ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์สุวรรณปางคำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์แสนทิพย์นาบัวหรือสุวรรณปางคำ
พระราชอิสริยยศเจ้าอุปราชผู้ครองนคร
เจ้าผู้ครองนคร
เจ้าประเทศราช
พระยาประเทศราช
พระประเทศราช
ปกครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
อุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช
ยศสุนทรประเทศราช
เขมราษฎร์ธานี
หนองคาย
ไชยสุทธิ์อุตมบุรี
อำนาจเจริญ
สาขาณ อุบล
ณ หนองคาย
ประมุขพระองค์แรกเจ้าอุปราชนอง (เจ้านอง)
ประมุขพระองค์สุดท้าย· พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล)
· พระสุนทรราชวงศามหาขัติยชาติฯ (สุพรหม)
· พระเกษมสำราญรัฐ (แสง จารุเกษม)
· พระยาวุฒาธิคุณ (เคน ณ หนองคาย)
· หลวงเอนกอำนาจ (เป้ย สุวรรณกูฏ)
สถาปนาพ.ศ. 2250
ล่มสลายพ.ศ. 2475

ราชวงศ์แสนทิพย์นาบัว หรือ สุวรรณปางคำ เป็นราชวงศ์เจ้านายฝ่ายอีสานที่ปกครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน อุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช ยศสุนทร หนองคาย เขมราษฎร์ธานี อำนาจเจริญ บึงกาฬ ฯลฯ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เป็นต้นกำเนิดเมืองต่าง ๆ หลายเมือง ในภาคอีสานของประเทศไทย และต้นกำเนิดสายสกุล ณ อุบล, ณ หนองคาย ฯลฯ

การสถาปนา

[แก้]

ราชวงศ์แสนทิพย์นาบัวหรือสุวรรณปางคำ ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2250 ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ โดยเจ้านอง ขุนนางลาวเชื้อสายไทพวน พระโอรสของแสนทิพย์นาบัวผู้มีเชื้อสายสามัญชนทางเชื้อสายไทพวนและไทดำจากบิดา และเชื้อสายสามัญชนทางเวียดนามจากมารดา ซึ่งเจ้านองเป็นพี่น้องร่วมมารดาแต่ต่างบิดากับพระเจ้าไชยองค์เว้ และเพื่อให้เป็นเกียรติแก่พระบิดาของตนจึงตั้งราชวงศ์ของตนเองขึ้นโดยใช้พระนามของพระบิดาแทนนามของตน ภายหลังได้รับโปรดเกล้าฯ จากกษัตริย์อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอุปราชนอง และได้รับโปรดเกล้าให้ตั้งเมืองหนองบัวลุ่มภูจากพระมหากษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง ให้เจ้าอุปราชนองทรงนำกำลังไพร่พลครัวลาวที่ติดตามมาไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองหนองบัวลุ่มภู ซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงนำไพร่พลหลวงพระบางและเวียงจันทน์มาก่อสร้างขึ้นครั้ง พ.ศ. 2106 ให้เมืองหน้าด่านของกรุงศรีสัตตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เมื่อเจ้านองได้มาถึงเมืองหนองบัวลุ่มภู ทรงเลือกหน้าทำเลที่ตั้งบ้านเมืองใหม่ บริเวณริมหนองบัวอันมีปราการทางธรรมชาติคือ เทือกเขาภูพานสูงตระหง่าน สามารถป้องกันข้าศึกศัตรู พร้อมก่อสร้างค่ายคูประตูหอรบ กำแพงคูเมืองล้อมรอบพร้อมประตูเวียงอย่างแน่นหนา สถาปนาเวียงแห่งใหม่นี้ว่า "เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานด้วย

ต่อมาเจ้าอุปราชนองมีความพยายามที่จะแย่งชิงอำนาจจากเจ้าองค์ลอง กษัตริย์ล้านช้างเวียงจันทน์องค์ที่ 2 และสามารถยึดอำนาจได้เป็นผลสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2283 แม้จะสามารถยึดอำนาจได้และสามารถครองนครหลวงเวียงจันทน์ได้แต่เนื่องจากเจ้านองไม่ได้มีเชื้อสายกษัตริย์แต่เป็นเพียงสามัญชน เหล่าบรรดาขุนนางจึงยอมรับท่านให้ดำรงตำแหน่งเจ้านครเพียงแค่เป็น เจ้าอุปราชนองตามเดิม หลังจากได้ครองนครเวียงจันทน์เจ้าอุปราชนองจึงแต่งตั้งให้โอรสคือ พระตา ปกครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานแทน ภายหลัง เวลาผ่านไปสิบกว่าปี พระโอรสทั้งสอง คือ พระวอและพระตาร่วมมือกับเจ้าศิริบุญสาร พระราชโอรสของเจ้าองค์ลอง ยึดอำนาจคืนได้สำเร็จ หลังจากพ่ายแพ้ เจ้าอุปราชนองจึงถูกพระเจ้าศิริบุญสารซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพระโอรสทั้งสองของท่านนี้เองสำเร็จโทษจนถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2294

ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์

[แก้]

ลำดับสายสกุลวงศ์

[แก้]

ชั้นที่ 1

[แก้]

เจ้าอุปราชนอง (เจ้านอง) ปฐมราชวงศ์แสนทิพย์นาบัว เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลุ่มภู) พระองค์ที่ 1

[แก้]
  • เกิดแต่ภรรยาเอกชาวลาวเวียงจันทน์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ
  1. พระวรราชปิตา
  2. พระวรราชภักดี

ชั้นที่ 2

[แก้]

พระวรราชปิตา (พระตา) เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน พระองค์ที่ 2

[แก้]
  • พระนางบุสดีเทวี มีพระโอรส และพระธิดา 11 องค์ คือ
  1. เจ้านางอูสา
  2. ท้าวคำผง
  3. ท้าวฝ่ายหน้า
  4. ท้าวทิดพรหม
  5. ท้าวโคตร
  6. เจ้านางมิ่ง
  7. ท้าวซุย
  8. พระศรีบริบาล
  9. เจ้านางเหมือนตา
  10. ท้าวสุ้ย ต่อมาเป็นราชบุตรเมืองอุบลราชธานี และได้รับพระราชทานเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี องค์ที่ 3 แต่ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ ก่อนขึ้นมาดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมือง

พระวรราชภักดี (พระวอ) เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน พระองค์ที่ 3

[แก้]
  • พระนางอรอินทร์เทวี มีพระโอรส และพระธิดา 9 องค์ คือ
  1. เจ้านางจันบุปผา
  2. ท้าวก่ำ เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 1
  3. เจ้านางทุมมา
  4. เจ้านางต่อนแก้ว
  5. ท้าวเสน ต่อมาเป็นราชบุตรเมืองยศสุนทร และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระไชยราชวงศา เจ้าเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี องค์ที่ 1
  6. ท้าวเครือ
  7. ท้าวลาด
  8. เจ้านางปัดทำ
  9. ท้าวฮด

ชั้นที่ 3

[แก้]
  • พระนางตุ่ย ไม่มีพระโอรส และพระธิดา
  • พระนางสีดา มีพระโอรส และพระธิดา 10 องค์ คือ
  1. เจ้านางคำสิงห์
  2. เจ้านางสีดา
  3. ท้าวสุดตา ต่อมาเป็นอุปราชเมืองอุบลราชธานี
  4. ท้าวหมาแพง ต่อมาเป็นอุปราชเมืองยศสุนทร
  5. ท้าวหมาคำ
  6. ท้าวหำทอง
  7. เจ้านางสุ้ย
  8. ท้าวกุทอง ต่อมาเป็นที่พระพรหมราชวงศา เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช องค์ที่ 4
  9. เจ้านางจำปาคำ
  10. เจ้านางพิมพ์
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. ท้าวไชย

พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช เจ้าประเทศราช ผู้ครองนครจำปาสัก องค์ที่ 3 ภายใต้อาณาจักร์สยาม

[แก้]
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส และพระธิดา 6 องค์ คือ
  1. ท้าวคำสิงห์ ต่อมาเป็นที่พระสุนทรราชวงศา (ท้าวคำสิงห์) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 1
  2. ท้าวฝ่ายบุต ต่อมาเป็นที่พระสุนทรราชวงศาฯ (ท้าวฝ่ายบุต) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 3 และยังเป็นเจ้าเมืองนครพนม
  3. ท้าวสุดตา
  4. ท้าวนางแดง
  5. เจ้านางไทย
  6. เจ้านางก้อนแก้ว

พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช องค์ที่ 2

[แก้]
  • พระนางเหง้า มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. ท้าวโหง่นคำ ต่อมาเป็นราชวงศ์เมืองอุบลราชธานี
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. ท้าวสีหาราช (พลสุข)

ราชบุตรสุ้ย เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช องค์ที่ 3

[แก้]
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
  1. ท้าวสิงห์
  2. ท้าวคำ ต่อเป็นราชบุตรเมืองอุบลราชธานี

พระเทพวงศา (ท้าวก่ำ) พระประเทศราชผู้ครองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 1

[แก้]
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส และพระธิดา 4 องค์ คือ
  1. ท้าวบุญจันทร์ ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา (บุญจันทร์) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 2
  2. ท้าวบุญเฮ้า ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา (บุญเฮ้า) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 3
  3. ท้าวแดง หรือ ท้าวชำนาญไพรสณฑ์ ต่อมาเป็นที่พระกำจรจาตุรงค์ (แดง) เจ้าเมืองวารินทร์ชำราบ องค์ที่ 1
  4. เจ้านางหมาแพง

พระไชยราชวงศา (ท้าวเสน) ผู้ครองเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี องค์ที่ 1

[แก้]
  • หม่อมชาดา มีพระโอรส และพระธิดา 3 องค์ คือ
  1. เจ้านางผา สมรสกับท้าวจันทร์เพ็ง ต่อมาเป็นที่พระไชยราชวงศา (จันทร์เพ็ง) ผู้ครองเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี องค์ที่ 3
  2. ท้าวขัตติยะ
  3. ท้าวศิลา ต่อมาเป็นที่ราชบุตรเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นที่พระไชยบุราจารย์ (ท้าวศิลา) ผู้ครองเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี องค์ที่ 2

