครามเย็น[แก้]

ในปี พ.ศ. 2520 ฐานบินวัฒนานครเป็นที่วางกำลังของฝูงบิน 206 พร้อมกันกับฝูงบิน 207 จากกองบิน 2 ที่วางกำลังในพื้นที่จังหวัดตราด ในฐานะฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามชายแดน[10] ซึ่งจะมีการวางกำลังทางอากาศเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ส่งผลต่อความมั่นคงระหว่างประเทศในการใช้สนับสนุนปฏิบัติการทางบก ซึ่งอากาศยานที่มาประจำการนั้นจะมาในรูปแบบของหน่วยบินเฉพาะกิจจากกองบินต่าง ๆ ไม่มีอากาศมาประจำการถาวร[11]

หลังสงครามเย็น[แก้]

ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีประกาศกระทรวงคมนาคมในการกำหนดเขตปลอดภัยการเดินอากาศในพื้นที่ของสนามบินวัฒนานครตามแนวทางวิ่งของอากาศยานไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้ในพื้นที่ของตำบลวัฒนานคร ตำบลหนองน้ำใส ตำบลท่าเกวียน ตำบลโนนหมากเค็ง ตำบลหนองแวง ตำบลผักขะ และบางส่วนของตำบลหนองหมากฝ้าย อำเภอวัฒนานคร พร้อมทั้งตำบลหันทราย อำเภออรัญประเทศ ซึ่งลงนามโดย[12]

ปัจจุบัน[แก้]

เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563 ฝูงบิน 206 ซึ่งประจำอยู่ที่ฐานบินวัฒนานครได้ถูกปรับและยกฐานะขึ้น[13]เป็นกองบิน 3 และเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามชายแดนขึ้นเป็นฝูงบินซึ่งขึ้นตรงกับกองทัพอากาศ มีภารกิจเกี่ยวกับการใช้งานอากาศยานไร้คนขับในการสนับสนุนปฏิบัติการทางอากาศและการรบ ทำให้ฐานบินวัฒนานครได้เปลี่ยนเป็นฐานบินหลักของอากาศยานไร้คนขับ[14]หรือ Home of UAV[4]

ฐานบินวัฒนานครได้ทำพิธีทำบุญเปิดซุ้มประตูทางเข้าฐานบินโดยมี นาวาอากาศเอก อำนาจ สิงหพันธ์ ผู้บังคับการกองบิน 3 เป็นประธานในพิธีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2566[15]

บทบาทและปฏิบัติการ[แก้]

กองทัพอากาศไทย[แก้]

ฐานบินวัฒนานคร เป็นที่ตั้งหลักของกองบิน 3 ซึ่งเป็นกองบินสำหรับปฏิบัติการอากาศยานไร้คนขับ และเป็นฐานบินสำหรับวางกำลังในสถานการณ์ที่ส่งผลต่อความมั่นคงระหว่างประเทศตามภารกิจของฝูงบิน 206 เดิม ปัจจุบันประจำการฝูงบิน 301 และหน่วยสนับสนุนอื่น ๆ ของกองบิน 3

  • ฝูงบิน 301 เป็นฝูงบินประจำการเครื่องบินไร้คนขับตรวจการณ์และฝึกแบบที่ 1 RTAF U-1[16] และมีหน่วยรองคือหน่วยบินภายใน เช่น หน่วยบิน 3011[16]
  • กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 3 เป็นกำลังกองรักษาการณ์ฐานบินวัฒนานครหลักในการป้องกันฐานบิน

และส่วนสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ กองบังคับการ, กองร้อยสารวัตรทหาร, แผนกสนับสนุนการบิน, กองเทคนิค, โรงพยาบาลกองบิน, แผนกช่างโยธา, แผนกขนส่ง, แผนกพลาธิการ, แผนกการเงิน และแผนกสวัสดิการ[10]

หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว[แก้]

