ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Geography Olympiad, อักษรย่อ: iGeo) คือการแข่งขันภูมิศาสตร์ประจำปีสำหรับนักเรียนอายุ 16 ถึง 19 ปีจากทั่วทุกมุมโลก นักเรียนที่เป็นตัวแทนประเทศมาจากการคัดเลือกนักเรียนหลายพันคนที่ให้ความสนใจต่อการเข้าร่วมในภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติของตน ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศทดสอบความสามารถของผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกคนจากแบบรูปและกระบวนการเชิงพื้นที่ แบบทดสอบของภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศประกอบด้วย 3 ส่วน คือ แบบทดสอบข้อเขียน แบบทดสอบมัลติมีเดีย และแบบทดสอบการออกภาคสนามที่มุ่งเน้นการสังเกตเพื่อใช้ในการทำแผนที่และการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ การแข่งขันนี้ยังมีการนำเสนอโปสเตอร์แบบกลุ่ม การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และให้นักเรียนใช้เวลาในการทำความรู้จักเพื่อนต่างชาติและสำรวจเมืองของประเทศเจ้าภาพ
ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศจัดขึ้นโดยคณะทำงานเฉพาะกิจโอลิมปิกของสหภาพภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Geographic Union: IGU) ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบบทดสอบอิงกับองค์กรท้องถิ่นและและคณะกรรมการระหว่างประเทศ
หลังจากการแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งแรกใน ค.ศ. 1996 การแข่งขันได้รับการสนับสนุนให้มีการจัดขึ้นทุกสองปี แต่ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นทำให้ตั้งแต่ ค.ศ. 2012 การแข่งขันได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีแทนที่การจัดทุกสองปีเช่นเดียวกับการแข่งขันหลักของโอลิมปิกวิชาการอื่น ๆ
ประวัติความเป็นมาและความสำเร็จในระดับชาติ
[แก้]ระหว่างการประชุมใหญ่ของสหภาพภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศใน ค.ศ. 1994 ที่ปราก สาธารณรัฐเช็ก ผู้แทนจากโปแลนด์และเนเธอร์แลนด์ได้ประกาศถึงแนวคิดเกี่ยวกับการแข่งขันภูมิศาสตร์หรือภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศสำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 15 ถึง 19 ปี การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นใน ค.ศ. 1996 ที่เดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมีห้าประเทศเข้าร่วม ต่อมาได้มีจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขันเพิ่มขึ้นเป็น 24 ประเทศในการแข่งขันที่คาร์เธจ ประเทศตูนิเซียใน ค.ศ. 2008
ก่อน ค.ศ. 2012 โอลิมปิกวิชาการเป็นผู้จัดขึ้นทุกสองปีและมีการจัดภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับภูมิภาคแทรกในปีที่มีการแข่งขันในบางภูมิภาค[1] ประกอบด้วยภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Regional Geography Olympiads: APRGO) ซึ่งจัดขึ้นใน ค.ศ. 2007 ที่ซินจู๋ ประเทศไต้หวัน[2][3] ค.ศ. 2009 ที่สึกูบะ ประเทศญี่ปุ่น[4] และ ค.ศ. 2011 ที่เมริดา ประเทศเม็กซิโก[5] และภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับภูมิภาคยุโรปกลาง (Central European Regional Geography Olympiads : CERIGEO) ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศจัดการแข่งขันขึ้นเป็นประจำทุกปีซึ่งสอดคล้องกับการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการอื่น ๆ
ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศล่าสุดจัดขึ้นที่ฮ่องกง ระหว่างเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ค.ศ. 2019 มีประเทศเข้าร่วม 43 ประเทศ
การแข่งขันครั้งต่อไปของภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศจะจัดขึ้นที่อิสตันบูล ประเทศตุรกีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020
ประเทศสมาชิก
[แก้]ประเทศที่เข้าร่วมภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศใน ค.ศ. 2018 ประกอบด้วย[6][7][8]
- คาซัคสถาน
- แคนาดา
- คีร์กีซสถาน
- โครเอเชีย
- จีนไทเป
- จีนปักกิ่ง
- จีนเมาเก๊า
- จีนฮ่องกง
- เช็กเกีย
