เจ้ามหาพรหมสุรธาดา
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เจ้านครน่าน | |||||||||
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ | |||||||||
ครองราชย์ | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 | ||||||||
รัชกาล | 11 ปี 9 เดือน 6 วัน | ||||||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | ||||||||
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง | ||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
เจ้าอุปราชนครน่าน | |||||||||
ดำรงพระยศ | 9 มกราคม พ.ศ. 2443 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 | ||||||||
รวมระยะเวลา | 19 ปี 10 เดือน 2 วัน | ||||||||
ก่อนหน้า | เจ้าอุปราช (สิทธิสาร) เจ้าอุปราชนครน่าน | ||||||||
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง | ||||||||
เจ้าผู้ครองนคร | พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (เจ้าหลวง) | ||||||||
เจ้าราชวงศ์นครน่าน | |||||||||
ดำรงพระยศ | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 - 9 มกราคม พ.ศ. 2443 | ||||||||
รวมระยะเวลา | 5 ปี 10 เดือน 19 วัน | ||||||||
ก่อนหน้า | เจ้าราชวงศ์ (สิทธิสาร) เจ้าราชวงศ์นครน่าน | ||||||||
ถัดไป | เจ้าราชวงศ์ (สุทธิสาร) เจ้าราชวงศ์นครน่าน | ||||||||
เจ้าผู้ครองนคร | พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (เจ้าหลวง) | ||||||||
ประสูติ | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2389 ณ หอคำหลวง นครน่าน (เวียงเหนือ) | ||||||||
พิราลัย | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 (84 ปี 10 เดือน) ณ หอคำหลวง นครน่าน (เวียงใต้) | ||||||||
พระราชทานเพลิงพระศพ | 1 มีนาคม พ.ศ. 2475 ณ พระเมรุชั่วคราว สุสานหลวงดอนชัย นครน่าน | ||||||||
บรรจุพระอัฐิ | พระสถูป (ด้านทิศตะวันออก) วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมืองน่าน | ||||||||
พระชายา | แม่เจ้าศรีโสภา อัครชายา | ||||||||
หม่อม | หม่อมบัวทิพย์ ณ น่าน หม่อมศรีคำ ณ น่าน | ||||||||
| |||||||||
พระบุตร | 9 องค์ | ||||||||
ราชสกุล | ณ น่าน (สายที่ 3) | ||||||||
ราชวงศ์ | ติ๋นมหาวงศ์ | ||||||||
พระบิดา | เจ้าอนันตวรฤทธิเดช | ||||||||
พระมารดา | แม่เจ้าขอดแก้วราชเทวี | ||||||||
ศาสนา | พุทธ นิกายเถรวาท | ||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||||||
รับใช้ | สยาม | ||||||||
แผนก/ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า | ||||||||
ชั้นยศ | นายพลตรี นายกองเอก | ||||||||
มหาอำมาตย์โท นายพลตรี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 และองค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (17 ตุลาคม พ.ศ. 2389 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474) ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายแห่งนครน่าน และทรงเป็นพระอนุชาต่างเจ้ามารดากับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63
พระประวัติ