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ใช้ฐานบินวัฒนานครในการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดสระแก้วและจังหวัดใกล้เคียง[17] โดยมีการตั้งโรงเก็บสารฝนหลวงในพื้นที่ฐานบินเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติการทำฝนหลวง[18] ตามนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนโครงการพระราชดำริฝนหลวงในการเบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรนอกพื้นที่ชลประทานที่ต้องการน้ำในการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร[19] รวมถึงเพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ชลประทาน[20] โดยใช้เครื่องบินแบบเซสนา 208 คาราวาน[21]

หน่วยในฐานบิน[แก้]

หน่วยบินที่วางกำลังในฐานบินวัฒนานคร ประกอบไปด้วย

กองทัพอากาศ[แก้]

  • กองบิน 3 (หน่วยหลัก)
    • ฝูงบิน 301
      • หน่วยบิน 3011[16] – RTAF U-1
    • ฐานปฏิบัติการฝนหลวง กองบิน 3[22]
      • หน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ[23]

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร[แก้]

  • ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

ฐานบินวัฒนานครมีเนื้อที่ประมาณ 16,000 ไร่ เป็นฐานบินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของกองทัพอากาศ[24] ซึ่งได้รับจากกรมธนารักษ์มาเพื่อใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง[13] ปัจจุบันมีพื้นที่ใช้งานอยู่ทั้งหมด 2 ส่วนคือ การใช้งานในทางทหารเป็นฐานบิน และการปล่อยให้ราษฎร์โดยรอบเช่าทำประโยชน์

ลานบิน[แก้]

ฐานบินวัฒนานครประกอบไปด้วยทางวิ่งความยาว 1,500 เมตร (4,921 ฟุต) ความกว้าง 31 เมตร (102 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 225 ฟุต (69 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 05/23 หรือ 051° และ 231°[25] พื้นผิวแอสฟอลต์คอนกรีต[26]

โรงเก็บอากาศยาน[แก้]

ฐานบินวัฒนานครมีโรงเก็บอากาศยานไร้คนขับ[27] สำหรับจัดเก็บอากาศยานในประจำการของฝูงบิน 301 กองบิน 3[28]

โรงพยาบาลกองบิน กองบิน 3[แก้]

โรงพยาบาลกองบิน กองบิน 3 เป็นโรงพยาบาลในสังกัดของกองบิน 3 ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ[29] กระทรวงกลาโหม[10] ประกอบด้วยเตียงผู้ป่วยขนาด 10 เตียง[30]

อุบัติเหตุ[แก้]

ฐานบินวัฒนานครเคยเกิดอุบัติเหตุขึ้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งตรงกับวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น หลังจากการจัดแสดงเครื่องบินในวันเด็กเสร็จสิ้น กองทัพอากาศได้นำเครื่องบินฝึกแบบ CT4 A ออกเดินทางจากฐานบินวัฒนานครกลับสู่ฐานทัพอากาศดอนเมือง โดยนาวาอากาศเอก เกษม วงษ์หงสา ครูฝึกที่เดินทางมาจากฐานทัพอากาศดอนเมือง โดยระหว่างการนำเครื่องขึ้นจากฐานบินและไต่ระดับขึ้นไปสูงจากพื้น 50 เมตรและหันหัวกลับไปยังกรุงเทพมหานคร เครื่องบินเกิดเสียความทรงตัวและตกลงกระแทกพื้นจนเกิดระเบิดจนเพลิงลุกไหม้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ นาวาอากาศเอก เกษม วงษ์หงสา ครูฝึกที่ทำหน้าที่นักบิน และเด็กชาย จิรพล นนท์ศิริ อายุ 16 ปี บุตรชายของผู้บังคับการฝูงบิน 206 ในขณะนั้นที่โดยสารไปด้วยเสียชีวิต[31]

อนุสาวรีย์วีรชนกองทัพอากาศ[แก้]