ชั้นที่ 4

[แก้]

อุปราชสุดตา อุปราชเมืองอุบลราชธานี

[แก้]
  • พระนางพิมพา แห่งนครจำปาศักดิ์ มีพระโอรส และพระธิดา 13 องค์ คือ
  1. เจ้านางพิมพ์
  2. เจ้านางจำปา
  3. ท้าวโท ต่อมาเป็นอุปราชเมืองอุบลราชธานี
  4. ท้าวอินทิสาร
  5. ท้าวไชยสาร
  6. ท้าวคูณ
  7. เจ้านางทุมมา
  8. ท้าวสุวรรณแสน (ผู้เกิดเหตุวิวาทกับเมอสิเออร์ไซแง ทหารฝรั่งเศส)
  9. ท้าวอินทิจักร
  10. เจ้านางสิมมา
  11. เจ้านางหล้า
  12. เจ้านางบัวภา
  13. ท้าวไกยราช (พู ทองพิทักษ์)

อุปราชแพง อุปราชเมืองยศสุนทร

[แก้]
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 5 องค์ คือ
  1. ท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) ต่อมาเป็นที่พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย คนที่ 1 และเป็นต้นสายสกุล ณ หนองคาย
  2. ท้าวสุริยะ (แข้) ต่อมาเป็นอุปราชเมืองยศสุนทร
  3. ท้าวกันยา ต่อมาเป็นราชวงศ์เมืองยศสุนทร
  4. ท้าวเสน หรือหลวงจุมพลภักดี ต่อมาเป็นที่พระนิคมบริรักษ์ (เสน ประทุมทิพย์) เจ้าเมืองเสลภูมินิคม คนที่ 1 และเป็นต้นสายสกุล ประทุมทิพย์
  5. ท้าวโพ

พระพรหมราชวงศา (ท้าวกุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช องค์ที่ 3

[แก้]
  • พระนางหมาแพง มีพระโอรส และพระธิดา 4 องค์ คือ
  1. ท้าวโพธิสาราช (ท้าวเสือ) ต่อมาเป็นอุปราชเมืองพิบูลมังสาหาร
  2. ท้าวธรรมกิติกา (จูมมณี) เจ้าเมืองพิบูลมังสาหาร คนที่1
  3. เจ้านางคำซาว
  4. ท้าวสีฐาน (ท้าวสาง) ต่อมาเป็นราชวงศ์เมืองพิบูลมังสาหาร
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
  1. ท้าวสุริยวงศ์ (อ้ม) เจ้าเมืองตระการพืชผล องค์ที่ 1 หากมีหลานคือ นายกองโทเก่ง เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล อมรดลใจ
  2. ท้าวพรหมมา ต่อมาเป็นอุปราชเมืองตระการพืชผล
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. ท้าวขัตติยะ (ผู) เจ้าเมืองพิบูลมังสาหาร องค์ที่ 2
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. ท้าวปุตตะ (คำพูน) เจ้าเมืองมหาชนะชัย องค์ที่ 1 หากมีหลานคือ หลวงวัฒนวงศ์โทนุบล (โทน สุวรรณกูฏ) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล โทนุบล
  • ไม่ปรากฏชื่อภรรยา มีบุตร 1 คน คือ
  1. ท้าวไชยกุมาร ต่อมาเป็นราชวงศ์เมืองอุบลราชธานี

พระสุนทรราชวงศา (ท้าวคำสิงห์) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 1

[แก้]
  • พระนางแก่นคำ มีพระโอรส 2 องค์ คือ
  1. ท้าวบุตร ต่อมาเป็นที่อุปราชเมืองยศสุนทร และถูกเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สั่งให้ประหารชีวิตในคุกเพลิง กรณีกบฎเจ้าอนุวงศ์
  2. ท้าวคำ ต่อมาถูกเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สั่งให้ประหารชีวิตในคุกเพลิง กรณีกบฎเจ้าอนุวงศ์

พระสุนทรราชวงศาฯ (ท้าวฝ่ายบุต) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 3 และยังเป็นเจ้าเมืองนครพนม

[แก้]
  • พระนางพรหมมา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
  1. ท้าวเหม็น ต่อมาเป็นที่พระสุนทรราชวงศา มหาขัติยชาติ ประเทศราชวาเวียง ดำรงรักษ์ศักดิยศไกร ศรีพิไชยสงคราม (เจ้าเหม็น) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 4
  2. ท้าวพระเมือง
  • หม่อมสุภา มีบุตร 2 คน คือ
  1. ท้าวสุ่ย ต่อมาเป็นราชบุตรสุ่ย
  2. ท้าวคำ ต่อมาเป็นราชบุตรคำ
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส และพระธิดา 6 องค์ คือ
  1. เจ้านางทอง
  2. ท้าวสีหาราช (หมั้น)
  3. เจ้านางบัว ต้นตระกูล บัวบาลบุตร
  4. เจ้านางจันที
  5. เจ้านางวันดี
  6. ท้าวมา
  7. เจ้านางสีทา
  8. เจ้านางแพงแสน

