ข้ามไปเนื้อหา

รถไฟฟ้าโมโนเรล สายจุฬาฯ–สยามสแควร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟฟ้าโมโนเรล สายจุฬาฯ–สยามสแควร์
แนวเส้นทางระยะแรก
ข้อมูลทั่วไป
สถานะยกเลิก[1]
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ปลายทาง
จำนวนสถานี11
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว
ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล
เส้นทาง3
ประวัติ
เปิดเมื่อยกเลิกโครงการ
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง6.7 กิโลเมตร

โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล สายจุฬาฯ–สยามสแควร์ เป็นโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลระยะสั้นที่ถูกยกเลิก[1] มีเส้นทางโครงการบนถนนพญาไท ผ่ากลางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด โดยอยู่ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ในการแก้ไขปัญหาจราจรด้วยระบบขนส่งมวลชน ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายดังกล่าว ยังมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อระบบหลักทั้งสองเส้นที่ปลายถนนพญาไททั้งสองด้าน และแก้ไขปัญหารถติดบริเวณถนนพญาไทฝั่งแยกปทุมวัน และแยกสามย่านที่ปัจจุบันรถวิ่งได้ด้วยความเร็วเฉลี่ยเพียง 6-8 กิโลเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น

โครงการได้ยกเลิกการดำเนินการไปด้วยเหตุที่ยังมีข้อขัดแย้งหลายประการจากนิสิตและบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลนี้จะเป็นการบดบังทัศนียภาพโดยรวมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2538 ที่กำหนดให้ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน ต้องมุดลงใต้ดินเนื่องจากบดบังทัศนียภาพ

กรุงเทพมหานครจะจัดหาแหล่งเงินทุนเอง ซึ่งมีสถาบันการเงิน 3 แห่ง พร้อมให้การสนับสนุน ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้มอบพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อทำการก่อสร้างโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และก่อสร้างศูนย์ราชการเอนกประสงค์ ซึ่งในอนาคตก็จะมีการย้ายสำนักงานเขตปทุมวันมาอยู่ ณ อาคารหลังใหม่นี้[2][3]

รายชื่อสถานีอย่างไม่เป็นทางการ

[แก้]
ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง
เฉลิมเผ่า
สยามสแควร์ สายสุขุมวิท สายสีลม สถานีสยาม
ปทุมวัน
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สามย่าน สายสีน้ำเงิน สถานีสามย่าน
ตลาดสามย่าน
บรรทัดทอง
จุฬาฯ ซอย 12
สภากาชาดไทย
ราชกรีฑาสโมสร

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "เลิกโมโนเรลสายจุฬา-สามย่าน". เดลินิวส์.
  2. กทม. เตรียมจับมือจุฬาฯ ผุดโมโนเรลสามสาย[ลิงก์เสีย]
  3. กทม. ดันโมโนเรลสายแรก จุฬาฯ-สยาม