อนุสาวรีย์วีรชนกองทัพอากาศ
แผนที่
พิกัด13°45′16″N 102°18′47″E / 13.75450°N 102.31313°E / 13.75450; 102.31313
ที่ตั้งบริเวณถนนทางเข้ากองบิน 3
ประเภทอนุสาวรีย์
อุทิศแด่เรืออากาศเอก ไชย สุนทรสิงห์
เรืออากาศเอก ชิน จิระมณี
เรืออากาศตรี สนิท โพธิเวชกุล
นักบินที่เสียชีวิตระหว่างการปกป้องน่านฟ้าจากการรุกรานของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484

ฐานบินวัฒนานคร เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์วีรชนกองทัพอากาศ เพื่อเป็นอนุสรณ์ในเหตุการณ์ที่ทหารอากาศไทยได้ต่อสู้ปกป้องน่านฟ้าไทยจากการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ทางชายแดนประเทศไทยบริเวณอำเภออรัญประเทศ ซึ่งกองทัพอากาศญี่ปุ่นได้ส่งอากาศยานแบบเซนโตกิ[32]แบบโจมตี กิ-30 จำนวน 9 ลำ และเครื่องบินขับไล่ กิ-27 จำนวน 11 ลำ[33] รวม 20 ลำ[32] เข้ามาในน่านฟ้าไทย และโจมตีบริเวณฐานบินวัฒนานครที่มีฝูงบิน 43 ประจำการอยู่ ทำให้ฝ่ายไทยนำเครื่องบินขับไล่แบบที่ 10 ฮอว์ค 3[7] จำนวน 3 ลำ[32] ขึ้นบินสกัดกั้น ด้วยกำลังที่ด้อยกว่าทำให้มีผู้เสียชีวิตระหว่างการบินขับไล่และสกัดกั้นบนน่านฟ้าจำนวน 3 นาย ได้แก่

  • เรืออากาศเอก ไชย สุนทรสิงห์
  • เรืออากาศเอก ชิน จิระมณี
  • เรืออากาศตรี สนิท โพธิเวชกุล

จากเหตุการณ์ดังกล่าว กองทัพอากาศจึงได้สร้างอนุสาวรีย์ไว้เพื่อเชิดชูเกียรติของกำลังพลกองทัพอากาศที่ร่วมต่อสู้ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ณ กองบิน 3 ฐานบินวัฒนานครชื่อว่าอนุสาวรีย์" วีรชนกองทัพอากาศ" และกองบิน 5 ฐานบินประจวบคีรีขันธ์ชื่อว่าอนุสาวรีย์ "วีรชน 8 ธันวาคม 2484"[32]

อ้างอิง[แก้]

