ข้ามไปเนื้อหา

ระบบการลงคะแนนแบบกึ่งสัดส่วน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบการลงคะแนนแบบกึ่งสัดส่วน (อังกฤษ: semi-proportional representation คือระบบการลงคะแนนสำหรับหาผู้ชนะมากกว่าหนึ่งคนโดยที่ยอมให้มีผู้แทนจากกลุ่มคะแนนเสียงน้อย แต่ไม่สะท้อนถึงความเป็นสัดส่วนให้ใกล้เคียงกับคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคได้รับ[1]

ระบบการลงคะแนนแบบกึ่งสัดส่วนถือว่าเป็นการรอมชอมระหว่างระบบการลงคะแนนแบบสัดส่วน เช่น ระบบบัญชีรายชื่อ กับระบบการลงคะแนนแบบคะแนนนำ เช่น ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด[2][3] ตัวอย่างของระบบการลงคะแนนแบบกึ่งสัดส่วนได้แก่ แบบเสียงเดียวโอนไม่ได้ แบบคู่ขนาน และแบบจำกัดคะแนนเสียง

ระบบกึ่งสัดส่วน

[แก้]

ระบบการลงคะแนนแบบสัดส่วนส่วนมากนั้นไม่ได้ผลลัพธ์ที่เป็นสัดส่วนอย่างแม่นยำอันเนื่องมาจากผลของการใช้เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ การแบ่งเขตเลือกตั้งขนาดเล็ก หรือการเพิ่มกฎข้อบังคับอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ระบบกึ่งสัดส่วนนั้นเป็นระบบที่ออกแบบให้มีผลลัพธ์ที่มีความเป็นสัดส่วนอย่างกลาง ๆ

ตัวเลือกในการรับระบบกึ่งสัดส่วนเข้ามาใช้นั้นอาจจะมาจากความต้องการที่จะหาสมดุลระหว่างการครองเสียงโดยพรรคการเมืองเดียวในสภา กับการจัดสรรที่นั่งแบบเป็นสัดส่วน โดยระบบกึ่งสัดส่วนนี้จะช่วยให้ผลลัพธ์มีความเป็นธรรมขึ้นโดยที่พรรคการเมืองขนาดเล็กสามารถได้ที่นั่งในสภาได้ แต่ยังคงความเป็นไปได้ที่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งสามารถรับคะแนนเสียงท่วมท้นในสภาได้ในกรณีชัยชนะแบบถล่มทลาย

เนื่องจากวิธีการวัดความเป็นสัดส่วนนั้นมีหลายวิธี[4][5] และเพราะว่าไม่มีเกณฑ์จุดประสงค์ที่ชัดเจน ความเห็นต่าง ๆ นั้นอาจจะแตกต่างกันว่าระบบกึ่งสัดส่วนคืออะไรได้อย่างชัดเจน ซึ่งต่างจากการระบบคะแนนนำและระบบสัดส่วนซึ่งมีหลักการชัดเจน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Douglas J. Amy. "Semiproportional voting systems". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-01-24. สืบค้นเมื่อ 19 June 2011.
  2. Giovanni Sartori (2005). Parties and Party Systems. A framework for analysis. European Consortium for Political Research. ISBN 9780954796617.
  3. Douglas J. Amy (2000). Behind the Ballot Box: A Citizen's Guide to Voting Systems. Greenwood Publishing Group. ISBN 9780275965860.
  4. P. Kestelman (June 2005). "Apportionment and Proportionality: A Measured View" (PDF). สืบค้นเมื่อ 19 June 2011.
  5. Barry R. Weingast; Donald A. Wittman (19 October 2006). The Oxford handbook of political economy. Oxford University Press. pp. 105–. ISBN 978-0-19-927222-8. สืบค้นเมื่อ 19 June 2011.