พระเทพวงศา (บุญจันทร์) พระประเทศราชผู้ครองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 2

[แก้]
  • เจ้านางแตงอ่อน มีพระธิดา 1 องค์ คือ
  1. เจ้านางแท่ง ต่อมาสมรสกับท้าวธรรมกิติกา (พรหม) กรมการเมืองมุกดาหาร มีบุตร 1 คน คือ ขุนแสงพาณิชย์ (หยุย) ต้นสายสกุล แสงสิงห์แก้ว

พระเทพวงศา (บุญเฮ้า) พระประเทศราชผู้ครองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 3

[แก้]
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
  1. ท้าวบุญสิงห์ ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา (บุญสิงห์) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 4
  2. ท้าวบุญชัย ต่อมาเป็นอุปราชเมืองวารินทร์ชำราบ

ชั้นที่ 5

[แก้]
  • หม่อมคำมะลุน บ้านชีทวน มีบุตร 2 คน คือ
  1. ท้าวจันทร์ (ท้าวจันทร์) ต่อมาเป็นที่อุปราชจันทร์
  2. ท้าวโพธิสาร (ท้าวเสือ) ต่อมาเป็นที่พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล)
  • หม่อมบา มีบุตร 1 คน คือ
  1. ท้าวสิทธิกุมาร (ทองดี) ต่อมาเป็นที่ราชวงศ์เมืองยศสุนทร และได้รับพระราชทานยศเป็นที่หลวงยศไกรเกรียงเดช (ทองดี โพธิ์ศรี) ยกบัตรเมืองยศสุนทร

พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 1

[แก้]
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
  1. ท้าวเคน ต่อมาเป็นที่พระยาวุฒาธิคุณวิบุลยศักดิ์ อัครสุรินทรมหินทรภักดี เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 2

พระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) เจ้าเมืองพิบูลมังสาหาร องค์ที่ 1

[แก้]
  • หม่อมขิง มีบุตร และบุตรี 10 คน คือ
  1. นางบัวไข
  2. ท้าวลอด
  3. นางม่วง
  4. ท้าวมิน
  5. ท้าวรัตน์
  6. เจ้านางจวง
  7. ท้าวฮง
  8. นางหยี
  9. ท้าวห่วน
  10. นางหล้า
  • หม่อมทุม มีบุตร และบุตรี 4 คน คือ
  1. นางอมรา
  2. นางแก้ว
  3. ท้าวบุญเฮา
  4. นางเลื่อน
  • หม่อมดา มีบุตร 1 คน คือ
  1. ท้าวหำทอง

ราชบุตร (สุ่ย) ราชบุตรเมืองอุบลราชธานี

[แก้]
  • หม่อมทอง บุตโรบล มีบุตร 2 คน คือ
  1. ท้าวสุรินทร์ชมภู (หมั้น บุตโรบล)
  2. ท้าวหนูคำ ต่อมาเป็นราชบุตรเมืองอุบลราชธานี

ราชบุตร (คำ) ราชบุตรเมืองอุบลราชธานี

[แก้]
  • ไม่ปรากฏชื่อภรรยา มีบุตร 1 คน คือ
  1. ท้าวบุญเพ็ง ต่อมาเป็นพระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง บุตโรบล) กรมการเมืองอุบลราชธานี เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลคือ บุตโรบล
  • ไม่ปรากฏชื่อภรรยา มีบุตร 1 คน คือ
  1. ท้าวบุญชู ต่อมาเป็นพระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) ผู้ว่าราชการเมืองอุบลราชธานี เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล คือ พรหมวงศานนท์

พระสุนทรราชวงศาฯ (ท้าวเหม็น) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 4

[แก้]
  • เจ้านางคำ มีพระโอรส 2 องค์ คือ
  1. ท้าวสุพรหม ต่อมาเป็นที่พระสุนทรราชวงศา (ท้าวสุพรหม) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 5
  2. ท้าวโพธิสาร (สมเพ็ชร์) กรมการเมืองยศสุนทร
  • หม่อมพุ้ย มีบุตร และบุตรี 3 คน คือ
  1. ท้าวโพธิสาร (ตา) ต่อเป็นที่หลวงยศเยศสุรามฤทธิ์ นายอำเภออุไทยยะโสธร คนที่ 2
  2. นางอำคา สมรสกับท้าวพรหมสวาท ท้าวไชยบัณฑิต (มี) และท้าวอึ่งตามลำดับ
  3. ท้าวโพธิสาร
  • หม่อมสุนี มีบุตร และบุตรี 4 คน คือ
  1. ท้าวเล็ก ต่อมาเป็นพระวิภาคย์พจนกิจ (เล็ก สิงหัษฐิต) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล สิงหัษฐิต
  2. ท้าวสี
  3. พระภิกษุจำปาแดง
  4. เด็กหญิงบุญกว้าง