[แก้]เจ้ามหาพรหมสุรธาดา มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยมหาพรหม ประสูติ ณ บ้านช้างเผือก ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองน่าน เมื่อวันเสาร์ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2389 (แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเมีย จ.ศ. ๑๒๐๘) เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 ประสูติแต่แม่เจ้าขอดแก้วราชเทวี (ชายาองค์ที่ 2) และมีพระโสทรขนิษฐา 1 องค์ คือ เจ้านางยอดมโนลา[1] ครั้นเมื่อมีชนมายุได้ 17 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรจำพรรษา ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร โดยมีพระสังฆราชนันทชัยเป็นเจ้าอาวาส จนถึงปี พ.ศ. 2407 ได้ลาสิกขาออกเป็นคฤหัสถ์ ช่วยงานราชการของพระบิดาตลอดมา ครั้นมีชนมายุได้ 20 ปี ได้วิวาหมงคลเสกสมรสกับเจ้าศรีโสภา พระธิดาในพระยาวังขวา (เจ้าคำเครื่อง ณ น่าน) กับแม่เจ้าอุสา ผู้เป็นมารดา เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ทรงมีพระโอรสพระธิดากับเจ้านางศรีโสภา รวมทั้งสิ้น 8 พระองค์ ทรงพระโอรส 6 พระองค์ และพระธิดา 2 พระองค์
พระอิสริยยศและบรรดาศักดิ์
[แก้]เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศ บรรดาศักดิ์ พระยศทางฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ดังนี้
พระอิสริยยศและบรรดาศักดิ์
- เมื่อปี พ.ศ. 2433 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเจ้าน้อยมหาพรหม ขึ้นเป็น เจ้าราชบุตร นครเมืองน่าน
- เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 [2]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าราชบุตรนครเมืองน่านขึ้นเป็น เจ้าราชวงศ์นครเมืองน่าน
- เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2443 [3]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าราชวงศ์นครเมืองน่านขึ้นเป็น เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน และทรงดำรงตำแหน่งเสนามหาดไทยจังหวัดน่าน
- เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2461 [4] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าอุปราช (มหาพรหม ณ น่าน) เจ้าอุปราชนครน่าน รั้งตำแหน่ง เจ้าผู้ครองนครน่าน
- เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศและบรรดาศักดิ์ เจ้าอุปราช (มหาพรหม ณ น่าน) เจ้าอุปราชนครน่าน ขึ้นเป็น เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้รับการเฉลิมพระนามว่า “เจ้ามหาพรหมสุรธาดา นันทบุราธิวาศวงศ์ บรมราชประสงค์สฤษดิรักษ์ นิตยสวามิภักดิ์อาชวาศัย ประสาสนนัยวิจิตร กิติคุณาดิเรก เอกโยนกมหานคราธิบดี เจ้านครน่าน”[5]
พระยศ
[แก้]เจ้ามหาพรหมสุรธาดา | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | มหาอำมาตย์โท นายพลตรี นายกองเอก |
พระยศพลเรือน
[แก้]- 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - อำมาตย์เอก [6]
- 9 สิงหาคม พ.ศ. 2460 - มหาอำมาตย์ตรี[7]
- 11 ธันวาคม พ.ศ. 2463 - มหาอำมาตย์โท[8]
พระยศทหาร
[แก้]- 14 มิถุนายน พ.ศ. 2448 - นายพันโท[9]
- 19 มิถุนายน พ.ศ. 2454 - นายพันเอก[10]
- 19 มกราคม พ.ศ. 2459 - นายพลตรี[11]
พระยศเสือป่า
[แก้]- - นายหมู่เอกเสือป่า
- 13 ตุลาคม พ.ศ. 2456 - นายกองตรีเสือป่า[12]
- 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - นายกองโทเสือป่า[13]
- 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 - นายกองเอกเสือป่า[14]
ราชองครักษ์พิเศษ
[แก้]- วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง นายพลตรี เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน เป็น "ราชองครักษ์พิเศษ"[15]
- วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ซองบุหรี่ทองคำ ป.ป.ร. ลงยาชั้น 2 เมื่อคราวเสด็จมณฑลพายัพ พ.ศ. 2469
พิราลัย
[แก้]เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 (เวลา 16:00 น.) ณ คุ้มหลวงเมืองนครน่าน ด้วยพระโรคชรา สิริพระชนมายุได้ 85 ปี[16] ทรงปกครองเมืองนครน่านรวมระยะเวลา 11 ปี 279 วัน
การพระราชทานเพลิงศพ
[แก้] ในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ มหาอำมาตย์โท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ เสด็จแทนพระองค์ พร้อมด้วยเจ้าพนักงานกรมภูษามาลา กรมสนมพลเรือน แผนกพระราชกุศลและแผนกกระบวนอิสสริยยศ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 (เวลาบ่าย) เจ้าพนักงานโดยสารรถไฟออกจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีเด่นชัย วันที่ 25
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 แล้วขึ้นรถยนต์ต่อไปถึงจังหวัดน่าน วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 เจ้าพนักงานได้จัดโกศโถประกอบศพ มีฐานตั้งรองโกศ 1 ชั้น พร้อมด้วยเครื่องอิสสริยยศ ฉัตรเบญจาตั้ง 4 คัน เจ้าภาพบำเพ็ญการกุศล
มีประโคมกลองชะนะ 10 จ่าปี่ 1 ตามเวลา
ต่อมาวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2475 (เวลาบ่าย) เจ้าพนักงานยกโกศศพลงเปลื้องเสร็จแล้วยกขึ้นตั้งบนจิตกาธาร ณ สุสานหลวงดอนชัย ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน มหาอำมาตย์โท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ เสด็จทรงทอดผ้าไตรของหลวง 10 ไตร กับพระราชทานเงิน 1 ชั่ง พระสงฆ์บังสุกุล อนุโมทนา เจ้าพนักงานอัญเชิญหีบศิลาหน้าเพลิงและเครื่องพระราชทานเพลิง เข้าไปถวายผู้เเทนพระองค์ทรงจุดเพลิงพระราชทานพร้อมด้วยเจ้านายบุตรหลานของเจ้านครน่าน เจ้าพนักงานสุมอัฏฐิไว้คืนหนึ่ง
ต่อมาวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2475 (เวลาเช้า) เจ้าพนักงานประมวดแปรรูปพระอัฏฐิปิดคลุมไว้ เจ้าภาพบำเพ็ญกุศลสามหาบแล้ว เจ้านายบุตรหลานเก็บพระอัฐิไปทำการกุศลต่อไป เป็นเสร็จการ[17]
พระโอรส พระธิดา
[แก้]เจ้ามหาพรหมสุรธาดา มีพระชายา 3 องค์ และพระโอรสพระธิดารวมทั้งสิ้น 9 องค์ (อยู่ในราชสกุล ณ น่าน สายที่ 3) มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
- พระชายาที่ 1 แม่เจ้าศรีโสภา อัครชายา(จ.จ.)[18] ประสูติพระโอรส พระธิดา 4 องค์ ได้แก่
- เจ้าสุริยวงศ์ (น้อยอินทนนท์ ณ น่าน) เจ้าสุริยวงศ์นครเมืองน่าน เสกสมรสกับเจ้านางเกี๋ยง ณ น่าน มีโอรสธิดา 6 ท่าน ได้แก่
- ร้อยโท เจ้าวรญาติ (น้อยมหายศ ณ น่าน) เจ้าวรญาติ เมืองนครน่าน
- เจ้านางบัวคำ ณ น่าน
- เจ้าน้อยสาร ณ น่าน
- เจ้าชื่น ณ น่าน
- เจ้าหนานบุญผาย ณ น่าน
- เจ้าน้อยข่ายแก้ว ณ น่าน
- เจ้านางบัวเขียว ณ น่าน เสกสมรสกับ เจ้าราชวงศ์ (สุทธิสาร ณ น่าน)[19] เจ้าราชวงศ์ นครเมืองน่าน มีธิดา 3 ท่าน ได้แก่
- เจ้าดาวเรือง ณ น่าน เสกสมรสกับ เจ้าน้อยพรม ณ น่าน มีบุตร 1 ท่าน ได้แก่
- เจ้าประดิษฐ์ ณ น่าน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดน่าน
- เจ้าเมฆวดี ณ น่าน
- เจ้าบุญตุ้ม ณ น่าน
- เจ้าดาวเรือง ณ น่าน เสกสมรสกับ เจ้าน้อยพรม ณ น่าน มีบุตร 1 ท่าน ได้แก่
- รองอำมาตย์โท เจ้าบุรีรัตน์ (น้อยขัติยศ ณ น่าน) เจ้าบุรีรัตน์ นครเมืองน่าน เสกสมรสกับเจ้านางจันทรประภา ณ น่าน มีโอรสธิดา 4 ท่าน ได้แก่
- เจ้าขันคำ ณ น่าน
