พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ก่อตั้ง | 2478 |
---|---|
ที่ตั้ง | ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 9°23′04″N 99°11′07″E / 9.384496701255467°N 99.18518026645326°E |
ประเภท | พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ |
เจ้าของ | กรมศิลปากร |
เว็บไซต์ | www |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ตั้งอยู่บริเวณวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ทางทิศตะวันออก ถนนรักษ์นรกิจ ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยพระครูโสภณเจตสิการาม(เอี่ยม) เป็นผู้เริ่มก่อตั้ง เมื่อ พ.ศ. 2478 ต่อมา พ.ศ. 2493 พระครูอินทปัญญาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นผู้เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ถาวรแห่งแรกให้แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมากรมศิลปากรได้งบประมาณสร้างอาคารหลังที่ 2 ใน พ.ศ. 2499 ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2500 หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2524 ได้ปรับปรุงขยายต่อเติมอาคารหลังแรก จัดทำครุภัณฑ์ปรับปรุงการจัดแสดงใหม่ให้ได้มาตรฐานสากล และทำพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา เป็นทางการครั้งแรกเมื่อ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2525
การจัดแสดง
[แก้]พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา เป็นพิพิธภัณฑ์ประเภทประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี ประกอบด้วย
อาคารจัดแสดงหลังที่ 1
[แก้]แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2 ส่วน คือ
- "ส่วนที่ 1" จัดแสดงรูปจำลองประติมากรรมรูปเคารพที่พบในอำเภอไชยา ที่สคัญได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพุทธรูปปางนาคปรก และหน้าบันไม้จำหลักวิหารหลังเก่าวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
- "ส่วนที่ 2" จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนในโอกาสสำคัญ เช่น วันอนุรักษ์มรดกไทย วันพิพิธภัณฑ์ไทย
อาคารจัดแสดงหลังที่ 2
[แก้]แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 ส่วน คือ
- "ส่วนที่ 1" เป็นการจัดตามหลักวิชาการ คือ จัดแสดงเกี่ยวกับศิลปวัตถุตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยทวารวดีถึงรัตนโกสินทร์
- "ส่วนที่ 2" จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุในศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ รวมทั้งเครื่องถ้วย เครื่องประดับ เครื่องใช้สอยที่พบจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีวัดแก้ว วัดหลง และวัดแหลมโพธิ์ อำเภอไชยา
- "ส่วนที่ 3" จัดแสดงโบราณวัตถุประเภทพระพุทธรูปและสิ่งของทำด้วยเงินและทองคำที่ประชาชนนำมาถวายแด่องค์พระบรมธาตุและหนังใหญ่
- "ส่วนที่ 4" จัดแสดงศิลปวัตถุ งานประณีตศิลป์พิ้นบ้าน
- "ส่วนที่ 5" จัดแสดงเครื่องอัฐบริขารของพระชยาภิวัฒน์ สุภัทรสังฆปาโมกข์ ผู้บูรณะวัดพระบรมธาตุไชยา และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โสม ฉนฺโน) ชาวพุมเรียงเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์เทพวราราม