พระเทพวงศา (บุญสิงห์) พระประเทศราชผู้ครองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 4

[แก้]
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
  1. ท้าวจันทบรม (เสือ) หรือท้าวจันทบุฮม ต่อมาเป็นที่พระอมรอำนาจ (เสือ) เจ้าเมืองอำนาจเจริญ องค์ที่ 1 และเป็นต้นสายสกุลอมรสิน และอมรสิงห์
  2. เจ้าขัตติยะ (พ่วย) ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา (พ่วย) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 5

ชั้นที่ 6

[แก้]
  • หม่อมแท่ง มีบุตร และบุตรี 6 คน คือ
  1. ขุนสุรินทร์ชมภู (สัมฤทธิ์ โพธิ์ศรี)
  2. นางสมนัส โพธิ์ศรี
  3. นางศรีทัศน์ โพธิ์ศรี
  4. นายรัศมี โพธิ์ศรี
  5. นางแก้วเกศจอมศรี โพธิ์ศรี
  6. นางบับพาวันดี โพธิ์ศรี
  • หม่อมคูณ มีบุตร และบุตรี 2 คน คือ
  1. นางสร้อยสุนทร โพธิ์ศรี
  2. ขุนอุทานระบิล (คำสอน โพธิ์ศรี)
  • หม่อมลุนลา มีบุตร และบุตรี 9 คน คือ
  1. นางเพ็ง โพธิ์ศรี
  2. นายเบ็ง โพธิ์ศรี
  3. นายใบ โพธิ์ศรี
  4. นางไตย โพธิ์ศรี
  5. นางไฮ โพธิ์ศรี
  6. นายมลัย โพธิ์ศรี
  7. นายมลุน โพธิ์ศรี
  8. นางยี่สุ่น โพธิ์ศรี
  9. นางสมบูรณ์ โพธิ์ศรี

พระยาวุฒาธิคุณ (เคน ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 2

[แก้]
  • ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส และพระธิดา 8 องค์ คือ
  1. ท้าวเสือ ต่อมาเป็นที่พระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 3
  2. ท้าวแพ ต่อมาเป็นที่พระยาวุฒาธิคุณวิบุลยศักดิ์ อัครสุรินทร์มหินทรภักดี (แพ ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 4 เป็นผู้เข้าขอรับพระราชทานนามสกุล ณ หนองคาย
  3. พระราชบุตร (สุพรหม ณ หนองคาย)
  4. พระบริบาลภูมิเขตร (หนูเถื่อน ณ หนองคาย)
  5. พระวิชิตภูมิกิจ (โพธิ์ ณ หนองคาย)
  6. ท้าวจันทกุมาร
  7. เจ้านางกุประดิษฐ์บดี (เปรี้ยง กุประดิษฐ์ ณ หนองคาย)
  8. เจ้านางราชามาตย์ (หนูพัน ณ หนองคาย)
  • หม่อมดวงจันทร์ บุตโรบล มีบุตร และบุตรี 9 คน คือ
  1. นางก้อนคำ สมรสกับพระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) ผู้ว่าราชการอุบลราชธานี
  2. นางอบมา สมรสกับท้าววรกิติกา (คูณ) กรมการเมืองอุบลราชธานี
  3. นางเหมือนตา
  4. นางบุญอ้ม สมรสกับท้าวอักษรสุวรรณ กรมการเมืองอุบลราชธานี
  5. นางหล้า
  6. นางดวงคำ สมรสกับรองอำมาตย์ตรี ขุนราชพิตรพิทักษ์ (ทองดี หิรัญภัทร์)
  7. ท่านคำม้าว โกณฺฑญฺโญ อดีตเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสารพัดนึก จังหวัดอุบลราชธานี
  8. ไม่ปรากฏนาม (ถึงแก่กรรมเมื่อวัยเยาว์)
  9. เจ้านางเจียงคำ บุตโรบล ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

หลวงยศเยศสุรามฤทธิ์ (ตา ไนยกุล) นายอำเภออุไทยยะโสธร คนที่ 2

[แก้]
  • หม่อมชา มีบุตร และบุตรี 3 คน คือ
  1. ท้าวหลั่ง ไนยกุล
  2. นางออ ไนยกุล
  3. ท้าวสมกอ ไนยกุล

นางอำคา

[แก้]
  • ท้าวพรหมสวาท มีบุตรี 2 คน คือ
  1. นางหิน
  2. นางตื้อ
  • ท้าวไชยบัณฑิต (มี) มีบุตร 1 คน คือ
  1. ท้าวจิตร ต่อมาเป็นที่พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี คนที่ 5 ต้นสกุลจิตตะยโศธร
  • ท้าวอึ่ง มีบุตร 2 คน คือ
  1. ท้าวชาลี
  2. ท้าวเอื้อ
  • หม่อมทองคำ มีบุตรี 1 คน คือ
  1. นางน้อย
  • หม่อมมั่น มีบุตร และบุตรี 2 คือ
  1. นางปาน
  2. ท้าวบิน
  3. ท้าวนา
  • หม่อมหงส์ ณ เชียงใหม่ มีบุตร 1 คน คือ
  1. พระยาศิริกิจจาอุบลรักษ์ (หมาย ณ อุบล)