- เซอร์เบีย
- ไซปรัส
- ญี่ปุ่น
- เดนมาร์ก
- ตุรกี
- เติร์กเมนิสถาน
- ไทย
- นิวซีแลนด์
- เนเธอร์แลนด์
- ไนจีเรีย
- บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
- บราซิล
- บัลแกเรีย
- เบลเยียม
- เบลารุส
- โบลิเวีย
- ปากีสถาน
- โปแลนด์
- ฟินแลนด์
- มองโกเลีย
- มาเลเซีย
- เยอรมนี
- รัสเซีย
- โรมาเนีย
- ลัตเวีย
- ลิทัวเนีย
- ศรีลังกา
- สวิตเซอร์แลนด์
- สโลวาเกีย
- สโลวีเนีย
- สหรัฐอเมริกา
- บริเตนใหญ่
- สิงคโปร์
- ออสเตรเลีย
- อาเซอร์ไบจาน
- อาร์เจนตินา
- อาร์มีเนีย
- เอสโตเนีย
- อินโดนีเซีย
- ฮังการี
ชื่อประเทศที่ใช้เป็นชื่อทั่วไปที่ใช้โดยสหภาพภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศ ตามรายชื่อประเทศในภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ค.ศ. 2017 ที่เบลเกรด
ครั้งที่จัด
[แก้]รางวัล
[แก้]ประเทศที่ได้รับรางวัลมากที่สุด
[แก้]อันดับ | ประเทศ | อันดับหนึ่ง สอง และสาม | ปีที่ชนะเลิศ (จำนวนทีมที่เข้าร่วม) | ปีที่ได้รองชนะเลิศ (จำนวนทีม) |
ปีที่ได้อันดับสาม (จำนวนทีม) |
---|---|---|---|---|---|
1 | โปแลนด์ | 7, 1, 1 | 1996 (5), 1998 (5), 2000 (13), 2004 (12), 2006 (23), 2015 (40), 2017 (41) | 2002 (12) | 2012 (31) |
2 | โรมาเนีย | 4, 3, 2 | 2002 (12), 2008 (24), 2013 (32), 2018 (43) | 2012 (31), 2015 (40), 2017 (41) | 2006 (23), 2014 (36) |
3 | สิงคโปร์ | 3, 2, 1 | 2010 (27), 2012 (31), 2014 (36) | 2016 (45), 2018 (43) | 2013 (32) |
4 | ออสเตรเลีย | 1, 2, 1 | 2016 (45) | 2010 (27), 2014 (36) | 2008 (24) |
5 | เอสโตเนีย | 0, 3, 0 | — | 2004 (12), 2006 (23), 2008 (24) | — |
6 | สโลวีเนีย | 0, 2, 0 | — | 1996 (5), 1998 (5) | — |
7 (ร่วม) | โครเอเชีย | 0, 1, 0 | — | 2013 (32) | — |
7 (ร่วม) | เนเธอร์แลนด์ | 0, 1, 0 | — | 2000 (13) | — |
9 (ร่วม) | เบลเยียม | 0, 0, 2 | — | — | 1996 (5), 1998 (5) |
9 (ร่วม) | สหรัฐอเมริกา | 0, 0, 2 | — | — | 2017 (41), 2018 (43) |
11 (ร่วม) | ไทย | 0, 0, 1 | — | — | 2016 (45) |
11 (ร่วม) | จีนไทเป | 0, 0, 1 | — | — | 2016 (45) |
11 (ร่วม) | เบลารุส | 0, 0, 1 | — | — | 2002 (12) |
11 (ร่วม) | เกาหลีใต้ | 0, 0, 1 | — | — | 2000 (13) |
ประเทศที่ได้รับรางวัลระดับบุคคลมากที่สุด
[แก้]ครั้ง | ประเทศ | ครั้งที่ชนะ | ผู้ชนะเลิศ (ปี) |
---|---|---|---|
1 | โรมาเนีย | 5 | David-Mihai Dumitrescu (2024), วิกตอร์ เวสกู (2017), บาร์บู ยอน อาเลกซันดรู (2010, 2008), ฟลอริน ออลเตอานู (2002) |
2 | โปแลนด์ | 4 | ยัตแซก ปรุคญัก (2006), มาแชย์ แคร์มานอวิตช์ (2004), อาดัม บีลิสกี (2000), กาตาชือนา กฟีแยตซิญสกา (1998) |
3 | สิงคโปร์ | 2 | แดเนียล หว่อง (2013), แซมิวเอล ฉั่ว (2012) |
3 | ไทย | 2 | ภัสกาญ ลีวงศ์เจริญ (2023), วุฒิภัทร กีรติไพศาล (2016) |
5 (ร่วม) | จีนไทเป | 1 | Chang-Chin Wang (2015) |
5 (ร่วม) | สหรัฐอเมริกา | 1 | เจมส์ มัลเลิน (2014) |
5 (ร่วม) | เบลเยียม | 1 | สเตเฟิน ปัตเตวส์ (1996) |
5 (ร่วม) | รัสเซีย | 1 | อะเลน คอสปานอฟ (2018) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.geoolympiad.org/fass/geoolympiad/what-is-igeo/index.shtml
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-16. สืบค้นเมื่อ 2018-08-22.
- ↑ https://spock.nehs.hc.edu.tw/newsletter/1205/B.htm[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://japan-igeo.com/english/pdf/result.pdf
- ↑ http://www.gtansw.org.au/files/geog_bulletin/2012/2_GTA%20Bulletin%201%202012-2_Asia%20Pacific%20Olympiad.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Home | IGEO 2018". Université Laval. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 9 May 2018.
- ↑ "2018년 제19회 전국지리올림피아드 추진 계획(안)" (ภาษาเกาหลี). The Korean Geographical Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-18. สืบค้นเมื่อ 9 May 2018.
- ↑ "Final Report | IGEO 2018" (PDF). International Geographical Union= 1 July 2019.