ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Linguistics Olympiad: IOL) เป็นสาขาหนึ่งของโอลิมปิกวิชาการของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้รู้ทางด้านภาษาศาสตร์วรรณนา ภาษาศาสตร์ทฤษฎี และภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์เพื่อตอบโจทย์ โดยที่ความรู้ทางภาษาใดภาษาหนึ่งของผู้เข้าแข่งขันไม่ได้ช่วยให้มีข้อได้เปรียบในการตอบโจทย์ที่เกี่ยวกับภาษาที่ตนรู้เท่าใดนัก
รูปแบบการแข่งขัน
[แก้]รูปแบบการแข่งขันของภาษาศาสตร์โอลิมปิกแตกต่างจากโอลิมปิกวิชาการแขนงอื่น ๆ เนื่องจากจะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การแข่งขันประเภทบุคคลและประเภททีม การแข่งขันประเภทบุคคลประกอบด้วยโจทย์ 5 ข้อ และมีเวลาในการแข่งขัน 6 ชั่วโมง โดยโจทย์ครอบคลุมเนื้อหาของสาขาหลักของภาษาศาสตร์วรรณนา ภาษาศาสตร์ทฤษฎี และภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น สัทศาสตร์ วิทยาหน่วยคำ วากยสัมพันธ์ อรรถศาสตร์ และภาษาศาสตร์สังคม เป็นต้น
การแข่งขันประเภททีมประกอบด้วยโจทย์ที่มีความยากและใช้เวลามาก 1 ข้อ ตั้งแต่การแข่งขั้นภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ 2 ซึ่งในแต่ละทีมประกอบด้วยนักเรียนทั้งหมด 4 คน และมีเวลาในการแก้โจทย์ 3 ถึง 4 ชั่วโมง
ประเทศไทยในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
[แก้]ประเทศไทยได้เริ่มส่งนักเรียนผู้แทนประเทศเข้าร่วมการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2565 ณ เมืองแคสเซิลทาวน์ ไอล์ออฟแมน โดยมีการคัดเลือกผ่านการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย (ภอท.) และการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก โดยมีมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) และภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] เป็นผู้ดูแล
สถานที่จัดการแข่งขัน
[แก้]ครั้งที่ | ปีที่จัดการแข่งขัน | สถานที่จัดการแข่งขัน | วันที่จัดการแข่งขัน | จำนวนประเทศที่เข้าร่วม | ผู้เข้าแข่งขัน | เว็บไซต์ทางการ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2003 | บอรอแวตส์ บัลแกเรีย | 6 – 12 กันยายน | 6 | 33 | [1] |
2 | 2004 | มอสโก รัสเซีย | 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม | 7 | 43 | [2] |
3 | 2005 | ไลเดน เนเธอร์แลนด์ | 8 – 12 สิงหาคม | 9 | 50 | |
4 | 2006 | ตาร์ตู เอสโตเนีย | 1–6 สิงหาคม | 9 | 51 | [3] เก็บถาวร 2011-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
5 | 2007 | เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัสเซีย | 31 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม | 9 | 61 | [4] เก็บถาวร 2012-12-21 ที่ archive.today |
6 | 2008 | สเลินแชฟเบรียก บัลแกเรีย | 4–9 สิงหาคม | 11 | 63 | [5] เก็บถาวร 2012-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
7 | 2009 | วรอตสวัฟ โปแลนด์ | 26–31 กรกฎาคม | 17 | 86 | [6] |
8 | 2010 | สต็อกโฮล์ม สวีเดน | 19–24 กรกฎาคม | 18 | 99 | [7] |
9 | 2011 | พิตต์สเบิร์ก สหรัฐ | 24–30 กรกฎาคม | 19 | 102 | [8] เก็บถาวร 2013-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
10 | 2012 | ลูบลิยานา สโลวีเนีย | 29 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม | 26 | 131 | [9] เก็บถาวร 2013-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
11 | 2013 | แมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร | 22–26 กรกฎาคม | 26 | 138 | |
12 | 2014 | ปักกิ่ง จีน | 21–25 กรกฎาคม | 28 | 152 | |
13 | 2015 | บลากอแอฟกรัต บัลแกเรีย | 20–24 กรกฎาคม | 29 | 166 | |
14 | 2016 | ไมซอร์ อินเดีย | 25–29 กรกฎาคม | 31 | 167 | |
15 | 2017 | ดับลิน ไอร์แลนด์ | 31 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม | 29 | 180 | |
16 | 2018 | ปราก เช็กเกีย | 25–31 กรกฎาคม | 29 | 192 | |
17 | 2019 | ยงอิน เกาหลีใต้ | 29 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม | 35 | 209 | |
18 | 2021 | แว็นตส์ปิลส์ ลัตเวีย | 19–23 กรกฎาคม | 34 | 216 | [10][ลิงก์เสีย] |
19 | 2022 | แคสเซิลทาวน์ ไอล์ออฟแมน | 25–29 กรกฎาคม | 32 | 185 | [11] เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
20 | 2023 | บันสโก บัลแกเรีย | 24–28 กรกฎาคม | 37 | 204 | [12] |
21 | 2024 | บราซิเลีย บราซิล | 23-31 กรกฎาคม | 38 | 206 | [13] |
22 | 2025 | ไทเป ไต้หวัน | ||||
23 | 2026 | โรมาเนีย |
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ↑ Siriwongthawan, Ketkaew. "รายชื่อผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 19 (19th IOL)".