- เจ้าประทุม ณ น่าน
- เจ้าประยูร ณ น่าน
- เจ้าประคอง ณ น่าน
- เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) เจ้าราชบุตร นครเมืองน่าน เสกสมรสกับเจ้านางบุญโสม ณ น่าน มีธิดา 3 ท่าน ได้แก่
- เจ้าจุมปี ณ น่าน
- เจ้าบัวมัน ณ น่าน
- เจ้าโคมทอง ณ น่าน สมรสกับเจ้าประดิษฐ์ ณ น่าน มีธิดา 2 ท่าน คือ
- เจ้าสมปรารถนา ณ น่าน
- เจ้าวาสนา ภู่วุฒิกุล (ณ น่าน)
- เจ้าสุริยวงศ์ (น้อยอินทนนท์ ณ น่าน) เจ้าสุริยวงศ์นครเมืองน่าน เสกสมรสกับเจ้านางเกี๋ยง ณ น่าน มีโอรสธิดา 6 ท่าน ได้แก่
- ชายาที่ 2 แม่เจ้าบัวทิพย์ ชายา ประสูติพระโอรส 3 องค์ ได้แก่
- เจ้าธาดา ณ น่าน (นามเดิม : เจ้าแก้วพรหมา ณ น่าน) มีโอรสธิดา 6 ท่าน ได้แก่
- เจ้าธีรชาติ ณ น่าน
- เจ้าเยาวเรศ ณ น่าน
- เจ้าเกศสุดา ณ น่าน
- เจ้าธีรพล ณ น่าน
- เจ้าธานุเดช ณ น่าน
- เจ้าธานุสรณ์ ณ น่าน
- เจ้าเมืองพรหม ณ น่าน (นามเดิม : เจ้าขี้หมู ณ น่าน) ถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุ 2 ขวบ
- เจ้าสุรพงษ์ ณ น่าน (นามเดิม : เจ้าจันต๊ะคาด ณ น่าน) มีโอรสธิดา 3 ท่าน ได้แก่
- เจ้าจุลณีย์ ณ น่าน
- เจ้าจุลพงษ์ ณ น่าน
- เจ้าจักรพงษ์ ณ น่าน
- เจ้าธาดา ณ น่าน (นามเดิม : เจ้าแก้วพรหมา ณ น่าน) มีโอรสธิดา 6 ท่าน ได้แก่
- ชายาที่ 3 แม่เจ้าศรีคำ ชายา ประสูติพระโอรสพระธิดา 2 องค์ ได้แก่
- เจ้าสนิท ณ น่าน (นามเดิม : เจ้านิด ณ น่าน) ถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุ 2 ขวบ
- เจ้าลัดดา ณ น่าน (นามเดิม : เจ้านางหมัดคำ ณ น่าน) มีโอรสธิดา 3 ท่าน ได้แก่
- เจ้าดรุณี อรุณสิทธิ์
- เจ้าศักดา อรุณสิทธิ์
- เจ้าดรุพรรณ อรุณสิทธิ์
พระกรณียกิจที่สำคัญ
[แก้]ด้านสาธารณสุข
[แก้]- เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2461 เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งสภากาชาดสยาม หรือ สภากาชาดไทยในปัจจุบัน โดยได้บริจาคเงินจำนวน 3,000 บาท ให้แก่สภากาชาดสยาม
- เมื่อปี พ.ศ. 2468 เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้าราชวงศ์ (สุทธิสาร ณ น่าน) เจ้าราชวงศ์นครน่าน พร้อมด้วยเหล่าเจ้านายบุตรหลานได้ร่วมกันสร้างโอสถสภาขึ้นที่จังหวัดนครน่าน เพื่ออุทิศถวายเป็นพระกุศลแด่พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (ผู้เป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา) กระทรวงมหาดไทยได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลสาธารณประโยชน์ในครั้งนี้ด้วย
ถวายช้างเผือก
[แก้]- เมื่อปี พ.ศ. 2468 ได้พบช้างสีประหลาดที่เขตเมืองนครน่าน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานกรมช้างต้นและกรมศิลปากรขึ้มาตรวจลักษณะพบว่าเป็นช้างในลักษณะจำพวกอัฐคช 8 ชื่อว่า "ดามหัศดินทร"[20]
สาธารณประโยชน์
[แก้]แจ้งความมา ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๑
ด้วยได้รับใบบอกพระเจ้าผู้ครองนคร แลเค้าสนามหลวงนครน่าน ที่ ๖/๑๒๕๓ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๓๑ ว่าสพานลำน้ำบั้วซึ่งได้สร้างขึ้นครั้งก่อนนั้นเปนอันสำเร็จไปตอนหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่รียบร้อย ด้วยเหตุที่ลำน้ำบั้วกว้างขวางมาก ปลายสพานด้านใต้ยังตกอยู่ใน ลำห้วยต่ำกว่าระดับถนน ครั้นถึงฤดูน้ำๆ ยังท่วมอยู่ มหาชนสัญจรไป มาไม่สดวก สพานนี้ก็เปนสพานสำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งเปนทางร่วมมาบรรจบกัน