พุทธสาสนา
หน้าตา
ภาพปก หนังสือพิมพ์พุทธสาสนา เล่มแรก (จากซ้ายไปขวา : พุทธสาสนาฉบับดั้งเดิม, พุทธสาสนาฉบับจัดพิมพ์ใหม่) | |
ประเภท | หนังสือพิมพ์รายตรีมาส |
---|---|
รูปแบบ | หนังสือพิมพ์รายตรีมาส (Three Month Newspaper) |
หัวหน้าบรรณาธิการ | พุทธทาสภิกขุ, ธรรมทาส พานิช |
บรรณาธิการบริหาร | คณะธรรมทาน |
คอลัมนิสต์ | พุทธทาสภิกขุ |
ราคา | 25.00 บาท |
ก่อตั้งเมื่อ | พ.ศ. 2476 |
นโยบายทางการเมือง | ไม่เกี่ยวข้อง |
ภาษา | ภาษาไทย |
สำนักงานใหญ่ | คณะธรรมทาน ต.เลม็ด อ.ไชยา สุราษฎร์ธานี |
เลขมาตรฐานสากล (ISSN) | 0857-409X |
เว็บไซต์ | พุทธทาสศึกษา |
หนังสือพิมพ์พุทธสาสนา (อังกฤษ: Phutthasātsanā; ISSN 0857-409X) เป็นหนังสือพิมพ์รายตรีมาส (รายสามเดือน) สำหรับเผยแผ่หลักธรรมะต่าง ๆ ของชาวพุทธ ซึ่งเริ่มโครงการโดยท่านพุทธทาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับชื่อหนังสือพิมพ์ พุทธสาสนา นั้น ทางผู้จัดพิมพ์ได้ใช้ ‘ส’ เป็นตัวสะกดโดยอิงมาจากภาษาบาลี
ในช่วงแรกเริ่มมีท่านพุทธทาส กับท่านธรรมทาส พานิช เป็นนักเขียนหลัก และแบ่งเนื้อหาออกเป็นสามส่วน ซึ่งได้แก่ การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย, หลักธรรมะสำหรับใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และรายงานข่าวสารด้านพุทธศาสนาทั่วโลก[1]
เนื้อหา
[แก้]ปัจจุบัน หนังสือพิมพ์พุทธสาสนา แบ่งคอลัมน์หลักออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่
- ภาคความรู้ทั่วไป – รวมความรู้ทั่วไปอันเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์
- ภาคพระไตรปิฎกแปล – นำเสนอเนื้อหาสำคัญบางส่วนจากพระไตรปิฎกให้ผู้สนใจได้ศึกษาและอ้างอิง
- ภาคส่งเสริมปฏิบัติธรรม – เป็นเนื้อหาที่มุ่งเน้นภาคปฏิบัติเป็นสำคัญ
- ภาค 102 ปี พุทธทาสภิกขุ – รวมเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อรำลึกถึงท่านพุทธทาส
- ภาคธรรมาตา – รวมเนื้อหาอันเป็นประโยชน์สำหรับสตรีผู้ใฝ่ธรรม
- ภาคคณะธรรมทาน – รวมสาระที่น่าสนใจจากกองบรรณาธิการ
ผู้เขียนบทความ
[แก้]หนังสือพิมพ์พุทธสาสนา นั้น มีงานเขียนของนักเขียนที่น่าสนใจหลายท่าน เช่น
- ท่านพุทธทาสภิกขุ
- ธรรมทาส พานิช
- สัญญา ธรรมศักดิ์
- พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
- พระไพศาล วิสาโล
- นพ. ประเวศ วะสี
- วิลาศ มณีวัต
- ว.วชิรเมธี
ฐานข้อมูลห้องสมุด
[แก้]หนังสือพิมพ์พุทธสาสนา เป็นส่วนหนึ่งในฐานข้อมูลของห้องสมุดที่สำคัญหลายแห่ง เช่น
- ห้องสมุดรัฐสภา
- หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ้างอิง
[แก้]- "พุทธทาสศึกษา", buddhadasa.org, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ธันวาคม 2008
- "Suan Mokkh: The Garden of Liberation", suanmokkh.org (ภาษาอังกฤษ)