พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก
ก่อตั้ง | 23 ตุลาคม 2532 |
---|---|
ที่ตั้ง | ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 14°04′14″N 100°42′17″E / 14.070528283983508°N 100.70470244900162°E |
ประเภท | พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ |
เจ้าของ | กรมศิลปากร |
เว็บไซต์ | www |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตั้งอยู่ในตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นโครงข่ายพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจัดแสดงด้านชาติพันธุ์วิทยา ก่อตั้งจากนโยบายของกรมศิลปากร ใต้แนวคิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อมากรมศิลปากรได้จัดพื้นที่โดยรวมพิพิธภัณฑสถานเฉพาะด้านสาขาอื่น ๆ จากกรุงเทพมหานคร มารวมไว้ด้วยกัน เพื่อจัดตั้งพื้นที่โครงการให้เป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร [1] [2]
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษกยังจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการสัญจรตามสถานศึกษา ในศูนย์กลางชุมชน จัดแสดงจำพวกโบราณวัตถุ ภาพสไลด์ ศิลปะวัตถุ มีการจัดแสดงโบราณวัตถุมากกว่า 10,000 รายการ
ประวัติ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2545 กรมศิลปากรได้ย้ายโบราณวัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาจัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก [3]
ในปี พ.ศ. 2564 - 2566 กรมศิลปากรได้จัดทำแผนการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก การดำเนินงานจะใช้งบปรมาณ 250 ล้านบาท โดยกรมศิลปากรได้จัดทำแม่บทหลัก 5 ด้าน [4]
การจัดแสดง
[แก้]ด้านชาติพันธุ์วิทยา การจัดแสดงเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์วิทยาในประเทศไทย แบ่งเป็น 5 ตระกูลภาษาหลักของคนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ได้แก่
- ภาษาตระกูลไท
- ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก
- ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต
- ภาษาตระกูลออสโตรเนเชียน หรือ มาลาโยโพลีเนเชียน
- ภาษาตระกูลม้ง-เมี่ยน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก". www.museumthailand.com. สืบค้นเมื่อ 28 October 2023.
- ↑ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. สืบค้นเมื่อ 28 October 2023.
- ↑ "กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จ.ปทุมธานี". bangkokbiznews. 28 August 2023. สืบค้นเมื่อ 28 October 2023.
- ↑ "ปรับโฉมพิพิธภัณฑ์กาญจนาภิเษก". www.thairath.co.th. 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 October 2023.