ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าฟ้ารั่ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มะกะโท)
พระเจ้าฟ้ารั่ว
ဝါရေဝ်ရောဝ်
ဝါရီရူး
พระเจ้าวาเรรูในสมมติของชาวมอญ
พระเจ้าเมาะตะมะ
ครองราชย์30 มกราคม ค.ศ. 1287 – ประมาณ 14 มกราคม ค.ศ. 1307
ราชาภิเษก5 เมษายน ค.ศ. 1287
ก่อนหน้าไม่มี
รัชกาลถัดไปพระเจ้ารามประเดิด
มุขมนตรีลักคี (ค.ศ. 1287–ประมาณ ค.ศ. 1296)
ผู้ปกครองเมืองเมาะตะมะ
ครองราชย์ประมาณ 11 มกราคม ค.ศ. 1285 – 30 มกราคม ค.ศ. 1287
ก่อนหน้าอลิมามาง (ฐานะผู้ว่าราชการแทน)
ถัดไปยกเลิก
ประสูติ20 มีนาคม ค.ศ. 1253
บ้านเกาะวาน
อาณาจักรพุกาม
สวรรคตประมาณ 14 มกราคม ค.ศ. 1307 (53 พรรษา)
เมาะตะมะ
อาณาจักรหงสาวดี
คู่อภิเษกแม่นางเทพสุดาสร้อยดาว
ชินสอลา
พระราชบุตรเมนินเธียนดยา
ราชวงศ์ราชวงศ์หงสาวดี (ราชวงศ์ฟ้ารั่ว)
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระเจ้าวาเรรู หรือ พระเจ้าฟ้ารั่ว (มอญ: ဝါရေဝ်ရောဝ်, พม่า: ဝါရီရူး, ออกเสียง: [wàɹíjú]; 20 มีนาคม ค.ศ. 1253 – ประมาณ 14 มกราคม ค.ศ. 1307) เป็นปฐมกษัตริย์ในเมืองเมาะตะมะ[1] ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตประเทศพม่า ทรงครองราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. 1287 ถึง 1307 พระองค์มีพระปรีชาสามารถทั้งด้านการต่างประเทศและการทหาร ทรงปกครองอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่างช่วงการล่มสลายของอาณาจักรพุกามประมาณปี ค.ศ. 1280 กระทั่งพระองค์ถูกปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 1307 แต่สายราชสกุลที่สืบเชื้อสายจากพระองค์ก็ปกครองราชอาณาจักรหงสาวดีจนกระทั่งล่มสลายในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16

พระเจ้าฟ้ารั่วประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1253 โดยมีพระนามเดิมว่า มะกะโท (แมะกะตู) ต่อมาใน ค.ศ. 1272 ขณะพระชนมายุได้ 19 พรรษาก็ติดตามบิดาไปค้าขายที่อาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนบานเมือง กษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์พระร่วง พระองค์ได้เข้ารับราชการในราชสำนักสุโขทัยโดยเริ่มจากตำแหน่งควาญช้างกระทั่งทำความดีความชอบเรื่อยมาจนได้รับปูนบำเหน็จเป็นขุนวังในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์พระร่วง[2] และมีใจผูกพันรักใคร่กับเจ้านางสร้อยดาว พระราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและได้พาเจ้านางสร้อยดาวหนีไป[2][3]

ใน ค.ศ. 1285 เมื่อพระองค์ออกจากสุโขทัยกลับมายังเมาะตะมะ ได้มีเรื่องกระทบกระทั่งกับอลิมามาง เจ้าเมืองเมาะตะมะที่ราชสำนักพุกามส่งมาปกครอง ในที่สุดพระองค์สามารถสังหารอลิมามางสำเร็จ[4][5] พร้อมกับสถาปนาพระองค์เป็นกษัตริย์ และประกาศอิสรภาพจากอาณาจักรพุกามเมื่อ ค.ศ. 1287 เมื่อสถาปนาพระองค์เป็นกษัตริย์เมืองเมาะตะมะแล้ว พระองค์ได้ส่งพระราชสาส์นมาขอขมาพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้พระราชทานอภัยโทษ และได้พระราชทานพระนามกษัตริย์มะกะโท ตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว แต่ชาวมอญเรียกว่า พระเจ้าวาโรตะละไตเจิญภะตาน[6] หรือ สมิงวาโร[7] พระองค์ใช้เวลาเกือบสิบปีจัดการศัตรูทางการเมืองจนหมดสิ้น กระทั่งสามารถรวบรวมแผ่นดินมอญให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จใน ค.ศ. 1296 พระองค์ยังได้รับการยอมรับจากราชวงศ์หยวนของจีนในปี ค.ศ. 1298[8]