พระยาศิริกิจจาอุบลรักษ์ (หมาย ณ อุบล) สมรสกับ อำแดงอุ่น บุนนาค มีบุตร-ธิดา 5 คน คือ

  1. อำแดงอบเชย ณ อุบล(หมายมั่น) สมรสกับ พระหมายมั่นราชกิจสุรฤทธิฤๅไชย(ชุ่ม หมายมั่น)[1]
  2. พระบำราศปรปักษอุบลรักษเดโช (ชา ณ อุบล)
  3. อำแดงชี ณ อุบล
  4. อำแดงชื่น ณ อุบล
  5. พระพิบูลยอุบลพันธ์ุ (ชาติ ณ อุบล)
  • นางพิมพา มีบุตร-ธิดาคือ
  1. ท้าวเหลี่ยม ณ อุบล
  2. นางหนูเคี่ยม สมรสกับ ท้าวริด
  3. ท้าวเยี่ยม ณ อุบล
  4. นางเจืองพิมพ์ สมรสกับ หมื่นลิขิตคณะรักษ์ (อยู่)
  • นางแก้วปัดถม มีบุตร-ธิดาคือ
  1. ท้าวพรหมสาร (หน่อแก้ว) สมรสกับนางวรรณคำ
  • นางคำหล้า
  • นางลุน มีบุตร-ธิดา คือ
  1. นางกระแส สมรสกับ ร.ท. เสริม บุญสุตย์
  2. นางสมรัก สมรสกับ พ.ต.อ. ชาติชาย พิณอุดม
  3. นางสมโรจน์ ณ อุบล
  4. นางสุนีย์ สมรสกับ พล.ต.ต กฤษ เถาถวิล
  • นางผุสดี มีบุตร-ธิดาคือ
  1. นางซับ (บุตรบุญธรรม)
  2. นางทรัพย์ สมรสกับ นายผาด พันธุ์เพ็ง
  • นางเข็ม มีบุตร-ธิดาคือ
  1. นางก้าน สมรสกับ นายชิน ราชพิต
  2. นางนิยะดา สมรสกับ พ.ต.ท. กรีพล ไพรีนาศ
  • นางจันทรา

มีบุตร-ธิดาคือ

  1. นางสำเนียง ณ อุบล
  2. นางเสี่ยง ณ อุบล
  3. นางเลียง ณ อุบล
  4. นางเล็ก ณ อุบล
  5. นางรัก ณ อุบล
  6. นางบุญหลาย ณ อุบล
  7. นางเจริญ ณ อุบล
  8. พล.ต. ชาย ณ อุบล
  • หม่อมคูณ พรหมวงศานนท์ มีบุตร 1 คน คือ
  1. เติม สิงหัษฐิต วิภาคย์พจนกิจ ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน และประวัติศาสตร์หัวเมืองลุ่มแม่น้ำโขง

พระเทพวงศา (พ่วย) พระประเทศราชผู้ครองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 5

[แก้]
  • หม่อมกองคำ มีบุตรี 3 คน คือ
  1. นางคำผุย สมรสกับขุนแสงพาณิชย์ (หยุย แสงสิงห์แก้ว)
  2. นางไกรสร สมรสกับนายวิชิต กุลสิงห์
  3. นางแตงอ่อน สมรสกับนายโทน ปิตินันท์
  • หม่อมเขียวค่อม มีบุตรและบุตรี 4 คน คือ
  1. ท้าวลพ
  2. นางเลื่อน สมรสกับท้าวจุ้ย ณ จัมปาศักดิ์ และนายเหลี่ยม แสงสิงห์แก้ว ตามลำดับ
  3. ท้าวเหลี่ยม
  4. นางปิ่นแก้ว สมรสกับพระจักรจรูญพงศ์ (ม.ร.ว.จรูญ ปราโมช)

ชั้นที่ 7

[แก้]

พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ (จิตร จิตตะยโศธร) ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี คนที่ 5

[แก้]
  • คุณหญิงหลวน มีบุตร และบุตรี 2 คน คือ
  1. นายจุรัช จิตตะยโศธร
  2. นายแพทย์เกษม จิตตะยโศธร
  • นางเลื่อน มีบุตรี 1 คน คือ
  1. นางรวยพร จิตตะยโศธร
  • นางทองสุข มีบุตร 2 คน คือ
  1. นายจรูญ จิตตะยโศธร
  2. นายจาริก จิตตะยโศธร
  • คุณหญิงอุบล มีบุตร และบุตรี 8 คน คือ
  1. นางจิราภา จิตตะยโศธร
  2. นายจุทิศ จิตตะยโศธร
  3. นายกุลวัฒน์ จิตตะยโศธร
  4. นางจิตราภรณ์ จิตตะยโศธร
  5. นางจารุณี จิตตะยโศธร
  6. นางจริกา จิตตะยโศธร
  7. นายจิตตวัฒน์ จิตตะยโศธร
  8. นางเอื้องอุมา จิตตะยโศธร