  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329.
  3. 3.0 3.1 VTBW AD 2.1 AERODROME LOCATION INDICATOR AND NAME (PDF). สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. 2019. pp. AD 2-VTBW-1-1.
  4. 4.0 4.1 ภาพซุ้มประตูกองบิน 3
  5. "ประวัติความเป็นมา". web.archive.org. 2022-08-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2024-05-28.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. "เมื่อสยามเริ่มบิน". catholichaab.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 ทองเล็ก, นิพัทธ์. "ภาพเก่าเล่าตำนาน : เกิดอะไร…ก่อนญี่ปุ่นบุกไทย… 8 ธันวาคม 2484". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายหยวก สังขจันทร์". dl.parliament.go.th. 2509-02-22.
  9. "ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี - ขออนุมัตินำเงินงบประมาณปี 2506 ที่ตั้งไว้สำหรับปรับปรุงสนามบินชัยภูมิไปใช้ปรับปรุง สนามบินวัฒนานคร". resolution.soc.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 10.2 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
  11. "ฝูงบินสนาม,หน่วยบินแยก,หน่วยบินเฉพาะกิจ". www.pantown.com.
  12. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินวัฒนานคร ในท้องที่อำเภอวัฒนานคร และอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ. ฉบับพิเศษ เล่มที่ 109 ตอนที่ 39, 20 มีนาคม 2535 หน้า 19
  13. 13.0 13.1 ทีมนักข่าวบางกอกไทม์ (2022-12-23). "กองบิน 3 พบสื่อ เผยอากาศยานไร้คนขับแห่งความเป็นเลิศ". ทีมนักข่าวบางกอกไทม์.
  14. "ประวัติความเป็นมา". wing3.rtaf.mi.th.
  15. "เทศบาลตำบลวัฒนานคร (ทต. วัฒนานคร) อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว". watthananakhon.go.th (ภาษาอังกฤษ).
  16. 16.0 16.1 16.2 "กองทัพอากาศ จัด UAV แบบ RTAF U1 บินสำรวจเส้นทางคมนาคมช่วงปีใหม่ 2565 ที่สระแก้ว". thaiarmedforce. 2021-12-30.
  17. "แผนปฏิบัติการฝนหลวง หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว 24 มิถุนายน 2562". www.royalrain.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "ประกาศ เรื่อง จ้างก่อสร้างโรงเก็บสารฝนหลวงสนามบินวัฒนานคร ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว". www.royalrain.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. 19.0 19.1 "กองบิน3 หนุนพื้นที่ฐานบิน ปฏิบัติการฝนหลวง โครงการพระราชดำริ ช่วยประชาชน". bangkokbiznews. 2023-06-16.
  20. torzkrub (2017-06-15). "ปรับแผนปฏิบัติการฝนหลวง เสริมกำลังเติมน้ำในเขื่อนที่มีปริมาณน้อย". เกษตรก้าวไกล.
  21. 21.0 21.1 "หน่วยฯ จ.สระแก้ว ทำฝนเติมน้ำอ่างเก็บน้ำคลองสียัด รองรับความต้องการใช้น้ำในพื้นที่". สยามรัฐ. 2022-06-02.
  22. "พิธีส่งหน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ ประจำปี 2567". welcome-page.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "ผบ.ทอ. ส่งหน่วยบิน 7 ลำ ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือภัยแล้ง". www.thairath.co.th. 2024-03-12.
  24. "ฝูงบิน 206 วัฒนานคร". www.oocities.org.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. "VTBW - Watthana Nakhon Airport | SkyVector". skyvector.com.
  26. "Aedrome/Heliport VTBW". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-02-13.
  27. "ผู้บังคับการกองบิน ๓ เป็นประธานในพิธีประดับเครื่องหมายยศนายทหารชั้นประทวนสังกัดกองบิน ๓ ณ โรงเก็บอากาศยานไร้คนขับ ฝูงบิน ๓๐๑ กองบิน ๓". wing3.rtaf.mi.th.
  28. "กองบิน 3 รำลึกถึงคุณงามความดี เชิดชูเกียรติเหล่าวีรชนผู้กล้าผู้ร่วมกันปกป้องประเทศชาติ". สยามรัฐ. 2023-12-08.
  29. "เกี่ยวกับหน่วยงาน - กรมแพทย์ทหารอากาศ". medical.rtaf.mi.th.
  30. โรงพยาบาลกองบิน กองบิน 3, กลุ่มข้อมูลและสารสนเทศสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  31. "สดุดี "ผู้พันแอร์" นักบินทหารหาญ ผู้พลีชีพ เพื่อหลายชีวิตรอด!". mgronline.com. 2017-01-15.
  32. 32.0 32.1 32.2 32.3 "กองทัพอากาศ ประกอบพิธี "สดุดีวีรชน 8 ธันวาคม 2484" ประจำปี 2566". กองทัพอากาศไทย.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  33. "ย้อนรอยประวัติศาสตร์ทัพฟ้า ศึกยุทธเวหาที่คนไทยมิอาจลืม". www.thairath.co.th. 2015-05-10.