ข้ามไปเนื้อหา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านตั้งอยู่ในจังหวัดน่าน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
ที่ตั้งในจังหวัดน่าน
ก่อตั้ง14 สิงหาคม 2530 (2530-08-14)
ที่ตั้งตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
พิกัดภูมิศาสตร์18°46′35″N 100°46′15″E / 18.77627110313929°N 100.77087639169675°E / 18.77627110313929; 100.77087639169675
ประเภทพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เจ้าของ กรมศิลปากร
เว็บไซต์www.finearts.go.th/nanmuseum

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ภายในคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน (หอคำ) ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

ประวัติ

[แก้]

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เดิมเป็นที่ประทับของพระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ พระเจ้าน่าน ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น มีมุขด้านหน้า หลังคามุงด้วยไม้แป้นเกล็ด บนเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา ครั้นเมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงพิราลัย เจ้านายบุตรหลานของเจ้าผู้ครองนครน่านจึงได้มอบหอคำหลังนี้พร้อมที่ดินให้แก่รัฐบาล เพื่อใช้เป็นอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน ต่อมาเมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ขึ้น กรมศิลปากรจึงได้ขอรับมอบอาคารเพื่อใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขึ้นในปี พ.ศ. 2517 และประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2530

การจัดแสดง

[แก้]

อาคารชั้นล่าง

[แก้]

ประกอบด้วยส่วนหน้ามุขใช้เป็นห้องจำหน่ายบัตรเข้าชม หนังสือด้านวิชาการ สินค้าพื้นเมือง และของที่ระลึกอื่นๆ ส่วนโถงกลางรวมถึงปีกอาคารด้านทิศเหนือ ใช้แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชาติพันธุ์วิทยาเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาว และชาวไทยพื้นเมืองภาคเหนือ และส่วนหลังซึ่งส่วนปีกอาคารด้านทิศเหนือ ใต้ และเฉลียง จัดแสดงเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่และเครื่องใช้ของเผ่าชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน

อาคารชั้นบน

[แก้]

ประกอบด้วยส่วนหน้ามุขซึ่งใช้เป็นห้องจัดนิทรรศการพิเศษ พื้นที่ส่วนกลางเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ใช้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของเมืองน่าน และส่วนหลังซึ่งเป็นส่วนปีกของอาคารด้านทิศเหนือ ใต้ และเฉลียงหลัง จำวน 6 ห้อง ใช้จัดแสดงด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะของเมืองน่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

โบราณวัตถุที่สำคัญ

[แก้]
  • งาช้างดำ
  • หีบพระธรรมไม้แกะสลัก ฝีมือช่างสกุลน่าน
  • สมุดข่อยอาณาจักรหลักคำกฎหมายเมืองน่าน
  • ครุฑยุคนาค ฝีมือช่างล้านนา
  • ศิลาจารึกหลักที่ 64 อักษรสุโขทัย กล่าวถึงการกระทำสัตย์สาบานช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อเกิดศึกสงครามระหว่างเจ้าพระยาผากอง เจ้าผู้ครองนครน่าน และพระมหาธรรมราชาที่ 2 กษัตริย์แห่งสุโขทัย
  • ศิลาจารึกหลักที่ 74 อักษรธรรมล้านนา กล่าวถึงพญาพลเทพกุรไชย เจ้าเมืองน่าน ได้ทำการบูรณะพระมหาวิหารให้วัดหลวงกลางเวียง (วัดช้างค้ำ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]