หลายทาง เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๓๑ อำมาตย์เอก เจ้าอุปราช (น้อยมหาพรหม) เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน และเสนามหาดไทย นครเมืองน่าน ได้ว่าเหมาช่างลงมือทำสพานต่อตามรูปเดิม กว้าง ๒ วา ยาว ๑ เส้น ๓ วา สูงจากพื้น ๔ วา ๑ คืบ ใช้ไม้จริง รวมทั้งสพานเดิมยาว ๒ เส้น ๙ วา ๒ ศอกสูงเท่ากัน แล้วเสร็จเปนเงิน ๑,๕๔๓ บาท รวมทั้งเงินที่ ได้ออกทรัพย์สร้างครั้งก่อนเปนเงิน ๙,๙๔๓ บาทถ้วน แลได้เปิดให้มหาชนสัญจรไปมาเปนสาธารณประโยชน์ แต่วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๓๑ แล้ว อำมาตย์เอก เจ้าอุปราช มีความยินดีขอพระราชทานอุทิศถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กระทรวงมหาดไทยได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ว่าการที่ อำมาตย์เอก เจ้าอุปราช เสนามหาดไทยนครน่าน มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์จัดการต่อสพานข้ามลำน้ำบั้วให้สำเร็จเรียบร้อย ให้มหาชนสัญจรไปมาเปนสาธารณประโยชน์นั้น นับว่าเปนการกุศล ต้องด้วยพระราชนิยม ทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลนี้
— ศาลาว่าการมหาดไทย
แจ้งความมาณวันที่ ๒๗ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๑
ราชปลัดทูลฉลอง เซ็นแทน
( ลงนาม ) พระยามหาอำมาตย์
การสร้างท่าอากาศยานน่านนคร
[แก้]- ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อซื้อเครื่องบินให้แก่กองทัพอากาศสยาม
เมื่อปี พ.ศ. 2458 เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ขณะดำรงพระยศ นายพันเอก เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน (อิสริยยศในขณะนั้น) ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อซื้อเครื่องบินให้แก่กองทัพอากาศสยาม จำนวน 1 ลำ ซึ่งต่อมาพระองค์มีพระประสงค์จะชมเครื่องบินลำที่พระองค์ซื้อให้แก่กองทัพอากาศ จึงได้นำความปรึกษากับอำมาตย์เอก พระวรไชยวุฒิกรณ์ ปลัดมณฑลพายัพ เพื่อจัดสร้างสนามบินขึ้น เมื่ออำมาตย์เอก พระวรไชยวุฒิกรณ์ เห็นชอบแล้ว จึงได้เกณฑ์แรงงานราษฎรทำการถางโค่นต้นไม้ บริเวณตำบลหัวเวียงเหนือ เพื่อสร้างสนามบินขึ้น โดยใช้เวลาในการสร้างประมาณ 3 ปีเศษ จึงแล้วเสร็จ และทางกองทัพอากาศจึงได้นำเครื่องบินแบบ “เบเก้” จำนวน 3 ลำ รวมทั้งลำที่เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อให้ บินจากกองทัพอากาศดอนเมืองถึงสนามบินน่านสำเร็จและลงอย่างปลอดภัย ครั้นเมื่อเครื่องบินได้กลับไปแล้วก็มิได้ใช้สนามบินนี้อีก คงปล่อยทิ้งไว้และได้รับการบำรุงรักษาตามสมควร[21]
ต่อมาเมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนกับฝรั่งเศส สนามบินได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกครั้งเพื่อให้เครื่องบินจำนวน 3 - 4 ลำจากกองทัพอากาศสามารถมาประจำที่สนามบินน่านได้ แต่เมื่อสงครามอินโดจีนยุติลง ก็ไม่มีการใช้สนามบินอีก หลังจากนั้นอีกประมาณ 10 ปีเศษ สนามบินได้รับการปรับปรุงอีกครั้งหนึ่ง โดยทำการขยายทางวิ่งให้กว้างประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 600 เมตร ผิวทางวิ่งบดทับด้วยดินลูกรัง พอที่เครื่องบินขนาดเล็กจะขึ้น-ลงได้ และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2514 กองทัพอากาศไทยได้จัดหน่วยบิน 231 ซึ่งมีเครื่องบินขับไล่ ทิ้งระเบิดมาประจำสนามบินน่าน พร้อมย้ายหน่วยบิน 713 และ 