พระยาศิริกิจจาอุบลรักษ์ (หมาย ณ อุบล)

[แก้]
  • อำแดงอุ่น บุนนาค มีบุตร-ธิดา 5 คน คือ
  1. อำแดงอบเชย ณ อุบล (หมายมั่น สมรสกับ พระหมายมั่นราชกิจสุรฤทธิฤๅไชย (ชุ่ม หมายมั่น) มีบุตร-ธิดา 10 คน คือ
    1. นางบัว หมายมั่น
    2. นายชู หมายมั่น
    3. นายชอบ หมายมั่น
    4. นางชั้น จันทรประเสริฐ
    5. นายแช่ม หมายมั่น
    6. นายเชื้อ หมายมั่น
    7. นายชุบ หมายมั่น
    8. นางชา หมายมั่น
    9. นางช้อย หมายมั่น
    10. นายชาตรี หมายมั่น
  2. พระบำราศปรปักษอุบลรักษเดโช (ชา ณ อุบล)
  3. อำแดงชี ณ อุบล
  4. อำแดงชื่น ณ อุบล
  5. พระพิบูลยอุบลพันธ์ุ (ชาติ ณ อุบล)

นางคำผุย

[แก้]
  • ขุนแสงพาณิชย์ (หยุย แสงสิงห์แก้ว) มีบุตร และบุตรี 11 คน คือ
  1. ขุนประเสริฐสรรพกิจ (เผย แสงสิงห์แก้ว)
  2. นางคำเบย ปลูกเจริญ
  3. นางชู วีระพัฒน์
  4. นายสวัสดิ์ แสงสิงห์แก้ว
  5. นายกาญจน์ แสงสิงห์แก้ว
  6. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ฝน แสงสิงห์แก้ว
  7. นายเชาวน์ แสงสิงห์แก้ว
  8. นางสวาสดิ์ จันทรุกขา
  9. นายอุดม แสงสิงห์แก้ว
  10. นางนิตยา โชติดิลก
  11. นายอารมณ์ แสงสิงห์แก้ว

นางไกรสร

[แก้]
  • นายวิชิต กุลสิงห์ มีบุตร และบุตรี 6 คน
  1. นายอุดร กุลสิงห์
  2. นายก้อน กุลสิงห์
  3. นางก้าน ยืนยาว สมรสกับ จ.ส.ต.บาล ยืนยาว
  4. นายก่าย กุลสิงห์
  5. นางหอม บุญญาจันทร์ สมรสกับนายรินทร์ บุญญาจันทร์
  6. นายประมัย กุลสิงห์

นางแตงอ่อน

[แก้]
  • นายโทน ปิตินันท์ มีบุตร 1 คน คือ
  1. นายประทัง ปิตินันท์

นางเลื่อน

[แก้]
  1. เจ้าสิริบังอร ณ จัมปาศักดิ์ สมรสกับส.ส.ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีคนแรก และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • นายเหลี่ยม แสงสิงห์แก้ว มีบุตร และบุตรี 4 คน คือ
  1. นายบรรลุ แสงสิงห์แก้ว
  2. นางสาวจตุพร แสงสิงห์แก้ว
  3. นายบัลลังก์ แสงสิงห์แก้ว
  4. นายเทอดธรรม แสงสิงห์แก้ว

นางปิ่นแก้ว

[แก้]
  1. ม.ล.เจรือง ปราโมช
  2. ม.ล.จุไร ปราโมช
  3. ม.ล.จงใจ ปราโมช
  4. ม.ล.จำนงค์ ปราโมช
  5. ม.ล.จตุพร ปราโมช

ยุคภายใต้การปกครองของราชวงศ์จักรี

[แก้]

อนึ่งราชวงศ์แสนทิพย์นาบัวได้อพยพหนีภัยสงครามมาหลายครั้งหลายหน และต้องสู้อดทนเพื่อความเป็นเอกวงศ์แห่งตน และความผาสุขร่มเย็นของนิกูลวงศ์อันสืบสายมาแต่เจ้าอุปราชนอง ก็ด้วยพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้แก่เหล่านิกูลแสนทิพย์นาบัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็น พระ พระยา เจ้าประเทศราชผู้ครองเมือง เจ้าเมือง อุปราช ราชวงศ์ ราชบุตร และดำรงชีพอยู่ภายใต้ขอบขัณฑสีมาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ด้วยความผาสุขสวัสดี เหล่านิกูลของแสนทิพย์นาบัวก็ได้จงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททุกรัชกาล รับราชการรับใช้ใต้พระยุคลบาทตราบเท่าจวบจนปัจจุบัน

การปกครองบ้านเมือง

[แก้]