พระเจ้าฟ้ารั่วเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1307 เนื่องจากถูกปลงพระชนม์โดยพระราชโอรส 2 พระองค์ของพระเจ้าตราพระยาแห่งหงสาวดี อดีตพันธมิตรของพระเจ้าฟ้ารั่ว เพื่อแก้แค้นให้กับพระบิดาที่ถูกพระเจ้าฟ้ารั่วจับสำเร็จโทษ[9][10] และเนื่องจากพระเจ้าฟ้ารั่วสวรรคตโดยไร้รัชทายาททำให้มะกะตาพระอนุชาได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็นพระเจ้ารามประเดิด[10]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. ประชุมพงศาวดารเล่ม 2, หน้า 22
  2. 2.0 2.1 MSK Vol. 12 1972: 334
  3. Aung-Thwin 2017: 238
  4. Harvey 1925: 110
  5. Pan Hla 2005: 32
  6. ราชาธิราช, หน้า 30
  7. ประชุมพงศาวดารเล่ม 2, หน้า 21
  8. Htin Aung 1967: 80
  9. Phayre 1967: 65
  10. 10.0 10.1 Pan Hla 2005: 36
บรรณานุกรม
  • เจ้าพระยาพระคลัง (หน). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ หมวดบันเทิงคดี เรื่อง ราชาธิราช. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2546. 500 หน้า. หน้า 17-47.
  • ประชุมพงศาวดารเล่ม 2 (ประชุมพงศาวดารภาค 1 ตอนปลาย และภาค 2). กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2506. 336 หน้า. หน้า 21-24.
  • Gerry Abbott, Khin Thant Han, บ.ก. (2000). The Folk-Tales of Burma: An Introduction (Illustrated ed.). Leiden; Boston; Cologne: Brill. pp. 392. ISBN 90-04-11812-8.
  • Aung-Thwin, Michael A.; Maitrii Aung-Thwin (2012). A History of Myanmar Since Ancient Times (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-1-86189-901-9.
  • Aung-Thwin, Michael A. (2017). Myanmar in the Fifteenth Century. Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-0-8248-6783-6.
  • Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  • Hall, D.G.E. (1960). Burma (3rd ed.). Hutchinson University Library. ISBN 978-1-4067-3503-1.
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Huxley, Andrew (1990). Tadeusz Skorupski (บ.ก.). "How Buddhist Is Theravada Buddhist Law?". The Buddhist Forum. Psychology Press. 1: 121. ISBN 9780728601628.
  • Huxley, Andrew (2005). Paul Williams (บ.ก.). "Buddhism and Law: The View from Mandalay". Buddhism: Buddhism in South and Southeast Asia. Taylor & Francis. ISBN 9780415332330.
  • Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
  • Lingat, R. (1950). "Evolution of the Conception of Law in Burma and Siam" (PDF). Journal of the Siam Society. Siam Society Heritage Trust. 38 (1): 13–24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2017-11-14.
  • Myanma Swezon Kyan (ภาษาพม่า). Vol. 12. Yangon: Sarpay Beikman. 1972. pp. 333–334.
  • Mon Yazawin (Shwe Naw) (ภาษาพม่า). แปลโดย Shwe Naw (1922 ed.). Yangon: Burma Publishing Workers Association Press. 1785.
  • Nyein Maung, บ.ก. (1972–1998). Shay-haung Myanma Kyauksa-mya [Ancient Burmese Stone Inscriptions] (ภาษาพม่า). Vol. 1–5. Yangon: Archaeological Department.
  • Phayre, Major-General Sir Arthur P. (1873). "The History of Pegu". Journal of the Asiatic Society of Bengal. Calcutta. 42: 23–57, 120–159.
  • Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
  • Schmidt, P.W. (1906). "Slapat des Ragawan der Königsgeschichte". Die äthiopischen Handschriften der K.K. Hofbibliothek zu Wien (ภาษาเยอรมัน). Vienna: Alfred Hölder. 151.
  • South, Ashley (2003). Mon Nationalism and Civil War in Burma: The Golden Sheldrake. Routledge. ISBN 9780700716098.
  • Than Tun (December 1959). "History of Burma: A.D. 1300–1400". Journal of Burma Research Society. XLII (II).
  • Than Tun (1964). Studies in Burmese History (ภาษาพม่า). Vol. 1. Yangon: Maha Dagon.