333 จากอำเภอเชียงกลางมาประจำที่สนามบินน่าน รวมกันตั้งเป็นฝูงบิน 416 ต่อจากนั้นหน่วยบินของกองทัพบก และกรมการบินพาณิชย์ ได้ย้ายเข้ามาใช้พื้นที่ร่วมกับกองทัพอากาศ จึงได้ร่วมกันซ่อมทางวิ่งบางตอนที่ชำรุดให้ได้มาตรฐานและเพิ่มขีดความสามารถของทางวิ่งให้เป็นผิวแอสฟัลส์ติดคอนกรีต ยาว 2,000 เมตร กว้าง 45 เมตร ทางเผื่อหัวท้ายข้างละ 60 เมตร รับน้ำหนักสูงสุดได้ประมาณ 67,000 กิโลกรัม จนเครื่องบินขนาดใหญ่แบบ C-130 สามารถขึ้น-ลงได้อย่างปลอดภัย
ในปี พ.ศ. 2523 กรมการบินพาณิชย์ ได้จัดสร้างอาคารที่ทำการท่าอากาศยานน่าน (อาคารเดิม) เป็นอาคารชั้นเดียวประกอบด้วยห้องพักผู้โดยสาร ที่ทำการท่าอากาศยานน่านและพื้นที่ลานจอดรถยนต์ ไว้บริการแก่ผู้โดยสารทั่วไป
รับเสด็จรัชกาลที่ 7 คราวประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ
[แก้]- เมื่อปี พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 7 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จประพาสมณฑลพายัพ (หัวเมืองฝ่ายเหนือ) ในครั้งนั้นได้จัดพิธีถวายการต้อนรับอย่างมโหฬารสมพระเกียรติ ได้รับขบวนรับเสด็จตั้งแต่สถานีรถไฟเชียงใหม่จนถึงที่ประทับ[22]
- เมื่อวันที่ 23 มกราคม พุทธศักราช 2469 ทางการได้จัดพิธีทูลพระขวัญขึ้น โดยปลูกพลับพลาทองบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าและฝ่ายในพร้อมด้วย เจ้าดารารัศมี พระราชชายา เจ้านายในมณฑลพายัพตลอดจนอาณาประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระราชนกูล สมุหเทศาภิบาล กราบบังคมทูลเบิกกระบวนแห่พิธีทูลพระขวัญแล้ว จึงถึงกระบวนเครื่องพระขวัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีเจ้านายฝ่ายเหนือฟ้อนนำขบวน ประกอบด้วย เจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 เป็นผู้นำพานทองพระขวัญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าจามรี ภริยาเจ้าแก้วนวรัฐ นำพานทองพระขวัญทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จพระบรมราชินี บายศรีและโต๊ะเงินเครื่องเสวย เจ้านาย ณ เชียงใหม่ ยกขึ้นไปตั้งหน้าพระเก้าอี้ที่ประทับทั้ง 2 พระองค์ เจ้าดารารัศมี พระราชชายา, เจ้าจามรี, เจ้ามหาพรหมสุรธาดา, เจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้ทำพิธีทูลพระขวัญขึ้นบนพลับพลานั่งหน้าพระที่นั่งตามลำดับแล้ว เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ซึ่งมีพระชนมายุอาวุโสที่สุดเป็นผู้อ่านคำกราบบังคมทูบเชิญพระขวัญ
- โดยในขบวนแห่เครื่องทูลเชิญพระขวัญมีเจ้าผู้ครองนครและเจ้านายฝ่ายเหนือฟ้อนนำหน้าขบวนเครื่องทูลเชิญพระขวัญ มีรายพระนามและรายนาม ดังนี้
- คู่ที่ 1 เจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 คู่กับ เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64
- คู่ที่ 2 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ฯ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 คู่กับ เจ้าราชวงษ์ เมืองนครลำปาง
- คู่ที่ 3 เจ้าบุรีรัตน์ เมืองนครเชียงใหม่ คู่กับ เจ้าไชยสงคราม เมืองนครเชียงใหม่
- คู่ที่ 4 เจ้าราชภาคินัย เมืองนครเชียงใหม่ คู่กับ เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ เมืองนครลำพูน
- คู่ที่ 5 เจ้าไชยวรเชษฐ เมืองนครเชียงใหม่ คู่กับ เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ เมืองนครเชียงใหม่