ทายาทแห่งราชวงศ์สุวรรณปางคำที่ออกไปก่อตั้งและปกครองบ้านเมืองต่างๆ มีปรากฏดังนี้

  • พ.ศ. 2314 บ้านสิงห์ท่า มีเจ้าพระศรีวรราช (คำสู) เป็นผู้ปกครองคนแรก
  • พ.ศ. 2315 เวียงดอนกอง มีเจ้าพระวรราชภักดี (วอ) เป็นผู้ปกครองคนแรก
  • พ.ศ. 2322 เมืองอุบล (ดอนมดแดง) มีพระปทุมสุรราช (คำผง) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
  • พ.ศ. 2334 เมืองนครจำปาบาศักดิ์ประเทศราช (เมืองเก่าคันเกิง) มีเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (ฝ่ายหน้า) เป็นเจ้าผู้ครองนครองค์แรก
  • พ.ศ. 2334 เมืองโขง (สีทันดอน) มีเจ้าราชวงศ์สิงห์ เป็นเจ้าเมือง
  • พ.ศ. 2335 เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช (บ้านห้วยแจระแม) มีเจ้าพระประทุมววรราชสุริยวงษ (คำผง ณ อุบล) เป็นเจ้าผู้ครองเมืององค์แรก
  • พ.ศ. 2357 เมืองยศสุนทร (บ้านสิงห์ท่า) มีพระสุนทรราชวงศา (คำสิงห์) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
  • พ.ศ. 2357 เมืองเขมราษฎร์ธานี (บ้านโคกดงพะเนียง) มีพระเทพวงศา (ก่ำ) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
  • พ.ศ. 2370 เมืองหนองคาย (บ้านไผ่) มีพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
  • พ.ศ. 2371 เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี (บ้านปากน้ำสงคราม) มีพระไชยราชวงศา (เสน เสนจันทร์ฒิไชย) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
  • พ.ศ. 2478 เมืองนครพนม มีพระสุนทรราชวงศามหาขัติยชาติฯ (ฝ่ายบุต) เป็นเจ้าเมืองยโสธรนครพนม
  • พ.ศ. 2401 เมืองอำนาจเจริญ (บ้านค้อใหญ่) มีพระอมรอำนาจ (เสือ อมรสิงห์) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
  • พ.ศ. 2406 เมืองพิมูลมังษาหาร (บ้านกว้างลำชะโด) มีพระบำรุงราษฎร (จูมมณี สุวรรณกูฏ) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
  • พ.ศ. 2406 เมืองตระการพืชผล (บ้านสะพือ) มีพระอมรดลใจ (อ้ม อมรดลใจ) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
  • พ.ศ. 2406 เมืองมหาชนะไชย (บ้านเวินไชย) มีพระเรืองไชยชำนะ (คำพูน สุวรรณกูฏ) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
  • พ.ศ. 2422 เมืองเสลภูมินิคม (บ้านเขาดินบึงโดน) มีพระนิคมบริรักษ์ (เสน ประทุมทิพย์) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
  • พ.ศ. 2422 เมืองพนานิคม (บ้านพระเหลา) มีพระจันทรวงศา (เพียเมืองจันทร์) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
  • พ.ศ. 2423 เมืองวารินทร์ชำราบ (บ้านน้ำคำเอือดกอนจอ) มีพระกำจรจัตุรงค์ (แดง) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
  • พ.ศ. 2425 เมืองเกษมสีมา (บ้านเมืองที) มีพระพิไชยชาญณรงค์ (จันดี) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
  • พ.ศ. 2445 เมืองอุไทยยะโสธร (บ้านลุมพุก) มีหลวงยศเยศสุรามฤทธิ์ (ตา ไนยกุล) เป็นเจ้าเมืองและนายอำเภอคนแรก
  • พ.ศ. 2445 เมืองปจิมูปลนิคม (บ้านเขื่องใน) มีพระบริคุตคามเขตร์ (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) เป็นเจ้าเมืองและนายอำเภอคนแรก

สายสกุลราชวงศ์แสนทิพย์นาบัว

[แก้]
    • ณ อุบล (พระราชทาน)
    • ณ หนองคาย (พระราชทาน)
    • จิตตะยโศธร (พระราชทาน)
    • สุวรรณกูฏ (พระราชทาน)
    • พรหมวงศานนท์ (พระราชทาน)
    • โทนุบล (พระราชทาน)
    • บุตโรบล (พระราชทาน)
    • วิพาคย์พจนกิจ (พระราชทาน)
    • รักขพันธ์ ณ หนองคาย (พระราชทาน)
    • วุฒาธิวงศ์ ณ หนองคาย (พระราชทาน)
    • กุประดิษฐ์ ณ หนองคาย (พระราชทาน)
    • โพธิเสน ณ หนองคาย (พระราชทาน)
    • จารุเกษม (พระราชทาน)
    • วงศ์ปัดสา
    • หมายมั่น
    • เสนจันทร์ฒิไชย
    • ประทุมทิพย์
    • อุปยโสธร
    • ปทุมชาติ
    • อมรสิงห์
    • อมรสิน
    • ทองพิทักษ์
    • อมรดลใจ
    • แสงสิงห์แก้ว
    • สิงหัษฐิต
    • โพธิ์ศรี
    • ไนยกุล

อ้างอิง

[แก้]
  1. อาลักษณาโวหาร. (2022, 5 พฤษภาคม). พระยาเพชรบุรีวีรบุรุษที่ถูกลืม. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2023.