- คู่ที่ 6 เจ้าประพันธ์พงศ์ เมืองนครเชียงใหม่ คู่กับ เจ้าไชยสงคราม เมืองนครลำปาง
- คู่ที่ 7 เจ้ากาวิลวงศ์ ณ เชียงใหม่ คู่กับ เจ้าวงศ์เกษม ณ ลำปาง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จลงจากช้างพระที่นั่งแล้ว หมอช้างพระที่นั่งกราบบังคม 3 ครั้ง เสด็จพระราชดำเนินจากเกยขึ้นสู่พลับพลาทอง มีเจ้านายผู้หญิงโปรยข้าวตอกดอกไม้นำเสด็จเพื่อความเป็นสิริมงคล คือ หม่อมเจ้าหญิงฉัตรสุดา ในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน กับเจ้าบุษบง ณ ลำปาง บุตรีในเจ้าบุญวาทวงศ์มานิตฯ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 9 โปรยนำเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนเจ้าวงศ์จันทร์ ณ เชียงใหม่ บุตรีเจ้าราชบุตรกับเจ้าแววดาว บุตรีเจ้าราชวงศ์ โปรยนำเสด็จสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ประทับพระที่นั่งบนพลับพลาทอง ทอดพระเนตรกระบวนแห่ช้างหลวงเดินผ่านถวายตัว เมื่อเดินผ่านหน้าพลับพลาแล้วเลี้ยวไปเข้าเกยศาลารัฐบาลทางด้านเหนือ ฝ่ายพวกฟ้อนสำหรับต้อนรับของหลวงซึ่งจัดไว้ 4 คน ก็ออกฟ้อนรับที่หน้าพลับพลา ได้แก่ หม่อมเจ้าฉัตรสุดา ในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน, เด็กหญิงอรอวบ บุตรีพระยาเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์, เจ้าแววดาว บุตรีเจ้าราชบุตรและเจ้าอุบลวรรณา บุตรีเจ้าบุรีรัตน์ เจ้านายชายหญิง เมื่อฟ้อนมาถึงหน้าพลับพลาแล้วจึงนั่งลงถวายบังคม เจ้านายผู้ชายเดินขึ้นนั่งบนพลับพลาที่พื้นลดทางขวาที่ประทับ เจ้านายผู้หญิงเดินขึ้นไปนั่งบนพลับพลาที่พื้นลดทางซ้ายที่ประทับ จากนั้นเจ้าแก้วนวรัฐ นำพานทองพระขวัญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าจามรีภริยา เจ้าแก้วนวรัฐ นำพานทองพระขวัญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จพระบรมราชินี แล้วเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน จึงเป็นผู้อ่านคำกราบบังคมทูลเชิญพระขวัญ ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จประพาสเมืองเชียงใหม่นั้น ทางราชการได้จัดเตรียมการรับเสด็จที่วัดพระสิงห์ ซึ่งสร้างปะรำพิธีขนาดใหญ่บริเวณด้านเหนือของพระวิหาร ส่วนด้านหน้าของพระวิหารจะปลูกปะรำไว้สำหรับข้าราชการนั่งเฝ้า ภายในพระวิหารหลวงยกอาสน์สำหรับให้พระสงฆ์นั่ง 200 รูป ส่วนวัดต่างๆ ที่จะเสด็จประพาสรวมถึงกำแพงเมืองซึ่งมีหญ้ารกรุงรังอยู่นั้น ก็ให้มีการแผ้วถางโดยมีหลวงพิศาลอักษรกิจ นายอำเภอช่างเคิ่ง (แม่แจ่ม) เป็นเจ้าหน้าที่ ส่วนการทำถนนไปวัดเจ็ดยอด และวัดกู่เต้านั้น ก็ให้มีการแผ้วถางบริเวณข่วงสิงห์ ข่วงช้างเผือกตลอดจนปรับปรุงถนนห้วยแก้ว โดยมีเจ้าราชสัมพันธวงศ์ นายอำเภอบ้านแม (สันป่าตอง) กับนายสนิท เจตนานนท์ เป็นเจ้าหน้าที่ ในการทำถนนแยกจากถนนลำพูนไปยังโรงพยาบาลโรคเรื้อนแมคเคน มีนายอั๋น เขียนอาภรณ์ ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอสารภี เป็นเจ้าหน้าที่ ส่วนการแต่งพื้นที่บริเวณศาลารัฐบาล บริเวณโรงช้าง และโรงเรียนตัวอย่าง (โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย) มีนายแดง ลิลิต นายอำเภอสะเมิง เป็นเจ้าหน้าที่
ที่มา : จดหมายเหตุเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือ พุทธศักราช ๒๔๖๙
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2435 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) ชื่อเดิม วิจิตราภรณ์ (ว.ม.)
- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) ชื่อเดิม ภูษนาภรณ์
- พ.ศ. 2437 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) ชื่อเดิม มัณฑนาภรณ์ (ม.ม.)[23]
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) ชื่อเดิม นิภาภรณ์
- พ.ศ. 2449 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) ชื่อเดิม จุลสุราภรณ์ (จ.ม.)[24]
- พ.ศ. 2451 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[25] และได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยยศ ดังนี้ พานหมากทองคำ พร้อมเครื่องประกอบ 8 สิ่ง กระโถนทองคำ คนโททองคำ กระบี่ฝักทองคำ เป็นต้น
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[26]
- พ.ศ. 2459 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) ชื่อเดิม มหาสุราภรณ์ (ม.ส.ม.)[27]
- พ.ศ. 2460 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) ชื่อเดิม จุลวราภรณ์[28]
- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ชื่อเดิม มหาวราภรณ์
- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[29]
เหรียญราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ทรงได้รับพระราชทานเหรียญราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[30]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[31]
- 1 มิถุนายน 2463 – เข็มข้าหลวงเดิม[32]
สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม
[แก้]- ถนนมหาพรหม
- วัดสุรธาดาราม หรือ วัดสะเนียน ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน ได้ตั้งตามพระนามของ เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ผู้สร้างพระวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2471
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของเจ้ามหาพรหมสุรธาดา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑๐ เรื่อง ราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครน่าน ให้แต่งไว้สำหรับบ้านเมือง
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, เสด็จออกแขกเมืองประเทศราช เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๓
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองจังหวัดน่านแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเจ้าผู้ครองนคร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานยศแก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๔
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๘
- ↑ ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก
- ↑ ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า (กองเสนาน้อยรักษาดินแดนมหาราษฎร์)
- ↑ แจ้งความกรมราชองครักษ์
- ↑ ราชกิจานุเบกษา,ข่าวถึงพิราลัย เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ตอนที่ 35 เล่ม 23, 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 125, หน้า 893
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ "ดามหัศดินทร" อาภรณ์สำหรับช้างต้นคู่พระบารมี[ลิงก์เสีย]
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เจ้าอุปราชนครน่าน ให้เงิน ๙,๐๐๐ บาท สำหรับซื้อเครื่องบิน
- ↑ พิธีทูลพระขวัญ รับเสด็จ ร.7 ประพาสเมืองเชียงใหม่
- ↑ เสด็จออกแขกเมืองประเทศราช เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2436
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๙๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ฝ่ายหน้า) วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ เล่ม ๒๕ หน้า ๑๐๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๙๓, 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๗๑, ๑๔ มกราคม ๒๔๕๙
- ↑ พระประวัติ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา.pdf ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๙๔, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัตยุบัน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๙๙, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๖๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม
ก่อนหน้า | เจ้ามหาพรหมสุรธาดา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 และองค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (พ.ศ. 2462 - พ.ศ. 2474) |
ยกเลิกตำแหน่ง ผู้สืบตระกูล: เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2389
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2474
- เจ้าผู้ครองนครน่าน
- ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
- เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน
- เจ้าราชวงศ์
- เจ้าราชบุตร
- ราชโอรสในเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.3
- ราชองครักษ์พิเศษ
- สมาชิกกองเสือป่า
- เจ้าอุปราช
- สกุล ณ น่าน